พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าแบบลิสซิ่งไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ แม้จะมีการตกลงซื้อทรัพย์สินเมื่อครบสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าแบบลิสซิ่งรถยนต์ 1 คัน ไปจากโจทก์ในราคา 6,393,600 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้น 447,552 บาท จำเลยตกลงชำระค่าเช่าและภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือน เดือนละ 142,542 บาท โดยแยกเป็นค่าเช่าเดือนละ 133,200 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนละ 9,324 บาท รวม 48 เดือน เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 6 กรกฎาคม 2538 และทุกวันที่ 6 ของเดือนถัดไป เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าและหากจำเลยที่ 1 มิได้กระทำผิดข้อตกลงหรือเงื่อนไขในสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าในราคา 934,579.44 บาท จำเลยที่ 1 ได้รับรถยนต์ไปแล้วในวันทำสัญญาเช่าแม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายถึงลักษณะของการเช่าแบบลิสซิ่งว่าเป็นสัญญาแบบใด มีผลใช้บังคับได้อย่างไร แต่เมื่อพิจารณาแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจได้อยู่แล้วว่าโจทก์นำรถยนต์ให้จำเลยที่ 1 เช่าโดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบกำหนดและหากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดข้อตกลงหรือเงื่อนไขในสัญญา จำเลยที่ 1 มีสิทธิซื้อรถยนต์ที่เช่าได้ตามราคาที่ระบุไว้ในสัญญา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาเช่าแบบลิชซิ่งตามคำฟ้องโจทก์นั้นโจทก์ผู้ให้เช่าให้คำมั่นจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อครบสัญญาเช่าแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มีสิทธิเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า 934,579.44 บาท หากมิได้ผิดข้อตกลงหรือเงื่อนไขในสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่ามิได้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้เช่าทันที สัญญานี้จึงมิใช่สัญญาเช่าซื้อตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 572 เพราะสัญญาเช่าซื้อนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อครบแล้วกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อย่อมโอนไปยังผู้เช่าซื้อทันที ดังนั้น สัญญาเช่าตามคำฟ้องโจทก์จึงหาใช่สัญญาเช่าซื้อที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ไม่
สัญญาเช่าแบบลิชซิ่งตามคำฟ้องโจทก์นั้นโจทก์ผู้ให้เช่าให้คำมั่นจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อครบสัญญาเช่าแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มีสิทธิเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า 934,579.44 บาท หากมิได้ผิดข้อตกลงหรือเงื่อนไขในสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่ามิได้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้เช่าทันที สัญญานี้จึงมิใช่สัญญาเช่าซื้อตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 572 เพราะสัญญาเช่าซื้อนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อครบแล้วกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อย่อมโอนไปยังผู้เช่าซื้อทันที ดังนั้น สัญญาเช่าตามคำฟ้องโจทก์จึงหาใช่สัญญาเช่าซื้อที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าทรัพย์ - ลักษณะของสัญญา การโอนสิทธิ และการพิจารณาค่าก่อสร้าง
ตึกแถวพิพาทมีมาแต่เดิมแล้ว อ. ไม่ได้ช่วยค่าก่อสร้างให้โจทก์แม้ อ. ได้จ่ายเงินให้ ส. ซึ่งเป็นผู้เช่าจำนวน 1,400,000 บาท ก็ดีหรือผู้รับเหมาก่อสร้างเรียกเก็บเงินค่าดำเนินการและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างจาก ส. ก็ดี ก็เป็นเพียงเงินที่จ่ายให้แก่กันเพื่อรับโอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทจากบุคคลที่มีสิทธิก่อนตน คือจาก ส. มาเป็น อ. หรือจากผู้รับเหมาก่อสร้างมาเป็น ส. เท่านั้น หาใช่เงินค่าก่อสร้างไม่ จึงไม่ทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ อ. มีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าทรัพย์ธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4480/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัตรเครดิตกับบัญชีเดินสะพัด: ลักษณะสัญญาที่แท้จริง
