พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7105/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยโรคจากสภาพแวดล้อมการทำงาน และการพิจารณาคดีแรงงานตามพยานหลักฐาน
ประเด็นข้อพิพาทในคดีมีว่าจำเลยร่วมทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ ป่วยเป็นโรคปอดเนื่องจากการทำงานหรือไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทเดียวกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีเรื่องอื่นของศาลแรงงานกลางซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการ ส่งลูกจ้างไปให้คณะกรรมการแพทย์ที่ศาลตั้งขึ้นตรวจวิเคราะห์โรคตามคำท้าของคู่ความ ได้ผลประการใดให้ถือเป็นข้อแพ้ชนะแห่งคดี และคู่ความทุกฝ่ายในคดีนี้เห็นพ้องต้องกันขอถือเอาคำท้าในคดีดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยคดีนี้โดยตกลงให้จัดส่งจำเลยทั้งสองไปตรวจวิเคราะห์โรคด้วยเช่นเดียวกับคดีดังกล่าวข้างต้น ดังนี้เพื่อความสะดวกในการพิจารณาและพิพากษาคดี ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกคำสั่งให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความเป็นการชั่วคราว เพื่อรอฟังผลการตรวจวิเคราะห์โรคของจำเลยร่วมทั้งสองก่อน เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นพิพาททุกข้อที่กำหนดไว้ โดยพิจารณาไปตามเหตุผลที่ปรากฏในคำคู่ความและพยานหลักฐานในสำนวนมิได้วินิจฉัยคดีไปตามคำท้าของคู่ความในคดีอื่นซึ่งมีประเด็นที่พิพาทเป็นอย่างเดียวกันกรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานกลางจะต้องเพิกถอนรายงานกระบวนพิจารณาที่ได้จดบันทึกพาดพิงถึงคำท้าของคู่ความในคดีอื่น เพราะรายงานกระบวนพิจารณาข้างต้นมิได้ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 30 ให้อำนาจแก่ศาลแรงงานกลางในการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยให้ถือว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้ความเห็นแก่ศาลประกอบการพิจารณาและพิพากษา ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองต้องการและพอใจให้ศาลจัดให้มีคณะกรรมการแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นเพื่อตรวจวิเคราะห์โรคของจำเลยทั้งสอง การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของศาลแรงงานกลางจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความสามารถในการต่อสู้คดีของจำเลย: ศาลไม่ต้องเรียกแพทย์หากไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้
การที่ศาลจะเรียกพนักงานแพทย์มาให้ถ้อยคำหรือให้การถึง ผลการตรวจในกรณีที่มีเหตุควรเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 14 ก็ต่อเมื่อพนักงานแพทย์ได้ทำการตรวจเสร็จและสามารถวินิจฉัยโรคได้. แต่เมื่อพนักงานแพทย์ได้ตรวจร่างกายของจำเลยหลายครั้งแล้ว แต่ไม่สามารถให้คำวินิจฉัยโรคได้จึงไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่ศาลจะต้องเรียกให้แพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำอีก ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นนัดพร้อมกลับปรากฏข้อเท็จจริง ต่อหน้าศาลว่า จำเลยสามารถเข้าใจคำถามและตอบได้ตรงคำถาม ไม่มีกิริยาหรืออาการแสดงว่าจำเลยวิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จึงชอบด้วย กระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11570/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตและการขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 มาตรา 4 บัญญัติว่า "วิชาชีพเวชกรรม" หมายความว่า "วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค..." การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัติดังกล่าว สั่งจ่ายยารักษาให้แก่สายลับหลังจากจำเลยที่ 1 ตรวจและวินิจฉัยโรคให้แก่สายลับแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่จัดยาให้ตามใบสั่งแพทย์ของจำเลยที่ 1 และเก็บเงิน ล้วนเป็นการกระทำที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 อีกกระทงหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แพทย์ประมาทเลินเล่อวินิจฉัยโรคไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ป่วยแพ้ยาและเสียหาย โรงพยาบาลต้องรับผิด
