คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลักษณะการใช้งาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีสรรพสามิต: การพิจารณาประเภทรถยนต์ตามสภาพและลักษณะการใช้งาน ไม่ใช่แค่แชสซีส์
การเสียภาษีสรรพสามิตตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตนั้นต้องดูสภาพและลักษณะของรถยนต์เป็นสำคัญว่าเป็นรถยนต์นั่งหรือไม่มิใช่ถือเอาแชสซีส์ของรถยนต์เป็นสำคัญ เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนรถยนต์ของกลางเป็นรถยนต์ประเภทกระบะบรรทุก และเจ้าพนักงานสำนักงานขนส่งได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่าถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ส่วนกรณีที่รถยนต์ของกลางได้มีผู้ดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่งในเวลาต่อมานั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ดัดแปลงรถยนต์ของกลางให้มีสภาพเป็นรถยนต์นั่ง ลำพังแต่การกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้นำเข้าอะไหล่มาประกอบเป็นรถยนต์แล้วขายไป หาเพียงพอที่จะให้ จำเลยทั้งสองเสียภาษีสรรพสามิตตามฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทไม้และการลงโทษฐานครอบครองไม้ผิดกฎหมาย โดยพิจารณาจากลักษณะการใช้งานและวัตถุประสงค์
ไม้ท่อนที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นไม้พื้นปาเก้ ลูกกรงหรือซี่ลูกกรงได้ไม่มีลักษณะที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงยิ่งกว่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น จึงไม่เป็นไม้ฟืนตามพ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ มาตรา 4(8).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4222/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทพิกัดศุลกากรของหีบใส่เงิน: พิจารณาจากลักษณะการใช้งานและความมั่นคงเพื่อป้องกันทรัพย์สิน
สินค้าพิพาทที่จำเลยนำเข้าทำด้วยเหล็ก มีขนาดสูงประมาณ 14 - 15 เซนติเมตร กว้าง 22 - 25 เซนติเมตร ยาว 30 - 36 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 4 - 5 กิโลกรัม มีกุญแจและรหัสเป็นตัวเลข ตั้งแต่เลข 0 ถึงเลข 100 ใช้สำหรับปิดเปิด เมื่อเปิดฝาหรือเคลื่อนย้าย จะมีเสียกริ่งดัง เป็นสัญญาณใช้สำหรับกันขโมย ดังนี้ สินค้าดังกล่าวจึงเป็นหีบใส่เงิน ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีแนบท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ที่ใช้บังคับในขณะพิพาทในพิกัดประเภทที่ 83.03 อัตราร้อยละ 15 หาใช่ของใช้ในบ้านเรือนในพิกัดประเภทที่ 73.38 ข. อัตราร้อยละ 50 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้แปรรูปเป็นเครื่องใช้: การพิจารณาว่าเครื่องใช้ทำจากไม้แปรรูปนั้นชอบด้วยลักษณะการใช้งานทั่วไปหรือไม่ เพื่อตัดสินว่าเป็นไม้แปรรูปตามกฎหมายหรือไม่
ไม้สักของกลางทำเป็นถาดแบบฝักถั่ว ทำขึ้นเพื่อใส่อาหารมีรูปร่างเช่นเดียวกับถาดที่สำเร็จรูปแล้ว แม้จะยังไม่ขัดน้ำมันอย่างเช่นถาดสำเร็จรูป แต่เมื่อไม่อาจนำไปเปลี่ยนแปลงทำเป็นสิ่งอื่นต่อไปได้ และใช้ใส่อาหารได้แล้ว ไม้สักของกลางจึงมีสภาพเป็นเครื่องใช้ แต่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4(4) ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 116 ข้อ 1 นั้น แม้ไม้สักของกลางมีสภาพเป็นเครื่องใช้ แต่ถ้าเครื่องใช้นั้นเป็นเครื่องใช้ที่ไม่ชอบด้วยลักษณะของเครื่องใช้ที่ใช้เป็นปกติในท้องที่นั้นหรือที่ผิดปกติวิสัยแล้ว ไม้สักของกลางก็ยังคงเป็นไม้แปรรูปอยู่ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อนี้มาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาจึงยังไม่พอที่จะวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า ไม้สักของกลางยังเป็นไม้แปรรูปตามกฎหมายอยู่หรือไม่ ดังนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรก็ชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อนี้ไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อน และฟังว่าไม้สักของกลางเป็นเครื่องใช้ที่ชอบด้วยลักษณะของเครื่องใช้ที่ใช้เป็นปกติในท้องที่นั้น และไม่ผิดปกติวิสัย จึงไม่เป็นไม้แปรรูป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้แปรรูป vs. เครื่องใช้: การพิจารณาลักษณะการใช้งานจริงในท้องถิ่นเพื่อตัดสินความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
