พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ แม้ผู้รู้รหัส แต่ระบบเปิดให้เข้าถึงได้
จำเลยทราบดีว่าโจทก์ห้ามมิให้ส่งข้อมูลที่จำเลยเข้าถึงและส่งไปยังจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัวของจำเลย เผยแพร่ไปสู่บุคคลภายนอก ให้ใช้ได้เฉพาะภายในบริษัทโจทก์เท่านั้น แสดงว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของโจทก์ดังกล่าว เป็นข้อมูลที่โจทก์หวงแหน ห้ามมิให้บุคคลอื่นได้เข้าถึง ดังนี้ การกระทำของจำเลยซึ่งลาออกจากบริษัทโจทก์ไปแล้ว แต่จำเลยยังเข้าไปในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่โจทก์มอบให้จำเลยสำหรับปฏิบัติงาน และส่งไฟล์ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานการบินพาณิชย์ อันเป็นความลับของโจทก์ ไปยังจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลย ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 7 และมีสิทธิฟ้องจำเลย
องค์ประกอบความผิดข้อที่ว่า ที่มีมาตรการป้องกันโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน หมายความว่า เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ได้มีการกำหนดวิธีการเข้าสู่ระบบไว้โดยเฉพาะแล้ว หากผู้ไม่มีสิทธิเช่นจำเลยนี้ซึ่งได้ลาออกจากบริษัทโจทก์ไปก่อนหน้านี้แล้ว ได้เข้าไปสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ หรือไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะสามารถทำได้อีกต่อไป ผู้นั้นก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 7 ได้ การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา 3 บัญญัติว่า "ข้อมูลคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ปรากฏว่านิยามศัพท์คำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ได้ให้ความหมายคำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ไว้ว่า "ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือโทรสาร" ดังนั้น ความหมายจึงรวมไปถึงจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
องค์ประกอบความผิดข้อที่ว่า ที่มีมาตรการป้องกันโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน หมายความว่า เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ได้มีการกำหนดวิธีการเข้าสู่ระบบไว้โดยเฉพาะแล้ว หากผู้ไม่มีสิทธิเช่นจำเลยนี้ซึ่งได้ลาออกจากบริษัทโจทก์ไปก่อนหน้านี้แล้ว ได้เข้าไปสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ หรือไม่มีสิทธิหรืออำนาจที่จะสามารถทำได้อีกต่อไป ผู้นั้นก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 7 ได้ การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา 3 บัญญัติว่า "ข้อมูลคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ปรากฏว่านิยามศัพท์คำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ได้ให้ความหมายคำว่า "ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์" ไว้ว่า "ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือโทรสาร" ดังนั้น ความหมายจึงรวมไปถึงจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหมิ่นประมาทและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีเผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ ผู้บริหารจัดการเว็บไซต์มีส่วนรับผิด
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 อันเป็นเวลาระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โดยความในมาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และให้ใช้ความที่บัญญัติใหม่แทน โดยมาตรา 14 ที่บัญญัติใหม่ได้ยกเลิกความในมาตรา 14 (1) จากเดิมที่บัญญัติว่า “ (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ” โดยบัญญัติความใน (1) ใหม่เป็นว่า “ (1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา ” กรณีเป็นเรื่องกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังกำหนดองค์ประกอบความผิดฐานนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จว่าต้องไม่เป็นการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาด้วยจึงจะเข้าเกณฑ์เป็นความผิด เมื่อคดีได้ความว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 328 การกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) ที่บัญญัติในภายหลัง ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง และจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 14 (5) ซึ่งเป็นบทความผิดฐานเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 14 (1) ด้วย กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2534/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชัดเจน ขาดข้อเท็จจริงสนับสนุนการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ศาลยกฟ้อง
โจทก์บรรยายเพียงว่าจำเลยนำคำพูดที่โจทก์พูดกับจำเลยทางโทรศัพท์ไปแจ้งเจ้าพนักงานตำรวจแล้วจำเลยส่งภาพถ่ายรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานไปในโปรแกรมไลน์ให้ผู้ปกครองนักเรียนในกลุ่มนักเรียนที่เป็นเพื่อนกับบุตรจำเลย โดยตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่ารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานและข้อความที่จำเลยพิมพ์ส่งไปในโปรแกรมไลน์นั้นเป็นข้อมูลที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) อย่างไร และข้อความจริงมีอยู่อย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นให้ใช้งานไม่ได้เพื่อบีบบังคับ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
