พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6783/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง: อำนาจบริหารเต็มและการไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาทำให้ไม่เข้าข่ายลูกจ้าง
ลูกจ้างคือผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างภายใต้การบังคับบัญชาของนายจ้างซึ่งต้องทำงานตามที่นายจ้างมอบหมายในวันเวลาทำงานที่นายจ้างกำหนด และต้องปฏิบัติตามคำสั่งระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง หากฝ่าฝืนนายจ้างลงโทษได้ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 มาตรา 119 และ ป.พ.พ. มาตรา 583 เมื่อโจทก์มีอำนาจเต็มในการบริหารกิจการและไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของบริษัทจำเลยที่ 1 โจทก์บริหารกิจการของจำเลยที่ 1 ไปตามที่เห็นสมควร เพียงแต่รายงานผลการทำงานให้กรรมการอื่นทราบเดือนละครั้ง ดังนี้โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะทำงานให้บริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 50,000 บาท ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4721/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างระหว่างพักงาน: ลูกจ้างยังอยู่ในสถานะลูกจ้าง จำเลยมีหน้าที่จ่ายค่าจ้าง แม้ไม่มีงานมอบหมาย
เมื่อไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างพักงานลูกจ้างเมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่าลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนั้น การที่โจทก์ได้ส่งมอบงานในหน้าที่ก่อนที่จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์การพักงานโจทก์จึงไม่ใช่สืบเนื่องมาจากความผิดของโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานโจทก์
โจทก์ขอลาออกโดยแจ้งล่วงหน้าตามระเบียบแล้ว จำเลยไม่อนุญาตให้โจทก์ลาออก แต่กลับสั่งพักงานโจทก์ โจทก์จึงยังไม่พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยและโจทก์ยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยอยู่ ไม่ว่าในระหว่างที่จำเลยพักงานโจทก์ จำเลยได้จ่ายงานให้โจทก์ทำหรือไม่ ส่วนจำเลยก็ยังมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างตอบแทนการทำงานให้โจทก์หาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่ได้ขอพักงานเอง
โจทก์ขอลาออกโดยแจ้งล่วงหน้าตามระเบียบแล้ว จำเลยไม่อนุญาตให้โจทก์ลาออก แต่กลับสั่งพักงานโจทก์ โจทก์จึงยังไม่พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยและโจทก์ยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยอยู่ ไม่ว่าในระหว่างที่จำเลยพักงานโจทก์ จำเลยได้จ่ายงานให้โจทก์ทำหรือไม่ ส่วนจำเลยก็ยังมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างตอบแทนการทำงานให้โจทก์หาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่ได้ขอพักงานเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยสถานะลูกจ้างที่ไม่ชัดเจน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางแสดงเหตุผลการรับฟังพยานหลักฐานให้ชัดเจน
คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยในประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ เพียงแต่สรุปเป็นข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในเบื้องต้นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย เพราะโจทก์ได้เปอร์เซ็นต์จากค่าขายโฆษณาและมีนามบัตรที่จำเลยให้โจทก์กับคณะไปแสดงต่อบุคคลภายนอกในการติดต่อหาโฆษณาว่าโจทก์และคณะอยู่ที่สำนักงานของจำเลย ไม่ได้วินิจฉัยหรือแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยให้ชัดแจ้งว่าที่รับฟังเช่นนั้นโจทก์มีพยานหลักฐานใดมาแสดง หรือศาลมีเหตุผลในการรับฟังอย่างไร จึงมีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาท เป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ซึ่งนำมาใช้บังคับในศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง และย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทให้ถูกต้องแล้วพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยสถานะลูกจ้างที่ไม่ชัดเจน ศาลต้องแสดงเหตุผลการรับฟังพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน
คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยในประเด็นว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ เพียงแต่สรุปเป็นข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในเบื้องต้นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย เพราะโจทก์ได้เปอร์เซ็นต์จากค่าขายโฆษณาและมีนามบัตรที่จำเลยให้โจทก์กับคณะไปแสดงต่อ บุคคลภายนอกในการติดต่อหาโฆษณาว่าโจทก์และคณะอยู่ที่สำนักงานของจำเลย ไม่ได้วินิจฉัยหรือแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยให้ชัดแจ้งว่าที่รับฟังเช่นนั้นโจทก์มีพยานหลักฐานใดมาแสดง หรือศาลมีเหตุผลในการรับฟังอย่างไร จึงมีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาท เป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยไมได้อุทธรณ์แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ซึ่งนำมาใช้บังคับในศาลแรงงานกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง และย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทให้ถูกต้องแล้วพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4471/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างหลังแต่งตั้งกรรมการ และเหตุขัดข้องทางการเงินไม่ถือจงใจผิดนัดชำระค่าจ้าง
โจทก์ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นกรรมการของบริษัทจำเลย มีฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยมิใช่เป็นลูกจ้างของจำเลย แต่การที่คณะกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลยกำหนดให้โจทก์ทำหน้าที่ควบคุมการซื้อและจ่ายยา ให้ทำหน้าที่เป็นแพทย์เวรโดยได้รับค่าจ้างและโจทก์ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย ดังนี้ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยอีกฐานะหนึ่ง
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คซึ่งจำเลยจ่ายชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยให้เหตุผลว่า จำเลยมีเงินในบัญชีไม่พอจ่ายตามเช็คนั้นเป็นเพียงแสดงว่าจำเลยมีเหตุขัดข้องทางการเงิน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างโดยปราศจากเหตุอันสมควร จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 วรรคสอง.
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คซึ่งจำเลยจ่ายชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยให้เหตุผลว่า จำเลยมีเงินในบัญชีไม่พอจ่ายตามเช็คนั้นเป็นเพียงแสดงว่าจำเลยมีเหตุขัดข้องทางการเงิน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างโดยปราศจากเหตุอันสมควร จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง: การทำงานโดยไม่ได้โอนย้ายสถานะ ไม่ถือเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
การตกลงโอนข้าราชการหรือลูกจ้างของกระทรวงกลาโหมไปเป็นลูกจ้างของการท่าอากาศยานจำเลยที่ 1 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องระหว่างข้าราชการหรือลูกจ้างนั้น ๆ กับกระทรวงกลาโหมและจำเลยที่ 1 โดยเฉพาะ ไม่มีผลเกี่ยวกับการที่โจทก์จะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 หรือไม่ส่วนการที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เมื่อโจทก์มิได้โอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการทำในฐานะเป็นหน้าที่ราชการของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ตกลงทำการงานให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายสินจ้างให้โจทก์ สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงหาได้เกิดขึ้นโดยปริยายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1837/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างต่างชาติ: แม้ทำงานให้บริษัทในไทย แต่ค่าจ้างจ่ายจากบริษัทแม่ต่างประเทศ ไม่ถือเป็นลูกจ้างบริษัทไทย
