พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2702/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง, อายุความดอกเบี้ย, การบอกกล่าวบังคับจำนองคลาดเคลื่อน, การสละประโยชน์แห่งอายุความ
การที่โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยระบุจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระคลาดเคลื่อนไป จำเลยก็มีสิทธิที่จะโต้แย้งจำนวนเงินดังกล่าวได้ หาเป็นเหตุให้การบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบไม่
จำเลยจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ของบุคคลอื่นซึ่งหนี้ดังกล่าวขาดอายุความ โจทก์ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระก่อนฟ้องย้อนหลังไปมีกำหนด 5 ปี
จำเลยจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ของบุคคลอื่นซึ่งหนี้ดังกล่าวขาดอายุความ โจทก์ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระก่อนฟ้องย้อนหลังไปมีกำหนด 5 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9842/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีล้มละลาย: การจัดการทรัพย์มรดกหลังลูกหนี้ถึงแก่ความตาย, อายุความ, และการสละประโยชน์แห่งอายุความ
การนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามฟ้อง ไม่เป็นการนำสืบแตกต่างจากฟ้องในข้อที่เป็นสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสัญญากู้ยืมเงินเป็นหลัก การที่จำเลยยอมรับผิดในหนี้ที่บิดาจำเลยและเครือญาติมีต่อโจทก์โดยการทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้อง เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ทำให้หนี้เดิมระงับก่อให้เกิดหนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลย จำเลยมีความผูกพันต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว จำเลยจะอ้างว่าไม่ได้รับเงินกู้ยืมไปจากโจทก์ สัญญากู้ยืมเงินไม่สมบูรณ์ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้ธนาคารโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นเงิน 9,531,658.55 บาท โดยจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปีและยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งแนบสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมาท้ายคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง และตามสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกข้อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยคำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งถึงสิทธิของโจทก์ในการเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์และจำเลยตกลงกำหนดวิธีชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินคืนโดยผ่อนทุกคืนเป็นงวด ๆ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2)เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรกที่ต้องชำระภายในวันที่ 25 กันยายน 2528 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ทั้งหมด อายุความเริ่มนับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12คือ วันที่ 26 กันยายน 2528 โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม2540 จึงพ้นกำหนดอายุความ 5 ปี
แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ แต่ทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า ภายหลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้แก่โจทก์จำเลยจะมาติดต่อแต่ได้รับอุบัติเหตุ จำเลยขอผ่อนผันการชำระหนี้ 2 เดือน และจะขายทรัพย์สินชำระหนี้แก่โจทก์กับขอให้โจทก์ลดดอกเบี้ยแก่จำเลย กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ เพราะการรับสภาพหนี้ตามพาณิชย์ มาตรา 193/14 ต้องเป็นเรื่องรับสภาพกันภายในกำหนดอายุความ แต่การที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละประโยชน์แห่งอายุความแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 87 ประกอบด้วยมาตรา 83 ที่บัญญัติให้โจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยซึ่งถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาคดี ก็เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก แต่ถ้าทนายความจำเลยเป็นผู้แถลงขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยที่ตาย โดยโจทก์ไม่คัดค้านและทายาทยินยอมเข้ามาแก้คดีแทน ก็ไม่มีความจำเป็นที่โจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยที่ตายอีก และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย แต่จำเลยได้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 87บัญญัติให้กระบวนพิจารณาคงดำเนินต่อไป และให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้มาใช้บังคับด้วย หมายถึงบทบัญญัติในหมวดว่าด้วยกระบวนพิจารณาในกรณีที่ลูกหนี้ตาย ซึ่งเจ้าหนี้อาจฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้ หากปรากฏว่าลูกหนี้ยังมีชีวิตอยู่เจ้าหนี้อาจฟ้องขอให้ล้มละลายได้ เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยล้มละลายได้เนื่องจากจำเลยไม่มีสภาพเป็นบุคคล ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 84ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสัญญากู้ยืมเงินเป็นหลัก การที่จำเลยยอมรับผิดในหนี้ที่บิดาจำเลยและเครือญาติมีต่อโจทก์โดยการทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้อง เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ทำให้หนี้เดิมระงับก่อให้เกิดหนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลย จำเลยมีความผูกพันต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว จำเลยจะอ้างว่าไม่ได้รับเงินกู้ยืมไปจากโจทก์ สัญญากู้ยืมเงินไม่สมบูรณ์ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้ธนาคารโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นเงิน 9,531,658.55 บาท โดยจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปีและยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งแนบสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมาท้ายคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง และตามสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกข้อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยคำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งถึงสิทธิของโจทก์ในการเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์และจำเลยตกลงกำหนดวิธีชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินคืนโดยผ่อนทุกคืนเป็นงวด ๆ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2)เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรกที่ต้องชำระภายในวันที่ 25 กันยายน 2528 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ทั้งหมด อายุความเริ่มนับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12คือ วันที่ 26 กันยายน 2528 โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม2540 จึงพ้นกำหนดอายุความ 5 ปี
แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ แต่ทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า ภายหลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้แก่โจทก์จำเลยจะมาติดต่อแต่ได้รับอุบัติเหตุ จำเลยขอผ่อนผันการชำระหนี้ 2 เดือน และจะขายทรัพย์สินชำระหนี้แก่โจทก์กับขอให้โจทก์ลดดอกเบี้ยแก่จำเลย กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ เพราะการรับสภาพหนี้ตามพาณิชย์ มาตรา 193/14 ต้องเป็นเรื่องรับสภาพกันภายในกำหนดอายุความ แต่การที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละประโยชน์แห่งอายุความแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 87 ประกอบด้วยมาตรา 83 ที่บัญญัติให้โจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยซึ่งถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาคดี ก็เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก แต่ถ้าทนายความจำเลยเป็นผู้แถลงขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยที่ตาย โดยโจทก์ไม่คัดค้านและทายาทยินยอมเข้ามาแก้คดีแทน ก็ไม่มีความจำเป็นที่โจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยที่ตายอีก และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย แต่จำเลยได้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 87บัญญัติให้กระบวนพิจารณาคงดำเนินต่อไป และให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้มาใช้บังคับด้วย หมายถึงบทบัญญัติในหมวดว่าด้วยกระบวนพิจารณาในกรณีที่ลูกหนี้ตาย ซึ่งเจ้าหนี้อาจฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้ หากปรากฏว่าลูกหนี้ยังมีชีวิตอยู่เจ้าหนี้อาจฟ้องขอให้ล้มละลายได้ เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยล้มละลายได้เนื่องจากจำเลยไม่มีสภาพเป็นบุคคล ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 84ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาบังคับคดีตามคำพิพากษา ไม่ใช่อายุความ การผ่อนชำระหนี้หลังหมดเวลาบังคับคดี ไม่ถือเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ
กำหนดเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความ เมื่อโจทก์มิได้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย กรณีไม่อาจนำเรื่องการสละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 มาใช้บังคับได้ การที่จำเลยทำหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของจำเลยภายหลังครบกำหนดเวลาบังคับคดี จึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาบังคับคดี vs. อายุความ: หนังสือขอผ่อนชำระหนี้ไม่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ
กำหนดเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่อายุความ
โจทก์มิได้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดี โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย และกรณีไม่อาจนำเรื่องการสละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/24 มาใช้บังคับได้ การที่จำเลยทำหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของจำเลยภายหลังครบกำหนดเวลาบังคับคดี จึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความ
โจทก์มิได้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดี โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย และกรณีไม่อาจนำเรื่องการสละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/24 มาใช้บังคับได้ การที่จำเลยทำหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของจำเลยภายหลังครบกำหนดเวลาบังคับคดี จึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาบังคับคดีมิใช่อายุความ การผ่อนชำระหนี้หลังหมดอายุบังคับคดีไม่ถือเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย กำหนดเวลาบังคับคดีเป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความ ไม่อาจนำเรื่องการสละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 มาใช้บังคับกับหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของจำเลยที่ทำถึงโจทก์ภายหลังที่ล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีแล้วนั้นได้หนังสือขอผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความ จำเลยไม่ต้องรับผิดตามหนังสือดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126-5127/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา การคืนเงินประกัน การปฏิเสธโดยไม่ยกเงื่อนเวลา
ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคท้าย (ที่ตรวจชำระใหม่) ไม่ได้บัญญัติว่า การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาจะต้องทำโดยชัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น เมื่อมีพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้วก็บังคับได้ตามนั้น
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดว่าจำเลยจะคืนเงินประกันให้แก่ลูกจ้างหลังจากลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยภายในสามสิบวัน เป็นเงื่อนเวลาในการที่ลูกจ้างของจำเลยจะเรียกเงินประกันคืนซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย จำเลยมีสิทธิยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นขึ้นปฏิเสธที่จะคืนเงินประกันให้แก่โจทก์ลูกจ้างของจำเลยได้เมื่อโจทก์เรียกเงินประกันคืนก่อนกำหนดดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์เรียกเงินประกันคืนก่อนกำหนด จำเลยก็หาได้ยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาขึ้นปฏิเสธไม่ จำเลยกลับปฏิเสธว่าโจทก์ก่อความเสียหายให้แก่จำเลย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยได้สละเสียซึ่งประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดว่าจำเลยจะคืนเงินประกันให้แก่ลูกจ้างหลังจากลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยภายในสามสิบวัน เป็นเงื่อนเวลาในการที่ลูกจ้างของจำเลยจะเรียกเงินประกันคืนซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย จำเลยมีสิทธิยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นขึ้นปฏิเสธที่จะคืนเงินประกันให้แก่โจทก์ลูกจ้างของจำเลยได้เมื่อโจทก์เรียกเงินประกันคืนก่อนกำหนดดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์เรียกเงินประกันคืนก่อนกำหนด จำเลยก็หาได้ยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาขึ้นปฏิเสธไม่ จำเลยกลับปฏิเสธว่าโจทก์ก่อความเสียหายให้แก่จำเลย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยได้สละเสียซึ่งประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126-5127/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาในสัญญาจ้าง กรณีเรียกคืนเงินประกันก่อนกำหนด
