พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7378/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: HALOG vs. halog แม้ต่างตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่ หากทำให้สาธารณชนหลงผิด ก็ถือว่าละเมิดได้
หนังสือรับรองความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ตามกฎหมายต่าง-ประเทศหาใช่ใบมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศและศาลมีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47ไม่ ดังนี้ แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะไม่มีกงสุลไทยรับรองก็รับฟังได้
โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจพร้อมคำแปลเป็นพยานหลักฐานแสดงว่าโจทก์โดย ฮ. ผู้ช่วยเลขานุการมอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ โดยมี จ.โนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวยอร์ครับรองว่า ผู้แทนโจทก์ดังกล่าวมีอำนาจลงชื่อในนามของโจทก์ได้ น. เสมียนมณฑลและเสมียนศาลสูงสุดมณฑลนิวยอร์คลงชื่อรับรองอำนาจและลายมือชื่อของ จ. และมี ส. กงสุลไทยแห่งสถานกุงสุลใหญ่ ณ นคร-นิวยอร์ค ลงชื่อรับรองลายมือชื่อของ น. ด้วย ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ทำในเมืองต่างประเทศจึงมีการรับรองกันมาเป็นลำดับ ฟังได้ว่าผู้แทนโจทก์ดังกล่าวในเมืองต่างประเทศได้มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทนโจทก์
โจทก์ได้ผลิตและจำหน่ายยารักษาโรคชนิดต่าง ๆ ที่ประเทศ-สหรัฐอเมริกาโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ตั้งแต่ พ.ศ.2515 และส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับประเทศไทยโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2515 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 3 ประเภทยารักษาโรคผิวหนัง บริษัทในเครือของโจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2518 และได้โฆษณาสินค้าของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยในหนังสือนิตยสารวงการแพทย์ก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำเดียวกันกับของโจทก์ใน พ.ศ.2532 หลายปี จำเลยทราบว่ามีเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ใช้กับสินค้าจำพวกยารักษาผิวหนังก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ไม่มีคำแปล ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า halog ของจำเลย ก็ไม่มีคำแปลเช่นเดียวกัน และออกสำเนียงเรียกขานว่า ฮาลอกหรือเฮลอก เหมือนกันทั้งสองคำ ต่างกันแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ดังนี้ เครื่องหมายการค้าคำว่า halog ของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ แม้จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนสำหรับจำพวกที่ 48 ประเภทเครื่องสำอาง ก็ถือได้ว่าสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน อันอาจทำให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG กับสินค้าครีมทาผิวหนังมาก่อนจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่าHALOG กับ halog ในสินค้าครีมทาผิวหนังและสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวได้
โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจพร้อมคำแปลเป็นพยานหลักฐานแสดงว่าโจทก์โดย ฮ. ผู้ช่วยเลขานุการมอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ โดยมี จ.โนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวยอร์ครับรองว่า ผู้แทนโจทก์ดังกล่าวมีอำนาจลงชื่อในนามของโจทก์ได้ น. เสมียนมณฑลและเสมียนศาลสูงสุดมณฑลนิวยอร์คลงชื่อรับรองอำนาจและลายมือชื่อของ จ. และมี ส. กงสุลไทยแห่งสถานกุงสุลใหญ่ ณ นคร-นิวยอร์ค ลงชื่อรับรองลายมือชื่อของ น. ด้วย ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ทำในเมืองต่างประเทศจึงมีการรับรองกันมาเป็นลำดับ ฟังได้ว่าผู้แทนโจทก์ดังกล่าวในเมืองต่างประเทศได้มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทนโจทก์
โจทก์ได้ผลิตและจำหน่ายยารักษาโรคชนิดต่าง ๆ ที่ประเทศ-สหรัฐอเมริกาโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ตั้งแต่ พ.ศ.2515 และส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับประเทศไทยโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2515 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 3 ประเภทยารักษาโรคผิวหนัง บริษัทในเครือของโจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2518 และได้โฆษณาสินค้าของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยในหนังสือนิตยสารวงการแพทย์ก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำเดียวกันกับของโจทก์ใน พ.