พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายและผลของการรับชำระค่างวดเกินกำหนด แม้มีข้อตกลงยกเลิกสัญญาได้ทันที
ตามข้อกำหนดแห่งสัญญากำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่างวดตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือว่าจำเลยผิดสัญญาและสัญญายกเลิกทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว แต่จำเลยชำระค่างวดรวม 24 งวด เกินกำหนดระยะเวลาและเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญาเกือบทุกงวด โจทก์ก็รับไว้ทุกงวด ไม่เคยปฏิเสธการชำระค่างวดทุกงวดที่เกินกำหนดแม้โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยภายหลังที่จำเลยชำระค่างวดไป 22 งวด แล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยนำเงินค่างวดงวดที่ 23 และ 24 ไปชำระให้แก่โจทก์ หลังจากโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยเพียง 1 สัปดาห์ โจทก์ก็รับไว้โดยไม่อิดเอื้อน ย่อมแสดงว่า ในทางปฏิบัติต่อกันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่างวดเป็นสาระสำคัญ โจทก์จึงจะนำเหตุแห่งข้อกำหนดในสัญญามาเป็นข้ออ้างสัญญาเลิกต่อกันทันทีเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญามิได้ กรณีต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 โดยหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาโจทก์จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรและบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่างวดสุดท้ายภายในระยะเวลานั้น หากจำเลยไม่ปฏิบัติโดยไม่มีเหตุที่จะยกขึ้นปฏิเสธ โจทก์จึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ศาลมีอำนาจที่จะรับฟังข้อเท็จจริงทั้งหมดมาเป็นเหตุยกฟ้องเพราะโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนได้ หาเป็นการพิจารณาหรือพิพากษานอกประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การโดยไม่ชอบไม่
ศาลมีอำนาจที่จะรับฟังข้อเท็จจริงทั้งหมดมาเป็นเหตุยกฟ้องเพราะโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนได้ หาเป็นการพิจารณาหรือพิพากษานอกประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การโดยไม่ชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6512/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการยกเลิกสัญญาขนส่งทางทะเล: ใช้ พ.ร.บ.การรับขนฯ และ ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยทางเรือเดินทะเล โดยจำเลยจะรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่าจากโจทก์ไปบรรจุสินค้าที่โรงงานของจำเลย แล้วนำกลับมาส่งมอบแก่โจทก์ที่ลานเก็บตู้คอนเทนเนอร์เพื่อให้โจทก์ดำเนินการขนส่งทางเรือไปยังต่างประเทศ และโจทก์ได้นำตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งบรรจุสินค้าของจำเลยไปฝากไว้ยังท่าเรือแหลมฉบังเพื่อเตรียมการขนส่งทางเรือ เมื่อจำเลยได้ขอยกเลิกการส่งสินค้าโดยขอรับตู้คอนเทนเนอร์กลับไปขนสินค้าออกแล้วนำตู้คอนเทนเนอร์เปล่าส่งคืนโจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิตาม พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 36 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ผู้ขนส่งได้เสียไปเพื่อจัดการในการขนส่งให้แก่โจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตราเดียวกัน และเมื่อพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในกรณีเช่นนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี มาใช้บังคับ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34 (3) ซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ไม่อาจนำมาใช้บังคับกับการรับขนของทางทะเลในกรณีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประกันการเช่าไม่ใช่เงินมัดจำ ผู้ให้เช่าต้องบรรเทาความเสียหายจากผู้เช่ายกเลิกสัญญา
เงินที่จำเลยวางไว้แก่โจทก์เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าห้องชุดอันเนื่องจากจำเลยไม่ชำระค่าเช่า ค่าเช่าอุปกรณ์ หรือความเสียหายอื่น ๆ โดยโจทก์มีสิทธิจะหักจากเงินดังกล่าวไปชำระได้และตามสัญญากำหนดให้คืนเงินแก่ผู้เช่าในวันที่สัญญาสิ้นสุดหากผู้เช่าได้ชำระหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแก่ผู้เช่าให้ครบถ้วนมิใช่สิ่งที่จำเลยให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญาขึ้นแล้วหรือเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญาจึงมิใช่มัดจำที่จะริบได้
จำเลยมีหนังสือขอเจรจาเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์และได้เจรจาเพื่อขอเลิกการเช่าเรื่อยมา ต่อมาจำเลยแจ้งเป็นหนังสือขอเลิกการเช่าแล้วย้ายออกจากห้องชุดที่เช่า โจทก์จึงรู้อยู่แล้วว่าจำเลยต้องการเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ โจทก์ย่อมสามารถเตรียมจัดหาผู้เช่ารายใหม่แล้วบอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยได้เพื่อบรรเทาความเสียหาย แต่โจทก์หาได้กระทำไม่ กลับปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป ทำให้ความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น ถือได้ว่าโจทก์ไม่พยายามบรรเทาความเสียหายตามที่สมควรกระทำได้ โจทก์จึงมีส่วนผิดด้วยในความเสียหายดังกล่าว
จำเลยมีหนังสือขอเจรจาเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์และได้เจรจาเพื่อขอเลิกการเช่าเรื่อยมา ต่อมาจำเลยแจ้งเป็นหนังสือขอเลิกการเช่าแล้วย้ายออกจากห้องชุดที่เช่า โจทก์จึงรู้อยู่แล้วว่าจำเลยต้องการเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ โจทก์ย่อมสามารถเตรียมจัดหาผู้เช่ารายใหม่แล้วบอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยได้เพื่อบรรเทาความเสียหาย แต่โจทก์หาได้กระทำไม่ กลับปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป ทำให้ความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น ถือได้ว่าโจทก์ไม่พยายามบรรเทาความเสียหายตามที่สมควรกระทำได้ โจทก์จึงมีส่วนผิดด้วยในความเสียหายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกสัญญาจ้างงานเนื่องจากตรวจพบสารเสพติด ไม่ถือเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาของผู้จัดหางาน
สัญญาจ้างแรงงานข้อที่กำหนดว่า ในกรณีลูกจ้างไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ โดยแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคที่ทางการไต้หวันไม่อนุญาตให้ทำงาน เช่น วัณโรค กามโรค? นายจ้างสามารถยกเลิกสัญญาและส่งลูกจ้างกลับประเทศโดยลูกจ้างจะได้รับค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนนั้น ต้องเป็นกรณีตรวจพบโรคต่าง ๆ ตามเงื่อนไขในสัญญาซึ่งสามารถตรวจพบได้ก่อนตกลงทำสัญญา หากตรวจพบแล้วผู้จัดหางานก็ชอบที่จะไม่ตกลงทำสัญญากับคนหางานได้ กรณีของโจทก์เป็นการตรวจพบมอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารเสพติดและไม่ได้ความว่าจำเป็นต้องใช้หรือได้รับอนุญาตจากแพทย์ในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย จึงไม่เป็นการตรวจพบโรคตามข้อสัญญาดังกล่าว แต่เป็นกรณีโจทก์ฝ่าฝืนสัญญาจ้างแรงงานในข้อที่ว่าเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบของประเทศไต้หวัน ซึ่งตามสัญญานายจ้างสามารถยกเลิกสัญญาและส่งโจทก์กลับประเทศไทยได้โดยไม่ต้องคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้โจทก์
โจทก์ได้ทำงานแล้ว 16 วัน การที่โจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานต่อไปเนื่องจากการตรวจพบมอร์ฟินในร่างกาย จึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง ไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรับผิดชอบได้ และมิใช่กรณีจำเลยผู้จัดหางานไม่สามารถจัดให้โจทก์ซึ่งเป็นคนหางานได้ทำงานตามที่ตกลงกัน อันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาตามความหมายของ พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 39 และมาตรา 46 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนจากจำเลย
โจทก์ได้ทำงานแล้ว 16 วัน การที่โจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานต่อไปเนื่องจากการตรวจพบมอร์ฟินในร่างกาย จึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง ไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรับผิดชอบได้ และมิใช่กรณีจำเลยผู้จัดหางานไม่สามารถจัดให้โจทก์ซึ่งเป็นคนหางานได้ทำงานตามที่ตกลงกัน อันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาตามความหมายของ พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 39 และมาตรา 46 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกสัญญาจ้างงานเนื่องจากตรวจพบสารเสพติดในร่างกายลูกจ้างหลังทำงานไปแล้ว มิใช่ผิดสัญญา
สัญญาจ้างแรงงานที่ว่า ในกรณีลูกจ้างไม่ผ่านการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคที่ทางการไต้หวันไม่อนุญาตให้ทำงาน นายจ้างสามารถยกเลิกสัญญาและส่งลูกจ้างกลับประเทศไทย โดยลูกจ้างจะได้รับค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนนั้น จะต้องเป็นกรณีตรวจพบโรคต่าง ๆ ตามเงื่อนไขในสัญญาซึ่งสามารถตรวจพบได้ก่อนตกลงทำสัญญา หากตรวจพบแล้วผู้จัดหางานก็ชอบที่จะไม่ตกลงทำสัญญากับคนหางานแต่กรณีของโจทก์เป็นการตรวจพบมอร์ฟินซึ่งเป็นสารเสพติดในร่างกายภายหลังจากที่โจทก์ได้ทำงานที่ประเทศไต้หวันแล้ว 16 วัน จึงไม่เป็นการตรวจพบโรคตามที่ระบุไว้ในสัญญาการที่โจทก์ใช้สารเสพติดจึงเป็นกรณีโจทก์ฝ่าฝืนสัญญาจ้างแรงงาน โดยเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบของประเทศไต้หวัน ซึ่งจำเลยผู้เป็นนายจ้างสามารถยกเลิกสัญญาและส่งโจทก์กลับประเทศไทยได้ โดยไม่ต้องคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้โจทก์
