คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ราคาสูงสุด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7439/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากราคาต่ำกว่าความเป็นจริง การบังคับคดีต้องได้ราคาสูงสุด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าราคาที่พิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุมัติให้ขายแก่ผู้ซื้อทรัพย์นั้น ยังเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง และน่าจะขายทอดตลาดได้ในราคาที่สูงกว่านี้ การที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาเพียงว่าผู้ซื้อทรัพย์เสนอราคาสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งโจทก์ได้ลงลายมือชื่อเห็นชอบแล้ว ราคาที่ประมูลได้จึงเป็นราคาที่เหมาะสมแล้วเท่านั้น โดยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลใด และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไรจึงต้องฟังว่าราคาที่พิพาทที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอและเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุมัติให้ขายนั้นเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น นอกจาก ป.วิ.พ.มาตรา 308 บังคับไว้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.และกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้นและตามข้อกำหนดของศาลแล้ว ในการขายทอดตลาดยังมีเจตนารมณ์เป็นประการสำคัญว่าจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ และหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาที่ผู้ประมูลสูงสุดในครั้งนั้นยังต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาสูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 513
เมื่อราคาที่พิพาทที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอในการขายทอดตลาดและเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุมัติให้ขายได้ ยังเป็นราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น กรณีถือได้ว่าการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องได้ราคาสูงสุด เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องพิจารณาราคาที่สมควร
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งของศาล กฎหมายมีเจตนารมณ์ว่า จะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ เพราะหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาที่สูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายแก่ผู้ประมูลที่ให้ราคาสูงสุด ซึ่งต่ำกว่าวงเงินที่ธนาคารเคยรับจำนองเมื่อ 5 ปีก่อน แม้ราคาประมูลสูงสุดนั้นจะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การประเมินดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณราคาเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมในกรณียึดแล้วไม่มีการขาย และเพื่อดูว่าทรัพย์สินที่ยึดเพียงพอที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เป็นการประมาณราคาแบบคร่าว ๆ มิใช่ประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง และการขายทอดตลาดนั้น ผู้ทอดตลาดอาจคำนวณราคาท้องตลาดโดยอาศัยวงเงินที่ธนาคารรับจำนอง ประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะรับจำนองในวงเงินต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริง อีกทั้งการขายทอดตลาดคดีนี้ก็กระทำภายหลังการจำนองเกินกว่า 5 ปี ทรัพย์ที่ขาย-ทอดตลาดเป็นอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินอยู่ในย่านทำเลการค้า ราคาน่าจะต้องสูงขึ้นไปอีกมาก และเป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก ผู้ทอดตลาดพอจะเห็นได้ว่าราคาซึ่งผู้สู้สูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอ หากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าในครั้งนี้ ดังนั้น การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด ฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 513 ประกอบป.วิ.พ. มาตรา 308 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีเช่นนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานบังคับคดีพยายามขายทอดตลาดให้ได้ราคาสูงสุด แม้จำเลยขอให้งดการขายหลายครั้ง ศาลยืนตามคำสั่งเดิม
