คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องคืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเอาคืนการครอบครองที่ดินหลังคดีอาญาถึงที่สุด สิทธิครอบครองเดิมไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้ฟ้องจ. และป. ภรรยาเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาภายในระยะเวลา1ปีนับแต่บุกรุกเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทโดยกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จ. ให้การปฏิเสธและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนกรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการฟ้องเอาคืนการครอบครองการที่จำเลยเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจ. จำเลยในคดีก่อนในระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดจำเลยย่อมไม่อาจยกการครอบครองที่ดินพิพาทขึ้นอ้างยันสิทธิครอบครองของโจทก์โจทก์จึงหาขาดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและไม่อาจฟ้องเรียกร้องเอาคืนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนภาษีอากร, การสำคัญผิดในตัวบุคคล, และผลของการอุทธรณ์ที่มิชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้แจ้งการประเมินราคาสินค้าให้โจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าทั้งสองฉบับ โจทก์ได้ชำระอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มให้แก่จำเลยแล้ว แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มดังกล่าวถือเป็นการประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87 (เดิม)ซึ่งอยู่ในบังคับที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30ก่อนจึงจะฟ้องคดีเรียกภาษีอากรที่ชำระเกินไปคืนได้
หลังจากโจทก์ทำหนังสืออุทธรณ์การประเมินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพิจารณาแล้วมีคำสั่งยืนตามราคาประเมินและโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยอีก แต่มีผู้ทำเอกสารปลอมลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์และรอยประทับตราของโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยในนามของโจทก์ เป็นเหตุให้จำเลยหลงเชื่อว่าเป็นอุทธรณ์ของโจทก์จริงและนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคา และคณะกรรมการดังกล่าววินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงราคาประเมินกับมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากร ดังนี้ อุทธรณ์ฉบับที่สองที่ยื่นต่อจำเลยในนามของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มิใช่อุทธรณ์ของโจทก์แม้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจะรับวินิจฉัยให้ ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ ถือเท่ากับไม่มีการอุทธรณ์ดังกล่าวคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้คืนอากรให้แก่โจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากรจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดว่าโจทก์เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ฉบับที่สอง เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมกล่าวคือ สำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ หนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้
เมื่อโจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากโจทก์นำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่เมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มตามที่ได้รับแจ้งตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสองเมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มเติมตามที่ได้รับแจ้งการประเมินตามสำเนาใบเสร็จรับเงิน ซึ่งระบุว่าจำเลยได้รับชำระอากรแล้วเมื่อวันที่ 10 กันยายน2527 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการขอคืนอากรขาเข้าที่ชำระเกินไป จึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2538 พ้นกำหนด 10ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5327/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนทรัพย์สินจากการยักยอกเงินบริษัท ไม่ใช่หนี้สินจากการชำระบัญชี
การที่จำเลยให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ชำระบัญชีเสร็จสิ้นเป็นการให้การต่อสู้แจ้งชัดว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา1272 จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องคดีละเมิดตามมาตรา 448 คดีจึงไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา448 ซึ่งจำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทโจทก์ทำบัญชีงบดุล โดยนำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวโดยลงรายการเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ ซึ่งไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินและเป็นรายการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายรายการ รายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในกิจการของโจทก์และเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนโจทก์จดทะเบียนเป็นิติบุคคลซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบันและอนุมัติการจ่ายเงินนั้น และขอให้บังคับจำเลยคืนเงินดังกล่าวนั้นมิใช่กรณีที่เมื่อบริษัทโจทก์ได้เลิกกันและมีการชำระบัญชีเสร็จแล้ว ผู้เป็นเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นลูกหนี้อยู่ฐานเช่นนั้น ดังที่บัญยัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1272 จึงไม่อาจนำอายุความตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ การฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน อันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามมาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ โจทก์เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิดังกล่าวอยู่ตลอดเวลาตราบเท่าที่จำเลยยังมิได้คืนเงินให้โจทก์ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2523 มีจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2526 ศาลชั้นต้นในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 12816/2526 มีคำสั่งให้เลิกบริษัทโจทก์โดยตั้งจำเลยเป็นผู้ชำระบัญชี และต่อมาศาลชั้นต้นดังกล่าวมีคำสั่งตั้งนายจงศักดิ์ หน่อชูเวช