คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 73

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทบัญญัติมาตรา 73 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ มิใช่บทเพิ่มโทษ แต่เป็นบทกำหนดโทษที่หนักขึ้น และการริบของกลางต้องมีคำขอ
การมีแผ่นวิดีโอซีดีแผ่นซีดีและแผ่นซีดีรอมไว้เพื่อขายและเสนอขายกับการประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ในคราวเดียวกันนั้น เป็นการกระทำโดยอาศัยเจตนาที่แยกต่างหากจากกันและเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกัน จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 73 เป็นบทระวางโทษที่หนักขึ้นเป็นสองเท่าของระวางโทษตามมาตรา 70 วรรคสองหาใช่บทเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยให้หนักขึ้นเป็นสองเท่าไม่
โจทก์มีคำขอเพียงให้แผ่นวิดีโอซีดีแผ่นซีดีและแผ่นซีดีรอมของกลาง ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น ไม่มีของกลางรายการอื่นที่โจทก์ขอให้ริบอีก ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ริบสิ่งของที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดมาด้วยจึงเป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดจากล้มละลาย: กรณีพิเศษตามมาตรา 73 (1) พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 และอำนาจศาล
คำสั่งคำขอปลดจากล้มละลายอาจแยกได้เป็น 2 กรณี คือ กรณีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ อันได้แก่ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 71วรรคสอง ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลาย ถ้าได้ความว่าเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต นอกจากจะมีเหตุผลพิเศษและลูกหนี้ได้ล้มละลายแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และตามมาตรา 72 ที่บัญญัติว่า ถ้าพิจารณาข้อเท็จจริงได้ความอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวไว้ในมาตรา 73 แล้ว ให้ศาลมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตาม (1) ถึง (4) ถ้าไม่ใช่กรณีดังที่บัญญัติในมาตรา 71 วรรคสอง และมาตรา 72ดังกล่าวข้างต้นแล้วก็เป็นกรณีทั่วไปซึ่งศาลมีอำนาจมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 วรรคหนึ่ง
ตามรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ความว่า มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 รวม 4 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น2,916,766.76 บาท ต่อมาเจ้าหนี้รายที่ 5 และที่ 7 ขอถอนคำขอรับชำระหนี้คงเหลือเจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ได้รับอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ 240,301.37 บาท และเจ้าหนี้รายที่ 9 ที่ได้รับอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ 132,305 บาท จำเลยที่ 2 มีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่ถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดและขายทอดตลาดชำระหนี้จำนองให้แก่ธนาคารทหารไทย จำกัด เจ้าหนี้ผู้รับจำนอง หลังจากศาลมีคำสั่งให้ปิดคดีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้อีก แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีสินทรัพย์เหลือไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกัน เหตุที่เป็นเช่นนั้นไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะความประมาทหรือความผิดพลาดของจำเลยที่ 2ที่ยอมทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 อันควรตำหนิจำเลยที่ 2 มากกว่า และจำเลยที่ 2 ไม่อาจแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลได้ว่า จำเลยที่ 2 มีเหตุผลที่ควรเชื่อได้ว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 สามารถชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ได้จึงได้ยอมก่อหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ข้อเท็จจริงต้องด้วยข้อกำหนดมาตรา 73 (1)จึงเป็นกรณีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ศาลมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตามมาตรา 72 (1) ถึง (4) ศาลจะมีคำสั่งปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไขไม่ได้ ต้องมีคำสั่งปลดจากล้มละลายตามวิธีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 72 (4) เท่านั้นทั้งไม่ใช่กรณีทั่วไปที่ศาลมีอำนาจมีคำสั่งปลดจากล้มละลายตามมาตรา 71 วรรคหนึ่ง
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 73 (1) ที่ระบุว่าสินทรัพย์ของบุคคลล้มละลายที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้มีเหลือไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกันหมายความว่า ในขณะที่บุคคลล้มละลายร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งปลดจากล้มละลาย บุคคลล้มละลายมีทรัพย์สินที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกัน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้หลังจากศาลมีคำสั่งปิดคดี ย่อมอยู่ในความหมายของมาตรา 73 (1)ดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามมาตรา 73 (1) ศาลจึงต้องมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตามมาตรา 72 (1) ถึง (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดจากล้มละลายตามมาตรา 73(1) พ.ร.บ.ล้มละลายฯ: ทรัพย์สินที่อาจแบ่งได้ไม่ถึง 50% ของหนี้