ศ.2532 หลายปี จำเลยทราบว่ามีเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ใช้กับสินค้าจำพวกยารักษาผิวหนังก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ไม่มีคำแปล ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า halog ของจำเลย ก็ไม่มีคำแปลเช่นเดียวกัน และออกสำเนียงเรียกขานว่า ฮาลอกหรือเฮลอก เหมือนกันทั้งสองคำ ต่างกันแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ดังนี้ เครื่องหมายการค้าคำว่า halog ของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ แม้จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนสำหรับจำพวกที่ 48 ประเภทเครื่องสำอาง ก็ถือได้ว่าสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน อันอาจทำให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG กับสินค้าครีมทาผิวหนังมาก่อนจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่าHALOG กับ halog ในสินค้าครีมทาผิวหนังและสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต เลียนแบบตัดต่อจนชวนสับสน ถือเป็นการลอกเลียนแบบที่ทำให้สาธารณชนหลงผิดได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "SIBELIUM""ไซบีเลี่ยม" "สตูเจอร่อน" "SIBELIUM" กับรูปม้าบนอักษร "J" และ"STUGERON" กับรูปม้าบนอักษร "J" โดยโจทก์ใช้กับสินค้ายารักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดมาก่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศจนเป็นที่แพร่หลายจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUBELIUM" หลังโจทก์หลายปีโดยใช้กับสินค้ายาขยายหลอดเลือด และใช้ตัวยา "FLUNARIZINE" ตัวเดียวกับยาของโจทก์ เครื่องหมายการค้าคำว่า "STUBELIUM" ของจำเลยเป็นการผสมของพยางค์ ""STU + BELIUM" คำดังกล่าวเป็นอักษรโรมัน 9 ตัว อักษร 3 ตัวแรกตรงกับอักษร 3 ตัวแรกของคำว่า "STUGERON" และอักษร 6 ตัวหลังตรงกับอักษร 6 ตัวหลังของคำว่า "SIBELIUM" ซึ่งล้วนเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำดังกล่าวเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นเฉพาะ ไม่ใช่คำที่ใช้สามัญ อักษรโรมันมี 26 ตัวหากจำเลยคิดประดิษฐ์เองโดยไม่ได้เห็นคำทั้งสองที่โจทก์ประดิษฐ์ใช้มาก่อน โอกาสที่จะตรงกันถึง 9 ตัว เรียงกันเช่นนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก การที่โจทก์นำสืบถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUGERON" เพื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมของจำเลยในประเด็นเกี่ยวกับที่มาของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จะให้เหมือนหรือคล้ายกันเครื่องหมายการค้าคำว่า "SIBELIUM" แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUGERON" มาในฟ้อง โจทก์ก็มีสิทธินำสืบและเป็นการนำสืบในประเด็น หาใช่นอกประเด็นไม่
กรณีพิพาทเรื่องเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนไม่ใช่วินิจฉัยแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองจะต้องเหมือนกันทุกสิ่งทุกอย่างแต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันและเมื่อเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้าง จะชี้ขาดว่าไม่เหมือนกันไม่ได้ต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและความสุจริตประกอบกับประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ากับสภาพแห่งท้องตลาด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่แพร่หลายของโจทก์ 2 เครื่องหมาย มาตัดตอนหัวท้ายนำมาเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย และใช้กับสินค้ายารักษาโรคชนิดเดียวกัน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลงทุนโฆษณาตามวิสัยทางการค้าเลยจึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริต การที่จำเลยลอกเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาตัดต่อเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมทำให้สาธารณชนสับสนอาจเข้าใจได้ว่าเป็นของโจทก์ได้ ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUBELIUM" ของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "SIBELIUM" ของโจทก์ถึงขนาดเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
(เสริม บุญทรงสันติกุล - ยงยุทธ ธารีสาร - มงคลสระฏัน)ศาลแพ่ง นางสาวสุมาณี ทองภักดีศาลอุทธรณ์ นายสมชาย จุลนิติ์
นายสุพิศ ปราณีตพลกรัง - ย่อ
เยาวลักษณ์ พ/ท
กรณีพิพาทเรื่องเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนไม่ใช่วินิจฉัยแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองจะต้องเหมือนกันทุกสิ่งทุกอย่างแต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันและเมื่อเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้าง จะชี้ขาดว่าไม่เหมือนกันไม่ได้ต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและความสุจริตประกอบกับประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ากับสภาพแห่งท้องตลาด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่แพร่หลายของโจทก์ 2 เครื่องหมาย มาตัดตอนหัวท้ายนำมาเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย และใช้กับสินค้ายารักษาโรคชนิดเดียวกัน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลงทุนโฆษณาตามวิสัยทางการค้าเลยจึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริต การที่จำเลยลอกเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาตัดต่อเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมทำให้สาธารณชนสับสนอาจเข้าใจได้ว่าเป็นของโจทก์ได้ ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUBELIUM" ของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "SIBELIUM" ของโจทก์ถึงขนาดเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
(เสริม บุญทรงสันติกุล - ยงยุทธ ธารีสาร - มงคลสระฏัน)ศาลแพ่ง นางสาวสุมาณี ทองภักดีศาลอุทธรณ์ นายสมชาย จุลนิติ์
นายสุพิศ ปราณีตพลกรัง - ย่อ
