พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีภาษีอากร และการประเมินภาษีที่ถูกต้องตามระเบียบ
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ได้ตรวจสอบและทราบการตายของ อ. เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 และโจทก์ที่ 1 โดยรองอธิบดีฝ่ายที่ 1 ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ที่ 1 ทราบการตายของ อ. เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2545 การที่โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2545 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ที่ 1 ทราบการตายของ อ. ฟ้องโจทก์ทั้งสามจึงอยู่ในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม
ในขณะที่ อ. นำเข้ารถยนต์คันพิพาทนั้น โจทก์ที่ 1 ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ประเมินอากรไม่ให้ใช้ราคาตาม PRICE LIST เดิมเป็นราคามาตรฐานกลางและเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากรต่อไป แต่ให้รอราคาประเมินตามที่คณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินกำหนดเสียก่อน การที่เจ้าหน้าที่ประเมินอากรเห็นว่าราคาที่ อ. สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงสั่งตีราคาโดยใช้เกณฑ์การรับราคาตาม PRICE LIST ปีก่อน และกำหนดให้วางเงินประกันจึงไม่ขัดต่อระเบียบของโจทก์ที่ 1 เมื่อต่อมาคณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ประชุมพิจารณาแล้วมีมติให้ใช้ราคาขายปลีกในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นฐานราคาในการคำนวณราคาประเมิน ซึ่งอธิบดีของโจทก์ที่ 1 ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เจ้าหน้าที่ประเมินอากรย่อมมีอำนาจที่จะประเมินราคารถยนต์ที่ อ. นำเข้าและประเมินค่าภาษีอากรเสียใหม่ได้ การประเมินจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
ในขณะที่ อ. นำเข้ารถยนต์คันพิพาทนั้น โจทก์ที่ 1 ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ประเมินอากรไม่ให้ใช้ราคาตาม PRICE LIST เดิมเป็นราคามาตรฐานกลางและเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากรต่อไป แต่ให้รอราคาประเมินตามที่คณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินกำหนดเสียก่อน การที่เจ้าหน้าที่ประเมินอากรเห็นว่าราคาที่ อ. สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงสั่งตีราคาโดยใช้เกณฑ์การรับราคาตาม PRICE LIST ปีก่อน และกำหนดให้วางเงินประกันจึงไม่ขัดต่อระเบียบของโจทก์ที่ 1 เมื่อต่อมาคณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ประชุมพิจารณาแล้วมีมติให้ใช้ราคาขายปลีกในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นฐานราคาในการคำนวณราคาประเมิน ซึ่งอธิบดีของโจทก์ที่ 1 ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เจ้าหน้าที่ประเมินอากรย่อมมีอำนาจที่จะประเมินราคารถยนต์ที่ อ. นำเข้าและประเมินค่าภาษีอากรเสียใหม่ได้ การประเมินจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะรัฐวิสาหกิจของจำเลย และการจ่ายเงินตอบแทนความชอบเมื่อเกษียณตามระเบียบ
บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ถือหุ้นของจำเลยได้เปลี่ยนสถานภาพมาจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทองค์กรของรัฐ ตาม พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ ฯ พระราชบัญญัติดังกล่าวระบุเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงว่าเพื่อให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรธุรกิจของรัฐที่มีความคล่องตัวในการบริหาร และในเหตุผลการจัดตั้งกับมาตรา 26 ได้กำหนดให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกัน บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จึงมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ เมื่อบริษัทดังกล่าวมีทุนรวมอยู่ในบริษัทจำเลยเกินร้อยละห้าสิบ จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 6 (2) และอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าว ประกอบระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 หมวด 6 ข้อ 47 โจทก์ทำงานกับจำเลยจนเกษียณอายุเป็นเวลา 7 ปีเศษ จำเลยจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานให้แก่โจทก์เท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน ตามระเบียบดังกล่าว จึงถูกต้องครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานหญิงก่อนอายุเกษียณโดยอาศัยระเบียบที่ไม่เป็นธรรม ขัดต่อหลักความเท่าเทียมทางเพศ