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตวีซ่าชฎาทองฉบับพิพาท โจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าหากโจทก์ชำระเงินแทนจำเลยไป จำเลยยอมให้โจทก์นำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักทอนในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลย และยินยอมให้ถือเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่โจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันนั้นต่างมุ่งที่จะผูกพันตามบัตรเครดิตเป็นสำคัญ โดยโจทก์จะอนุมัติต่อเมื่อจำเลยได้ทำคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันเพื่อเดินสะพัดกับโจทก์ แต่การที่โจทก์ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ได้มีการใช้เช็คเบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันเพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวเท่านั้น จึงมิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันขึ้นเพื่อหักทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่ในกิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยนั้นหักกลบลบกัน แล้วคงชำระส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาคอันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด หนี้ที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ตามบัตรเครดิตวีซ่าชฎาทองจึงไม่ใช่หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4958/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยลักษณะสัญญาจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน แม้เอกสารระบุเป็นสัญญาเช่าซื้อ
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ตามฟ้องของตน คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลย และโจทก์เบิกความว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลยตามเอกสารที่ระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายตามที่โจทก์ฟ้องและเบิกความ หรือเป็นสัญญาเช่าซื้อตามข้อความที่ระบุในเอกสาร ข้อความในเอกสารฉบับพิพาทระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อแต่ในแผนผังท้ายเอกสารกลับระบุว่าเป็นที่ดินแบ่งขาย ซึ่งที่ดินที่พิพาทกันตามเอกสารฉบับนี้ก็รวมอยู่ในแผนผังนี้ด้วย เมื่อปรากฏว่าลักษณะของแผนผังดังกล่าวเป็นการนำที่ดินแปลงใหญ่มาจัดสรรแบ่งแยกเป็นแปลงเล็กออกขายให้แก่ลูกค้าและสาระสำคัญของเอกสารฉบับพิพาทคงมีแต่เรื่องจำนวนเงินทั้งหมดที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยจำนวนเงินมัดจำ จำนวนเงินที่ต้องชำระเป็นรายเดือนเป็นเวลากี่เดือน เมื่อโจทก์ชำระครบตามจำนวนเงินดังกล่าว จำเลยจะมอบกรรมสิทธิ์โอนที่ดิน ให้แก่โจทก์ ถ้าโจทก์ไม่ผ่อนชำระเงินตามเวลา ที่กำหนดให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ไม่มีข้อความใน เอกสารฉบับพิพาทตอนใดที่ระบุว่าจำเลยซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินเอาที่ดินออกให้เช่าและไม่มีเรื่อง การเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ รวมทั้งไม่มี เรื่องการกลับเข้าครอบที่ดินของจำเลย และนอกจากการผิดนัดชำระเงินแล้วก็ไม่มีการกระทำอื่นอัน จะถือว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็น ส่วนสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 วรรคแรก ดังนี้ เอกสารฉบับพิพาทจึง เป็นสัญญาจะซื้อขาย โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรง ต่อศาลฎีกา โดยข้อกฎหมายว่า สัญญาที่โจทก์ทำ กับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน มิใช่สัญญาเช่าซื้อ ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย คดีรับฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดิน กับจำเลยตามฟ้องแต่เมื่อคดียังมีปัญหาต้องวินิจฉัย ต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยแล้วตามสัญญา หรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งศาลชั้นต้น ยังไม่ได้วินิจฉัย และมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจ วินิจฉัยได้ จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้น วินิจฉัยปัญหาในคดีให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษา ใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อ ศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นที่ว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย หรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าเป็นสัญญาจะซื้อขายแล้ว แม้ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงิน ให้แก่จำเลยตามสัญญาแล้วหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญา หรือไม่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย ซึ่งมิใช่เป็นปัญหา ข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ในปัญหา ว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายหรือไม่ เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล เพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ระบุในสัญญา สัญญาจึงไม่มีผลบังคับใช้
สัญญาเช่าซื้อคือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวแต่สัญญาฉบับที่โจทก์นำมาฟ้องสาระสำคัญไม่มีลักษณะที่จำเลยทั้งสองนำทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นให้โจทก์แม้จะระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อสัญญาดังกล่าวก็หาเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: แยกพิจารณาตามลักษณะการผิดสัญญาของผู้เช่า