เยาวลักษณ์ พ/ท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6921/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบที่ทำให้สาธารณชนหลงผิด แม้มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย
คำฟ้องบรรยายว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนไว้ทั้งสองเครื่องหมายเหมือนหรือเกือบเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้และที่ยื่นขอจดทะเบียน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสอง โดยโจทก์ได้แนบเอกสารเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และระบุรายละเอียดในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอของจำเลยโดยแนบเอกสารมาท้ายฟ้องด้วย ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งจำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า"JACKSON" กับอักษรไทยคำว่า "แจ็คสัน" และเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้าจากบริษัท จ. ส่วนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า แม้จะยังไม่ได้รับการจดทะเบียนแต่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับกางเกงยีนที่โจทก์ตกลงให้บริษัท ด.เป็นตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศก่อนที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JACKSONG" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า"JACKSON" มีรูปกีตาร์ด้านหน้าดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนเพียงแต่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์จะยังมิได้มีการจดทะเบียน โจทก์ก็มีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ โดยนัยแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้เพิ่มอักษรโรมันตัว G เข้าไปที่ข้างท้ายคำว่า"JACKSON" อีก 1 ตัว ส่วนลักษณะการเขียนตัวอักษรและการวางตัวอักษรเหมือนกันสำเนียงเรียกขานคล้ายกัน และโดยเฉพาะป้ายติดกางเกงยีนอักษรตัว G ปักด้วยด้ายสีขาวและอยู่บนพื้นสีขาว ส่วนตัวอักษรอื่นอีก 7 ตัว คือ JACKSON ปักด้วยด้ายสีดำ หาไม่เพ่งพินิจและสังเกตให้รอบคอบจะไม่เห็นตัวอักษร G ดังกล่าวส่อเจตนาของจำเลยว่ามุ่งจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ นอกจากนี้รูปภาพคนใส่กางเกงยีนและสีสันบนป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของจำเลยเหมือนกับป้ายยี่ห้อและป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของโจทก์ทุกประการเครื่องหมายการค้าของจำเลยแม้จะแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์กล่าวคือ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีเส้นตรงขีดอยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า "JACKSONG" แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นรายละเอียดปลีกย่อย สาระสำคัญและจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าอยู่ที่คำว่า "JACKSON" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนหลงผิด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปยื่นคำขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ ย่อมเป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า"JACKSON" กับอักษรไทยคำว่า "แจ็คสัน" และเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้าจากบริษัท จ. ส่วนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า แม้จะยังไม่ได้รับการจดทะเบียนแต่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับกางเกงยีนที่โจทก์ตกลงให้บริษัท ด.เป็นตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศก่อนที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JACKSONG" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า"JACKSON" มีรูปกีตาร์ด้านหน้าดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนเพียงแต่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์จะยังมิได้มีการจดทะเบียน โจทก์ก็มีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ โดยนัยแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้เพิ่มอักษรโรมันตัว G เข้าไปที่ข้างท้ายคำว่า"JACKSON" อีก 1 ตัว ส่วนลักษณะการเขียนตัวอักษรและการวางตัวอักษรเหมือนกันสำเนียงเรียกขานคล้ายกัน และโดยเฉพาะป้ายติดกางเกงยีนอักษรตัว G ปักด้วยด้ายสีขาวและอยู่บนพื้นสีขาว ส่วนตัวอักษรอื่นอีก 7 ตัว คือ JACKSON ปักด้วยด้ายสีดำ หาไม่เพ่งพินิจและสังเกตให้รอบคอบจะไม่เห็นตัวอักษร G ดังกล่าวส่อเจตนาของจำเลยว่ามุ่งจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ นอกจากนี้รูปภาพคนใส่กางเกงยีนและสีสันบนป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของจำเลยเหมือนกับป้ายยี่ห้อและป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของโจทก์ทุกประการเครื่องหมายการค้าของจำเลยแม้จะแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์กล่าวคือ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีเส้นตรงขีดอยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า "JACKSONG" แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นรายละเอียดปลีกย่อย สาระสำคัญและจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าอยู่ที่คำว่า "JACKSON" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนหลงผิด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปยื่นคำขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ ย่อมเป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6921/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบที่ทำให้สาธารณชนหลงผิดและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำฟ้องบรรยายว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนไว้ทั้งสองเครื่องหมายการค้าหรือเกือบเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้และที่ยื่นขอจดทะเบียน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสอง โดยโจทก์ได้แนบเอกสารเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และระบุรายละเอียดในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอของจำเลยโดยแนบเอกสารมาท้ายฟ้องด้วย ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งจำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" กับอักษรไทยคำว่า "แจ็คสัน" และเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้าจากบริษัท จ. ส่วนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า แม้จะยังไม่ได้รับการจดทะเบียนแต่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับกางเกงยีนที่โจทก์ตกลงให้บริษัท ด.เป็นตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศก่อนที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์อยู่ด้านหน้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "JACKSON" มีรูปกีตาร์ด้านหน้าดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนเพียงแต่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์จะยังมิได้มีการจดทะเบียน โจทก์ก็มีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของ จำเลยได้ โดยนัยแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้เพิ่มอักษรโรมันตัว G เข้าไปที่ข้างท้ายคำว่า "JACKSON" อีก 1 ตัว ส่วนลักษณะการเขียนตัวอักษรและการวางตัวอักษรเหมือนกันสำเนียงเรียกขานคล้ายกันและโดยเฉพาะป้ายติดกางเกงยีนอักษรตัว G ปักด้วยด้ายสีขาวและ อยู่บนพื้นสีขาว ส่วนตัวอักษรอื่นอีก 7 ตัว คือ JACKSONปักด้วยด้ายสีดำ หาไม่เพ่งพินิจและสังเกตให้รอบคอบจะไม่เห็นตัวอักษร G ดังกล่าวส่อเจตนาของจำเลยว่ามุ่งจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ นอกจากนี้รูปภาพคนใส่กางเกงยีนและสีสันบนป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของจำเลยเหมือนกับป้ายยี่ห้อและป้ายโฆษณาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของโจทก์ทุกประการเครื่องหมายการค้าของจำเลยแม้จะแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์กล่าวคือ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีเส้นตรงขีดอยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า "JACKSONG"แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นรายละเอียดปลีกย่อย สาระสำคัญและจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าอยู่ที่คำว่า "JACKSON"ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้าย กับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนหลงผิด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปยื่นคำขอจดทะเบียน และนำไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ ย่อมเป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนภายหลัง & การเลียนแบบทำให้สาธารณชนหลงผิด
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกเป็นเวลาหลายปีแล้ว เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้ โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 41(1) ในปัญหานี้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหาได้วินิจฉัยถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นโดยตรงไม่ แต่ย้อนไปวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิดีกว่าเพราะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเข้ามาก่อนอันเป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 17 กรณีดังกล่าวไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 19 เบญจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องนุ่งห่มและเครื่องหอม ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN(นิวแมน) จำหน่ายในประเทศต่าง ๆเกือบทั่วโลกมานานประมาณ 15 ปี และยังจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ที่ประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ. 