ไม้สักของกลางเป็นแผ่นกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว หนา 1 นิ้ว เซาะร่องที่ขอบโดยรอบร่องลึกประมาณครึ่งนิ้ว ขัดและทาน้ำมันทุกแผ่น มีลักษณะผิดจากเขียงที่ใช้กันอยู่ในท้องที่เกิดเหตุ แม้จะมีผู้ซื้อไปใช้แทนเขียงก็ไม่ใช่เขียงที่คนในท้องถิ่นนั้นใช้กัน ถือว่ายังเป็นไม้แปรรูปอยู่ มิใช่เครื่องใช้
ความในวรรคสองของมาตรา 4(4) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 หาใช่บทยกเว้นความในวรรคแรกไม่ คำว่าเครื่องใช้ในวรรคสองนี้หมายความว่า เครื่องใช้ที่ชอบด้วยลักษณะของเครื่องใช้ที่ใช้เป็นปกติในท้องที่นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพปลอกกระสุนปืนและลักษณะการใช้งานที่เปลี่ยนไป ไม่ถือเป็นส่วนประกอบอาวุธปืน
ปลอกกระสุนปืนตามสภาพอาจเป็นเครื่องหรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำหรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืนได้ แต่การมีอยู่เพียง 2 ปลอกและได้ความว่ามีไว้ใช้สวมปลายไม้ตะพด ปลอกกระสุนปืนนั้นก็ไม่มีสภาพเป็นเครื่องหรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำ หรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืนเสียแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382-384/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาว่าอาวุธปืนเป็นเครื่องสังหารชีวิตหรือไม่ พิจารณาจากลักษณะการใช้งานและผลที่เกิดขึ้น
อาวุธปืนที่จะต้องถือว่าเป็นเครื่องสังหารชีวิตมนุษย์นั้นย่อมมีลักษณะว่าถ้าใช้อาวุธปืนนั้นยิงคน ตามธรรมดาจะให้บังเกิดความตาย หรือความตายเป็นผลธรรมดาของการที่ถูกอาวุธนั้น จึงจะถือว่าอาวุธปืนนั้นเป็นเครื่องสังหารต่อชีวิต ซึ่งถ้าใครใช้อาวุธปืนชะนิดนั้นยิงผู้ใด ก็จะถือว่าผู้นั้น เจตนาฆ่า
จำเลยได้ใช้ปืนลูกซองขนาดเล็กบรรจุกระสุนลูกปลายขนาดเล็กเบอร์ 8 ปากกระบอกปืนมีสูนย์กลางกว้างเพียง 1.5 ซ.ม. คำชันสูตรบาดแผลปรากฎว่า แผลเป็นจุด ๆ ใกล้ชิดกัน ขนาดของแผลแต่ละแผลกว้าง 2 ม.ม. ยาว 2 ม.ม. ลึกเป็นจุดกลมขนาดเมล็ดถั่วเขียวและมีเม็ดกระสุนฝังในเนื้อ รักษา 15 วันหาย ดังนี้ จำเลยไม่มีผิดฐานพยายามฆ่าคน แต่มีผิดฐานทำร้ายร่างกาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้รถจักรยานจอดล้มขวางถนน ไม่ถือเป็นยานพาหนะตามมาตรา 340 ตรี
การใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ต้องเป็นการใช้ตามลักษณะการใช้งานของยานพาหนะที่เป็นเครื่องนำไป หรือเครื่องขับขี่ แต่การใช้รถจักรยานจอดล้มขวางถนนให้ผู้เสียหายหยุดรถจักรยานยนต์พาหนะซึ่งใช้เป็นเครื่องนำผู้ขับขี่เคลื่อนที่ไป จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3265/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดศุลกากร เฟืองเกียร์นำเข้าสำหรับรถแทรกเตอร์ พิจารณาจากลักษณะการใช้งาน
สินค้าพิพาทซึ่งมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญของเฟืองเกียร์เพื่อจัดทำต่อเป็นเฟืองเกียร์สำเร็จ ใช้สำหรับนำไปประกอบชุดเกียร์ขับเคลื่อนของรถแทรกเตอร์โดยเฉพาะ ซึ่งรถแทรกเตอร์เป็นยานบกตามประเภทพิกัด 87.01 จึงอยู่ในหมวด 17 ตอนที่ 87 ยานบกนอกจากรถที่เดินบนรางรถไฟหรือรางรถราง ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของยานดังกล่าว ประเภทพิกัด 87.08 "ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของยานยนต์ตามประเภท 87.01 ถึง 87.05" โจทก์นำเข้าสินค้าเฟืองเกียร์ตามใบขนสินค้าพิพาทเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของกระปุกเกียร์ของรถแทรกเตอร์ จัดเข้าพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 8708.40.90 ในฐานะเป็น "ส่วนประกอบของกระปุกเกียร์สำหรับยานยนต์ตามประเภท 87.01 ถึง 87.05" กรณีนำเข้าก่อนปี 2555 และพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 8708.40.91 ในฐานะเป็น"ส่วนประกอบของกระปุกเกียร์สำหรับยานยนต์ตามประเภท 87.01" กรณีนำเข้าตั้งแต่ปี 2555 ตามการประเมินของจำเลย