คำสั่งคำขอปลดจากล้มละลายอาจแยกได้เป็น 2 กรณีคือ กรณีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 71 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งปลดจาก ล้มละลาย ถ้าได้ความว่าเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต นอกจากจะมี เหตุผลพิเศษและลูกหนี้ได้ล้มละลายแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และตามมาตรา 72 ที่กำหนดว่าถ้าพิจารณาข้อเท็จจริงได้ความ อย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวไว้ในมาตรา 73 แล้ว ให้ศาลมีคำสั่ง อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตาม (1) ถึง (4) ถ้าไม่ใช่กรณี ดังกล่าวแล้วก็เป็นกรณีทั่วไปซึ่งศาลมีอำนาจมีคำสั่ง อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงต้องด้วยข้อกำหนดตามมาตรา 73(1) จึงเป็น กรณีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ศาลมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างตามมาตรา 72(1) ถึง (4) ศาลจะมีคำสั่งปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไขไม่ได้ ต้องมีคำสั่งปลดจากล้มละลายตามวิธีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 72(4) เท่านั้น กรณีพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 73(1) ระบุว่า สินทรัพย์ของบุคคลล้มละลายที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้มีเหลือ ไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกันนั้นหมายความว่า ในขณะที่บุคคลล้มละลายร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งปลดจาก ล้มละลายบุคคลล้มละลายมีทรัพย์สินที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ ไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกันการที่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้หลังจาก ศาลมีคำสั่งปิดคดี ย่อมอยู่ในความหมายของมาตรา 73(1) ดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เต็มจำนวนหนี้ซึ่งยังไม่ได้ชำระให้เสร็จ ภายในกำหนดเวลา 2 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งตามมาตรา 72(4) จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการถอนกรรมการชั่วคราวที่ศาลตั้งตามมาตรา 73 แม้มาตรา 1151 กำหนดอำนาจเฉพาะที่ประชุมใหญ่
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1151 จะกำหนดให้เฉพาะที่ประชุมใหญ่เท่านั้นที่จะตั้งหรือถอนกรรมการบริษัทได้ก็ตาม แต่ก็มิได้ตัดอำนาจของศาลที่จะถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวที่ศาลตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 73 ถึงแม้ว่าจะไม่มีบทบัญญัติโดยตรงให้ศาลถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวที่ศาลตั้งได้หากมีเหตุอันสมควร ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าหากกฎหมายประสงค์จะให้ศาลมีอำนาจถอนผู้แทนนิติบุคคลชั่วคราวที่ศาลตั้งขึ้นก็ย่อมจะบัญญัติไว้แต่ไม่ปรากฏว่าได้บัญญัติเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใดนั้น จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษทางอาญาตามมาตรา 73 ต้องพิสูจน์การพ้นโทษครั้งแรกภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อขอให้เพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบว่าจำเลยเคยต้องโทษมาแล้ว 2 ครั้งครั้งแรกจำคุก 4 ปีฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามคดีแดงที่ 541/2491 ครั้งที่2 จำคุก 6 เดือนฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน พ้นโทษไปเมื่อ พ.ศ.2495 มากระทำผิดในคดีนี้ภายใน 3 ปี ไม่เข็ดหลาบขอให้เพิ่มโทษตาม กฎหมายอาญา มาตรา 73 ด้วย
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องตลอดจนข้อเคยต้องโทษและพ้นโทษ ดังนี้โทษเก่าครั้งหลังเพียง 6 เดือนย่อมเพิ่มโทษตามมาตรา 73 ไม่ได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยพ้นโทษครั้งแรกเมื่อใดโจทก์กล่าวเพียงว่าจำเลยต้องโทษตามคดีแดงที่ 541/2491 จึงพอหมายความได้เพียงว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุก 4 ปี จริง แต่ทราบไม่ได้ว่าพ้นโทษครั้งแรกเมื่อใด ข้อเท็จจริงที่ปรากฏยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยพ้นโทษครั้งแรกเมื่อใดแน่ จำเลยอาจพ้นโทษครั้งแรกเกิน 3 ปี ก็เป็นได้ ฉะนั้นจะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 73 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 73 และการหักกลบลบโทษ รวมถึงขอบเขตการสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยต้องโทษมาแล้วหลายครั้ง ๆ สุดท้ายจำเลยได้หลบหนี้ไปในระหว่างต้องโทษ แล้วกลับมากระทำผิดในคดีนี้ภายหลังที่พ้นโทษครั้งที่ 4 ไปยังไม่เกิน 3 ปี ก็เพิ่มโทษตามมาตรา 73 ได้
เมื่อคดีต้องเพิ่มโทษตามมาตรา 73 กึ่งหนึ่ง และลดฐานปราณีตามมาตรา 59 ลงกึ่งหนึ่ง โทษเพิ่มและลดมีกำหนดเสมอกัน ต้องหักกลบลบกันไปตามมาตรา 39
จำเลยให้การรับสารภาพว่า ได้รับของโจรตามฟ้องไว้จริง แต่ไม่ได้ลักทรัพย์ตามโจทก์ฟ้อง การพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ จึงเกินคำรับของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญาซ้ำจากเคยหลบหนีระหว่างต้องโทษ และขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 73, 59, 39
จำเลยต้องโทษมาแล้วหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายจำเลยได้หลบหนีไปในระหว่างต้องโทษ แล้วกลับมากระทำผิดในคดีนี้ภายหลังที่พ้นโทษครั้งที่ 4 ไปยังไม่เกิน 3 ปี ก็เพิ่มโทษตามมาตรา 73 ได้
เมื่อคดีต้องเพิ่มโทษตามมาตรา 73 กึ่งหนึ่ง และลดฐานปราณีตามมาตรา 59 ลงกึ่งหนึ่ง โทษเพิ่มและลดมีกำหนดเสมอกัน ต้องหักกลบลบกันไปตาม มาตรา 39
จำเลยให้การรับสารภาพว่า ได้รับของโจรตามฟ้องไว้จริง แต่ ไม่ได้ลักทรัพย์ตามโจทก์ฟ้อง การพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ จึงเกินคำรับของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกซ้ำความผิดเดิม: มาตรา 73 vs. มาตรา 72 และหลักการลดโทษ
จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาแล้วพ้นโทษครั้งสุดท้ายซึ่งกำหนดโทษเกิน 6 เดือนมากระทำผิดอีกภายใน 3 ปี การเพิ่มโทษต้องเพิ่มกึ่งหนึ่งตามมาตรา 73 ไม่ใช่เพิ่ม 1 ใน 3 ตามมาตรา 72