2512 กับที่ประเทศอื่น ๆอีกหลายประเทศ สินค้าของโจทก์ได้ส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เรื่อยมา จำเลยเพิ่งมาขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ใช้คำว่า NNEWMEN(เอ็นนิวแมน) เมื่อวันที่12 พฤษภาคม 2521 ถือว่าจำเลยกระทำการโดยไม่สุจริต และการที่จำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกายที่จำเลยผลิตและจำหน่ายซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดอันเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นการละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนหลงผิด ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์แบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่าสแตนเล่ย์อีกแบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอยู่บน ตัวอักษรไทยอยู่ด้านล่าง ทั้งตัวอักษรโรมันและตัวอักษรไทย อ่านว่า สแตนเล่ย์ ทั้งสองแบบอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปคล้ายใบมีดโกน ตัวอักษรสีโปร่งแต่กรอบสีทึบ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันอ่านว่า แสตนอัพ อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมรูปร่างคล้ายไม้นวดแป้งตัวอักษรสีทึบ ส่วนกรอบสี่เหลี่ยมสีโปร่ง เครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นตัวอักษรอยู่ติดกันทั้งหมด ส่วนตัวอักษรเครื่องหมายการค้าของจำเลยแยกกันเป็นสองส่วนคือคำว่าแสตนกับคำว่าอัพ อยู่ห่างกัน ดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะแตกต่างกันทั้งตัวอักษรสี และกรอบ ไม่เหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้ การกำหนดประเด็นว่า เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเหมือน หรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้สาธารณชนหลงผิด หรือไม่นั้น มีความหมายอย่างเดียวกับการกำหนดประเด็นว่า จำเลยร่วมกันกระทำละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ เมื่อหลักฐานตามคำฟ้องคำให้การ และเอกสารท้ายฟ้องเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้วศาลก็ชอบที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: แม้ต่างจำพวกสินค้า แต่หากทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ ก็ถือเป็นการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LUCKY" อ่านว่า"ลักกี้"แปลว่าโชคดี ใช้กับสินค้าที่นอนสปริง ในจำพวกสินค้าประเภท 51 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า"LUXKY" อ่านว่า "ลักกี้ " แปลความหมายไม่ได้ ใช้กับสินค้าที่นอนทุกชนิดในจำพวกสินค้าประเภท 41 เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันและจำนวนตัวอักษรเท่ากันตัวอักษรต่างกันเฉพาะตัวที่ 3 เท่านั้น แต่คงอ่านออกเสียงเหมือนกันแม้สินค้าของโจทก์และจำเลยจะจดทะเบียนไว้ต่างจำพวกกันแต่ก็จดทะเบียนสินค้าในประเภทเดียวกันคือที่นอน ทั้งจำเลยก็ผลิตสินค้าประเภทที่นอนออกจำหน่ายเช่นเดียวกับโจทก์ สาธารณชนย่อมหลงผิดว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ดังนี้ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยงดใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "LUXKY" และขอเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันทำให้สาธารณชนหลงผิด
สินค้าของโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า "NICCO" จำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทยมาประมาณ 15 ปีแล้ว การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าว่า "NICCO" เป็นอักษรโรมันคำเดียวกัน แตกต่างกันเพียงว่า ของโจทก์อยู่ในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และตัวอักษร "O" เป็นตัวทึบ ส่วนของจำเลยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา เมื่อออกสำเนียงชื่อก็คล้ายคลึงกัน ของโจทก์ออกสำเนียงว่า "นิกโก้" ส่วนของจำเลยออกสำเนียงว่า "นิคโค้" การกระทำของจำเลยเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทด้วย
มาตรา 21 และ 22 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านไว้ด้วย เมื่อไม่มีการคัดค้าน จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 22 และหาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริง ที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว หากโจทก์เป็๋นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนกับทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41 (1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474
มาตรา 21 และ 22 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านไว้ด้วย เมื่อไม่มีการคัดค้าน จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 22 และหาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริง ที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว หากโจทก์เป็๋นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนกับทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41 (1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า สินค้าต่างชนิดกัน ไม่ทำให้สาธารณชนหลงผิด สิทธิผู้ขอจดทะเบียนก่อนย่อมได้สิทธิ
เมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยใช้สำหรับสินค้าจำพวก 3 เหมือนกันแล้ว โจทก์จะโต้เถียงว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยใช้สำหรับสินค้าคนละชนิด ของโจทก์ใช้สำหรับยาหม่อง ของจำเลยไม่ได้ใช้กับยาหม่อง ไม่มีทางทำให้ประชาชนหรือสาธาณชนหลงผิดในเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าประเภทเดียวกัน แม้จำเลยไม่มีสินค้าชนิดเดียวกับโจทก์ ก็อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้
เมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลย ใช้สำหรับสินค้าจำพวก 3 เหมือนกันแล้ว โจทก์จะโต้เถียงว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยใช้สำหรับสินค้าคนละชนิด ของโจทก์ใช้สำหรับยาหม่อง ของจำเลยไม่ได้ใช้กับยาหม่อง ไม่มีทางทำให้ประชาชนหรือสาธารณชนหลงผิดในเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ได้