คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รู้ตัวผู้รับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8430/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: เริ่มนับเมื่อทราบสิทธิเรียกร้องและตัวผู้รับผิดชอบ แม้เจ้ามรดกเสียชีวิตแล้ว
กรณีที่ ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้น หมายถึงกรณีที่เจ้าหนี้ทราบแล้วว่าตนมีสิทธิเรียกร้องต่อเจ้ามรดก แม้อายุความตามสิทธิเรียกร้องนั้นยาวกว่า 1 ปี เจ้าหนี้ก็จะต้องฟ้องร้องภายใน 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ถ้าเจ้าหนี้ยังไม่ทราบว่าตนมีสิทธิเรียกร้องต่อเจ้ามรดกในขณะที่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก อายุความ 1 ปี ก็ยังไม่เริ่มนับ หนังสือสำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ป. ที่แจ้งไปยังโจทก์ระบุว่า พ. ถึงแก่ความตายแล้ว และตามสำนวนการสืบสวนสอบสวนที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือดังกล่าวมีมรณบัตรของ พ. เป็นหลักฐานด้วย ก็รับฟังได้แต่เพียงว่าโจทก์ได้รู้ถึงการตายของ พ. เจ้ามรดกตั้งแต่ปี 2535 แต่ขณะนั้นโจทก์ยังไม่ทราบว่าบุคคลใดบ้างจะต้องรับผิดทางแพ่งต่อโจทก์ โจทก์จึงยังไม่ทราบว่าจะฟ้องร้องบุคคลใดได้บ้าง ก็ยังไม่เริ่มนับอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ต่อเมื่อโจทก์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งและคณะกรรมการดังกล่าวทำการสอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าบุคคลใดบ้างจะต้องรับผิดทางแพ่งต่อโจทก์ โดยเสนอความเห็นไปตามลำดับชั้นจนถึงรองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 ถือได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้ที่โจทก์จะพึงใช้สิทธิเรียกร้องให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน และเริ่มนับอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2539 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่ง เริ่มนับแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้ต้องรับผิด แม้จะมีการพิจารณาภายในของโจทก์เพิ่มเติม
คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งทำการสอบสวนแล้วมีความเห็นว่า จำเลยเป็นผู้ต้องรับผิดและแจ้งให้เลขาธิการของโจทก์ทราบ ถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงผู้ที่ต้องรับผิดทางแพ่งว่าเป็นจำเลยตั้งแต่ก่อนหรืออย่างช้าที่สุดในวันที่เลขาธิการของโจทก์มีบันทึกถึงผู้ทรงคุณวุฒิด้านให้คำปรึกษากฎหมาย กระทรวงหมาดไทย คือวันที่ 29 ธันวาคม 2537 แม้ต่อมาเลขาธิการของโจทก์จะเสนอขอความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านให้คำปรึกษากฎหมาย กระทรวงมหาดไทยก็ตาม แต่ผลการพิจารณาก็มิได้เปลี่ยนแปลงตัวผู้รับผิดทางแพ่งแต่อย่างใด และแม้เลขาธิการของโจทก์จะลงนามเห็นชอบให้ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนฯ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2538 ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์อันเป็นการเริ่มนับอายุความเปลี่ยนแปลงไป เพราะมิฉะนั้นแล้วอายุความก็ขยายออกไปได้เรื่อย ๆ แล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2539 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรู้ตัวผู้รับผิดทางแพ่ง: เริ่มเมื่อรายงานสอบสวนแจ้งผล ไม่ใช่เมื่อลงนามในคำสั่ง
การที่อธิบดีของกรมโจทก์มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง ก็เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพื่อรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อคณะกรรมการสอบสวนรายงานให้อธิบดีของโจทก์วันใดว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ซึ่งจะต้องรับผิดในทางแพ่งก็ต้องถือเอาวันนั้นเป็นวันที่โจทก์ผู้ต้องเสียหายรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว แม้อธิบดีของโจทก์จะยังไม่ได้พิจารณาเรื่องราวตามสำนวนการสอบสวนในวันดังกล่าว ดังนั้นการที่อธิบดีของโจทก์ลงนามในรายงานการสอบสวนและมีคำสั่งในภายหลัง หามีผลทำให้การรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี: การรู้ตัวผู้รับผิดและผลของการรับสภาพหนี้