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดว่าจำเลยจะคืนเงินประกันให้หลังจากลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างภายใน30วันเป็นเงื่อนเวลาซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลยในการปฏิเสธที่จะคืนเงินประกันให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างได้เมื่อโจทก์ทั้งสองเรียกเงินคืนก่อนกำหนดแต่จำเลยหาได้ยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาขึ้นปฏิเสธไม่กลับปฏิเสธว่าโจทก์ทั้งสองก่อความเสียหายให้แก่จำเลยถือว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา192วรรคท้ายและการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานี้ไม่จำต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรจำเลยจึงไม่อาจยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลามาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสองได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละประโยชน์จากเงื่อนเวลาในสัญญาเช่าซื้อและการผิดสัญญาของจำเลย
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือน แต่มิได้หมายความว่าโจทก์จะชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในงวดต่อไปให้จำเลยไม่ได้ การที่โจทก์ขอชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดเป็นกรณีที่โจทก์ยอมสละประโยชน์จากเงื่อนเวลา ซึ่งไม่กระทบกระทั่งถึงประโยชน์ของจำเลย เพราะจำเลยได้รับค่าเช่าซื้อที่บวกดอกเบี้ยเข้าไปด้วยเต็มจำนวนก่อนกำหนดอันเป็นผลดีแก่จำเลย เมื่อจำเลยได้รับหนังสือขอชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดจากโจทก์แล้วจำเลยมิได้แจ้งสงวนสิทธิแต่กลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์โดยโจทก์มิได้ผิดข้อตกลงในสัญญาถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้ว และการที่จำเลยไม่รับค่าเช่าซื้อทั้งหมดจากโจทก์และไม่โอนที่ดินให้โจทก์ทั้งที่สามารถโอนได้จำเลยจะอ้างว่าไม่ครบกำหนดเวลาผ่อนชำระค่าเช่าซื้อไม่ได้ พฤติการณ์จำเลยดังกล่าวเป็นการผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาในสัญญาซื้อขาย และการโต้แย้งสิทธิของคู่สัญญา
กฎหมายมิได้กำหนดรูปแบบการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาไว้จึงอาจจะเป็นการแสดงออกของผู้ได้รับประโยชน์แห่งเงื่อนไขเวลาโดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้ หากจำเลยประสงค์จะได้รับประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่กำหนดให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ในวันที่ 31 มกราคม 2530 อันเป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้นซึ่งกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้คือจำเลยที่ยังไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์จนกว่าจะครบกำหนดเงื่อนเวลาดังกล่าว จำเลยก็จะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ เมื่อจำเลยให้การเพียงปฏิเสธหนี้ของโจทก์โดยมิได้ยกเงื่อนเวลานั้นเป็นข้อต่อสู้ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาโดยปริยาย ปัญหาเรื่องเงื่อนเวลามิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ โจทก์พร้อมที่จะชำระราคาที่ดินทั้งหมดให้แก่จำเลย และได้แจ้งกำหนดนัดให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยไม่ไปตามนัดทั้งยังมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินแก่โจทก์พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์พร้อมกับรับชำระราคาทั้งหมดไปจากโจทก์ก่อนครบกำหนดเงื่อนเวลาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5914/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาและสิทธิหักกลบลบหนี้ในสัญญาจ้างทำของ
ตามสัญญาจ้างทำของกำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินค่าจ้างงวดที่ 5แก่โจทก์ภายหลังจากที่ได้ส่งมอบงานแล้ว 1 เดือน แม้ว่าโจทก์จะนำคดีมาฟ้องก่อนจะครบกำหนดเวลาดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชำระเงินเพราะโจทก์ผิดสัญญา ย่อมแสดงว่าจำเลยไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เงื่อนเวลาจึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยทั้งสองจะอ้างได้ต่อไป
จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ไม่ครบ ต่อมาจำเลยได้นำค่าฤชาธรรมเนียมที่ยังขาดอยู่มาวางศาลตามคำสั่งศาลแล้วดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เป็นค่าสินจ้างตามสัญญาจ้างทำของแต่เห็นว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้า จำเลยมีสิทธิปรับโจทก์ตามสัญญา จึงให้หักกลบลบหนี้ออกจากค่าสินจ้างที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ คู่ความมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้แต่อย่างใด ดังนี้ ข้อที่ว่าจำเลยมีสิทธิหักกลบลบหนี้หรือไม่จึงไม่เป็นประเด็นมาสู่ศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบกรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบ ร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยให้กรณีต้องถือยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองมีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้
จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ไม่ครบ ต่อมาจำเลยได้นำค่าฤชาธรรมเนียมที่ยังขาดอยู่มาวางศาลตามคำสั่งศาลแล้วดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เป็นค่าสินจ้างตามสัญญาจ้างทำของแต่เห็นว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้า จำเลยมีสิทธิปรับโจทก์ตามสัญญา จึงให้หักกลบลบหนี้ออกจากค่าสินจ้างที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ คู่ความมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้แต่อย่างใด ดังนี้ ข้อที่ว่าจำเลยมีสิทธิหักกลบลบหนี้หรือไม่จึงไม่เป็นประเด็นมาสู่ศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบกรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบ ร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยให้กรณีต้องถือยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองมีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้