คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องคดีใหม่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8612/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการบังคับคดีต้องยื่นคำร้องในคดีเดิม ไม่ใช่ฟ้องคดีใหม่
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 1408/2540 ของศาลชั้นต้น ดำเนินการบังคับคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากโจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้โจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพียง 360,000 บาท นอกนั้นไม่ติดใจดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ โจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยตามข้อตกลงครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีเสีย แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายอันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์มาด้วยก็ตาม แต่โจทก์มิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญา โดยเพียงแต่ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีในคดีเดิมเท่านั้น คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปโดยครบถ้วนและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2), 302 วรรคหนึ่ง กรณีเช่นว่านี้โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลในคดีเดิม มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่
ตามคำร้องโจทก์ที่ยื่นในคดีหมายเลขแดงที่ 1408/2540 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องที่อ้างว่าการดำเนินการบังคับคดีเดิมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการยึดทรัพย์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะนัดพร้อมเพื่อสอบถามคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนที่จะได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยมิได้นัดพร้อมหรือนัดไต่สวน โจทก์มิได้อุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีต่อศาลชั้นต้นในกรณีดังกล่าวอีกได้ เพราะเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3593/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีใหม่เพื่อโต้แย้งคำพิพากษาตามยอมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากจำเลยหลอกลวงในการแต่งตั้งทนายความ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงโจทก์ให้ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเพื่อให้จำเลยนำไปถอนฟ้อง แต่จำเลยกับ อ. กลับสมคบกันกรอกข้อความลงในแบ่งทนายความดังกล่าวเป็นว่าโจทก์แต่งตั้ง อ. เป็นทนายความมีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ แล้วจำเลยกับ อ. ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 138 อันเป็นเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นที่มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ระเบียบนั้นเสียได้ โจทก์จึงชอบที่จะยกขึ้นว่ากล่าวกันในคดีเดิมที่อ้างว่ามีการพิจารณาที่ผิดระเบียบ จะมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดี, จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ, ไม่มีสิทธิขอพิจารณาคดีใหม่, ฟ้องคดีใหม่
โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยแถลงไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีต่อไป ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 202 กรณีเช่นนี้แม้มาตรา 203 มิได้บัญญัติห้ามมิให้โจทก์มีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ แต่การที่โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้จะต้องมีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเป็นสำคัญ เมื่อโจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสร็จสิ้นไปแล้ว จึงไม่มีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ สิทธิของโจทก์มีอยู่ทางเดียวคือต้องฟ้องคดีใหม่ภายในอายุความตามาตรา 203 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องคดีใหม่หลังศาลชั้นต้นยกคำขอไม่สมฟ้อง และการไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์
ประเด็นที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบไม่สมฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำขอส่วนนี้เสียทั้งหมด เพราะสามารถที่จะวินิจฉัยในคดีนี้ได้อยู่แล้ว การที่ศาลชั้นต้นให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสองฟ้องใหม่ในประเด็นนี้อีกจึงเป็นการไม่ชอบ ซึ่งโจทก์ทั้งสองชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาในส่วนนี้ เมื่อโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ แต่เลือกที่จะฟ้องใหม่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่ให้สิทธิในการฟ้องคดีใหม่ โจทก์ทั้งสองจะขอให้ศาลฎีกากลับให้สิทธิดังกล่าวซึ่งเป็นการไม่ชอบแก่โจทก์ทั้งสองหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา ค่าจ้างเพิ่มเติม การส่งมอบงานล่าช้า และสิทธิในการฟ้องคดีใหม่
หนังสือสัญญาจ้างมีข้อความว่า "เมื่อผู้รับจ้างได้ทำการแล้วเสร็จตามงวดงานผู้รับจ้างจะมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าจ้างให้ทราบแล้วให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนไปตรวจรับงานในงวดนั้น ๆ ภายในกำหนดเวลา 5 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากผู้รับจ้างหากผู้ว่าจ้างไม่ทำการตรวจรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวหรือไม่ยอมรับงานโดยไม่แจ้งให้ผู้รับจ้างทราบเกินกว่ากำหนด ให้ถือว่าผู้ว่าจ้างได้ตกลงรับมอบงานไว้ครบถ้วนถูกต้องตามงวดงานนั้น ๆ ว่าเรียบร้อยแล้วทุกประการ" การที่โจทก์จะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1ทราบเพื่อตรวจรับงานตามข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จะต้องทำการก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนด้วย มิใช่ว่าเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ตรวจรับงานโดยที่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จจำเลยที่ 1 ไม่ตรวจรับงานภายใน 5 วัน จะถือว่าตรวจรับงานไว้ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจ้างได้
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าก่อสร้างงวดที่ 8 บางส่วน โจทก์ทั้งสองมิได้นำสืบให้แน่ชัดว่าจำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 คนละเท่าใด จึงให้ยกคำขอส่วนนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องบังคับตามคำขอดังกล่าวภายในกำหนดอายุความ นั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบได้ไม่สมฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำขอส่วนนี้เสียทั้งหมดเพราะสามารถที่จะวินิจฉัยให้คดีนี้ได้อยู่แล้ว การที่ศาลชั้นต้นให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสองฟ้องใหม่ในประเด็นนี้อีกจึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาดังกล่าว โจทก์ทั้งสองชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ เมื่อโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์แต่เลือกที่จะฟ้องคดีใหม่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ให้สิทธิในการฟ้องคดีใหม่ โจทก์ทั้งสองจะขอให้ศาลฎีกากลับให้สิทธิดังกล่าวซึ่งเป็นการไม่ชอบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: คำพิพากษาตามยอมตกไปเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความมีเงื่อนไขไม่สำเร็จ ทำให้ฟ้องคดีใหม่ได้
คดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิรวมในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสแล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจะนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เป็นสินสมรสไปขายให้แก่ผู้มีชื่อในราคา 2,000,000 บาท ภายใน 1 เดือนแล้วนำเงินมาแบ่งกัน โดยถือว่าเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย ศาลพิพากษาตามยอมต่อมาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ โดยอ้างว่าผู้ซื้อเปลี่ยนใจไม่ซื้อจึงมีการทำข้อตกลงเพื่อจัดการสินสมรสกันใหม่ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเพื่อจัดการสินสมรสใหม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามข้อตกลงใหม่เป็นคดีที่สอง คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความคดีแรกเป็นสัญญามีเงื่อนไขไม่สามารถสำเร็จผล อันมีผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความตกไปไม่มีผลบังคับส่วนข้อตกลงจัดการสินสมรสกันใหม่เป็นสัญญาระหว่างสมรส เมื่อคู่สมรสบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสจึงเป็นอันสิ้นผล โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสเดียวกับที่ฟ้องคดีแรก ดังนี้ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมเช่นนี้ คำพิพากษาตามยอมในคดีแรกเป็นอันตกไปไม่มีผลบังคับเช่นเดียวกับสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าคดีแรกได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีนี้ ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรกอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีและการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ รวมถึงการฟ้องคดีใหม่
คำร้องของโจทก์ฉบับแรกอ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดหลงเพราะศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 19 ตุลาคม 2544 ไม่ใช่วันที่ 17 ตุลาคม2544 ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีอันเป็นเรื่องอ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2544 โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งภายในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ กลับยื่นคำร้องฉบับหลังอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทราบนัดในวันที่ 17 ตุลาคม 2544 ที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีจึงไม่ถูกต้องขอให้อนุญาตให้โจทก์พิจารณาคดีใหม่ อันเป็นเรื่องอ้างว่าโจทก์ไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ขอให้พิจารณาคดีใหม่ ไม่ได้อ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบดังเช่นคำร้องฉบับแรก ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องฉบับหลังเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 อ้างว่าไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้ยกคำร้องฉบับแรก และโจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องฉบับหลังในวันที่ 4 ธันวาคม 2544 จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนตามมาตรา 229
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ ทั้งห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีด้วย หากโจทก์เห็นว่าการที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีไปนั้นเพราะหลงผิดเนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ ถ้าศาลยกคำร้อง โจทก์ก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นต่อไปได้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์โจทก์จึงคงมีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ใหม่ภายในอายุความเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5394-5395/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีใหม่เมื่อกระบวนพิจารณาเดิมไม่ชอบด้วยกฎหมาย: โจทก์ต้องยกข้อกล่าวหาในคดีเดิมเท่านั้น
โจทก์อ้างว่าในขณะที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามยอมนั้น โจทก์ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วยเพราะในช่วงนั้นโจทก์ไม่ได้อยู่ที่ศาล จำเลยทั้งสามร่วมกันนำบุคคลอื่นไปแสดงตัวเป็นโจทก์ต่อศาลและนำความเท็จแถลงต่อศาล เป็นเหตุให้ศาลหลงเชื่อและพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ หากเป็นจริงต้องถือว่ากระบวนพิจารณาที่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นย่อมเป็นการไม่ชอบ จึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และคำพิพากษาตามยอมไม่มีผลผูกพันโจทก์ อันเป็นเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามมาตราดังกล่าว โจทก์ชอบที่จะยกขึ้นว่ากล่าวกันในคดีเดิมที่อ้างว่ามีการผิดระเบียบนั้น โจทก์จะมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ต่างหากหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องและการฟ้องคดีใหม่: ศาลใช้ดุลพินิจชอบแล้วเมื่อไม่มีพยานสืบ และไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ขณะที่โจทก์ขอถอนฟ้อง โจทก์และฝ่ายจำเลยต่างยังไม่มีฝ่ายใดนำพยานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนคำฟ้องและคำให้การของฝ่ายตน ซึ่งข้อเท็จจริงจะเป็นตามคำฟ้องของโจทก์หรือคำให้การของฝ่ายจำเลย จะรับฟังได้เพียงใดอยู่ที่พยานหลักฐานที่ต่างนำเข้าสืบสนับสนุนคำฟ้องและคำให้การของฝ่ายตน เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดนำพยานเข้าสืบ การที่โจทก์ขอถอนฟ้องก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้ฝ่ายจำเลยต้องเสียเปรียบโจทก์ในเชิงคดี แม้โจทก์ขอถอนฟ้องเพื่อนำคดีมาฟ้องใหม่ โดยการตั้งรูปคดีใหม่ตามที่ฝ่ายจำเลยคัดค้านก็ตาม ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะถอนฟ้องเมื่อใดก็ได้โดยอยู่ในเงื่อนไขและดุลพินิจของศาลที่จะสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 และเมื่อโจทก์ได้รับอนุญาตให้ถอนฟ้องแล้ว โจทก์มีสิทธิจะนำคดีมาฟ้องใหม่ได้ตามมาตรา 176 กรณีเช่นนี้ไม่อาจถือว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริตทำให้ฝ่ายจำเลยเสียเปรียบ ฉะนั้นศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีใหม่เพื่อแก้ไขผลจากหมายห้ามชั่วคราว ศาลไม่อนุญาต ต้องใช้สิทธิในคดีเดิม
บุคคลภายนอกซึ่งอ้างว่าจะต้องเสียหายเพราะหมายห้ามชั่วคราวในคดีเดิมหากประสงค์จะขอให้ศาลถอนหมายห้ามชั่วคราวก็ชอบที่จะยื่นคำขอในคดีเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 261 วรรคหนึ่ง ไม่อาจฟ้องขอให้หมายห้ามชั่วคราวดังกล่าวไม่มีผลบังคับเป็นคดีใหม่ได้
of 6