พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5462/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา: ต้องบังคับจากทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ก่อน หากไม่พอจึงบังคับจากจำเลยที่ 2
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน มีผลเท่ากับว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินแก่โจทก์ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจะใช้ได้ ก็ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนจนครบ ฉะนั้น โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อไม่พอจึงจะบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 689
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ส่งเงินบำนาญของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มายังเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2546 ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 และโจทก์ได้รับเงินบางส่วนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้และการบังคับชำระหนี้ไม่เป็นการยาก แม้จะเป็นการชำระหนี้เพียงบางส่วนแต่ก็ยังไม่ปรากฏพฤติการณ์ใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่อาจบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ได้อีกต่อไป โจทก์จึงต้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ส่งเงินบำนาญของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มายังเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2546 ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 และโจทก์ได้รับเงินบางส่วนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้และการบังคับชำระหนี้ไม่เป็นการยาก แม้จะเป็นการชำระหนี้เพียงบางส่วนแต่ก็ยังไม่ปรากฏพฤติการณ์ใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่อาจบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ได้อีกต่อไป โจทก์จึงต้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2622/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอดำเนินคดีอนาถา: ลำดับการพิจารณาคำร้อง และผลของคำสั่งศาลอุทธรณ์
การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้เฉพาะบางส่วน หรือมีคำสั่งให้ยกคำขอ ผู้ขอมีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ หรืออาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำสั่งของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเช่นว่านี้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ซึ่งเป็นวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่บัญญัติเป็นลำดับไว้แล้ว คดีนี้ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าแล้ว ภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งห้านำค่าธรรมเนียมศาลมาวาง จำเลยทั้งห้าไม่ได้ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอนั้นใหม่ แต่ได้ใช้สิทธิทำคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งห้าไปแล้ว เช่นนี้จำเลยทั้งห้าจะย้อนไปร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของตนนั้นใหม่อีกหาได้ไม่ เพราะคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8106/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการลงโทษและสถานที่ราชการ: การเพิ่มโทษตามมาตรา 336 ทวิ ต้องทำหลังกำหนดโทษ และลานจอดรถไม่ใช่สถานที่ราชการ
ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นบทบัญญัติเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดไม่ ดังนั้น ศาลต้องเพิ่มระวางโทษตามมาตรา 335 หนักขึ้นกึ่งหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดระหว่างระวางโทษดังกล่าว ไม่ใช่กำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดเสียก่อน แล้วจึงเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่ง
ลานจอดรถของวิทยาลัยเทคนิคลพบุรีเป็นเพียงสถานที่ซึ่งทางราชการจัดไว้สำหรับเป็นที่จอดรถของบรรดานักศึกษา ผู้มาติดต่อราชการ ตลอดจนข้าราชการของวิทยาลัย หาใช่เป็นสถานที่ซึ่งใช้สำหรับปฏิบัติราชการของข้าราชการในวิทยาลัยโดยตรงแต่อย่างใดไม่ การที่จำเลยทั้งสองลักรถจักรยานยนต์จากบริเวณลานจอดรถดังกล่าวจึงไม่ใช่การลักทรัพย์ในสถานที่ราชการอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) คงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก เท่านั้น
ลานจอดรถของวิทยาลัยเทคนิคลพบุรีเป็นเพียงสถานที่ซึ่งทางราชการจัดไว้สำหรับเป็นที่จอดรถของบรรดานักศึกษา ผู้มาติดต่อราชการ ตลอดจนข้าราชการของวิทยาลัย หาใช่เป็นสถานที่ซึ่งใช้สำหรับปฏิบัติราชการของข้าราชการในวิทยาลัยโดยตรงแต่อย่างใดไม่ การที่จำเลยทั้งสองลักรถจักรยานยนต์จากบริเวณลานจอดรถดังกล่าวจึงไม่ใช่การลักทรัพย์ในสถานที่ราชการอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) คงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่ม: เงินเพิ่มไม่ใช่ดอกเบี้ย, ปลดเปลื้องหนี้ค่าอากรที่มีภาระเงินเพิ่มก่อน
