พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำ, มี, ขายสุรากลั่น: การแยกกระทงความผิด และการลงโทษตาม พ.ร.บ.สุรา
คำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นที่เข้าใจได้แล้วว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง จำเลยทำสุรากลั่นบรรจุถุงพลาสติก 4 ใบ บรรจุถุงพลาสติก 7 ถุง บรรจุแกลลอน 20 ใบ ปริมาณ 592 ลิตร โดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วจำเลยมีสุรากลั่นจำนวนและปริมาณดังกล่าวไว้ในครอบครอง จากนั้นจำเลยขายสุรากลั่นจำนวนและปริมาณดังกล่าว โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสุราที่ทำขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นการกระทำในคราวเดียวกันและต่อเนื่องกัน กล่าวคือ เมื่อจำเลยทำสุรากลั่นแล้ว จำเลยมีสุรากลั่นดังกล่าวไว้ในครอบครอง จากนั้นขายสุรากลั่นนั้น การกระทำความผิด ของจำเลยสำเร็จไปในแต่ละขั้นตอนของการกระทำแต่ละครั้ง หาได้ขัดแย้งหรือขัดต่อเหตุผลแต่ประการใดไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยทำสุรากลั่นโดยไม่ได้รับอนุญาต กับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุรากลั่น แม้สุรากลั่นจะเป็นจำนวนเดียวกัน แต่ความผิดแต่ละฐานต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดที่แตกต่างกันและสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ และ พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 บัญญัติความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรากัน จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน
ความผิดฐานขายสุรานั้น ตาม พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 31 มีระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท สำหรับมาตรา 30 เป็นบทบัญญัติความผิดฐานฝ่าฝืนมาตรา 5 คือ การทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และถ้าได้ขายสุราที่ทำขึ้นนั้นด้วยต้องระวางโทษหนักขึ้น เป็นบทฝ่าฝืนโทษจากการทำสุราเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่บทบัญญัติให้การขายสุราที่ทำขึ้นเป็นความผิดตามมาตรานี้อีกบทหนึ่ง ดังนั้นที่จำเลย ขายสุรากลั่นที่จำเลยทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 30 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 31
การที่จำเลยทำสุรากลั่นโดยไม่ได้รับอนุญาต กับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุรากลั่น แม้สุรากลั่นจะเป็นจำนวนเดียวกัน แต่ความผิดแต่ละฐานต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดที่แตกต่างกันและสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ และ พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 บัญญัติความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรากัน จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน
ความผิดฐานขายสุรานั้น ตาม พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 31 มีระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท สำหรับมาตรา 30 เป็นบทบัญญัติความผิดฐานฝ่าฝืนมาตรา 5 คือ การทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และถ้าได้ขายสุราที่ทำขึ้นนั้นด้วยต้องระวางโทษหนักขึ้น เป็นบทฝ่าฝืนโทษจากการทำสุราเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่บทบัญญัติให้การขายสุราที่ทำขึ้นเป็นความผิดตามมาตรานี้อีกบทหนึ่ง ดังนั้นที่จำเลย ขายสุรากลั่นที่จำเลยทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 30 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6583/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายสุราปลอมและใช้ฉลากเครื่องหมายการค้าผู้อื่น การกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและพ.ร.บ.สุรา
จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าสุราของกลางที่จำเลยทั้งสองนำส่งออกไปขายแก่ผู้ซื้อต่างประเทศนั้นเป็นสุราปลอมซึ่งบรรจุขวดและปิดฉลากที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์และข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นสินค้าสุราที่แท้จริงของโจทก์ร่วม เป็นความผิดฐานจำหน่ายสินค้าที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 275 และเป็นความผิดฐานขายสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 31แต่ความผิดฐานเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ ทำให้ปรากฏที่สินค้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1) นั้น จำเลยกว้านซื้อสุราของกลางมาจากร้านค้าแล้วนำส่งออกไปขายแก่ผู้ซื้อในต่างประเทศไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองทำสุราปลอมเองหรือบรรจุขวดเป็นสินค้าของจำเลยเองแต่มีการปิดฉลากปลอม จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้เอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้กับสินค้าของตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกระทงตาม พ.ร.บ.สุรา ต้องลงโทษกระทงที่หนักที่สุด ไม่ใช่บทหนักที่สุด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยต้มกลั่นสุรามีภาชนะเครื่องต้มกลั่นสุราและสุราไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติสุรา มาตรา 5, 30, 32 แต่ศาลลงโทษตามมาตรา 30 มาตราเดียว ดังนี้ เป็นการลงโทษเฉพาะกระทงที่หนักที่สุดไม่ใช่เรื่องใช้บทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าวหมักผสมสี ไม่เข้าข่ายสุราตาม พ.ร.บ.สุรา หากมีเจตนาใช้ย้อมผ้า ไม่ได้ทำเพื่อดื่ม
ข้าวหมักผสมสีอินดิโก มีไว้เพื่อใช้ย้อมสีผ้าแต่ใช้ดื่มกินได้เช่นเดียวกับสุรา เฉพาะผู้บริโภคที่ไม่ทราบถึงคุณสมบัติของสีที่ใช้ผสมว่าจะเป็นพิษอันตรายเท่านั้น ข้าวหมักผสมสีอินดิโกนี้ไม่ใช่สุรา ตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับจากความผิดตาม พ.ร.บ.สุรา ต้องพิจารณาเป็นรายตัวบุคคล แม้มีผู้กระทำผิดร่วมกัน
โทษปรับตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 มาตรา 38ทวิมิได้มีข้อความจำกัดไว้ว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำผิดหลายคนด้วยกันก็ให้ปรับรวมกันตามปริมาณน้ำสุราที่ทำการขน พระราชบัญญัติสุราฯมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นตามที่ยกเว้นไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 จึงต้องลงโทษปรับผู้กระทำผิดเรียงตามรายตัวบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ริบสุราของกลาง แม้จำเลยจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต เหตุพ.ร.บ.สุราไม่ได้กำหนดให้ริบ
จำเลยนำสุราต่างประเทศออกแสดงเพื่อขายโดยมิได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 ม.17 นั้น ม. 45 ไม่ได้บัญญัติให้ริบสุราดังกล่าว แสดงว่ากฎหมายไม่ประสงค์จะให้ริบสุราของกลางในกรณีเช่นนี้ด้วยเลย
(อ้างฎีกาที่ 508/2494)
(อ้างฎีกาที่ 508/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบสุราของกลางในความผิดตาม พ.ร.บ.สุรา: กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ริบสุราที่นำออกแสดงเพื่อขาย
จำเลยนำสุราต่างประเทศออกแสดงเพื่อขายโดยมิได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 มาตรา17 นั้น มาตรา 45 ไม่ได้บัญญัติให้ริบสุราดังกล่าวแสดงว่ากฎหมายไม่ประสงค์จะให้ริบสุราของกลางในกรณีเช่นนี้ด้วยเลย
(อ้างฎีกาที่ 508/2494)
