พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9571/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ การกำหนดระยะเวลาบอกกล่าว และการคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา
สิทธิการบอกเลิกสัญญาและวิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้ว โดยให้สิทธิแก่ผู้เช่าซื้อตามมาตรา 573 และให้สิทธิแก่ผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 574 ไม่ใช่กรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีตามมาตรา 4 จึงไม่อาจนำวิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าในกฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์ตามมาตรา 560 มาใช้บังคับในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับผู้ซื้อมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเลิกกันทันที ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขการเลิกสัญญาเช่าซื้อแตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมาย แต่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อโจทก์ใช้วิธีแสดงเจตนามีหนังสือทวงถามไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระหนี้ก่อน หากไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดให้ถือเอาหนังสือนั้นเป็นการบอกเลิกสัญญาจึงบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 387 ได้ เมื่อโจทก์มีหนังสือไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ภายใน 3 วัน หากไม่ชำระขอถือเอาหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ระยะเวลา 3 วันที่โจทก์กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่จำนวน 29,810 บาทนั้น นับว่าเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว โจทก์ได้ปฏิบัติตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 387 แล้ว เมื่อผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
แม้จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้มาตั้งแต่ในศาลชั้นต้นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ30 ต่อปี รวมไว้ในสัญญาเช่าซื้อและค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระซึ่งเป็นอัตราอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองได้ ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ได้โดยวินิจฉัยว่าตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ เป็นการห้ามเรียกดอกเบี้ยเฉพาะแต่การกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่การเช่าซื้อได้
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับผู้ซื้อมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเลิกกันทันที ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขการเลิกสัญญาเช่าซื้อแตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมาย แต่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อโจทก์ใช้วิธีแสดงเจตนามีหนังสือทวงถามไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระหนี้ก่อน หากไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดให้ถือเอาหนังสือนั้นเป็นการบอกเลิกสัญญาจึงบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 387 ได้ เมื่อโจทก์มีหนังสือไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ภายใน 3 วัน หากไม่ชำระขอถือเอาหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ระยะเวลา 3 วันที่โจทก์กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่จำนวน 29,810 บาทนั้น นับว่าเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว โจทก์ได้ปฏิบัติตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 387 แล้ว เมื่อผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
แม้จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้มาตั้งแต่ในศาลชั้นต้นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ30 ต่อปี รวมไว้ในสัญญาเช่าซื้อและค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระซึ่งเป็นอัตราอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองได้ ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ได้โดยวินิจฉัยว่าตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ เป็นการห้ามเรียกดอกเบี้ยเฉพาะแต่การกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่การเช่าซื้อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5655-5751/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวเลิกจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบจริง จึงมีผลตามกฎหมาย การบอกกล่าวล่วงหน้ามีความสำคัญ
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จำเลยได้ส่งสำเนาประกาศเลิกจ้างโจทก์ จากสำนักงานกลางกรุงเทพมหานคร ทางโทรสารไปปิดประกาศเพื่อแจ้งให้โจทก์ทราบที่โรงงานน้ำตาลลำปางที่โจทก์สังกัดอยู่ แม้จะมีการปิดประกาศในวันนั้น แต่จะมีผลเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างต่อเมื่อโจทก์ได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้ว โจทก์ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยวันที่ 3 กรกฎาคม 2541 ต้องถือว่าจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2541 และมีผลเป็นการเลิกจ้างกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าคือวันที่ 30 สิงหาคม 2541 เมื่อการบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยที่ประสงค์ให้เป็นผลเลิกจ้างกันในวันที่ 1 สิงหาคม 2541 ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 582 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 30 วันตามฟ้อง และจำลเยต้องชำระดอกเบี้ยของสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ประกอบด้วยมาตรา 224 นับแต่วันฟ้องซึ่งถือเป็นวันผิดนัดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่ารายปีและการมีสิทธิฟ้องขับไล่ แม้บอกกล่าวไม่ครบ 2 เดือน หากฟ้องคดีพ้น 2 เดือนแล้ว
การเช่าที่คิดค่าเช่ากันเป็นรายปี การบอกเลิกการเช่าจะต้องบอกกล่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ตัวก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะเวลาหนึ่งเป็นอย่างน้อย แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสองเดือน
โจทก์บอกเลิกการเช่ารายปี โดยกำหนดให้จำเลยออกจากที่เช่าหลังจากได้รับหนังสือบอกกล่าวไม่ถึงสองเดือน แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีหลังจากที่จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวเลิกการเช่ากว่าสองเดือนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยชอบด้วยกฎหมาย (อ้างฎีกาที่ 845/2490 และ 398/2502)
โจทก์บอกเลิกการเช่ารายปี โดยกำหนดให้จำเลยออกจากที่เช่าหลังจากได้รับหนังสือบอกกล่าวไม่ถึงสองเดือน แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีหลังจากที่จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวเลิกการเช่ากว่าสองเดือนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยชอบด้วยกฎหมาย (อ้างฎีกาที่ 845/2490 และ 398/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าต้องเป็นไปตามกฎหมาย แม้ผู้เช่าทราบเจตนาของผู้ให้เช่าแล้ว หากระยะเวลาบอกกล่าวไม่ถูกต้อง สิทธิในการฟ้องขับไล่ยังไม่สมบูรณ์
การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ให้บอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่าระยะเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งนั้น ห้องเช่าที่ชำระค่าเช่าเป็นรายเดือน ผู้ให้เช่าจะบอกกล่าวล่วงหน้าเพียง 7 วันไม่ถึง 1 เดือนดังนี้ถือว่ายังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่าแม้ผู้เช่าจะรู้อยู่ดีว่าผู้ให้เช่าประสงค์ให้ตนออกจากห้องเช่าก็ดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าต้องเป็นไปตามกฎหมาย แม้ทราบเจตนาของอีกฝ่ายแล้ว หากระยะเวลาบอกกล่าวไม่ถูกต้อง สิทธิในการฟ้องขับไล่ยังไม่เกิด
การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ให้บอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่าระยะเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งนั้น ห้องเช่าที่ชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนผู้ให้เช่าจะบอกกล่าวล่วงหน้าเพียง 7 วันไม่ถึง 1 เดือน ดังนี้ถือว่ายังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่า แม้ผู้เช่าจะรู้อยู่ดีว่าผู้ให้เช่าประสงค์ให้ตนออกจากห้องเช่าก็ดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วง vs. สัญญาอาสัย: การบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงที่ไม่มีกำหนดเวลา
ทีแรกทำสัญญาไห้เช่าช่วง แต่ภายหลังทำสัญญาอาสัยต่อกันโดยไม่ได้ตั้งไจผู้พันกันจิงจังดังนี้ต้องถือตามสัญญาเช่าช่วง
ไห้เช่าช่วงไม่มีกำหนดเวลาไห้เช่าช่วงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โดยบอกกล่าวล่วงหน้าชั่วระยะเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเปนหย่างน้อย มิฉะนั้นไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่
ไห้เช่าช่วงไม่มีกำหนดเวลาไห้เช่าช่วงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โดยบอกกล่าวล่วงหน้าชั่วระยะเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเปนหย่างน้อย มิฉะนั้นไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่