จำเลยนำเข้าสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น โดยสำแดงว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี และขอวางหนังสือค้ำประกันการชำระค่าอากรขาเข้า เมื่อครบกำหนดจำเลยมิได้นำสินค้ามาผลิตเพื่อส่งออก โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินค่าอากรมาชำระแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงทวงถามไปยังธนาคาร ก. ผู้ค้ำประกันการชำระค่าอากรขาเข้าของจำเลย ซึ่งธนาคารได้นำเงินมาชำระตามที่ได้ค้ำประกันไว้ ต่อมาเจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจพบว่าสินค้ามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้า จึงคำนวณค่าภาษีอากรใหม่พร้อมเงินเพิ่มแต่การที่โจทก์นำเงินค้ำประกันไปหักชำระเงินเพิ่มก่อนนั้นไม่ชอบ เพราะเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา มิใช่ดอกเบี้ยหรือค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง กรณีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้ค่าอากรเป็นรายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้ เพราะมีภาระเงินเพิ่มตามกฎหมาย ต้องได้รับปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ภาษีและเงินเพิ่ม: ปลดเปลื้องหนี้ภาษีที่มีภาระเงินเพิ่มก่อน
เงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ กับเงินเพิ่มภาษีการค้าตาม ป.รัษฎากรฯ และเงินเพิ่มภาษีส่วนท้องถิ่น มิใช่ดอกเบี้ยหรือค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวหาใช่บทกฎหมายใกล้เคียงที่จะนำมาปรับใช้แก่คดีนี้ กรณีเป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย ในระหว่างหนี้สินหลายรายที่มีประกันเท่าๆ กัน ให้รายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้เป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีเป็นรายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้ เพราะมีภาระเงินเพิ่มตามกฎหมาย หนี้ค่าภาษีย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้ค่าภาษีและเงินเพิ่ม: ค่าภาษีมีภาระเงินเพิ่มย่อมได้รับการปลดเปลื้องก่อน
เงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา กับเงินเพิ่มภาษีการค้าตามมาตรา 89 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และเงินเพิ่มภาษีส่วนท้องถิ่นมิใช่ดอกเบี้ยหรือค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทั้งบทมาตราดังกล่าวมิใช่บทกฎหมายใกล้เคียงที่จะนำมาปรับใช้แก่คดี โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำเงินที่ผู้ค้ำประกันชำระมาหักชำระหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีก่อนได้ กรณีเป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย ในระหว่างหนี้สินหลายรายที่มีประกันเท่า ๆ กัน ให้รายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้เป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีเป็นรายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้เพราะมีภาระเงินเพิ่มตามกฎหมายดังนี้ หนี้ค่าภาษีย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 328 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7673/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มศุลกากร: หนี้เก่ากว่าต้องชำระก่อน
การชำระหนี้สินหลายรายที่ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน ต้องให้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้ปลดเปลื้องไปก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง แม้ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา วรรคสาม จะบัญญัติให้ถือว่าเงินเพิ่ม เป็นเงินอากร แต่หนี้ค่าอากรเป็นหนี้ที่มีมาก่อนเงินเพิ่ม จึงเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่ม หนี้ค่าอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้อง ไปก่อนหนี้เงินเพิ่ม
เงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง มิใช่ดอกเบี้ยและไม่อาจถือเป็นดอกเบี้ย จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 329 มาใช้บังคับได้ โจทก์จึงไม่อาจนำเงินที่ผู้ค้ำประกันนำมาชำระ มาหักจากหนี้เงินเพิ่มก่อนหนี้ค่าอากรได้
เงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง มิใช่ดอกเบี้ยและไม่อาจถือเป็นดอกเบี้ย จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 329 มาใช้บังคับได้ โจทก์จึงไม่อาจนำเงินที่ผู้ค้ำประกันนำมาชำระ มาหักจากหนี้เงินเพิ่มก่อนหนี้ค่าอากรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597-5598/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการ: การเสนอแผนชำระหนี้ตามลำดับและสิทธิเจ้าหนี้ไม่มีประกัน
บทบัญญัติมาตรา 90/30 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นำมาใช้กับการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการด้วย ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจสั่งให้เจ้าหนี้รายที่ 285 งดออกเสียงในการประชุมเจ้าหนี้ได้และแม้มาตรา 90/23 วรรคสอง จะบัญญัติว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวให้เป็นที่สุดก็มีผลเฉพาะในที่ประชุมเจ้าหนี้ซึ่งเป็นการดำเนินการชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น หามีผลถึงชั้นพิจารณาของศาลด้วยไม่ เจ้าหนี้รายที่ 285 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางได้