จำเลยที่ 3 มิได้ตรวจดูอาการของโจทก์ตั้งแต่แรกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพนมสารคามด้วยตนเอง แต่วินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาอาการของโจทก์ตามที่ได้รับรายงานทางโทรศัพท์จากพยาบาลแทนโดยไม่ได้ตรวจสอบประวัติการรักษาของโจทก์ด้วยตนเอง แม้จำเลยที่ 3 จะสอบถามอาการและประวัติการรักษาของโจทก์จากพยาบาลก่อนที่พยาบาลจะฉีดยาให้แก่โจทก์เพื่อทำการรักษาก็ตาม ก็หาใช่วิสัยของบุคคลผู้มีอาชีพเป็นแพทย์จะพึงกระทำไม่ ทั้งห้องเวรกับห้องฉุกเฉินที่โจทก์อยู่ห่างกันเพียง 20 เมตร ตามพฤติการณ์ก็ไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอันทำให้จำเลยที่ 3 ไม่สามารถมาตรวจวินิจฉัยอาการของโจทก์ได้ด้วยตนเองแต่อย่างใด ถือว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อ เมื่อพยาบาลฉีดยาบริคานิลให้แก่โจทก์ตามที่จำเลยที่ 3 สั่งการ ทำให้โจทก์เกิดอาการแพ้ยา อันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
ความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 3 ทำการรักษา แม้เป็นการแสดงออกให้จำเลยที่ 3 กระทำต่อร่างกายของโจทก์ก็ตาม แต่หากการรักษานั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพแพทย์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 อันเป็นหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่
ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย ค่าสมรรถภาพในการมองเห็นและค่าสูญเสียความสวยงามของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ประกอบอาชีพหรือไม่ แพทย์ซึ่งเป็นพยานจำเลยก็เบิกความว่า อาการแพ้ยาของโจทก์อาจถึงขั้นเสียชีวิต กระจกตาดำข้างซ้ายของโจทก์เป็นแผลเปื่อยอักเสบบางลงอาจเป็นสาเหตุให้กระจกตาทะลุ ทำให้มองเห็นไม่ชัด ต้องเปลี่ยนกระจกตาดำจึงจะกลับมามองเห็นได้ ประกอบกับขณะเกิดเหตุโจทก์ตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน ย่อมเป็นความทุกข์ทรมานที่โจทก์รู้สึกได้ตลอดเวลาที่อยู่ระหว่างการรักษา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดให้โจทก์ได้รับค่าความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินคือ ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย 400,000 บาท ค่าเสียหายสมรรถภาพในการมองเห็น 800,000 บาท และค่าสูญเสียความสวยงามของโจทก์ 800,000 บาท รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 2,000,000 บาท นั้น เหมาะสมแล้ว
ความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 3 ทำการรักษา แม้เป็นการแสดงออกให้จำเลยที่ 3 กระทำต่อร่างกายของโจทก์ก็ตาม แต่หากการรักษานั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพแพทย์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 อันเป็นหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่
ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย ค่าสมรรถภาพในการมองเห็นและค่าสูญเสียความสวยงามของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ประกอบอาชีพหรือไม่ แพทย์ซึ่งเป็นพยานจำเลยก็เบิกความว่า อาการแพ้ยาของโจทก์อาจถึงขั้นเสียชีวิต กระจกตาดำข้างซ้ายของโจทก์เป็นแผลเปื่อยอักเสบบางลงอาจเป็นสาเหตุให้กระจกตาทะลุ ทำให้มองเห็นไม่ชัด ต้องเปลี่ยนกระจกตาดำจึงจะกลับมามองเห็นได้ ประกอบกับขณะเกิดเหตุโจทก์ตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน ย่อมเป็นความทุกข์ทรมานที่โจทก์รู้สึกได้ตลอดเวลาที่อยู่ระหว่างการรักษา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดให้โจทก์ได้รับค่าความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินคือ ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย 400,000 บาท ค่าเสียหายสมรรถภาพในการมองเห็น 800,000 บาท และค่าสูญเสียความสวยงามของโจทก์ 800,000 บาท รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 2,000,000 บาท นั้น เหมาะสมแล้ว