พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7981/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทของพนักงานขับรถไฟและการพิสูจน์ความรับผิดทางอาญา รวมถึงอำนาจโจทก์ร่วม
จำเลยขับรถไฟมาไม่เร็ว เสียงเงียบและไม่ได้เปิดหวีดรถไฟ บริเวณที่เกิดเหตุเป็นชุมนุมชน มีบ้านเรือนอยู่สองข้างทางรถไฟเป็นจำนวนมาก มีร่องรอยเป็นทางเดินชัดเจน จำเลยควรเปิดหวีดรถไฟเพื่อให้คนที่สัญจรไปมาทราบเป็นระยะๆ การที่จำเลยไม่เปิดหวีดรถไฟเป็นสัญญาณเพื่อเตือนคนที่สัญจรไปมาให้ทราบว่ามีขบวนรถไฟขับผ่านมาทำให้รถไฟที่จำเลยขับชนและทับเด็กหญิง ส. ผู้ตาย และเด็กหญิง ว. ผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย และผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำโดยประมาท จำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัส ส่วนผู้ตายและผู้เสียหายแม้จะมีส่วนประมาทด้วยหรือไม่ ก็ไม่ใช่เหตุที่จำเลยจะยกขึ้นอ้างเพื่อปัดความรับผิดได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ตายและผู้เสียหายมีส่วนประมาท โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าเหตุที่เกิดเนื่องมาจากผู้ตายมีส่วนกระทำโดยประมาท ดังนั้น ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ตายและผู้เสียหายมีส่วนประมาท โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าเหตุที่เกิดเนื่องมาจากผู้ตายมีส่วนกระทำโดยประมาท ดังนั้น ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810-2811/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถไฟ: จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อไม่ได้นำแผงกั้นลง ผู้ตายไม่ได้ประมาท
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่นำแผงเครื่องกั้นรถไฟลงเมื่อรถไฟแล่นผ่าน แต่ในขณะเกิดเหตุเมื่อรถไฟแล่นมาถึงจำเลยที่ 1 มิได้นำแผงเครื่องกั้นรถไฟลงแต่อย่างใด เมื่อรถยนต์ที่ผู้ตายขับแล่นผ่านไปจึงเป็นเหตุให้ถูกรถไฟชน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ และโดยปกติแล้วผู้ขับรถยนต์ทั่วไปเมื่อผ่านบริเวณรางรถไฟ หากไม่มีแผงเครื่องกั้นรถไฟปิดกั้นและปรากฏสัญญาณไฟและเสียงสัญญาณเตือนแล้วก็จะขับรถผ่านไปตามปกติ หากมีการนำแผงเครื่องกั้นรถไฟลง รถยนต์ที่ผ่านมาก็จะหยุดให้รถไฟผ่านไปก่อน แต่จากสภาพที่เกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน มีป้อมสำหรับพนักงานรถไฟและต้นไม้บังอยู่ ประกอบกับมีแสงไฟสว่างบดบังบริเวณนั้น จึงน่าจะทำให้ผู้ตายไม่อาจทราบได้ว่ารถไฟกำลังแล่นมาจึงขับรถยนต์ผ่านไปตามปกติ การกระทำของผู้ตายจึงไม่เป็นการประมาทเลินเล่อคงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5751/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถไฟ การเยียวยาความเสียหายต่อร่างกายและจิตใจ รวมถึงค่าทดแทนความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินเป็นตัวเงินได้
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 9 มีหน้าที่ขนส่งผู้โดยสารเพื่อให้ไปถึงจุดหมายปลายทางตามที่ตกลงไว้กับผู้โดยสาร เมื่อไม่สามารถส่งโจทก์ทั้งสองและผู้โดยสารอื่นต่อไปได้ เพราะมีรถไฟตกรางอยู่ข้างหน้า จำเลยที่ 9 ย่อมมีหน้าที่จัดหายานพาหนะอื่นขนส่งโจทก์ทั้งสองและผู้โดยสารอื่นไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง อันเป็นการรับขนส่งผู้โดยสารตาม ป.พ.พ. มาตรา 608, 609 และ พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 9 (7) จำเลยที่ 9 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนส่งโดยสารทางรถยนต์รับขนถ่ายผู้โดยสารจากขบวนรถไฟของจำเลยที่ 9 ที่ปรากฏแก่โจทก์ทั้งสองและบุคคลภายนอกซึ่งไปมาระหว่างสถานีรถไฟ ล. กับสถานีรถไฟ ค. จึงเป็นการทำแทนจำเลยที่ 9 นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 9 กับจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 8 จึงอยู่ในฐานะตัวการและตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 797
ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 หมายความว่า ความเสียหายอันไม่อาจคิดคำนวณเป็นเงินได้ แต่ความเสียหายเช่นว่านี้ต้องเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำละเมิด จำเป็นต้องเยียวยาหรือทดแทนความเสียหายให้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจมีความเสียหายมากยิ่งกว่าความเสียหายต่อร่างกายอีกด้วย ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน เช่น ความเจ็บปวดทนทุกขเวทนาระหว่างการรักษาพยาบาล หรือต้องทุพพลภาพพิการต่อไป ความเสียหายเช่นว่านี้กฎหมายให้ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินย่อมจะนำสืบคิดเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่ได้อยู่ในตัว เมื่อพิจารณาจากสภาพทางร่างกายและอาการของโจทก์ ซึ่งต้อง ผ่าตัดและเข้าเฝือกหลายครั้ง ต้องรับการรักษาเป็นเวลานานร่วม 3 ปี และต้องทนทุกข์ทรมานต่อความเจ็บปวดของ บาดแผลในระหว่างการรักษาอันเป็นเวลานาน ยิ่งกว่านั้นสภาพแขนซ้ายของโจทก์ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิต ทั้งเสียบุคลิกภาพเนื่องจากผลของการผ่าตัดทำให้แขนซ้ายสั้นกว่าแขนขวาดังนี้ถือว่าเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงิน ที่โจทก์ชอบจะเรียกร้องได้
ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 หมายความว่า ความเสียหายอันไม่อาจคิดคำนวณเป็นเงินได้ แต่ความเสียหายเช่นว่านี้ต้องเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำละเมิด จำเป็นต้องเยียวยาหรือทดแทนความเสียหายให้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจมีความเสียหายมากยิ่งกว่าความเสียหายต่อร่างกายอีกด้วย ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน เช่น ความเจ็บปวดทนทุกขเวทนาระหว่างการรักษาพยาบาล หรือต้องทุพพลภาพพิการต่อไป ความเสียหายเช่นว่านี้กฎหมายให้ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินย่อมจะนำสืบคิดเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่ได้อยู่ในตัว เมื่อพิจารณาจากสภาพทางร่างกายและอาการของโจทก์ ซึ่งต้อง ผ่าตัดและเข้าเฝือกหลายครั้ง ต้องรับการรักษาเป็นเวลานานร่วม 3 ปี และต้องทนทุกข์ทรมานต่อความเจ็บปวดของ บาดแผลในระหว่างการรักษาอันเป็นเวลานาน ยิ่งกว่านั้นสภาพแขนซ้ายของโจทก์ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิต ทั้งเสียบุคลิกภาพเนื่องจากผลของการผ่าตัดทำให้แขนซ้ายสั้นกว่าแขนขวาดังนี้ถือว่าเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงิน ที่โจทก์ชอบจะเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร: การพิพากษาค่าเสียหายกรณีถูกชนจากรถยนต์ขณะนั่งริมประตูรถไฟ
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อข้ามทางรถไฟแล้วถูกรถไฟเฉี่ยวชนด้านหน้ารถยนต์เสียหายเล็กน้อย แต่เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งนั่งห้อยเท้าอยู่ริมประตูตู้ขนสัมภาระถูกรถยนต์ของจำเลยชนขาหักทั้งสองข้าง แม้ในขณะเกิดเหตุขบวนรถไฟจะมีผู้โดยสารแน่จนไม่มีที่นั่ง โจทก์กับผู้โดยสารหลายคนจึงต้องนั่งตรงริมประตูตู้ขนสัมภาระ ยังไม่ถึงกับจะรับฟังได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อซึ่งจะทำให้ค่าเสียหายเป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถไฟ: การประมาทเลินเล่อของทั้งคนขับรถบรรทุกและพนักงานขับรถไฟ
การที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทย วิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่า เมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 57 (8) จึงบัญญัติว่า ห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า 15 เมตรแต่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่น เมื่อจำเลยที่ 2 นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ 2 เมตร หรือ 1 เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 422 ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ผิด กรณีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว และเป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา 425ส่วนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น จะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา223 วรรคหนึ่ง, 438 วรรคหนึ่ง และ 442 ปรากฏว่าก่อนเกิดเหตุพนักงานขับรถไฟขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง เมื่อแล่นพ้นทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันแต่มีรถยนต์คันที่เกิดเหตุจอดอยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าคันอื่น พนักงานขับรถไฟคงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมต่อไป ส่วนช่างเครื่องที่ไปด้วยก็เห็นรถยนต์จอดในระยะประมาณ 20 เมตร เมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ 10 เมตร เห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน ช่างเครื่องได้ร้องบอกแก่พนักงานขับรถไฟพนักงานขับรถไฟจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมกับปิดคันบังคับการและลงห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันทีจึงเกิดเหตุขึ้น ซึ่งในภาวะเช่นนั้นพนักงานขับรถไฟย่อมจะต้องคาดหมายได้ว่าอาจจะเกิดการเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่เมื่อขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้ว ปกติรถไฟที่ใช้ความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมีระยะเบรกที่สามารถหยุดรถได้ประมาณ 50 เมตร ในวิสัยของผู้มีหน้าที่ขับรถไฟอยู่ในเส้นทางดังกล่าวมาประมาณ 3 ปี ก่อนเกิดเหตุเช่นพนักงานขับรถไฟที่เกิดเหตุย่อมจะต้องทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกแล่นเข้าออกอยู่เป็นประจำ และพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุก็เป็นเวลา 18 นาฬิกาเศษน่าจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น การที่พนักงานขับรถไฟขับรถไฟในอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ ถือว่าพนักงานขับรถไฟมีความประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่ด้านซ้ายของรถไฟมีเพียงเล็กน้อยที่ตะแกรงหน้า แสดงว่าการที่จำเลยที่ 2 นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้พนักงานขับรถไฟต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่แรกเห็นย่อมจะไม่ได้ พนักงานขับรถไฟจึงมีเพียงเล็กน้อย จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่า เพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับ เป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังกว่า ในส่วนของความประมาทเลินเล่อศาลฎีกาให้จำเลยทั้งสองรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการจอดรถกีดขวางทางรถไฟและการประมาทของพนักงานขับรถไฟ ศาลแบ่งความรับผิด
