พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมการพิจารณาคดีอาญา: ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยเป็นรายสำนวน
คดีอาญาที่รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน หามีกฎหมายบทใดกำหนดให้ศาลต้องวินิจฉัยคดีเป็นรายสำนวนไม่
คดีทั้งเจ็ดสำนวนนี้ศาลอุทธรณ์ได้พิเคราะห์พยานหลักฐานและรวมวินิจฉัยทุกสำนวนแล้วเชื่อว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัยเป็นรายคดีตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดเป็นรายสำนวนไปไม่
คดีทั้งเจ็ดสำนวนนี้ศาลอุทธรณ์ได้พิเคราะห์พยานหลักฐานและรวมวินิจฉัยทุกสำนวนแล้วเชื่อว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัยเป็นรายคดีตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดเป็นรายสำนวนไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7808/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า, ฟ้องแย้งมีเงื่อนไข, รวมการพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าสระว่ายน้ำจากผู้ให้เช่าเดิมและบริวารออกไปจากสระว่ายน้ำเพราะโจทก์ได้รับโอนสระว่ายน้ำจากผู้ให้เช่าเดิมแล้ว และเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด จำเลยไม่ยอมส่งมอบสระว่ายน้ำคืนโจทก์ จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะรับโอนทรัพย์ที่เช่าซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาโดยไม่ชอบ โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าเดิม และฟ้องแย้งอ้างว่าโจทก์ค้างชำระค่าสารคลอรีน ขอให้บังคับโจทก์ชำระให้จำเลย เท่ากับจำเลยอ้างว่าหากโจทก์รับโอนทรัพย์ได้หรือโจทก์มีอำนาจฟ้อง โจทก์ก็ต้องรับผิดค่าคลอรีนตามสัญญา หรือโจทก์มีหน้าที่ตามสัญญาซึ่งตอนแรกอ้างว่าไม่มีนั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมอันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ไม่เป็นฟ้องแย้งที่จะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7584/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดและการรวมการพิจารณาคดี ศาลพิจารณาความยุ่งยากและสิทธิอื่นของผู้ร้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามแบ่งทรัพย์ตามฟ้องซึ่งสามีโจทก์ร่วมถือกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของสามีตามส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า โจทก์เรียกให้แบ่งไม่ได้เพราะมีนิติกรรมขัดอยู่อีกทั้งวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร และโจทก์ขอแบ่งในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร ส่วนจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ และขาดนัดพิจารณา ดังนี้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าทรัพย์สินต่าง ๆ ที่พิพาททั้งหมดเป็นของผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียว ให้จำเลยทั้งสามดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินทุกแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนกลับมาเป็นชื่อผู้ร้องต่อไป เป็นการยื่นคำร้องสอดเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 57 (1) ถ้าศาลรับคำร้องอนุญาตให้ผู้ร้องร้องสอดได้ก็จะต้องให้โจทก์ จำเลยทั้งสามยื่นคำให้การแก้ข้อกล่าวหาด้วย และคดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งเก้าสำนวนเข้าด้วยกันแล้ว และสั่งว่าข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวขอแบ่งแยกที่ดิน และคดีโจทก์ขาดอายุความศาลสามารถวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน และให้สืบพยานจำเลยที่ 1 ฉะนั้นหากอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดโดยเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ตามมาตรา57 (1) ดังกล่าว ก็อาจก่อให้เกิดความยุ่งยากสับสนในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ได้ อีกทั้งหากผู้ร้องมีสิทธิดังที่กล่าวอ้างในคำร้องสอด ก็อาจยกสิทธินั้นยืนยันหรือดำเนินคดีกับโจทก์และจำเลยทั้งสามเป็นคดีต่างหากได้ จึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7408/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมการพิจารณาคดี: ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินกับละเมิด – ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่อง
ตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องที่กล่าวหาว่าจำเลยสร้างรั้วคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่พิพาทของโจทก์ตลอดแนวที่ดินด้านที่ติดกันกับที่ดินจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธ อันเป็นการพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่พิพาทส่วนฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวหาว่า โจทก์ใช้สิทธิปลูกห้องน้ำห้องส้วมบนที่ดินของตนเอง แต่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญแก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ติดต่อกันอันเป็นการละเมิด ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกหลายคดี ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ใช้ได้เฉพาะคดีเกี่ยวพันหรือไม่รวมการพิจารณาเท่านั้น