(อ้างฎีกาที่ 508/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสุราเจือปนโดยไม่ปิดแสตมป์ แม้ไม่ใช่ผู้ผลิตก็มีความผิดตาม พ.ร.บ.สุรา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยได้เอาน้ำเจือปนสุราแล้วนำออกวางขายในร้านโดยรู้ว่าต้องปิดแสตมป์สุราแค่ไม่ได้ปิด ดังนี้แม้จำเลยจะไม่ใช่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ทำสุราก็ตาม จำเลยก็ไม่พ้นความผิดตามความในมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนสุราต้องออกจากโรงงานแล้วจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.สุรา การเคลื่อนย้ายภายในเขตโรงงานไม่ถือเป็นความผิด
ความผิดตาม พ.ร.บ.สุรา 2493 มาตรา 7 ที่ว่า "ผู้ใดรับใบอนุญาตทำสุรา ฯ ต้องเสียภาษีสำหรับสุราที่ทำได้ โดยปิดแสตมป์ที่ภาชนะบรรจุสุราในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่ ฯ ก่อนขนสุราออกจากโรงงาน ฯ " มาตรา 13 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดทำการขนสุราที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องออกจากโรงงานสุราฯ " นั้นจะเป็นการฝ่าฝืนอันจะเป็นผิดจะต้องขนสุรานั้นออกจากโรงงานสุราแล้ว หากยังไม่ได้ขนสุราออกจากโรงงานสุรา ก็ยังหาเป็นความผิดไม่ และคำว่าโรงงานสุรานั้น ย่อมหมายรวมถึงบริเวณหรือเขตโรงงานสุราด้วย กล่าวคือถ้าสุรานั้นยังอยู่ภายในบริเวณหรือเขตโรงงานสุราแล้ว แม้จะมีการขนเคลื่อนย้ายโดยมิได้เสียภาษีและปิดแสตมป์ให้ถูกต้องก็ยังหาเป็นความผิดไม่
จำเลยเคลื่อนย้ายหรือซึ่งบรรทุกสุราออกไปจอดที่ปากคลองของโรงงานนั้น ยังไม่พ้นเขตโรงงานสุรา ดังนี้ ย่อมต้องถือว่า ยังไม่ได้ขนสุราออกจากโรงงานสุราฉะนั้น แม้จะยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและมิได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้อง ก็ยังไม่เป็นผิดตาม พ.ร.บ.สุรา 2493 มาตรา 7,13
จำเลยเคลื่อนย้ายหรือซึ่งบรรทุกสุราออกไปจอดที่ปากคลองของโรงงานนั้น ยังไม่พ้นเขตโรงงานสุรา ดังนี้ ย่อมต้องถือว่า ยังไม่ได้ขนสุราออกจากโรงงานสุราฉะนั้น แม้จะยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและมิได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้อง ก็ยังไม่เป็นผิดตาม พ.ร.บ.สุรา 2493 มาตรา 7,13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตโรงงานสุรา: การขนย้ายสุราภายในโรงงานไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.สุรา
ความผิดตาม พระราชบัญญัติสุรา 2493 มาตรา 7 ที่ว่า " ผู้ใดรับใบอนุญาตทำสุราฯต้องเสียภาษีสำหรับสุราที่ทำได้ โดยปิดแสตมป์ที่ภาชนะบรรจุสุราในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่ฯก่อนขนสุราออกจากโรงงานฯ" มาตรา 13 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดทำการขนสุราที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องออกจากโรงงานสุราฯ" นั้นจะเป็นการฝ่าฝืนอันจะเป็นผิดจะต้องขนสุรานั้นออกจากโรงงานสุราแล้ว หากยังไม่ได้ขนสุราออกจากโรงงานสุรา ก็ยังหาเป็นความผิดไม่ และคำว่าโรงงานสุรานั้น ย่อมหมายรวมถึงบริเวณหรือเขตโรงงานสุราด้วย กล่าวคือถ้าสุรานั้นยังอยู่ภายในบริเวณหรือเขตโรงงานสุราแล้ว แม้จะมีการขนเคลื่อนย้ายโดยมิได้เสียภาษีและปิดแสตมป์ให้ถูกต้องก็ยังหาเป็นความผิดไม่
จำเลยเคลื่อนย้ายเรือซึ่งบรรทุกสุราออกไปจอดที่ปากคลองของโรงงานนั้น ยังไม่พ้นเขตโรงงานสุรา ดังนี้ ย่อมต้องถือว่า ยังไม่ได้ขนสุราออกจากโรงงานสุรา ฉะนั้น แม้จะยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและมิได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้อง ก็ยังไม่เป็นผิดตาม พระราชบัญญัติสุรา 2493 มาตรา 7,13
จำเลยเคลื่อนย้ายเรือซึ่งบรรทุกสุราออกไปจอดที่ปากคลองของโรงงานนั้น ยังไม่พ้นเขตโรงงานสุรา ดังนี้ ย่อมต้องถือว่า ยังไม่ได้ขนสุราออกจากโรงงานสุรา ฉะนั้น แม้จะยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและมิได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้อง ก็ยังไม่เป็นผิดตาม พระราชบัญญัติสุรา 2493 มาตรา 7,13