ร้านสหกรณ์ของโจทก์ดำเนินการโดยคณะกรรมการ ตามสัญญาจ้างได้กำหนดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างซึ่งทำหน้าที่ผู้จัดการร้านค้าของโจทก์ไว้ว่า ถ้าโจทก์ได้รับความเสียหายใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้น จำเลยที่ 1 จะยอมรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ นอกจากนี้ยังมีข้อบังคับของโจทก์กำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการร้านค้าของโจทก์ที่จะต้องตรวจตราดูแลสินค้าของโจทก์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัยอีกด้วย ต่อมาผู้ตรวจบัญชีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ตรวจพบว่าสินค้าของโจทก์ขาดบัญชี คณะกรรมการร้านค้าของโจทก์พิจารณากันในการประชุมครั้งแรก เมื่อวันที่ 10พฤศจิกายน 2526 แล้วเห็นว่าการตรวจสอบของผู้ตรวจบัญชีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ถูกต้อง ฝ่ายจำเลยที่ 1 เห็นว่าไม่ถูกต้องจะขอให้มีการตรวจสอบใหม่โดยผู้ตรวจบัญชีเอกชนซึ่งจำเลยที่ 1จะจัดหามาเอง ต่อมามีการประชุมอีก 2 ครั้ง แต่ก็ไม่ได้พิจารณาถึงปัญหาเกี่ยวกับตัวผู้จะพึงต้องรับผิดใช้ค่าสินค้าขาดบัญชีเพราะคณะกรรมการร้านค้าของโจทก์ทราบจากสัญญาและข้อบังคับของโจทก์อยู่แล้วตั้งแต่ต้นว่าจำเลยที่ 1 จะต้องเป็นผู้รับผิดใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชี ดังนี้จึงต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินค้าขาดบัญชีตั้งแต่วันที่มีการประชุมคณะกรรมการร้านค้าของโจทก์ครั้งแรก แต่โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2527พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรก เอกสารที่โจทก์อ้างว่าเป็นหนังสือรับสภาพหนี้มีข้อความสำคัญแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ได้ยอมรับว่ามีสินค้าของโจทก์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ขาดบัญชีคิดตามราคาทุนเป็นเงิน846,773.97 บาทเท่านั้น หามีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์และยินยอมจะใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชีนั้นต่อโจทก์ไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 รับสภาพต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องด้วยทำหนังสือรับสภาพให้ อันจะเป็นเหตุให้อายุความฟ้องคดีของโจทก์สะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีความรับผิดทางแพ่ง: การรู้ตัวผู้รับผิดและผลต่ออายุความ
คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้จะต้องรับผิดทางแพ่งและทางวินัยรายงานว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 อยู่ในข่ายจะต้องรับผิดทางแพ่งและทางวินัย ผู้อำนวยการโจทก์ทำบันทึกลงวันที่ 22 ตุลาคม 2522 ขอความกระจ่างเพิ่มเติมอีก 5 ข้อ แต่ในที่สุดผู้อำนวยการโจทก์ก็ปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวน ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่22 ตุลาคม 2522 โจทก์นำคดีมาฟ้อง เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2524 พ้นกำหนด 1 ปีคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิด
ข้อเท็จจริงได้ความจากการนำสืบของโจทก์ว่า รถยนต์โจทก์ถูกรถยนต์จำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทชนได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2518 ต่อมาวันที่ 29 สิงหาคม 2518 นาย น.ข้าราชการในสังกัดกรมโจทก์ และได้รับมอบหมายจากกรมโจทก์ให้เดินทางไปสังเกตการณ์และสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับอุบัติเหตุรถยนต์คันของโจทก์ถูกชน นาย น.ได้ทำบันทึกรายงานแจ้งถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังปรากฏตามรายงานข้อ 7 ในบันทึกเอกสารหมายจ.5 ว่า "กระผมได้ไปพบเจ้าของรถบรรทุก ร. น. 00562 และตัวแทนบริษัทธนกิจประกันภัย จำกัด (นายธัญญะ เอื้ออารี) เพื่อเรียกร้องการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งทางบริษัทประกันภัยได้ตกลงเป็นหลักการไว้ว่ายินดีจะชดใช้ ค่าเสียหายโดยจะซ่อมแซม รถยนต์แลนด์โรเวอร์ ก.ท.ฬ.- 1021 ให้อยู่ในสภาพเดิม " นายภักดี ลุศนันท์ อธิบดีกรมโจทก์ในขณะนั้นได้มีบันทึกสั่งการไว้ในท้ายบันทึกรายงานดังกล่าว ลงวันที่ 2 กันยายน 2518 ว่า 1. การตกลงกับบริษัทประกันภัยและเจ้าของรถบรรทุกต้องมีลายลักษณ์อักษร 2. ทำรายงานไปกระทรวงการคลัง 3. ตั้งกรรมการสอบ ผู้รับผิดชอบทางแพ่งตามระเบียบซึ่งต่อมานาง ฉ.ประธานกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งตามที่กรมโจทก์ตั้ง ขึ้นก็ได้ทำรายงานความเห็นต่ออธิบดีกรมโจทก์ ดังปรากฏตามบันทึกข้อความเอกสารหมายจ.6หน้าที่ 3 ความว่าเห็นว่ารถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน ร.น.00562 เป็นฝ่ายผิดซึ่งเจ้าของรถยนต์ดังกล่าวจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมโจทก์แต่เหตุเกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2518 และรู้ตัวผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2518 ฉะนั้นการที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าของรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียนร.น.00562 นั้น ขาดอายุความ แล้ว
จากข้อเท็จจริงตามที่ได้ความดังกล่าวเห็นว่า กรมโจทก์โดยอธิบดีในขณะนั้นได้รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัว ผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้แก่จำเลยแล้วตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2518ตามที่อธิบดีกรมโจทก์ในขณะนั้นได้ เขียนบันทึกสั่งการไว้ท้ายบันทึกรายงานตามเอกสารหมายจ.5 ซึ่งแม้แต่นางฉ.ประธานกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งที่โจทก์แต่งตั้งขึ้นก็ยังให้ความเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้ว ดังนี้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นเวลาพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวจำเลยผู้ต้องรับผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิด แม้มีการสอบสวนภายในก็ไม่หยุดนับ
ข้อเท็จจริงได้ความจากการนำสืบของโจทก์ว่า รถยนต์โจทก์ถูกรถยนต์จำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทชนได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2518 ต่อมาวันที่ 29 สิงหาคม 2518 นาย น.ข้าราชการในสังกัดกรมโจทก์ และได้รับมอบหมายจากกรมโจทก์ให้เดินทางไปสังเกตการณ์และสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับอุบัติเหตุรถยนต์คันของโจทก์ถูกชน นาย น.ได้ทำบันทึกรายงานแจ้งถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังปรากฏตามรายงานข้อ 7 ในบันทึกเอกสารหมายจ.5 ว่า "กระผมได้ไปพบเจ้าของรถบรรทุก ร. น.00562และตัวแทนบริษัทธนกิจประกันภัยจำกัด(นายธัญญะเอื้ออารี) เพื่อเรียกร้องการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งทางบริษัทประกันภัยได้ตกลงเป็นหลักการไว้ว่ายินดีจะชดใช้ ค่าเสียหายโดยจะซ่อมแซม รถยนต์แลนด์โรเวอร์ก.ท.ฬ.-1021ให้อยู่ในสภาพเดิม" นายภักดีลุศนันท์ อธิบดีกรมโจทก์ ในขณะนั้นได้มีบันทึกสั่งการไว้ในท้ายบันทึกรายงานดังกล่าว ลงวันที่ 2 กันยายน 2518 ว่า 1. การตกลงกับบริษัทประกันภัยและเจ้าของรถบรรทุกต้องมีลายลักษณ์อักษร 2. ทำรายงานไปกระทรวงการคลัง 3. ตั้งกรรมการสอบ ผู้รับผิดชอบทางแพ่งตามระเบียบซึ่งต่อมานาง ฉ.ประธานกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งตามที่กรมโจทก์ตั้ง ขึ้นก็ได้ทำรายงานความเห็นต่ออธิบดีกรมโจทก์ ดังปรากฏตามบันทึกข้อความเอกสารหมายจ.6หน้าที่ 3 ความว่าเห็นว่ารถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน ร.