การที่จำเลยแก้ไขระบบโปรแกรมบัญชีและการเงินของโจทก์ร่วมให้เป็นรุ่นทดลองใช้ มีกำหนดอายุการใช้งาน 30 วัน นับแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2559 เพื่อบีบบังคับให้โจทก์ร่วมว่าจ้างจำเลยให้ทำงานต่อไป เมื่อครบกำหนดระยะเวลาระบบโปรแกรมบัญชีและการเงินของโจทก์ร่วมไม่สามารถใช้งานได้อีก ถือได้ว่าจำเลยกระทำการด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของโจทก์ร่วมถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 10 และเป็นความผิดสำเร็จแล้วตั้งแต่วันที่มีการแก้ไขระบบคอมพิวเตอร์ของโจทก์ร่วมเป็นรุ่นทดลองใช้ ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของโจทก์ร่วมไม่สามารถทำงานตามปกติจากโปรแกรมที่ไม่มีวันหมดอายุเป็นโปรแกรมรุ่นทดลองใช้นับแต่วันดังกล่าว มิใช่เป็นความผิดสำเร็จในวันที่หมดอายุ ดังนั้น การที่จำเลยมอบ External harddisk ให้ที่ปรึกษาของโจทก์ร่วมเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2559 เพื่อใช้ปลดล็อกโปรแกรมรุ่นทดลองใช้ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ จึงมิใช่กรณีการพยายามกระทำความผิดแล้วยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอด หรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฉ้อโกงประชาชนและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การพิสูจน์การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน และการลดโทษรอการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยโดยทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จผ่านทางโปรแกรมเฟซบุ๊กตามฟ้อง เสนอขายสินค้าซึ่งความจริงแล้วจำเลยไม่มีเจตนาขายสินค้าดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลย แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องกล่าวหาด้วยว่าเป็นการหลอกลวงเสนอขายสินค้าต่อประชาชนอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 และไม่ได้บรรยายว่าการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนั้นน่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ส่วนบัญชีเฟซบุ๊กตามฟ้อง โจทก์ก็ไม่บรรยายว่าเฟซบุ๊กดังกล่าวเปิดเป็นสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ อันจะถือได้ว่าเป็นการหลอกลวงประชาชน และการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จดังกล่าวน่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน โจทก์จึงบรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 และฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 343 และปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาปัญหานี้มา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 และฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จอันเป็นการกระทำต่อบุคคลใดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 วรรคสอง ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพ ย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในวันและเวลาเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจจะเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงโดยการส่งข้อความเสนอขายสินค้าให้แก่ผู้เสียหายผ่านทางบัญชีเฟซบุ๊กตามฟ้องรวม 2 ครั้ง และผู้เสียหายซื้อสินค้าต่างชนิดกัน 2 ครั้ง เป็นการหลอกลวงผู้เสียหายเพื่อให้ได้เงินจากผู้เสียหายในการซื้อสินค้าต่างชนิดกันรวม 2 ครั้ง จึงเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในวันและเวลาเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจจะเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงโดยการส่งข้อความเสนอขายสินค้าให้แก่ผู้เสียหายผ่านทางบัญชีเฟซบุ๊กตามฟ้องรวม 2 ครั้ง และผู้เสียหายซื้อสินค้าต่างชนิดกัน 2 ครั้ง เป็นการหลอกลวงผู้เสียหายเพื่อให้ได้เงินจากผู้เสียหายในการซื้อสินค้าต่างชนิดกันรวม 2 ครั้ง จึงเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4403/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เผยแพร่คลิปโป๊และหมิ่นประมาททางออนไลน์ ถือเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ต้องลงโทษตามกฎหมายอาญาและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
แม้จำเลยจะลงมือเผยแพร่คลิปวิดีโอในขณะที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้เสียหายในเครือข่ายทวิตเตอร์ครั้งเดียว แต่ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 กับความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (4) มีวัตถุประสงค์ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองแตกต่างกัน โดยความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา มุ่งคุ้มครองชื่อเสียงของผู้เสียหาย ส่วนความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ มุ่งคุ้มครองสังคมเป็นสำคัญ ดังนั้น การกระทำของจำเลยนอกจากทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงแล้ว ยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคม กระทบต่อความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน และความมั่นคงของรัฐ นอกจากนี้ ความผิดทั้ง 2 ฐานดังกล่าว มีองค์ประกอบของความผิดที่แตกต่างกัน สามารถแยกเจตนาของการกระทำความผิดออกจากกันได้อย่างชัดเจน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 91