เป็นผู้ชำระบัญชีร่วมกับจำเลยแต่ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้ชำระบัญชี จึงเหลือนายจงศักดิ์เป็นผู้ชำระบัญชีเพียงผู้เดียวและการชำระบัญชียังไม่ถึงที่สุด จากการตรวจสอบบัญชีของโจทก์นายจงศักดิ์พบว่าจำเลยทำบัญชีงบดุลของโจทก์ในปี 2524 โดยนำเงินสดของโจทก์ไปใช้รวม 1,234,188.28 บาท โดยลงรายการเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งไม่มีหลักฐานการจ่าย และเป็นรายการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายรายการกล่าวคือ ค่าขุดบ่อน้ำบาดาล 270,000 บาท ค่าสำรวจไร่กับค่าหญ้า 833,146บาท ค่าใช้จ่ายในเดือนธันวาคม 2523 จำนวน 71,397.28 บาท และค่าใช้จ่ายในเดือนมกราคม 2526 อีก 59,645 บาท ค่าใช้จ่ายดังกล่าวนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในกิจการของโจทก์ เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทโจทก์ และที่ประชุมก่อตั้งบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบัน หรืออนุมัติการจ่ายเงินดังกล่าว เงินจำนวนนี้เป็นของโจทก์แต่จำเลยนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวแล้วลงในบัญชีของโจทก์เป็นรายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ โจทก์ขอให้จำเลยทำการแก้ไขบัญชีของโจทก์ให้ถูกต้องและทวงถามให้จำเลยนำเงินมาคืนให้โจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 1,234,188.28 บาท แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่นายจงศักดิ์ หน่อชูเวช ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ชำระบัญชีเสร็จสิ้น ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน401,042.28 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งว่า จำเลยได้นำเงินของโจทก์ไปใช้จ่ายเป็นค่าสำรวจไร่และค่าหญ้าซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์รวมเป็นเงิน 833,146 บาท จริง ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นนี้มีว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในส่วนค่าขุดบ่อน้ำบาดาลและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวม 25 รายการเป็นเงิน 401,042.28 บาท ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่าตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยนำเงินของโจทก์ไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ชอบ เป็นเหตุให้โจทก์และผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายจึงมิใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นลูกหนี้อันจะต้องตกอยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1272 แต่เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องนำอายุความในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448มาใช้บังคับนั้น เห็นว่า การที่จำเลยให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่นายจงศักดิ์ หน่อชูเวช ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ชำระบัญชีเสร็จสิ้น เป็นการให้การต่อสู้แจ้งชัดว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องคดีละเมิดตามมาตรา 448 คดีจึงไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 448 หรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นยกเอาอายุความตามมาตรา 448 ซึ่งจำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ อย่างไรก็ดี ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทโจทก์ทำบัญชีงบดุลปี 2524 โดยนำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวโดยลงรายการเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ ซึ่งไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินและเป็นรายการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายรายการ รายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในกิจการของโจทก์และเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบันและอนุมัติการจ่ายเงินนั้น และขอให้บังคับจำเลยคืนเงินดังกล่าวนั้น มิใช่กรณีที่เมื่อบริษัทโจทก์ได้เลิกกัน และมีการชำระบัญชีเสร็จแล้ว ผู้เป็นเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1272 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่อาจนำอายุความตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ การฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนอันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ โจทก์เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิดังกล่าวอยู่ตลอดเวลาตราบเท่าที่จำเลยยังมิได้คืนเงินให้โจทก์ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการรับเงินเดือนสองตำแหน่งโดยมิชอบ เป็นลาภมิควรได้ ฟ้องคืนได้เฉพาะส่วนที่ยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2517 จำเลยได้รับบรรจุเป็นข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรับเงินเดือนในอัตราของตำแหน่งครูต่อมาจำเลยได้สอบคัดเลือกเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการครูสังกัดกรมสามัญศึกษาโจทก์ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2518 โดยรับเงินเดือนในอัตราชั้นตรี โดยจำเลยได้เงินเดือนสองตำแหน่งตลอดมาจนจำเลยออกจากราชการของกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2521 ตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2505 มาตรา 28 บัญญัติให้ข้าราชการรับเงินเดือนได้เพียงตำแหน่งเดียวนั้น หมายความรวมทั้งกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นได้ไปปฏิบัติหน้าที่ทั้งสองตำแหน่งหรือหลายตำแหน่งด้วย และถึงแม้การไปดำรงตำแหน่งมากกว่าหนึ่งตำแหน่งของจำเลยจะมิได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับเงินเดือนทั้งสองตำแหน่งได้ ฉะนั้น จำเลยยังไม่ได้แสดงเจตนาว่าจะเลือกรับเงินเดือนในตำแหน่งใด และโจทก์ยังไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าจะให้จำเลยรับเงินเดือนทางใด และขอคืนในอัตราของตำแหน่งใดก่อนจึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับเงินจากโจทก์อันปราศจากมูลที่จะอ้างกฎหมายได้ อันเป็นลาภมิควรได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินคืนได้ จำเลยต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ อายุความสำหรับเรียกทรัพย์คืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้น มาตรา419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ดังนั้น เงินที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกิน 10 ปี จึงขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินสิบปีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนค่าอากรและการประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้อง