น.00562 เป็นฝ่ายผิด ซึ่งเจ้าของรถยนต์ดังกล่าวจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมโจทก์แต่เหตุเกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2518 และรู้ตัวผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2518 ฉะนั้นการที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าของรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน ร.น.00562 นั้น ขาดอายุความ แล้ว จากข้อเท็จจริงตามที่ได้ความดังกล่าวเห็นว่า กรมโจทก์โดยอธิบดีในขณะนั้นได้รู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัว ผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้แก่จำเลยแล้วตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2518ตามที่อธิบดีกรมโจทก์ในขณะนั้นได้ เขียนบันทึกสั่งการไว้ท้ายบันทึกรายงานตามเอกสารหมายจ.5 ซึ่งแม้แต่นางฉ.ประธานกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งที่โจทก์แต่งตั้งขึ้นก็ยังให้ความเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้ว ดังนี้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2522 ซึ่งเป็นเวลาพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวจำเลยผู้ต้องรับผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1784/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิด แม้ไม่ทราบที่อยู่ก็เริ่มนับได้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่การละเมิดมีอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัว ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 เมื่อโจทก์ทราบว่ารถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยในวันเกิดเหตุแล้ว แม้จะยังไม่ทราบ ที่อยู่ของจำเลยก็ดี ก็ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิด: การรู้ตัวผู้รับผิดและผลต่อการฟ้องคดีภายในกำหนด
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโจทก์จ่ายเงินค่าจองการติดตั้งโทรศัพท์คืนจำเลยที่ 1 เป็นการซ้ำซ้อนจึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนพนักงานของโจทก์เพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบในทางแพ่ง ผู้อำนวยการของโจทก์ทราบรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการฯ ซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 2ถึงที่ 8 อยู่ในข่ายต้องรับผิด เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2518 แม้จะมีข้อขัดแย้งอันเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 7 และที่ 8 ซึ่งโจทก์มีความเห็นไปทางคณะกรรมการบริหารงานด้านปฏิบัติการ แต่ในที่สุดก็ยอมรับและปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนจึงต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2518 โจทก์ฟ้องคดี เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2520 พ้นกำหนดเวลา 1 ปี คดีเฉพาะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีได้ยักยอกเงินของทางราชการไปในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการโจทก์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งคณะกรรมการได้ทำบันทึกเสนอโจทก์ผ่านกองวิชาการว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดด้วย แม้โจทก์จะไม่ได้เซ็นทราบในความเห็นนี้ แต่การที่กองวิชาการบันทึกเสนอความเห็นให้สอบสวนเพิ่มเติมเพื่อที่จะรู้ว่ายังมีใครอีกบ้างที่จะต้องรับผิดเป็นจำนวนเท่าใดและโจทก์ได้มีคำสั่งในบันทึกดังกล่าวเห็นชอบด้วยถือได้ว่าโจทก์ทราบตัวบุคคลผู้ที่จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วในวันนั้น โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช่ค่าสินไหมทดแทน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448