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 39 และมาตรา 46 บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองคนหางานให้ได้ทำงานตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาและเป็นบทบังคับให้ผู้จัดหางานต้องจัดให้คนหางานได้ทำงานตามข้อตกลงในสัญญาแต่โจทก์ได้ทำงานแล้ว 16 วัน ฉะนั้น การที่โจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานต่อไปเนื่องจากการตรวจพบมอร์ฟินในร่างกาย จึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง ไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรับผิดชอบได้ มิใช่กรณีจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดหางานไม่สามารถจัดให้โจทก์ซึ่งเป็นคนหางานได้ทำงานตามที่ตกลงกัน อันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาตามความหมายแห่งบทบัญญัติในมาตราทั้งสองนั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามข้อสัญญาและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนจากจำเลย
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 39 และมาตรา 46 บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองคนหางานให้ได้ทำงานตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาและเป็นบทบังคับให้ผู้จัดหางานต้องจัดให้คนหางานได้ทำงานตามข้อตกลงในสัญญาแต่โจทก์ได้ทำงานแล้ว 16 วัน ฉะนั้น การที่โจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานต่อไปเนื่องจากการตรวจพบมอร์ฟินในร่างกาย จึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง ไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรับผิดชอบได้ มิใช่กรณีจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดหางานไม่สามารถจัดให้โจทก์ซึ่งเป็นคนหางานได้ทำงานตามที่ตกลงกัน อันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาตามความหมายแห่งบทบัญญัติในมาตราทั้งสองนั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามข้อสัญญาและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าและค่าใช้จ่ายส่วนกลาง, ความเคลือบคลุมของฟ้อง, สัญญาจองสิทธิการเช่าปิดอากรแสตมป์, การยกเลิกสัญญา
ค่าภาษีและค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์ได้จัดขึ้นเพื่อรักษาความปลอดภัย รักษาความสะอาดไอเย็น แสงสว่าง สิ่งอื่นใดเพื่ออำนวยความสะดวกอันเป็นส่วนกลางที่ใช้ร่วมกันค่าใช้จ่ายด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย ตามข้อตกลงในสัญญาจองสิทธิการเช่า มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า จึงมีอายุความเช่นเดียวกับ ค่าเช่าทรัพย์สินที่ค้างชำระ ตามป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3) คือ มีอายุความ 5 ปี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจองสิทธิการเช่าร้านค้ากับโจทก์ ต่อมาจำเลยผิดสัญญาเช่าโดยค้างชำระค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนสิงหาคม 2539 เมื่อคิดหักกับเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าที่จำเลยชำระแล้วและเงินค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์ยกเว้นให้ในเดือนกันยายน 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 จำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน 8,342,661.82 บาท ตามหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 ซึ่งตามหนังสือดังกล่าวก็ได้ระบุไว้ว่าหลังจากทำสัญญาจองสิทธิการเช่าแล้ว โจทก์กับจำเลยได้ตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาเช่าและอัตราค่าเช่าใหม่ เมื่ออ่านคำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้ว ย่อมเข้าใจได้ว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าใหม่จากที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาจองสิทธิการเช่า จึงทำให้หนี้ค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์เรียกร้องตามคำฟ้องไม่ตรงกับอัตราค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่กำหนดไว้ในสัญญาจองสิทธิการเช่า ซึ่งจำเลยก็ให้การว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าใหม่ เพียงแต่อ้างว่าได้เปลี่ยนคู่สัญญาไปแล้วเท่านั้น แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์และสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาจองสิทธิการเช่าจะบันทึกสัญญาเช่าซึ่งจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่ง ป.รัษฎากรหรือไม่ก็ตาม แต่จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาจองสิทธิการเช่าตามฟ้องกับโจทก์ มิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของสัญญาจองสิทธิการเช่าดังกล่าว แม้สัญญาจองสิทธิการเช่าดังกล่าวมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
บันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าระบุว่าโจทก์และจำเลยประสงค์จะยกเลิกสัญญาการเช่า โดยตกลงให้โอนเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าไปเป็นเงินประกันสัญญาการเช่าพื้นที่และสัญญาอื่นที่จะทำขึ้นต่อไป จึงได้ทำบันทึกดังกล่าวและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยานเป็นสำคัญแสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจะต้องทำสัญญายกเลิกจองสิทธิการเช่ากันเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่า ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว จึงหามีผลเป็นการเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าทันทีไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจองสิทธิการเช่าร้านค้ากับโจทก์ ต่อมาจำเลยผิดสัญญาเช่าโดยค้างชำระค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนสิงหาคม 2539 เมื่อคิดหักกับเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าที่จำเลยชำระแล้วและเงินค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์ยกเว้นให้ในเดือนกันยายน 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 จำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน 8,342,661.82 บาท ตามหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 ซึ่งตามหนังสือดังกล่าวก็ได้ระบุไว้ว่าหลังจากทำสัญญาจองสิทธิการเช่าแล้ว โจทก์กับจำเลยได้ตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาเช่าและอัตราค่าเช่าใหม่ เมื่ออ่านคำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้ว ย่อมเข้าใจได้ว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าใหม่จากที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาจองสิทธิการเช่า จึงทำให้หนี้ค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์เรียกร้องตามคำฟ้องไม่ตรงกับอัตราค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นที่กำหนดไว้ในสัญญาจองสิทธิการเช่า ซึ่งจำเลยก็ให้การว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าใหม่ เพียงแต่อ้างว่าได้เปลี่ยนคู่สัญญาไปแล้วเท่านั้น แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์และสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาจองสิทธิการเช่าจะบันทึกสัญญาเช่าซึ่งจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่ง ป.รัษฎากรหรือไม่ก็ตาม แต่จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาจองสิทธิการเช่าตามฟ้องกับโจทก์ มิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของสัญญาจองสิทธิการเช่าดังกล่าว แม้สัญญาจองสิทธิการเช่าดังกล่าวมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
บันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าระบุว่าโจทก์และจำเลยประสงค์จะยกเลิกสัญญาการเช่า โดยตกลงให้โอนเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าไปเป็นเงินประกันสัญญาการเช่าพื้นที่และสัญญาอื่นที่จะทำขึ้นต่อไป จึงได้ทำบันทึกดังกล่าวและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยานเป็นสำคัญแสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจะต้องทำสัญญายกเลิกจองสิทธิการเช่ากันเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่า ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว จึงหามีผลเป็นการเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าทันทีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าและค่าใช้จ่ายส่วนกลาง, ผลของสัญญาจองสิทธิการเช่า, และผลของการตกลงยกเลิกสัญญา
ทรัพย์สินที่โจทก์ให้จำเลยได้สิทธิเป็นผู้เช่าเป็นร้านค้าเพื่อใช้เป็นที่ประกอบการค้า จึงเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(3) มีอายุความ 5 ปี ส่วนค่าภาษีและค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่โจทก์ได้จัดขึ้นเพื่อรักษาความปลอดภัย รักษาความสะอาด ไอเย็น แสงสว่าง สิ่งอื่นใดเพื่ออำนวยความสะดวกอันเป็นส่วนกลางที่ใช้ร่วมกัน รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขายตามสัญญาจองสิทธิการเช่าก็มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า จึงมีอายุความเช่นเดียวกับค่าเช่าทรัพย์สินที่ค้างชำระตามมาตรา 193/33(3) กรณีมิใช่โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นแล้วเรียกเงินที่ได้ออกทดรองไปตามมาตรา 193/34
จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาจองสิทธิการเช่าตามฟ้องกับโจทก์จริง มิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของสัญญาดังกล่าว ฉะนั้น แม้สัญญาจองสิทธิการเช่าซึ่งเป็นตราสารการเช่ามิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118
บันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าระบุว่าโจทก์และจำเลยประสงค์จะยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่า โดยตกลงให้โอนเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าไปเป็นเงินประกันสัญญาการเช่าพื้นที่สัญญาสิทธิการได้ใช้บริการอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภค และสัญญาให้บริการภายในอาคารที่จะทำขึ้นต่อไป แล้วคืนเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าส่วนที่เหลือแก่จำเลย จึงได้ทำบันทึกดังกล่าวและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยานเป็นสำคัญ แสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจะต้องทำสัญญายกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่ากันเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่า ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีผลเป็นการเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าทันที
จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาจองสิทธิการเช่าตามฟ้องกับโจทก์จริง มิได้ปฏิเสธถึงความถูกต้องของสัญญาดังกล่าว ฉะนั้น แม้สัญญาจองสิทธิการเช่าซึ่งเป็นตราสารการเช่ามิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118
บันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าระบุว่าโจทก์และจำเลยประสงค์จะยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่า โดยตกลงให้โอนเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าไปเป็นเงินประกันสัญญาการเช่าพื้นที่สัญญาสิทธิการได้ใช้บริการอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภค และสัญญาให้บริการภายในอาคารที่จะทำขึ้นต่อไป แล้วคืนเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าส่วนที่เหลือแก่จำเลย จึงได้ทำบันทึกดังกล่าวและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยานเป็นสำคัญ แสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจะต้องทำสัญญายกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่ากันเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่า ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีผลเป็นการเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกสัญญาเช่าซื้อและการผิดสัญญา การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขชำระเบี้ยประกันภัยโดยฝ่ายเดียวเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาได้
สัญญาเช่าซื้อระบุให้จำเลยผู้เช่าซื้อมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงตามบันทึกโดยอาศัยเหตุอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้กำหนดไว้ในบันทึกนี้ การจะยกเลิกข้อตกลงนั้นจึงต้องมีเหตุอื่น ๆ อันจะเป็นหลักแห่งข้ออ้างในการเลิกข้อตกลง และเหตุอื่น ๆ นั้น น่าจะเป็นหรือเกิดจากการกระทำของคู่สัญญา ในคดีนี้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำการผิดเงื่อนไขข้อสัญญาแต่ประการใด ระยะเวลาให้จำเลยชำระเบี้ยประกันภัยนั้นระบุไว้ในสัญญาโดยชัดแจ้ง การเปลี่ยนระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัยของจำเลยนั้นเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบโดยไม่มีเหตุอันควรจะอ้าง จึงรับฟังไม่ขึ้น เมื่อจำเลยไม่ชำระเบี้ยประกันเป็นการผิดข้อตกลงตามสัญญา จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ได้มีหนังสือเตือนให้จำเลยชำระเบี้ยประกันภัยแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากทายาท หลังตกลงขายฝากแล้วยกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ช.ให้ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์คืน จำเลยให้การว่า โจทก์ตกลงจะขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทให้แก่ ช. เป็นเวลา 1 ปี โดยได้รับเงินค่าขายฝากไปแล้วกับมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท และหนังสือ มอบอำนาจให้ ช. ไปจดทะเบียนขายฝากเอง แต่โจทก์ไปขอยกเลิกหนังสือมอบอำนาจอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ช. หรือทายาทมีสิทธิที่จะยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไว้จนกว่าโจทก์จะจดทะเบียนการขายฝากหรือนำเงินราคาที่ขายฝากพร้อมดอกเบี้ยไปคืนแก่ทายาท ช. และให้การว่าโจทก์จะขอให้บังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ เพราะจำเลยไม่ได้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจะต้องคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามฟ้องให้แก่โจทก์หรือไม่จึงครอบคลุมถึงข้อต่อสู่ตามคำให้การของจำเลยแล้ว ทั้งจำเลยก็นำสืบพยานตามข้อต่อสู้นั้นแล้วด้วย ปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงและโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นแต่เป็นเรื่องที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง อันเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วเพื่อให้ขบวนการยุติธรรมได้ดำเนินไปโดยรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก แม้ ช. จะเป็นผู้ครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทโดยโจทก์มอบให้ไว้ เนื่องจากตกลงจะขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาททั้งสองแปลงให้แต่การที่ ช. เคยครอบครองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไว้นั้น ก็เป็นเพียงการครอบครองเอกสารซึ่งแสดงว่าผู้เขียนในเอกสารนั้นได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเท่านั้น ช. ไม่ได้ครอบครองที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีความผูกพันที่จะต้องขายฝากให้แก่ ช.ฉะนั้นจึงถือไม่ได้ว่าช. หรือกองมรดกของช. มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท เมื่อ ช. ถึงแก่ความตายจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ช. ย่อมไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 241 โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทจาก ช.เมื่อช. ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงชอบที่จะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทของ ช. คนใดก็ได้จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของ ช. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบหนังสือเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินคือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินแก่โจทก์เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินแต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์สำหรับการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเป็นเงินเกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูง ตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกรรมการและผลกระทบต่อสัญญาค้ำประกัน: การยกเลิกสัญญาค้ำประกันโดยปริยาย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาฉบับพิพาทค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 4 ได้ขายหุ้นทั้งหมดและลาออกจากการเป็นกรรมการ ซึ่งที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติให้จำเลยที่ 4 ลาออก และให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นกรรมการแทน โดยมีการนำมติดังกล่าวไปจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้ว นับแต่นั้นจำเลยที่ 4 จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการจำเลยที่ 1ให้โจทก์ทราบแล้ว การที่ต่อมาโจทก์ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ใหม่ภายหลังจากโจทก์ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 4 ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 และจำนวนผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดิมลดน้อยลงโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิ่มวงเงินที่ค้ำประกันสูงขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวในหนังสือค้ำประกันฉบับใหม่ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม เห็นได้ชัดว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 4 ต้องผูกพันตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทต่อไปอีก ดังนั้นสัญญาค้ำประกันเดิมจึงเป็นอันยกเลิกเพิกถอนไปในตัวโดยปริยาย โดยโจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือเพิกถอนสัญญาค้ำประกันในส่วนของจำเลยที่ 4 อีก
หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สัญญาค้ำประกันเดิมเพิกถอนแล้ว จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ทำบันทึกข้อตกลงถึงโจทก์ เสนอขอชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท เพื่อให้โจทก์ปลดเปลื้องภาระผูกพันของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาท เพราะเข้าใจว่ากรรมการบริหารใหม่ของจำเลยที่ 1 มิได้ปลดภาระผูกพันให้แก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ การทำบันทึกดังกล่าวจึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สัญญาค้ำประกันเดิมเพิกถอนแล้ว จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ทำบันทึกข้อตกลงถึงโจทก์ เสนอขอชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท เพื่อให้โจทก์ปลดเปลื้องภาระผูกพันของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาท เพราะเข้าใจว่ากรรมการบริหารใหม่ของจำเลยที่ 1 มิได้ปลดภาระผูกพันให้แก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ การทำบันทึกดังกล่าวจึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์