โจทก์เป็นลูกจ้างบริษัท ย. ที่สหรัฐอเมริกา บริษัทดังกล่าวไม่มีสาขาหรือสำนักงานในประเทศไทยและเป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทจำเลยเดิมบริษัท ย. ให้โจทก์ไปปฏิบัติงานให้แก่บริษัท ฟ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเช่นเดียวกับบริษัทจำเลยที่ประเทศฟิลิปปินส์ต่อมาบริษัท ย. ได้ย้ายโจทก์จากประเทศฟิลิปปินส์มาทำงานให้แก่บริษัทจำเลยในประเทศไทย โดยโจทก์ได้รับค่าจ้างโดยตรงจากบริษัท ย. ตลอดมา. แม้บริษัท ย. จะเป็นผู้ถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทจำเลยก็ตาม แต่ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน และแม้โจทก์จะทำงานให้แก่บริษัทจำเลยและมีเอกสารหลักฐานเช่นรายการเสียภาษีเงินได้ คำรับรองของบริษัทจำเลยที่ยื่นต่อกรมแรงงานว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ก็ไม่ทำให้ฐานะของโจทก์ที่เป็นลูกจ้างบริษัท ย.เปลี่ยนแปลงไปได้ โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1837/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง: การจ่ายค่าจ้างจากบริษัทแม่ต่างชาติ แม้ทำงานให้บริษัทในเครือไทย ไม่ถือเป็นลูกจ้างบริษัทไทย
โจทก์เป็นลูกจ้างบริษัท ย. ที่สหรัฐอเมริกาบริษัทดังกล่าวไม่มีสาขาหรือสำนักงานในประเทศไทยและเป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทจำเลยเดิมบริษัท ย.ให้โจทก์ไปปฏิบัติงานให้แก่บริษัทฟ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเช่นเดียวกับบริษัทจำเลยที่ประเทศฟิลิปปินส์ต่อมาบริษัทย. ได้ย้ายโจทก์จากประเทศฟิลิปปินส์มาทำงานให้แก่บริษัทจำเลยในประเทศไทย โดยโจทก์ได้รับค่าจ้างโดยตรงจากบริษัทย.ตลอดมา.แม้บริษัทย. จะเป็นผู้ถือหุ้น 100เปอร์เซ็นต์ของบริษัทจำเลยก็ตาม แต่ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากกันและแม้โจทก์จะทำงานให้แก่บริษัทจำเลยและมีเอกสารหลักฐานเช่นรายการเสียภาษีเงินได้คำรับรองของบริษัทจำเลยที่ยื่นต่อกรมแรงงานว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ก็ไม่ทำให้ฐานะของโจทก์ที่เป็นลูกจ้างบริษัทย. เปลี่ยนแปลงไปได้โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างจำเลยเป็นประเด็นสำคัญก่อนพิจารณาคดีพิพาทแรงงาน ศาลต้องวินิจฉัยก่อน
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นพนักงานขายของบริษัท ซึ่งประกอบกิจการค้าเครื่องถ่ายเอกสารยี่ห้อหนึ่ง และโจทก์อาจไปขายเครื่องถ่ายเอกสารอีกยี่ห้อหนึ่งให้แก่จำเลยได้เป็นครั้งคราวโดยได้รับค่าคอมมิชชั่นจากจำเลยแล้ววินิจฉัยไปเลยว่า ฟังไม่ได้ว่าจำเลย ตกลงให้โจทก์ทำงานครั้งที่โจทก์ฟ้องนี้โดยจะจ่ายค่าคอมมิชชั่น ให้โจทก์ โดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหรือไม่ ซึ่งประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี เพราะถ้าโจทก์ไม่เป็นลูกจ้างจำเลย คดีนี้ย่อมไม่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา8(1) อันศาลแรงงานกลางจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ สมควรให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวให้เป็นยุติก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: ต้องวินิจฉัยสถานะลูกจ้างก่อนพิจารณาข้อพิพาทสัญญาจ้าง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นพนักงานขายของบริษัทซึ่งประกอบกิจการค้าเครื่องถ่ายเอกสารยี่ห้อหนึ่งและโจทก์อาจไปขาย เครื่องถ่ายเอกสารอีกยี่ห้อหนึ่งให้แก่จำเลยได้เป็นครั้งคราวโดยได้รับ ค่าคอมมิชชั่นจากจำเลยแล้ววินิจฉัยไปเลยว่า ฟังไม่ได้ว่าจำเลย ตกลงให้โจทก์ทำงานครั้งที่โจทก์ฟ้องนี้โดยจะจ่ายค่าคอมมิชชั่น ให้โจทก์โดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหรือไม่ ซึ่งประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีเพราะถ้าโจทก์ ไม่เป็นลูกจ้างจำเลยคดีนี้ย่อมไม่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา8(1) อันศาลแรงงานกลางจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้สมควรให้ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวให้เป็นยุติก่อน