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 เป็นบทบัญญัติทั่วไป รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสามารถกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่จะพ้นจากตำแหน่งพนักงานนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อมติคณะรัฐมนตรีมิให้นำคำสั่ง กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไปมาใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจที่เกิดจากการแทรกแซงเข้าถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเช่นจำเลย จำเลยจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของระเบียบเดิม ส่วนในข้อที่เกี่ยวกับความแตกต่างกันระหว่างการเกษียณอายุของพนักงานที่เป็นหญิงและเป็นชายตามระเบียบดังกล่าวนั้น แม้จำเลยจะมีระเบียบเกี่ยวกับพนักงานฉบับแก้ไข พ.ศ.2530 กำหนดให้พนักงานหญิงทั่วไปซึ่งมีตำแหน่งต่ำกว่าผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบรูณ์ แต่สำหรับตำแหน่งของโจทก์คือตำแหน่งหัวหน้าส่วนที่เรียกว่าผู้จัดการส่วน ไม่ปรากฏว่าโดยลักษณะหรือสภาพของงานในตำแหน่งนี้ไม่อาจกำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อย่างพนักงานชายได้ ในเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยระเบียบนี้จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ในข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง แต่การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโดยอาศัยระเบียบซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะขัดแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้จึงเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งโจทก์ย่อมอุทธรณ์ได้แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง และในเมื่อการเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้วก็เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานกลางจะต้องใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6937/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพักงานทางวินัย: การปฏิบัติตามระเบียบ, กำหนดเวลาสอบสวน, และการกำหนดค่าเสียหาย
โจทก์มีพฤติกรรมในการปฏิบัติงานไม่ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงานของจำเลย และมีพฤติการณ์ต้องสงสัยว่าจะมีส่วนร่วมหรือรู้เห็นกับการทุจริตของ ส. ในการเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆโดยไม่มีใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญคู่จ่ายประกอบการเบิกจ่ายแล้วนำเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว ดังที่จำเลยระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งพักงานซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นกรณีความผิดร้ายแรง หากจะให้โจทก์คงปฏิบัติงานอยู่อาจจะเกิดผลร้ายแก่ธนาคารจำเลยได้ จำเลยย่อมมีอำนาจพักงานโจทก์ได้ คำสั่งพักงานของจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงานของจำเลย แม้จำเลยจะมิได้มีคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนและวินิจฉัยโทษให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันออกคำสั่งพักงานซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบก็เป็นกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากจำเลยได้มีคำสั่งพักงานโจทก์ไปโดยชอบแล้ว หาทำให้คำสั่งพักงานที่จำเลยมีอำนาจออกคำสั่งได้โดยชอบกลับกลายเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยมิได้วินิจฉัยโทษให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามที่ระเบียบกำหนดไว้ โจทก์ก็เพียงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเป็นการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นเท่านั้น
การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้กำหนดค่าเสียหายรายเดือนเท่ากับเงินเดือนของโจทก์ มิใช่ครึ่งหนึ่งของค่าจ้างนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายเพราะเหตุจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้โจทก์ตามความเหมาะสม อุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้กำหนดค่าเสียหายรายเดือนเท่ากับเงินเดือนของโจทก์ มิใช่ครึ่งหนึ่งของค่าจ้างนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายเพราะเหตุจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้โจทก์ตามความเหมาะสม อุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อความเสียหายจากการอนุมัติจัดซื้อที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ
จำเลยที่ 9 ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ลงนามอนุมัติจัดซื้อหนังสือแบบทดสอบประเมินผลฉบับบูรณาการชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นหนังสือประกอบหลักสูตรเท่านั้น โดยวิธีกรณีพิเศษ ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดซื้อและซื้อจากร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด ซึ่งมิใช่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจ อันเป็นการขัดระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2522 แม้หนังสือที่ขออนุมัติจัดซื้อได้ผ่านการตรวจสอบของจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนการคลัง องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำเลยร่วมที่ 2 ซึ่งเป็นปลัดจังหวัด และจำเลยร่วมที่ 3 ซึ่งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นก็ตาม แต่จำเลยที่ 9 เป็นผู้อนุมัติชั้นสุดท้ายต้องไตร่ตรองให้ละเอียดรอบคอบ ไม่ใช่เพียงแต่ลงนามอนุมัติผ่านไปตามความเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น เมื่อการอนุมัติจัดซื้อเป็นเหตุให้โจทก์ซื้อหนังสือพิพาทแพงไป