พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในนามทางการค้า: การใช้ชื่อซ้ำโดยธุรกิจต่างประเภท ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย จึงไม่อาจสั่งห้ามได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "VICTORIA'S SECRET" โดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นอีกหลายประเทศ เพื่อใช้กับสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ผลิตภัณฑ์ชุดชั้นใน รวมทั้งสินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม สำหรับในประเทศไทยโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อใช้กับสินค้าในจำพวกที่ 38 เดิม จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการประเภทภัตตาคาร ส่วนจำเลยที่ 2 ประกอบกิจการสถานออกกำลังกาย โดยกิจการของจำเลยทั้งสองดังกล่าวใช้ชื่อทางการค้าว่า "VICTORIA'S SECRET" และ "วิคตอเรีย ซีเครท" โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นชื่อทางการค้าของจำเลยทั้งสอง กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในนามของบุคคลซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้า จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามได้ก็ต่อเมื่อการใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปด้วย และโจทก์ผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้นมีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายนั้น แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของโจทก์ดังกล่าวไปใช้เป็นชื่อทางการค้าสำหรับสถานบริการประเภทภัตตาคาร ไนท์คลับ และสถานออกกำลังกายของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่จำเลยทั้งสองได้จดทะเบียนไว้นั้น จะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเสื่อมเสียประโยชน์แต่อย่างใด ทั้งการที่จำเลยทั้งสองประกอบกิจการธุรกิจบริการก็เป็นธุรกิจที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกิจการการค้าของโจทก์ซึ่งผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว เครื่องประดับและเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี อันอาจทำให้โจทก์มีรายได้ในทางการค้าลดลงหรือทำให้โจทก์เสื่อมเสียประโยชน์หรือได้รับความเสียหายอื่นใด โจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้ใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวในการประกอบกิจการสถานบริการของจำเลยทั้งสองได้
??
??
??
??
1/1
??
??
??
??
1/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวัลตั๋วแลกเงิน: ผู้จ่ายเป็นผู้รับอาวัลได้, สิทธิสั่งห้ามการจ่ายเงินไม่มีผล
โจทก์ออกตั๋วแลกเงินสั่งสาขาธนาคารจำเลยที่ 3 ให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 หรือตามคำสั่ง โดยสาขาธนาคารของจำเลยที่ 3 ผู้จ่ายลงลายมือชื่อด้านหน้าของตั๋วแลกเงินใต้ข้อความว่า "เป็นอาวัลค้ำประกันผู้สั่งจ่าย" ต้องถือว่าการลงลายมือชื่อของสาขาธนาคารจำเลยที่ 3 ดังกล่าวเป็นอาวัล และผู้จ่ายเป็นผู้รับอาวัลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 938 วรรคสองตอนสุดท้าย
มาตรา 939 วรรคสามที่บัญญัติว่า "อนึ่งเพียงแต่ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือสั่งจ่าย" นั้นหมายความว่า ถ้าผู้จ่ายลงลายมือชื่อด้านหน้าของตั๋วเงินอย่างเดียวโดยไม่มีถ้อยสำนวนตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง กฎหมายจึงไม่ให้ถือว่าเป็นคำรับอาวัล เพราะการลงลายมือชื่อดังกล่าวเป็นการรับรองการจ่ายเงินตามมาตรา 931 อยู่แล้ว หากมาตรา 939 วรรคสามไม่ยกเว้นไว้ก็จะเป็นทั้งคำรับรองการจ่ายเงินและคำรับอาวัลซ้ำกัน ไม่อาจทราบได้ว่าลงลายมือชื่อในฐานะใด
สาขาธนาคารจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับอาวัลต้องบังคับตามมาตรา 9401คือจำเลยที่ 3 มีความผูกพันอย่าเดียวกับโจทก์ผู้สั่งจ่าย การที่จำเลยที่ 3 จ่ายเงินตามตั๋วเงินซึ่งสาขาของตนรับอาวัลจึงเป็นการปฏิบัติไปตามกฎหมาย โจทก์ผู้สั่งจ่ายไม่มีอำนาจสั่งห้ามจำเลยที่ 3 จ่ายเงิน
อำนาจสั่งห้ามตามมาตรา 992 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องเช็คโดยเฉพาะจะนำมาใช้กับตั๋วแลกเงินไม่ได้
มาตรา 939 วรรคสามที่บัญญัติว่า "อนึ่งเพียงแต่ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือสั่งจ่าย" นั้นหมายความว่า ถ้าผู้จ่ายลงลายมือชื่อด้านหน้าของตั๋วเงินอย่างเดียวโดยไม่มีถ้อยสำนวนตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง กฎหมายจึงไม่ให้ถือว่าเป็นคำรับอาวัล เพราะการลงลายมือชื่อดังกล่าวเป็นการรับรองการจ่ายเงินตามมาตรา 931 อยู่แล้ว หากมาตรา 939 วรรคสามไม่ยกเว้นไว้ก็จะเป็นทั้งคำรับรองการจ่ายเงินและคำรับอาวัลซ้ำกัน ไม่อาจทราบได้ว่าลงลายมือชื่อในฐานะใด
สาขาธนาคารจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับอาวัลต้องบังคับตามมาตรา 9401คือจำเลยที่ 3 มีความผูกพันอย่าเดียวกับโจทก์ผู้สั่งจ่าย การที่จำเลยที่ 3 จ่ายเงินตามตั๋วเงินซึ่งสาขาของตนรับอาวัลจึงเป็นการปฏิบัติไปตามกฎหมาย โจทก์ผู้สั่งจ่ายไม่มีอำนาจสั่งห้ามจำเลยที่ 3 จ่ายเงิน
อำนาจสั่งห้ามตามมาตรา 992 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องเช็คโดยเฉพาะจะนำมาใช้กับตั๋วแลกเงินไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งห้ามประกอบการค้าระหว่างการดำเนินคดีอาญา: ต้องมีมูลความผิดทางอาญาเสียก่อน
จำเลยประกอบการเลื่อยไม้อันเป็นการค้าประเภทต้องควบคุมตามประกาศใช้เทศบัญญัติ ฯโดยไม่ได้รับอนุญาตดังนี้ โจทก์จะฟ้องทางแพ่งขอให้ศาลสั่งห้ามโดยอาศัยอำนาจความในพ.ร.บ.สาธารณะสุข พ.ศ.2484 มาตรา 68 โดยไม่ปรากฎว่าจำเลยทำผิดรับโทษทางอาญาความมาตรานี้อย่างใดดังนี้เท่ากับขอให้สั่งห้ามไปก่อนโดยลำพัง (โดยไม่ปรากฎความผิด)เช่นนี้ เป็นคำขอที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งห้ามประกอบการค้าระหว่างการดำเนินคดีอาญา: ต้องมีมูลความผิดอาญาเสียก่อน จึงจะออกคำสั่งห้ามได้
จำเลยประกอบการเลื่อยไม้อันเป็นการค้าประเภทต้องควบคุมตามประกาศใช้เทศบัญญัติฯโดยไม่ได้รับอนุญาตดังนี้ โจทก์จะฟ้องทางแพ่งขอให้ศาลสั่งห้าม โดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติสาธารณะสุข พ.ศ.2484 มาตรา 68 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทำผิดรับโทษทางอาญาตามมาตรานี้อย่างใดดังนี้เท่ากับขอให้สั่งห้ามไปก่อนโดยลำพัง(โดยไม่ปรากฏความผิด) เช่นนี้เป็นคำขอที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานสั่งห้ามขายสินค้าในวัดต้องมีกฎหมายรองรับ การสั่งห้ามโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายเป็นโมฆะ
ความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานนั้น คำสั่งของเจ้าพนักงานจะต้องเป็นคำสั่งที่มีบทกฎหมายสนับสนุนหรือว่าไว้โดยฉะเพาะให้มีอำนาจสั่งได้
กรมการอำเภอไม่มีอำนาจสั่งห้ามผู้ 1 ผู้ใดเอาทองไปขายในวัดเวลามีงานปิดทองพระ
กรมการอำเภอไม่มีอำนาจสั่งห้ามผู้ 1 ผู้ใดเอาทองไปขายในวัดเวลามีงานปิดทองพระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถูกสั่งห้ามว่าความมีผลบังคับใช้ทันที
สั่งห้ามว่าความ 1 ปี