การนับโทษต่อจากโทษในคดีอื่นได้ไม่เกิน 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมและถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี และเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน คดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกัน หรือควรจะมีการรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันแต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่สำหรับคดีนี้และคดีอื่นที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อกันนั้น แต่ละคดีมีวันเวลาสถานที่เกิดเหตุและผู้เสียหายต่างกันเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ จึงนับโทษจำคุกจำเลยทั้งสองติดต่อกันเกินกว่า 50 ปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อเมื่อศาลมิได้รวมการพิจารณาคดี และโทษจำคุกในแต่ละคดีเต็มตามกฎหมาย ทำให้จำเลยได้รับโทษเกินกำหนด
คดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อโจทก์อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ ถ้าโจทก์ยกฟ้องและศาลสั่งให้พิจารณารวมกันศาลลงโษได้ไม่เกินกำหนดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 หากศาลมิได้สั่งให้พิจารณารวมกันและลงโทษทุกกรรมเต็มตามกำหนดในมาตราดังกล่าวทั้งสองสำนวน ศาลก็จะนับโทษต่อไม่ได้ เมื่อคดีที่ขอให้นับโทษต่อศาลจำคุก 20 ปีเต็มตามกำหนดในมาตรา91 คดีถึงที่สุดแล้ว และคดีนี้ศาลก็จำคุก 20 ปี ดังนี้ นับโทษต่อไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษในคดีทุจริตเงินบำนาญพิเศษหลายกระทง หากศาลมิได้รวมการพิจารณาคดี โทษจำคุกรวมอาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
คดีนี้และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นเรื่องทุจริตเงินบำนาญพิเศษจากส่วนราชการเดียวกันเพียงแต่อ้างชื่อผู้มีสิทธิรับเงินบำนาญพิเศษต่างรายกันหน่วยราชการซึ่งเป็นผู้เสียหายก็รายเดียวกัน โจทก์อาจฟ้องจำเลยสำหรับการกระทำความผิดในคดีนี้และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นคดีเดียวกันได้เพราะโจทก์จำเลยเป็นคนเดียวกัน และพยานหลักฐานน่าจะเป็นชุดเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าโจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิดเป็นรายสำนวนไป และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีทุกสำนวนรวมกัน ศาลจะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อโดยศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแล้วศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 ทั้งสองสำนวนแล้ว ศาลก็นับโทษจำเลยต่อกันไม่ได้เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนดที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีทุจริตหลายกระทง หากศาลมิได้รวมการพิจารณาคดี โทษจำคุกต้องไม่เกินที่กฎหมายกำหนด
การกระทำความผิดหลายกรรม ถ้า โจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิด และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีทุกสำนวนรวมกัน ก็จะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตาม ป.อ. มาตรา 91 แต่เมื่อโจทก์แยกฟ้องโดยศาลมิได้สั่งให้พิจารณาคดีรวมกัน และศาลลงโทษจำคุกจำเลยทุกกรรมเต็ม ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 ทั้งสองสำนวนแล้ว ดังนี้ จะนับโทษจำเลยต่อกันไม่ได้ เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนดที่ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4057-4062/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันต้องขังในคดีอาญาที่รวมการพิจารณา ศาลฎีกาชี้ว่าการหักซ้ำซ้อนขัดต่อความเป็นจริง
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญารวมเจ็ดสำนวน ศาลชั้นต้นสั่งรวมพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทุกสำนวนและให้นับโทษต่อกันตามลำดับสำนวนทุกสำนวน เช่นนี้ จำเลยจะขอให้ศาลหักวันต้องขังให้จำเลยในแต่ละสำนวนทั้งเจ็ดสำนวนไม่ได้ เป็นการขัดกับความจริงและทำให้จำเลยได้รับโทษจำคุกไม่เป็นไปตามคำพิพากษาเพราะจำเลยถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาตามหมายของศาลฉบับเดียวเท่านั้น และศาลชั้นต้นก็ได้ออกหมายจำคุกนับตั้งแต่วันที่จำเลยถูกคุมขังเป็นต้นไปซึ่งเท่ากับหักวันที่จำเลยถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: การฟ้องเพิ่มเติมและการรวมการพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดภายใน 1 ปีแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 แม้โจทก์จะยื่นฟ้องเพิ่มเติมเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่วันละเมิดแต่ก่อนวันที่ศาลชี้สองสถาน ทั้งเป็นฟ้องที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ โจทก์จึงเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำฟ้องเดิมของโจทก์ได้กล่าวถึงบุตรผู้เยาว์ทั้งสองและเรียกร้องค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งอันเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์ทั้งสอง แสดงว่าโจทก์ได้ฟ้องคดีแทนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองมาตั้งแต่ต้นแล้ว
คำฟ้องเดิมของโจทก์ได้กล่าวถึงบุตรผู้เยาว์ทั้งสองและเรียกร้องค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งอันเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์ทั้งสอง แสดงว่าโจทก์ได้ฟ้องคดีแทนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองมาตั้งแต่ต้นแล้ว