การกระทำของจำเลยที่ 9 จึงเป็นความประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ส่วนที่จำเลยที่ 9 ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ คดีสำหรับจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 9 ไม่อาจแก้อุทธรณ์เพื่อให้จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 ตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 9 มานั้น เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยที่ 9 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยที่ 9 ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ คดีสำหรับจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 9 ไม่อาจแก้อุทธรณ์เพื่อให้จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 ตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 9 มานั้น เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยที่ 9 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, ค่าชดเชย, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, เหตุผลอันสมควร, การไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
คดีแรกโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์และขอให้จ่ายค่าจ้างซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิในขณะที่โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากโจทก์อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นครั้งที่สองโดยโจทก์ไม่มีความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า ส่วนที่โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งโดยมูลเหตุสืบเนื่องมาจากการที่ถูกจำเลยเลิกจ้างและเรียกร้องในทำนองเดียวกันกับคดีนี้ ก็เป็นการเรียกร้องที่สืบเนื่องมาจากการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ครั้งแรกแม้คดีทั้งสองจะถึงที่สุดแล้ว แต่ทั้งสองคดีมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในคราวเดียวกันและประเด็นข้อพิพาทก็แตกต่างกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเกี่ยวกับเงินทดรองโดยโจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลยแต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสดงว่าโจทก์ได้ยืมเงินทดรองจากจำเลยแล้วนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่มีเจตนาจะส่งคืน จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและการค้าชำระเงินทดรองยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119
โจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลย ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินทดรองและคดีถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์ก็เพิกเฉยไม่คืนเงินทดรองให้แก่จำเลยทั้ง ๆ ที่จำเลยได้จ่ายเงินค่าเสียหายในระหว่างที่มีคำสั่งพักงานโจทก์ให้แก่โจทก์ไปแล้ว และแม้จำเลยจะมีคำสั่งรับโจทก์กลับเข้าทำงานและมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ในวันเดียวกันก็เป็นเพียงวิธีการที่จำเลยจำต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาที่ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานก่อนเท่านั้น มิใช่เป็นการกระทำเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์ไม่คืนเงินทดรองให้แก่จำเลยก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องเงินทดรองอันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเกี่ยวกับเงินทดรองโดยโจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลยแต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสดงว่าโจทก์ได้ยืมเงินทดรองจากจำเลยแล้วนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่มีเจตนาจะส่งคืน จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและการค้าชำระเงินทดรองยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119
โจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลย ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินทดรองและคดีถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์ก็เพิกเฉยไม่คืนเงินทดรองให้แก่จำเลยทั้ง ๆ ที่จำเลยได้จ่ายเงินค่าเสียหายในระหว่างที่มีคำสั่งพักงานโจทก์ให้แก่โจทก์ไปแล้ว และแม้จำเลยจะมีคำสั่งรับโจทก์กลับเข้าทำงานและมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ในวันเดียวกันก็เป็นเพียงวิธีการที่จำเลยจำต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาที่ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานก่อนเท่านั้น มิใช่เป็นการกระทำเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์ไม่คืนเงินทดรองให้แก่จำเลยก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องเงินทดรองอันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลสมควร, การไม่ปฏิบัติตามระเบียบ, และฟ้องซ้ำ
คดีแรกโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์และขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิในขณะที่โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากโจทก์อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นครั้งที่สองโดยโจทก์ไม่มีความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าส่วนที่โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งโดยมูลเหตุสืบเนื่องมาจากการที่ถูกจำเลยเลิกจ้างและเรียกร้องในทำนองเดียวกันกับคดีนี้ ก็เป็นการเรียกร้องที่สืบเนื่องมาจากการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ครั้งแรก แม้คดีทั้งสองจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้กับมูลคดีที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อนทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นมูลคดีที่มิได้เกิดขึ้นในคราวเดียวกันและประเด็นข้อพิพาทก็แตกต่างกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเกี่ยวกับเงินทดรองโดยโจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลย แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสดงว่าโจทก์ได้ยืมเงินทดรองจากจำเลยแล้วนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่มีเจตนาจะส่งคืนเงินทดรองดังกล่าวให้แก่จำเลย จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย และการค้างชำระเงินทดรองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรงการที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ค้างชำระเงินทดรองดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119
โจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลย ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินทดรองดังกล่าว และคดีถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์ก็เพิกเฉยไม่คืนเงินทดรองดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้ง ๆ ที่จำเลยก็ได้จ่ายเงินค่าเสียหายในระหว่างที่มีคำสั่งพักงานโจทก์ให้แก่โจทก์ไปแล้ว การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควรไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์ไม่คืนเงินทดรองให้แก่จำเลยดังกล่าวก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องเงินทดรองอันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเกี่ยวกับเงินทดรองโดยโจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลย แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสดงว่าโจทก์ได้ยืมเงินทดรองจากจำเลยแล้วนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่มีเจตนาจะส่งคืนเงินทดรองดังกล่าวให้แก่จำเลย จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย และการค้างชำระเงินทดรองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรงการที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ค้างชำระเงินทดรองดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119
โจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลย ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินทดรองดังกล่าว และคดีถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์ก็เพิกเฉยไม่คืนเงินทดรองดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้ง ๆ ที่จำเลยก็ได้จ่ายเงินค่าเสียหายในระหว่างที่มีคำสั่งพักงานโจทก์ให้แก่โจทก์ไปแล้ว การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควรไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์ไม่คืนเงินทดรองให้แก่จำเลยดังกล่าวก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องเงินทดรองอันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานรัฐวิสาหกิจ & สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามระเบียบ คดีนี้ศาลแก้ดอกเบี้ยเป็น 7.5%
ขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดสิทธิเรียกร้อง และเนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 4 บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่โจทก์ฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงเป็นการอ้างบทกฎหมายคลาดเคลื่อนอย่างไรก็ตาม โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างจากจำเลย ซึ่งเมื่อปรับบทกฎหมายแล้ว พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลยตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534
จำเลยจ้างโจทก์โดยทำสัญญาว่าจ้างมีกำหนด 1 ปี ให้เงินตอบแทนรวม 3,600,000 บาท แบ่งจ่ายเป็นรายเดือน เมื่อสิ้นสุดสัญญาแล้วโจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาจ้างทำนองเดียวกันปีต่อปี โดยให้โจทก์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดพัฒนาระบบการจัดแผนดำเนินงานของทุกฝ่ายงาน และเป็นที่ปรึกษาของฝ่ายพัฒนาบริการและการตลาด โจทก์มีอำนาจสั่งจ่ายเงินสดและการอนุมัติค่าใช้จ่ายเฉพาะฝ่ายพัฒนาบริการและการตลาดเทียบเท่ารองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทางปฏิบัติโจทก์มาทำงานที่ธนาคารจำเลยทุกวัน ทั้งในการทำงานจำเลยสั่งการถึงโจทก์และโจทก์สั่งการต่อไปยังพนักงานอื่นของจำเลยได้ด้วย โจทก์จึงมีสถานะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย แม้ตามสัญญาว่าจ้างกำหนดสถานะไว้ว่าจำเลยเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เป็นผู้รับจ้างโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ดังเช่นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะได้รับ โจทก์ไม่ต้องมีบัตรพนักงาน โจทก์ไม่เคยถูกประเมินผลงานหรือได้รับการปรับเงินเดือนรายปี ทั้งโจทก์ไม่มีรายชื่อในฝ่ายทรัพยากรบุคคลว่าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยด้วยนั้น เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติต่อโจทก์แตกต่างจากพนักงานอื่น ยังไม่พอที่จะถือว่าโจทก์มิใช่พนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย ดอกเบี้ยและเงินเพิ่มจากจำเลยโดยอ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่เนื่องจากจำเลยมิได้อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยและเงินเพิ่มตามกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ ทั้งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ก็มิได้มีข้อใดกำหนดให้รัฐวิสาหกิจต้องจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่ม กรณีมิได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานไว้แต่ค่าชดเชยเป็นหนี้เงินโจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเท่านั้น
จำเลยจ้างโจทก์โดยทำสัญญาว่าจ้างมีกำหนด 1 ปี ให้เงินตอบแทนรวม 3,600,000 บาท แบ่งจ่ายเป็นรายเดือน เมื่อสิ้นสุดสัญญาแล้วโจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาจ้างทำนองเดียวกันปีต่อปี โดยให้โจทก์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดพัฒนาระบบการจัดแผนดำเนินงานของทุกฝ่ายงาน และเป็นที่ปรึกษาของฝ่ายพัฒนาบริการและการตลาด โจทก์มีอำนาจสั่งจ่ายเงินสดและการอนุมัติค่าใช้จ่ายเฉพาะฝ่ายพัฒนาบริการและการตลาดเทียบเท่ารองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทางปฏิบัติโจทก์มาทำงานที่ธนาคารจำเลยทุกวัน ทั้งในการทำงานจำเลยสั่งการถึงโจทก์และโจทก์สั่งการต่อไปยังพนักงานอื่นของจำเลยได้ด้วย โจทก์จึงมีสถานะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย แม้ตามสัญญาว่าจ้างกำหนดสถานะไว้ว่าจำเลยเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เป็นผู้รับจ้างโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ดังเช่นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะได้รับ โจทก์ไม่ต้องมีบัตรพนักงาน โจทก์ไม่เคยถูกประเมินผลงานหรือได้รับการปรับเงินเดือนรายปี ทั้งโจทก์ไม่มีรายชื่อในฝ่ายทรัพยากรบุคคลว่าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยด้วยนั้น เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติต่อโจทก์แตกต่างจากพนักงานอื่น ยังไม่พอที่จะถือว่าโจทก์มิใช่พนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย ดอกเบี้ยและเงินเพิ่มจากจำเลยโดยอ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่เนื่องจากจำเลยมิได้อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยและเงินเพิ่มตามกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ ทั้งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ก็มิได้มีข้อใดกำหนดให้รัฐวิสาหกิจต้องจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่ม กรณีมิได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานไว้แต่ค่าชดเชยเป็นหนี้เงินโจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องมีเจตนาชัดเจน การสั่งให้ทำงานวันเสาร์ตามระเบียบเดิมไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
โจทก์มีคำสั่งให้ลูกจ้างบางแผนกไม่ต้องทำงานในวันเสาร์ในลักษณะวันเสาร์เว้นวันเสาร์สลับกันไปอันเป็นอำนาจบริหารจัดการของโจทก์ซึ่งกระทำได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อผลประโยชน์ของโจทก์และอนุญาตแก่ลูกจ้างเป็นบางแผนกเท่านั้นอีกทั้งโจทก์มิได้ประกาศให้วันเสาร์เว้นวันเสาร์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ การที่โจทก์อนุญาตให้ลูกจ้างไม่ต้องทำงานในวันเสาร์มีลักษณะเป็นการชั่วคราวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยให้วันเสาร์เว้นวันเสาร์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ฉะนั้น การที่โจทก์ประกาศให้ลูกจ้างของโจทก์มาปฏิบัติงานในทุกวันเสาร์ จึงเป็นการออกคำสั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในวันทำงานตามปกติ ซึ่งลูกจ้างทุกคนของโจทก์จะต้องปฏิบัติตามอยู่แล้วตามที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง การที่ลูกจ้างของโจทก์ทำงานในวันเสาร์จึงเป็นการทำงานในวันทำงานตามปกติ ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ และประเด็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญในการคุ้มครองสิทธิพนักงาน
คำร้องของโจทก์ที่อ้างว่า โจทก์มีสิทธิได้รับการสอบสวนความผิดทางวินัยจากกรรมการสอบสวนซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในองค์กรของจำเลยตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนทางวินัยของจำเลย การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น กรณีตามคำร้องของโจทก์มิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 26