พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานเบียดบังยักยอกทรัพย์และลงข้อความเท็จ ไม่ใช่ปลอมเอกสาร, คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดบทเดียวไม่ใช่หลายบทดังที่ศาลชั้นต้นพิพากษา และลงโทษจำเลยจำเลยเท่ากับที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อโทษแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่สมุห์บัญชีธนาคารอาศัยอำนาจหน้าที่ของตนในการควบคุมบัญชีและเขียนข้อความลงในบัญชีสมุดเงินฝาก เขียนข้อความที่ไม่ตรงต่อความจริงลงในบัญชีดังกล่าวขณะที่ตนมีหน้าที่ต้องเขียนข้อความที่ถูกต้องนั้น เป็นเรื่องลงข้อความเท็จ หาใช่เป็นการปลอมเอกสารไม่ เพราะมิใช่ปลอมเอกสารอันแท้จริงของผู้ใด และไม่เป็นการกรอกข้อความลงในกระดาษซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่น โดยมิได้รับความยินยอมที่ให้ถือว่าเป็นการปลอมเอกสารตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265 จำเลยร่วมกับสมุห์บัญชีทำการดังกล่าวจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารเช่นเดียวกัน
การที่สมุห์บัญชีธนาคารอาศัยอำนาจหน้าที่ของตนในการควบคุมบัญชีและเขียนข้อความลงในบัญชีสมุดเงินฝาก เขียนข้อความที่ไม่ตรงต่อความจริงลงในบัญชีดังกล่าวขณะที่ตนมีหน้าที่ต้องเขียนข้อความที่ถูกต้องนั้น เป็นเรื่องลงข้อความเท็จ หาใช่เป็นการปลอมเอกสารไม่ เพราะมิใช่ปลอมเอกสารอันแท้จริงของผู้ใด และไม่เป็นการกรอกข้อความลงในกระดาษซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่น โดยมิได้รับความยินยอมที่ให้ถือว่าเป็นการปลอมเอกสารตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265 จำเลยร่วมกับสมุห์บัญชีทำการดังกล่าวจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสาร vs. ลงข้อความเท็จในบัญชีธนาคาร และการห้ามฎีกาในคดีโทษไม่เกิน 5 ปี
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดบทเดียวไม่ใช่หลายบทดังที่ศาลชั้นต้นพิพากษา และลงโทษจำคุกจำเลยเท่ากับที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อโทษแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปีคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่สมุห์บัญชีธนาคารอาศัยอำนาจหน้าที่ของตนในการควบคุมบัญชีและเขียนข้อความลงในบัญชีสมุดเงินฝาก เขียนข้อความที่ไม่ตรงต่อความจริงลงในบัญชีดังกล่าวขณะที่ตนมีหน้าที่ต้องเขียนข้อความที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องลงข้อความเท็จ หาใช่เป็นการปลอมเอกสารไม่เพราะมิใช่ปลอมเอกสารอันแท้จริงของผู้ใด และไม่เป็นการกรอกข้อความลงในกระดาษซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่น โดยมิได้รับความยินยอมที่ให้ถือว่าเป็นการปลอมเอกสารตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา264,265 จำเลยร่วมกับสมุห์บัญชีทำการดังกล่าวจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารเช่นเดียวกัน
การที่สมุห์บัญชีธนาคารอาศัยอำนาจหน้าที่ของตนในการควบคุมบัญชีและเขียนข้อความลงในบัญชีสมุดเงินฝาก เขียนข้อความที่ไม่ตรงต่อความจริงลงในบัญชีดังกล่าวขณะที่ตนมีหน้าที่ต้องเขียนข้อความที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องลงข้อความเท็จ หาใช่เป็นการปลอมเอกสารไม่เพราะมิใช่ปลอมเอกสารอันแท้จริงของผู้ใด และไม่เป็นการกรอกข้อความลงในกระดาษซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่น โดยมิได้รับความยินยอมที่ให้ถือว่าเป็นการปลอมเอกสารตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา264,265 จำเลยร่วมกับสมุห์บัญชีทำการดังกล่าวจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10741/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลงข้อความเท็จในงบการเงิน, การช่วยเหลือกระทำผิด, และการปรับรายวันกรณีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหลักทรัพย์
จำเลยที่ 22 ทำสัญญาเช่าถังแก๊สจำนวน 42 ฉบับ กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 20 โดยไม่มีเจตนาให้มีผลผูกพันในทางการค้าอย่างแท้จริง จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 22 อ้างสัญญาเช่าถังแก๊สอันเป็นเท็จดังกล่าว เพื่อตกแต่งบัญชีโดยสั่งให้บันทึกรายได้ค่าเช่าถังแก๊สลงในบัญชีแยกประเภทของจำเลยที่ 22 แล้วนำรายได้นั้นจัดทำและส่งเป็นงบการเงินต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อลวงบุคคลใด ๆ ให้หลงเชื่อว่าจำเลยที่ 22 มีกำไรเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มูลค่าหุ้นของจำเลยที่ 22 สูงขึ้น จึงเป็นความผิดตาม มาตรา 312 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 องค์ประกอบความผิดตามมาตราดังกล่าวข้อความที่ว่า เพื่อลวงบุคคลใด ๆ เป็นเจตนาพิเศษซึ่งโจทก์ได้นำสืบถึงมูลเหตุจูงใจในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วว่า