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดครั้งที่ 5 ซึ่งมีผู้ให้ราคาสูงสุดถึง 2,200,000 บาทนั้น เนื่องจากเป็นความประสงค์ของจำเลยเองที่ขอให้งดการขายไว้ และต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้พยายามขายทรัพย์อีกถึง 5 ครั้ง จนในที่สุดมีผู้ให้ราคาสูงสุดเพียง 2,000,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงตกลงขายให้ เช่นนี้ ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้พยายามขายทรัพย์ให้ได้ราคาสูงสุดในเวลาที่เหมาะสมแล้ว และเมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริตหรือมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติและข้อบังคับที่กำหนดไว้ว่าด้วยวิธีการขายทอดตลาดแต่อย่างใด จำเลยย่อมไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและประกาศขายทอดตลาดใหม่ได้อีก ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีทำให้จำเลยเสียหายและเสียเปรียบนั้น ไม่อาจยกขึ้นเป็นเหตุร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยชอบได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ผู้ให้ราคาสูงสุดจึงจะเป็นผู้ซื้อได้ หากไม่มีข้อผิดพลาดหรือทุจริต
ตามประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้กำหนดเงื่อนไขในการขายว่าจะต้องรายงานการขายทอดตลาดเสนอขออนุญาตศาลเสียก่อน เมื่อศาลอนุญาตแล้ว จึงถือว่าผู้ให้ราคาสูงสุดเป็นผู้ซื้อได้ คงมีข้อความเพียงว่า เมื่อตกลงซื้อแล้ว ผู้ซื้อจะต้องชำระเงินทันที ตามรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีมีข้อความว่าได้ขายเสร็จแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ที่ให้ราคาสูงสุดพร้อมจะชำระเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามเงื่อนไขในวันนั้น และผู้ร้องก็ยืนยันตลอดมาว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการเคาะไม้แล้ว การขายทอดตลาดจึงบริบูรณ์ เมื่อไม่ปรากฏว่าการขายทอดตลาดผิดระเบียบ ไม่ชอบ หรือส่อว่ามีการทุจริต จึงไม่มีเหตุใดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรายงานศาลเพื่อขออนุญาตขายซ้ำอีก และถือว่าผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่: กำหนดราคาสูงสุดเนื้อสุกรต้องเป็นคำสั่งของคณะกรรมการฯ เท่านั้น
พนักงานเจ้าหน้าที่ ที่คณะกรรมการป้องกันการค้ากำไรเกินควร แต่ตั้งขึ้นตามมาตรา 10 แห่งพ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควรนั้น มีอำนาจเพียงเพื่อปฏิบัติการ อันอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ
แทนคณะกรรมการเท่านั้น หามีอำนาจกำหนดราคาสูงสุดของการขายส่งหรือขายปลีกสิ่งของที่ห้ามมิให้ค้ากำไนเกินควรไป เพราะอำนาจเช่นว่านี้ กฎหมายให้อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการที่จะ "สั่งการ" ได้ตามที่เป็นสมควรตามความในมาตรา 8(1)
(อ้างถึงฎีกาที่ 216/2494)
ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการป้องกันการค้ากำไรเกินควรแต่งตั้งขึ้น ได้ออกประกาศกำหนดราคาสูงสุดของเนื้อสุกรชำแหละ โดยห้ามมิให้ผู้ใดขายปลีกเนื้อสุกรชำแหละในเขตจังหวัดพระนครธนบุรี เกินกว่าราคาที่กำหนดไว้ ดังนี้ ประกาศดังกล่าวจึงหาผลบังคับถึงจะเอาความผิดเป็นโทษอาญาแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนประกาศนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่คณะกรรมการป้องกันการค้ากำไรเกินควร: กำหนดราคาสูงสุดได้หรือไม่
พนักงานเจ้าหน้าที่ ที่คณะกรรมการป้องกันการค้ากำไรเกินควรแต่งตั้งขึ้นตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควรนั้นมีอำนาจเพียงเพื่อปฏิบัติการอันอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ แทนคณะกรรมการเท่านั้นหามีอำนาจกำหนดราคาสูงสุดของการขายส่งหรือขายปลีกสิ่งของที่ห้ามมิให้ค้ากำไรเกินควรไม่ เพราะอำนาจเช่นว่านี้ กฎหมายให้อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการที่จะ'สั่งการ'ได้ตามที่เห็นสมควรตามความในมาตรา 8(1)(อ้างฎีกาที่ 216/2494)
ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการป้องกันการค้ากำไรเกินควรแต่งตั้งขึ้นได้ออกประกาศกำหนดราคาสูงสุดของเนื้อสุกรชำแหละ โดยห้ามมิให้ผู้ใดขายปลีกเนื้อสุกรชำแหละในเขตจังหวัดพระนครธนบุรีเกินกว่าราคาที่กำหนดไว้ ดังนี้ประกาศดังกล่าวจึงหามีผลบังคับถึงจะเอาความผิดเป็นโทษอาญาแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนประกาศนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการควบคุมการค้ากำไรเกินควร ไม่จำกัดเฉพาะการกำหนดราคาสูงสุด
ตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควรนั้น คณะกรรมการส่วนจังหวัดอาจประกาศห้ามมิให้ส่งของออกนอกท้องที่ได้ โดยไม่ต้องมีการประกาศกำหนดราคาสูงสุดแห่งสิ่งของนั้นด้วย เพราะวิธีการสั่งควบคุมหรือป้องกันการค้ากำไรเกินควรนี้ คณะกรรมการหาจำเป็นต้องกำหนดราคาสูงสุดทุกกรณีไม่ (มีฎีกาที่ 844/2492 วินิจฉัยแนวเดียวกัน)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการควบคุมการค้ากำไรเกินควร ไม่จำต้องกำหนดราคาสูงสุดเสมอไป
ตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรนั้น คณะกรรมการส่วนจังหวัดอาจประกาศห้ามมิให้ส่งของออกนอกท้องที่ได้ โดยไม่ต้องมีการประกาศกำหนดราคาสูงสุดแห่งสิ่งของนั้นด้วย เพราะวิธีการสั่งควบคุมหรือป้องกันการค้ากำไรเกินควรนี้ คณะกรรมการหาจำเป็นต้องกำหนดราคาสูงสุดทุกกรณีไม่ (มีฎีกาที่844/2492วินิจฉัยแนวเดียวกัน)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อขายราคาสูงสุดแต่ผู้ซื้อขาย การใช้พยานผู้ชำนาญการหักล้างไม่ได้
จะยกคำพะยานผู้ชำนาญการตีราคามาหักล้างข้อตกลงตามสัญญาไม่ได้ ประมวลแพ่ง ม.486-487

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีสรรพสามิต: ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมต้องสอดคล้องกับราคาขายจริง และการใช้ราคาสูงสุดเมื่อมีหลายราคา
ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม หมายถึง ราคาที่ผู้ผลิตขายให้แก่ผู้ซื้อโดยสุจริตและเปิดเผย ณ สถานที่ผลิตสินค้าหรือราคาซื้อขายสินค้ากัน ณ สถานที่ผลิตสินค้าเท่านั้น ดังนั้น ค่าใช้จ่ายส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า ณ โรงอุตสาหกรรม หรือสถานที่ผลิตสินค้าไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการผลิตหรือการกำเนิดสินค้า หรือค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาขายสินค้าของผู้ผลิต ณ โรงอุตสาหกรรมไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการผลิตจนถึงขั้นตอนที่มีการขายสินค้าดังกล่าวออกไปให้แก่ผู้ซื้อ ต้องนำมาถือเป็นราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมหรือสถานที่ผลิตได้เนื่องจากรายการที่ต้องระบุในแบบแจ้งราคาขาย หรือแบบ ภษ.01-44 นอกจากค่าวัตถุดิบ ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการผลิตแล้ว ยังต้องระบุค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และกำไรประกอบไปด้วย โจทก์แจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมต่ำกว่าราคาขายตามใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนหักส่วนลดใด ๆ ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีขายที่ออก ณ โรงอุตสาหกรรม โจทก์ย่อมมีภาระการพิสูจน์ให้เห็นว่าส่วนต่างระหว่างราคาขายตามใบกำกับภาษีของโจทก์ดังกล่าวกับราคาขายตามที่โจทก์แจ้งว่าเป็นราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาขายสินค้าของผู้ผลิต ณ โรงอุตสาหกรรม หรือเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ต้องนำไปรวมเป็นฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิตอย่างไร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่อาจฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่า ส่วนต่างระหว่างราคาขายตามใบกำกับภาษีขายของโจทก์กับราคาขายตามที่โจทก์แจ้งว่าเป็นราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาขายสินค้าของผู้ผลิต ณ โรงอุตสาหกรรม หรือเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ต้องนำไปรวมเป็นฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิต ดังนั้น ราคาที่ระบุไว้ตามแบบแจ้งราคาขาย หรือแบบ ภษ.01-44 จึงไม่ใช่ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมจริงที่จะใช้ในการคำนวณภาษีสรรพสามิตดังที่โจทก์อ้าง การที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตจากโจทก์ตามราคาที่ระบุในใบกำกับภาษีขายเป็นราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 8 (1) จึงชอบแล้ว ส่วนในเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน 2551 โจทก์ขายเครื่องดื่มขนาด 0.535 ลิตร ในหลายราคา การที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตจากโจทก์ในราคาสูงสุดของสินค้านั้นในเดือนที่ล่วงมาแล้ว ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 8 (1) วรรคสอง ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 23 (พ.ศ.2534) ออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ข้อ 2 (2) และประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดราคาสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี กรณีที่ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมมีหลายราคา ฉบับลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2537 ข้อ 1 จึงชอบแล้วเช่นกัน และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์แจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมราคาหนึ่ง แต่ปรากฏว่าโจทก์ขายสินค้าตามใบกำกับภาษีขายอีกราคาหนึ่ง การที่เจ้าพนักงานจำเลยประเมินภาษีโดยไม่ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 80 (2) ก็ไม่ได้ทำให้การประเมินไม่ชอบ