คดีที่ผู้ให้เช่าจะต้องฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 หมายถึงกรณีที่ผู้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าโดยทั่วไปแต่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทกับค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์พิพาทได้ไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิมที่ใช้อยู่ในขณะโจทก์บังคับสิทธิเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิทธิเก็บค่ารักษาความสะอาด: อายุความ 6 เดือน และลักษณะสัญญาเช่าทรัพย์สิน
สารสำคัญตามสัญญาพิพาทตกลงให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในการมีสิทธิเก็บค่ารักษาความสะอาดจากพ่อค้าและแม่ค้าในระยะเวลาอันจำกัดตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ โดยจำเลยที่ 1ต้องชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน การมีสิทธิเก็บค่ารักษาความสะอาดจากพ่อค้าและแม่ค้าเท่ากับจำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา537 ประกอบ มาตรา 99 เดิม ประกอบกับตามหนังสือสัญญาค้ำประกันก็ระบุว่าค้ำประกันตามสัญญาเช่าสิทธิเพื่อเก็บค่ารักษาความสะอาดถือได้ว่าสัญญาพิพาทมีลักษณะเป็นสัญญาเช่าทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: การระบุลักษณะสัญญาที่ถูกต้อง และประเด็นการผิดสัญญาที่ศาลไม่รับวินิจฉัย
เมื่อสาระสำคัญของสัญญาได้ระบุกำหนดราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันเป็นเงิน 30,000 บาท ตกลงกันว่าโจทก์ผู้ซื้อจะชำระราคาเป็นงวดรายเดือนรวม 60 เดือน และระบุว่าเมื่อโจทก์ชำระราคางวดสุดท้ายเสร็จ จำเลยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้โจทก์ทันทีจึงเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่มีเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 459ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อที่ดินเพราะสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงให้เห็นว่า จำเลยเอาที่ดินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายที่ดินนั้น หรือจะให้ที่ดินตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ โดยเงื่อนไขที่โจทก์ได้ใช้เป็นเงินจำนวนเท่านั้นคราวเท่านี้คราว ประเด็นที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ และศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ประเด็นดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายกับสัญญาเช่าซื้อ: การพิจารณาจากข้อตกลงและลักษณะสัญญา
หนังสือสัญญาระบุว่า จำเลยทั้งสองตกลงจะขายอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินให้โจทก์ในราคาเงินดาวน์ 268,480 บาท โดยให้โจทก์ผ่อนชำระเงินดาวน์ รวม 5 งวด ชำระเงินดาวน์ ครบถ้วนแล้วจึงจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ไม่มีข้อความตอนใดระบุไว้เลยว่าเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและมีคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่า ได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว จึงมิใช่เรื่องการเช่าซื้อ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 572 หนังสือสัญญาดังกล่าวจึงเป็น สัญญาจะซื้อจะขาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คอนกรีตผสมเสร็จ: ลักษณะสัญญาเป็นซื้อขาย ไม่ใช่รับจ้างทำของ
ป.รัษฎากรมิได้กำหนดความหมายของคำว่าการรับจ้างทำของไว้จึงต้องพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. เรื่องลักษณะจ้างทำของซึ่งงานที่ทำนั้นต้องเป็นของผู้ว่าจ้าง แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่าการสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จ ลูกค้าจะสั่งตามคุณสมบัติในรายการที่โจทก์แจ้งให้ลูกค้าทราบ เมื่อลูกค้าสั่งมาโจทก์ก็ดำเนินการผสมคอนกรีตผสมเสร็จไปเทเข้าในแบบที่ทำการก่อสร้าง อันเป็นงานที่กำหนดเท่านั้น งานส่วนนี้จึงยังเป็นของโจทก์ไม่ใช่งานของลูกค้าผู้สั่งซื้อคอนกรีตสำหรับการนำคอนกรีตที่โจทก์ผสมเสร็จแล้วไปเทตามแบบที่ต้องการซึ่งเป็นงานของลูกค้าผู้สั่งซื้อคอนกรีตนั้น โจทก์ก็ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในงานส่วนนี้ด้วยนอกจากนี้ตั้งแต่เริ่มการผสมคอนกรีตเสร็จจนถึงเวลาที่โจทก์นำคอนกรีตผสมเสร็จไปส่งให้ลูกค้าตามสั่งนั้น ลูกค้าผู้สั่งไม่มีอำนาจที่จะไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินการของโจทก์ที่พอจะถือว่าลูกค้าผู้สั่งนั้นเป็นผู้ว่าจ้างซึ่งมีอำนาจตรวจตราการงานได้ตลอดเวลาที่ทำงานอยู่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 592 จึงถือไม่ได้ว่าลูกค้าเป็นผู้ว่าจ้างตามลักษณะการจ้างทำของ การประกอบการของโจทก์เกี่ยวกับคอนกรีตผสมเสร็จ จึงเป็นการผลิตเพื่อขายอันเป็นการประกอบการค้าประเภท 1 การขายของ มิใช่การรับจ้างทำของอันเป็นประเภทการค้า 4.