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/27 และมาตรา 90/60 แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ที่จะให้มูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ทุกประเภทซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด ไม่ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้ภาษีอากรใด ๆ ตามประมวลรัษฎากรหรือตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ทั้งนี้เพื่อให้หนี้สินของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วได้รับการชำระสะสางภายใต้กรอบของแผนฟื้นฟูกิจการให้เสร็จสิ้นไป เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิหรือคุ้มครองแก่หนี้ภาษีอากรที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเป็นกรณีพิเศษแล้วภายใต้บังคับมาตรา 90/57(2) ประกอบมาตรา 130(6) สิทธิของกรมศุลกากรและกรมสรรพกรเจ้าหนี้รายที่ 285 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ทั้งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ในหมวด 3/1 กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้บัญญัติผลของการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไว้เป็นการเฉพาะโดยชัดแจ้งแล้วตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 56 และมาตรา 77 มาใช้โดยอนุโลมได้
แผนฟื้นฟูกิจการเป็นเพียงข้อตกลงร่วมกันของบรรดาเจ้าหนี้ลูกหนี้เกี่ยวกับวิธีการในการชำระหนี้ ตลอดจนการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 การที่เจ้าหนี้รายที่ 285 อุทธรณ์คัดค้านว่าแผนฟื้นฟูกิจการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 และมิใช่เป็นกรณีต้องดำเนินการตามมาตรา 264 เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการเป็นไปตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วว่าบทบัญญัติมาตรา 90/58 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เช่นนี้ แผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยกฎหมายและศาลย่อมสามารถใช้ดุลพินิจให้ความเห็นชอบด้วยแผนดังกล่าวได้
เจ้าหนี้ได้ยกปัญหาที่ว่าแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีรายการไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 หรือไม่ ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการไม่เป็นไปตามลำดับกฎหมายว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายหรือไม่ และแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่มีรายละเอียดชัดเจนเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ มาในคำร้องคัดค้านแล้ว และปัญหาทั้งสามข้อเป็นเหตุสำคัญเกี่ยวกับการพิจารณาแผน การที่ศาลล้มละลายกลางไม่ได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตามข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 ข้อ 24 อย่างใดก็ตาม เมื่อมีการอุทธรณ์ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ทั้งข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในสำนวนก็เพียงพอแก่การวินิจฉัย ประกอบกับคดีฟื้นฟูกิจการจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาโดยเร็ว ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยปัญหาตามข้อคัดค้านของเจ้าหนี้รายที่ 287 ดังกล่าวไปเสียทีเดียว โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยก่อน
หลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับแผนด้วยมติพิเศษตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายได้กำหนดให้แผนดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบทบัญญัติในส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ กรณีจึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามีบทบาทในทางธุรกิจเพื่อจะได้วินิจฉัยตรวจสอบในการให้ความเห็นชอบด้วยแผนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และมอบดุลพินิจให้ตรวจสอบว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจตรวจสอบถึงเนื้อหาของแผน ตลอดจนโอกาสความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแผน มิใช่พิจารณาแต่เพียงตรวจสอบรายการต่าง ๆว่ามีครบถ้วนตามรูปแบบหรือไม่