การที่จำเลยที่2นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยวิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่าเมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควรเพื่อป้องกันมิได้เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา57(8)จึงบัญญัติว่าห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า15เมตรแต่จำเลยที่2มิได้ปฎิบัติตามกฎหมายดังกล่าวซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่นเมื่อจำเลยที่2นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ2เมตรหรือ1เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นผู้ผิดจำเลยที่2จึงละเมิดต่อโจทก์และเป็นการกระทำในทางการที่จ้างจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา425 การที่ช. ขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ15กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อผ่านทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันมีรถยนต์ของจำเลยที่2อยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าคันอื่นแต่ช. คงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมเมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ10เมตรเห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันนั้นในภาวะเช่นนั้นช. ย่อมจะคาดหมายได้ว่าอาจเกิดการเฉี่ยวชนรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่ขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้วการที่ช. ขับรถไฟด้วยอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ถือว่าช.มีความประมาทเลินเล่อด้วยส่วนหนึ่งแต่การที่จำเลยที่2นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้ช. ต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่เห็นย่อมจะไม่ได้เพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับเป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังมากกว่าในส่วนประมาทเลินเล่อของช. จึงมีเพียงเล็กน้อยจำเลยที่2มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อ: การจอดรถกีดขวางทางรถไฟ และความประมาทของผู้ขับรถไฟ
การที่จำเลยที่2นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยวิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่าเมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุเฉี่ยวชนก้นพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา57(8)จึงบัญญัติว่าห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า15เมตรแต่จำเลยที่2มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่นเมื่อจำเลยที่2นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ2เมตรหรือ1เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นผู้ผิดกรณีฟังได้ว่าจำเลยที่2ทำละเมิดต่อโจทก์แล้วและเป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา425ส่วนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา223วรรคหนึ่ง,438วรรคหนึ่งและ442ปรากฎว่าก่อนเกิดเหตุพนักงานขับรถไฟขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ15กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อแล่นพ้นทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันแต่มีรถยนต์คันที่เกิดเหตุจอดอยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าค้นอื่นพนักงานขับรถไฟคงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมต่อไปส่วนช่างเครื่องที่ไปด้วยก็เห็นรถยนต์จอดในระยะประมาณ20เมตรเมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ10เมตรเห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันช่างเครื่องได้ร้องบอกแก่พนักงานขับรถไฟพนักงานขับรถไฟจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมกับปิดคันบังคับการและลงห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันทีจึงเกิดเหตุขึ้นซึ่งในภาวะเช่นนั้นพนักงานขับรถไฟย่อมจะต้องคาดหมายได้ว่าอาจจะเกิดการเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่เมื่อขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้วปกติรถไฟที่ใช้ความเร็ว15กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมีระยะเบรกที่สามารถหยุดรถได้ประมาณ50เมตรในวิสัยของผู้มีหน้าที่ขับรถไฟอยู่ในเส้นทางดังกล่าวมาประมาณ3ปีก่อนเกิดเหตุเช่นพนักงานขับรถไฟที่เกิดเหตุย่อมจะต้องทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกแล่นเข้าออกอยู่เป็นประจำและพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุก็เป็นเวลา18นาฬิกาเศษน่าจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้นการที่พนักงานขับรถไฟขับรถไฟในอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ถือว่าพนักงานขับรถไฟมีความประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยส่วนหนึ่งแต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่ด้านซ้ายของรถไฟมีเพียงเล็กน้อยที่ตะแกรงหน้าแสดงว่าการที่จำเลยที่2นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้พนักงานขับรถไฟต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่แรกเห็นย่อมจะไม่ได้พนักงานขับรถไฟจึงมีเพียงเล็กน้อยจำเลยที่2มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าเพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับเป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังกว่าในส่วนของความประมาทเลินเล่อของศาลฎีกาให้จำเลยทั้งสองรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7991/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการขับขี่รถยนต์ใกล้ทางรถไฟ และการเรียกค่าแรงงานจากการซ่อมแซมความเสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ส. เป็นผู้ว่าการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลล่างโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 63 บัญญัติว่าในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่านไม่ว่าจะมีเครื่องหมายระวังรถไฟหรือไม่ ถ้าทางรถไฟนั้นไม่มีสัญญาณระวังรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่าห้าเมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะขับรถผ่านไปได้ จำเลยที่ 1 ไม่ลดความเร็วของรถและหยุดรถก่อนถึงทางรถไฟเป็นเหตุให้รถที่จำเลยที่ 1 ขับชนกับขบวนรถไฟของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายแต่ฝ่ายเดียว
แม้พนักงานของโจทก์จะมีเงินเดือนเป็นประจำและมีงานทำเป็นปกติ แต่เมื่อต้องทิ้งงานดังกล่าวและมาทำงานซ่อมแซมความเสียหายรถไฟของโจทก์ที่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมเรียกค่าแรงงานในการทำงานดังกล่าวได้
พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 63 บัญญัติว่าในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่านไม่ว่าจะมีเครื่องหมายระวังรถไฟหรือไม่ ถ้าทางรถไฟนั้นไม่มีสัญญาณระวังรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่าห้าเมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะขับรถผ่านไปได้ จำเลยที่ 1 ไม่ลดความเร็วของรถและหยุดรถก่อนถึงทางรถไฟเป็นเหตุให้รถที่จำเลยที่ 1 ขับชนกับขบวนรถไฟของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายแต่ฝ่ายเดียว
แม้พนักงานของโจทก์จะมีเงินเดือนเป็นประจำและมีงานทำเป็นปกติ แต่เมื่อต้องทิ้งงานดังกล่าวและมาทำงานซ่อมแซมความเสียหายรถไฟของโจทก์ที่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมเรียกค่าแรงงานในการทำงานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทของเจ้าหน้าที่รถไฟที่ไม่กั้นถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
พยานโจทก์ทั้งหมดไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยที่1มาก่อนไม่มีเหตุน่าระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำจำเลยที่1เชื่อว่าเบิกความไปตามความเป็นจริง จำเลยที่1มีหน้าที่ปิดกั้นถนนซึ่งมีทางรถไฟผ่านได้เปิดสวิตช์สัญญาณไฟ5ดวงและให้สัญญาณโคมไฟสีเขียวแก่จำเลยที่2ผู้ขับขบวนรถไฟเพื่อผ่านแต่ไม่ได้นำแผงกั้นถนนไปปิดกั้นถนนเป็นสาเหตุทำให้รถยนต์โดยสารแล่นข้ามชนตู้โดยสารรถไฟเป็นเหตุให้คนตายการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการ กระทำโดยประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานรถไฟ ไม่ใช่บำนาญ การจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพเป็นดุลพินิจจำเลย
เงินสงเคราะห์รายเดือนที่โจทก์ได้รับ เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายจากกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ออกข้อบังคับไว้โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2494 มิใช่บำนาญ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการการจ่ายเงินสงเคราะห์นี้ ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 49ว่าด้วยกองทุนผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ข้อ 20กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเก็บเงินตามข้อ 5 แห่งข้อบังคับนี้ได้รับเงินสงเคราะห์โดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการและระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายบำนาญแต่พระราชกฤษฎีกา เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ. 2521มาตรา 4 ตรี มาตรา 4 จัตวา และมาตรา 4 ฉ มิใช่พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งมิใช่ระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายบำนาญ จึงไม่จำต้องนำพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาอนุโลมใช้ตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทยข้างต้น จำเลยจะจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์มากน้อยเพียงใดเป็นดุลพินิจของจำเลย