สัญญาเช่าถังแก๊สดังกล่าวไม่ใช่สัญญาที่แท้จริง แต่ทำขึ้นเพื่อประสงค์ให้จำเลยที่ 22 อาศัยสัญญาเช่าไปบันทึกลงในบัญชีและงบการเงินว่าจำเลยที่ 22 มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าความเป็นจริง งบการเงินนั้นเมื่อยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. แล้ว หลังจากนั้นจะปรากฏแก่สาธารณชน ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดเกี่ยวกับผลประกอบการของจำเลยที่ 22 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีเจตนาเพื่อลวงบุคคลใด ๆ ครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 312 แล้ว และการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญากู้ยืมเงินกับห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. และจำเลยที่ 21 โดยไม่ได้มีการกู้ยืมเงินกันจริง จัดทำหรือยินยอมให้จัดทำบัญชีให้กู้ยืมและบันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการของจำเลยที่ 22 ว่าที่ประชุมอนุมัติให้นิติบุคคลทั้ง 2 ราย กู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นเท็จ แล้วจำเลยที่ 22 ส่งบันทึกรายงานการประชุมดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อลวงบุคคลใด ๆ ให้หลงเชื่อว่ามีการให้กู้เงินจริง และการร่วมกันจัดทำบัญชีให้กู้ยืมและบันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการโดยมีจุดประสงค์ให้บุคคลใดก็ตามที่เห็นบัญชีและรายงานการประชุมดังกล่าวหลงเชื่อว่ามีการให้กู้เงินจริง ครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 312 แล้วอีกกระทงหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 20 แม้ไม่อาจเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำบัญชีและการทำงบการเงินของจำเลยที่ 22 ด้วย แต่การทำสัญญาเช่าถังแก๊สที่ไม่จริงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้อาศัยสัญญาเช่าที่ไม่จริงหรือเป็นเท็จไปลงในบัญชีของจำเลยที่ 22 เพื่อลวงบุคคลใด ๆ จำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 21 กู้ยืมเงินอันเป็นเท็จเพื่อลวงบุคคลใด ๆ ทั้งที่ไม่มีการกู้เงินกันจริง จำเลยที่ 10 ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญากู้แต่ไม่เคยได้รับเงินกู้เลยย่อมรู้ว่าไม่มีการกู้ยืมเงินกันจริง การกระทำของจำเลยที่ 10 และที่ 21 จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดตาม มาตรา 312 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ที่ 9 ถึงที่ 21 จึงมีความผิดตาม มาตรา 315
ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 หมวด 12 การควบบริษัท บัญญัติถึงขั้นตอนและวิธีการในการควบบริษัท โดยในมาตรา 151 และ 152 กำหนดให้คณะกรรมการบริษัทที่ควบกันแล้วต้องขอจดทะเบียนการควบบริษัทต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการควบบริษัทแล้ว ให้บริษัทเดิมหมดสภาพจากการเป็นนิติบุคคล จึงไม่ได้มีลักษณะเหมือนกรณีจำเลยที่เป็นบุคคลธรรมดาตาย การควบบริษัทมีผลให้จำเลยที่ 22 หมดสภาพจากการเป็นนิติบุคคลโดยผลของกฎหมายและตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) ที่กำหนดว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปโดยความตายของผู้กระทำผิดก็หาได้กำหนดถึงกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลควบบริษัทด้วยไม่ บริษัทที่ควบกันและจดทะเบียนแล้วย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทเหล่านั้นทั้งหมดตาม มาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 การที่จำเลยที่ 22 ได้ควบบริษัทกับบริษัท ว. และเกิดเป็นบริษัทใหม่ คือ บริษัท ด. ความรับผิดทางอาญาของจำเลยที่ 22 จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1)
ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 หมวด 12 การควบบริษัท บัญญัติถึงขั้นตอนและวิธีการในการควบบริษัท โดยในมาตรา 151 และ 152 กำหนดให้คณะกรรมการบริษัทที่ควบกันแล้วต้องขอจดทะเบียนการควบบริษัทต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการควบบริษัทแล้ว ให้บริษัทเดิมหมดสภาพจากการเป็นนิติบุคคล จึงไม่ได้มีลักษณะเหมือนกรณีจำเลยที่เป็นบุคคลธรรมดาตาย การควบบริษัทมีผลให้จำเลยที่ 22 หมดสภาพจากการเป็นนิติบุคคลโดยผลของกฎหมายและตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) ที่กำหนดว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปโดยความตายของผู้กระทำผิดก็หาได้กำหนดถึงกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลควบบริษัทด้วยไม่ บริษัทที่ควบกันและจดทะเบียนแล้วย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทเหล่านั้นทั้งหมดตาม มาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 การที่จำเลยที่ 22 ได้ควบบริษัทกับบริษัท ว. และเกิดเป็นบริษัทใหม่ คือ บริษัท ด. ความรับผิดทางอาญาของจำเลยที่ 22 จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ลงทุนร่วมทราบถึงการลงข้อความเท็จในเอกสารบริษัท จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีอาญา
ในการร่วมลงทุนก่อสร้างอาคารชุดเพื่อขายนั้น โจทก์ ร. พ. และ ท. เป็นพี่น้องกันและได้ร่วมกันลงทุนกับจำเลยที่ 2 โดยฝ่ายจำเลยที่ 2 ตกลงลงทุน 25,000,000 บาท ส่วนโจทก์และพี่น้องตกลงลงทุน 25,000,000 บาท บ่งชี้ว่า การร่วมลงทุนดังกล่าวแบ่งผู้ลงทุนเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยที่ 2 โดยฝ่ายโจทก์มี ร. เป็นกรรมการที่มีอำนาจทำการผูกพันบริษัท ฝ่ายจำเลยที่ 2 มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการที่มีอำนาจทำการผูกพันบริษัท โดย ร. และจำเลยที่ 2 ต้องลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท จึงจะมีอำนาจทำการผูกพันบริษัท แสดงว่า ร. และจำเลยที่ 2 ต่างเข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทเพื่อดูแลผลประโยชน์ของฝ่ายตน เมื่อโจทก์เป็นพี่น้องของ ร. และร่วมลงทุนเป็นฝ่ายเดียวกับ ร. จึงเป็นปกติที่โจทก์จะต้องคอยติดตามการดำเนินงานของบริษัทผ่านทาง ร. เชื่อว่าโจทก์ทราบดีถึงการกระทำของ ร. แต่โจทก์ไม่ได้คัดค้าน ดังนั้น เมื่อ ร. มีส่วนรู้เห็นในการกระทำของจำเลยที่ 2 และยินยอมให้มีการลงข้อความอันเป็นเท็จในรายงานการประชุมวิสามัญ และงบการเงินของบริษัท อ. ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายเดียวกับ ร. รู้เห็นและยินยอมให้มีการลงข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารดังกล่าวด้วย โจทก์จึงมีส่วนในการกระทำความผิด ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลงข้อความเท็จในเอกสารบริษัท, ผู้สนับสนุน, การนับโทษต่อคดีอื่น, และการใช้ดุลพินิจศาล
จำเลยที่ 2 นำหุ้นที่โจทก์เป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งไปเป็นชื่อของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ร่วมมือกับจำเลยที่ 3 โดยให้จำเลยที่ 3 ดำเนินการเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นจากจำเลยที่ 2 เป็นชื่อจำเลยที่ 3 ทั้งหมดจำนวน 255,000 หุ้น ซึ่งมีส่วนของโจทก์รวมอยู่ด้วยโดยไม่ปรากฏว่ามีการประชุมผู้ถือหุ้นอย่างแท้จริง อันเป็นการทำเอกสารเท็จ จำเลยที่ 3 ซึ่งรับว่าเป็นสามีใหม่ของจำเลยที่ 2 เบิกความเจือสมกับทางนำสืบของโจทก์ว่าเป็นผู้ดำเนินการจัดทำเอกสารเปลี่ยนแปลงบัญชีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นการลงข้อความเท็จในเอกสารของบริษัทนำไปให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อที่เรือนจำ ย่อมทำให้จำเลยที่ 2 ไม่อยู่ในวิสัยดำเนินการเองได้ น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 3 ร่วมมือกับจำเลยที่ 2 กระทำการดังกล่าว จำเลยที่ 3 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 แต่โดยฐานะจำเลยที่ 3 มิใช่กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 1 จึงลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 2 ฐานลงข้อความเท็จในเอกสารของบริษัท ตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) ประกอบ ป.อ. มาตรา 86
พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท กระทำ หรือยินยอมให้กระทำการดังต่อไปนี้...(2) ลงข้อความเท็จหรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารของ ฯ บริษัท" แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตัวของผู้กระทำความผิดไว้ว่าต้องเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท จึงจะลงโทษเป็นตัวการกระทำผิดได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้จะร่วมกันกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าว ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการได้ คงลงโทษจำเลยที่ 3 ได้เพียงฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานลงข้อความเท็จของบริษัท
พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท กระทำ หรือยินยอมให้กระทำการดังต่อไปนี้...(2) ลงข้อความเท็จหรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารของ ฯ บริษัท" แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตัวของผู้กระทำความผิดไว้ว่าต้องเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท จึงจะลงโทษเป็นตัวการกระทำผิดได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้จะร่วมกันกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าว ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการได้ คงลงโทษจำเลยที่ 3 ได้เพียงฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานลงข้อความเท็จของบริษัท