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58(2) กำหนดว่าข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนนั้นจะต้องเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้น หมายถึงให้นำบทบัญญัติมาตรา 130 มาใช้ในคดีฟื้นฟูกิจการเฉพาะเรื่องลำดับการชำระหนี้เท่านั้น กล่าวคือ หนี้รายใดจะต้องชำระก่อนหรือหลังจะต้องเป็นไปตามลำดับที่กำหนดไว้ในมาตรา 130(1) ถึง (7) แต่ในกรณีฟื้นฟูกิจการนั้นได้มีบทบัญญัติเฉพาะเรื่องกลุ่มเจ้าหนี้ตามมาตรา 90/42 ทวิ (3) ด้วยว่าเจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจจัดได้เป็นหลายกลุ่ม และมาตรา 90/42 ตรี กำหนดว่าสิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน ดังนั้นหนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 130(7) มิใช่ว่าเจ้าหนี้ในลำดับเดียวกันจะต้องแบ่งเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เมื่อผู้ทำแผนได้จัดให้เจ้าหนี้ไม่มีประกันซึ่งอยู่ในลำดับตามมาตรา 130(7) ออกเป็น 7 กลุ่ม จัดให้เจ้าหนี้รายที่ 287 อยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้ไม่มีประกันกลุ่มที่ 4 เจ้าหนี้ก่อสร้างไม่ถือว่าข้อเสนอในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ไม่มีประกันไม่เท่าเทียมกัน แต่สิทธิของเจ้าหนี้รายที่ 287 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่ 4 ชอบที่จะได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน จะนำสิทธิของเจ้าหนี้ไม่มีประกันในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาเปรียบเทียบหาได้ไม่
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/27 และมาตรา 90/60 แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ที่จะให้มูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ทุกประเภทซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด ไม่ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้ภาษีอากรใด ๆ ตามประมวลรัษฎากรหรือตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ทั้งนี้เพื่อให้หนี้สินของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วได้รับการชำระสะสางภายใต้กรอบของแผนฟื้นฟูกิจการให้เสร็จสิ้นไป เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิหรือคุ้มครองแก่หนี้ภาษีอากรที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเป็นกรณีพิเศษแล้วภายใต้บังคับมาตรา 90/57(2) ประกอบมาตรา 130(6) สิทธิของกรมศุลกากรและกรมสรรพกรเจ้าหนี้รายที่ 285 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ทั้งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ในหมวด 3/1 กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้บัญญัติผลของการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไว้เป็นการเฉพาะโดยชัดแจ้งแล้วตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 56 และมาตรา 77 มาใช้โดยอนุโลมได้
แผนฟื้นฟูกิจการเป็นเพียงข้อตกลงร่วมกันของบรรดาเจ้าหนี้ลูกหนี้เกี่ยวกับวิธีการในการชำระหนี้ ตลอดจนการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 การที่เจ้าหนี้รายที่ 285 อุทธรณ์คัดค้านว่าแผนฟื้นฟูกิจการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 และมิใช่เป็นกรณีต้องดำเนินการตามมาตรา 264 เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการเป็นไปตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วว่าบทบัญญัติมาตรา 90/58 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เช่นนี้ แผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยกฎหมายและศาลย่อมสามารถใช้ดุลพินิจให้ความเห็นชอบด้วยแผนดังกล่าวได้
เจ้าหนี้ได้ยกปัญหาที่ว่าแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีรายการไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 หรือไม่ ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการไม่เป็นไปตามลำดับกฎหมายว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายหรือไม่ และแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่มีรายละเอียดชัดเจนเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ มาในคำร้องคัดค้านแล้ว และปัญหาทั้งสามข้อเป็นเหตุสำคัญเกี่ยวกับการพิจารณาแผน การที่ศาลล้มละลายกลางไม่ได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตามข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 ข้อ 24 อย่างใดก็ตาม เมื่อมีการอุทธรณ์ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ทั้งข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในสำนวนก็เพียงพอแก่การวินิจฉัย ประกอบกับคดีฟื้นฟูกิจการจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาโดยเร็ว ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยปัญหาตามข้อคัดค้านของเจ้าหนี้รายที่ 287 ดังกล่าวไปเสียทีเดียว โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยก่อน
หลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับแผนด้วยมติพิเศษตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายได้กำหนดให้แผนดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบทบัญญัติในส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ กรณีจึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามีบทบาทในทางธุรกิจเพื่อจะได้วินิจฉัยตรวจสอบในการให้ความเห็นชอบด้วยแผนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และมอบดุลพินิจให้ตรวจสอบว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจตรวจสอบถึงเนื้อหาของแผน ตลอดจนโอกาสความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแผน มิใช่พิจารณาแต่เพียงตรวจสอบรายการต่าง ๆว่ามีครบถ้วนตามรูปแบบหรือไม่