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 40 กำหนดให้โจทก์สามารถนำสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากรได้โดยชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก็ได้ แต่โจทก์เลือกชำระค่าภาษีอากรตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนด ถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรส่วนที่เกินโดยสมัครใจ การฟ้องเรียกร้องขอคืนเงินอากรส่วนที่เสียไว้เกินจึงต้องนำอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ โจทก์มาฟ้องเรียกร้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า คดีจึงขาดอายุความ
ลวดเหล็กชุบ ทองแดง สินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าจากต่างประเทศใช้ผลิตยางรถยนต์ ส่วนสินค้าของบริษัท อ. ใช้ผลิตยางรถจักรยานยนต์และต่างมีขนาดหน้าตัดไม่เท่ากัน ทั้งมีปริมาณการนำเข้าแต่ละครั้งแตกต่างกันมาก ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกันพอที่จะเปรียบเทียบราคากันได้ จึงไม่อาจนำราคาสินค้าของบริษัท อ. มาประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาท ขณะที่โจทก์นำเข้าได้ เมื่อไม่มีหลักเกณฑ์ที่จะชี้ให้เห็นได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทควรจะเป็นอย่างอื่น จึงพออนุมานได้ว่าราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ซื้อมานั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนภาษีอากรศุลกากร: ต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันนำของเข้า และแจ้งความก่อนส่งมอบ
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 10 วรรคห้า มีความหมายว่าสิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้น จะต้องฟ้องเสียภายในสองปีนับแต่วันที่นำของเข้า และถ้าเป็นการเรียกร้องหรือฟ้องคดีเพื่อขอคืนอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนักหรือราคาแห่งของใด ๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ นอกจากจะต้องเรียกร้องหรือฟ้องคดีภายในสองปีแล้ว กฎหมายยังบัญญัติไว้อีกว่าจะต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องด้วย
โจทก์นำของเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2521อ้างว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งเพิ่มราคาของให้สูงขึ้น เพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีอากรแต่โจทก์ฟ้องคดีเรียกคืนภาษีอากรที่เสียเพิ่มขึ้นดังกล่าว เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 ดังนี้ แม้โจทก์จะได้แจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากร คดีของโจทก์ก็ขาดอายุความตาม มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3963/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองที่ดินและการฟ้องคืนการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375
การที่จำเลยคัดค้านว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ที่จะไม่ยึดถือที่พิพาทแทนโจทก์ต่อไปอันเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ โจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเสียภายในหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความครอบครองปรปักษ์: ฟ้องคืนที่ดินหลัง 1 ปี เกินกำหนด ขาดอายุความ แม้ผู้เยาว์
นาพิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน เดิมเป็นของโจทก์ ต่อมาจำเลยชนะคดีบิดาโจทก์ได้นำยึดที่พิพาท ในการบังคับคดีและจำเลยซื้อที่พิพาทได้จากการขายทอดตลาด แล้วจำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ ก่อนโจทก์ฟ้องประมาณ 3 ปี ดังนี้โจทก์ฟ้องเอาคืนการครอบครองที่พิพาทไม่ได้ เพราะเกินกำหนด 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 แม้โจทก์จะเป็นผู้เยาว์และได้ฟ้องคดีนี้ภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์บรรลุนิติภาวะก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีผู้แทนโดยชอบธรรมอยู่ตลอดเวลา จึงยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 183 เป็นประโยชน์แก่โจทก์ไม่ได้
จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยซื้อนาที่พิพาทแล้วเข้าครอบครองทำนามา 3 ปี โจทก์ไม่เคยเกี่ยวข้องเพราะละทิ้งสละสิทธิครอบครองเกิน 1 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความข้อต่อสู้เช่นนี้เป็นข้อต่อสู้เรื่องกำหนดเวลาฟ้องเรียกคืนการครอบครองโดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องแจ้งให้เจ้าของเดิมทราบ หากไม่แจ้งฟ้องคืนได้ภายใน 1 ปี
ที่ดินของโจทก์ไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่จำเลยอาศัยโจทก์ทำนา เมื่อจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครอง ต้องบอกกล่าวหรือแสดงโดยชัดแจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือครอบครองแทนต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 การที่จำเลยเพิ่งแสดงออกให้โจทก์เห็นว่าจำเลยครอบครองเป็นปรปักษ์ต่อโจทก์เริ่มตั้งแต่จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีแพ่งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2503 ว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลย โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2504 คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยฎีกาอ้างขึ้นมาลอยๆ ว่าโจทก์เป็นคนต่างด้าว กฎหมายห้ามมิให้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งตามสำนวนไม่ปรากฏ ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินมือเปล่าและการฟ้องแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ทำให้สิทธิในการฟ้องคืนสิ้นสุด
ที่ดินมือเปล่านั้น เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายในเบื้องต้นว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบก่อน
โจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินมือเปล่าภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองโจทก์หมดสิทธิที่จะฟ้องเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375