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58(2) กำหนดว่าข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนนั้นจะต้องเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้น หมายถึงให้นำบทบัญญัติมาตรา 130 มาใช้ในคดีฟื้นฟูกิจการเฉพาะเรื่องลำดับการชำระหนี้เท่านั้น กล่าวคือ หนี้รายใดจะต้องชำระก่อนหรือหลังจะต้องเป็นไปตามลำดับที่กำหนดไว้ในมาตรา 130(1) ถึง (7) แต่ในกรณีฟื้นฟูกิจการนั้นได้มีบทบัญญัติเฉพาะเรื่องกลุ่มเจ้าหนี้ตามมาตรา 90/42 ทวิ (3) ด้วยว่าเจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจจัดได้เป็นหลายกลุ่ม และมาตรา 90/42 ตรี กำหนดว่าสิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน ดังนั้นหนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 130(7) มิใช่ว่าเจ้าหนี้ในลำดับเดียวกันจะต้องแบ่งเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เมื่อผู้ทำแผนได้จัดให้เจ้าหนี้ไม่มีประกันซึ่งอยู่ในลำดับตามมาตรา 130(7) ออกเป็น 7 กลุ่ม จัดให้เจ้าหนี้รายที่ 287 อยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้ไม่มีประกันกลุ่มที่ 4 เจ้าหนี้ก่อสร้างไม่ถือว่าข้อเสนอในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ไม่มีประกันไม่เท่าเทียมกัน แต่สิทธิของเจ้าหนี้รายที่ 287 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่ 4 ชอบที่จะได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน จะนำสิทธิของเจ้าหนี้ไม่มีประกันในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาเปรียบเทียบหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5218/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนองย่อมมีลำดับก่อนกรรมสิทธิ์ที่ได้มาภายหลัง แม้ได้มาโดยสุจริต
แม้ ด. ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตและได้โอนขายให้แก่ผู้ร้องโดยสุจริต แต่สิทธิของ ด. และผู้ร้องได้มาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองต่อโจทก์ไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว การจำนองจึงยังคงมีอยู่ไม่ระงับสิ้นไป โจทก์มีสิทธิจะบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินพิพาทของผู้ร้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 และมาตรา 702 วรรคสอง การที่ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาภายหลังจากที่โจทก์ได้รับจำนองไว้แล้ว แม้จะได้มาโดยสุจริตและได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330แต่ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่เดิมเสียไป ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8454/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการบังคับคดี: ต้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินลูกหนี้ก่อน หากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินจึงบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระแทน โจทก์จะต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เสียก่อน หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหรือจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินที่โจทก์จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงจะดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้
ในการทำสัญญากู้เงิน จำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้และการที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการยาก แต่โจทก์กลับนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ก่อนเป็นการข้ามการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ชอบที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 โดยให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 689 ได้ แม้โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แล้วไม่มีการขาย และหากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จะต้องบังคับชำระหนี้โดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อีกครั้งหนึ่งก็ตาม
ในการทำสัญญากู้เงิน จำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้และการที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการยาก แต่โจทก์กลับนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ก่อนเป็นการข้ามการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ชอบที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 โดยให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 689 ได้ แม้โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แล้วไม่มีการขาย และหากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จะต้องบังคับชำระหนี้โดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อีกครั้งหนึ่งก็ตาม