พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การพิสูจน์สาเหตุ และความรับผิดของนายจ้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดที่มีโทษถึงขั้นไล่ออก เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ขอให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างและรับโจทก์กลับเข้าทำงาน มิฉะนั้นให้จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ย เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นสิทธิในทางแพ่งโดยเฉพาะ ไม่ได้อาศัยมูลความผิดทางอาญา แม้จำเลยทั้งสองจะให้การว่าจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ เพราะโจทก์กระทำความผิดอาญาโดยทำร้ายร่างกาย พ. และถูกศาลแขวงพระนครเหนือพิพากษาลงโทษไปแล้ว ก็ไม่ทำให้คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวจะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้ ที่ศาลแรงงานกลางให้โจทก์นำสืบถึงสาเหตุและพฤติการณ์ที่โจทก์ทำร้าย พ. และนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้จงใจทำผิดข้อบังคับและไม่เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่อย่างใด
แม้จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 6 (2) แต่จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820 กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
แม้จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 6 (2) แต่จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820 กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353-1368/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิจารณาจากสาเหตุความจำเป็นทางธุรกิจและผลกระทบทางเศรษฐกิจ
หลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522มาตรา 49 ศาลจำต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และสาเหตุดังกล่าวมีเหตุเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญแม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ลูกจ้างเดือดร้อนก็ตามแต่หากเป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างยังคงดำรงย่อมเป็นสาเหตุที่จำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้ว ไม่ถือว่าเป็นการอยู่ต่อไป โดยหวังว่ากิจการของนายจ้างจะมีโอกาสกลับฟื้นคืนตัวได้ใหม่เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งแตกต่างจากหลักเกณฑ์เรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 121 มาตรา 122และมาตรา 123 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยประสบภาวะเศรษฐกิจ ลูกค้าของจำเลยลดการสั่งซื้อสินค้าทำให้การผลิตลดลง เป็นเหตุให้จำเลยต้องลดอัตรากำลังคนให้พอเหมาะแก่ปริมาณงานที่แท้จริง ทั้งก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้คัดเลือกโจทก์ออกจากงานตามหลักเกณฑ์ที่ทุกฝ่ายยอมรับโดยไม่เลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์กับลูกจ้างคนอื่น ๆ เพื่อต้องการพยุงกิจการของจำเลยให้อยู่รอดต่อไปได้เช่นนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีสาเหตุอันจำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้วกรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าจำเลยจะจ่ายโบนัสแก่พนักงานในวันที่ 15 กรกฎาคม และวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป โดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว อันมีความหมายว่า พนักงานที่มีสิทธิได้รับโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายโบนัสด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทำให้โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดเวลาที่จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานในวันที่ 15 มกราคม 2541 โจทก์สิ้นสภาพการเป็นพนักงานไปก่อนวันครบกำหนดจ่ายเงินโบนัสเสียแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินโบนัสจากจำเลย ในวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเงินเดือนรวมกับเงินอื่นพร้อมที่จะจ่ายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับเงินเพราะเกรงจะเป็นการสมัครใจลาออกจากงาน เมื่อเห็นได้ว่าจำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว แต่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควรแม้จำเลยจะไม่นำเงินดังกล่าวไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสามก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดเงินเพิ่มตามข้อ 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างนำสืบความสามารถลูกจ้างได้ หากไม่ได้ระบุสาเหตุการเลิกจ้าง
นอกจากจำเลยจะอ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่าโจทก์กระทำผิดวินัยโดยกระทำประมาทเลินเล่อจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จำเลยยังให้การว่าโจทก์ไม่มีความสามารถหรือประสบการณ์เพียงพอที่จะบริหารงาน ซึ่งศาลได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์หรือไม่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ระบุความผิดหรือสาเหตุการเลิกจ้าง จำเลยจึงนำสืบได้ว่าโจทก์ไม่มีความรู้ความสามารถดังจำเลยให้การไว้ได้ หาเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาจากสาเหตุของนายจ้างและลูกจ้าง คำฟ้องต้องชัดเจน
โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องถึงสาเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ประการแรกว่า โดย โจทก์ทั้งสี่ไม่มีความผิด และสาเหตุประการที่สองว่าเป็นนโยบายของจำเลย และไม่แจ้งเหตุผลให้โจทก์ทั้งสี่ทราบและโจทก์ทั้งสี่ยังได้บรรยายฟ้องต่อไปอีกว่า การเลิกจ้างดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหาย เป็นฟ้องที่บรรยายโดย แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เคลือบคลุม การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจักต้องพิเคราะห์ว่า มีสาเหตุเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่เป็นประการสำคัญ ซึ่งพิจารณาได้จาก2 ฝ่าย คือ สาเหตุจากลูกจ้างฝ่ายหนึ่ง และสาเหตุจากนายจ้างอีกฝ่ายหนึ่ง การที่ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยไว้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่โดย มิใช่สาเหตุเพราะโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกจ้างมีความผิด และมิใช่สาเหตุเนื่องจากเกิดวิกฤติ ในทางการค้าของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างนั้น เป็นคำวินิจฉัยที่ได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. เจตนาฆ่า: การพิจารณาจากบาดแผลและสาเหตุแห่งการกระทำ
จำเลยใช้มีดพร้าฟันผู้เสียหายที่ศีรษะด้านหลัง 1 ที จำเลยฟันแล้วก็ถอยหลังไปโดยไม่ได้ฟันผู้เสียหายซ้ำหรือไล่ติดตามฟันผู้เสียหายต่อไปอีก ผู้เสียหายมีบาดแผลที่กลางศีรษะเป็นแนวโค้งจากหน้าไปหลังยาวประมาณ 5 นิ้ว ลึกเพียงถึงผิวนอกของกระดูกกะโหลกศีรษะถูกบาด ขาดตามแนวแผลชั้นนอกเท่านั้น ไม่ได้ทะลุกระดูกกะโหลกศีรษะ หากรักษาไม่ทันไม่น่าจะเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งสาเหตุที่จำเลยฟันผู้เสียหายก็เป็นเรื่องเล็กน้อย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาเพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น หาได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาสาเหตุ ไม่ใช่แค่การจ่ายค่าชดเชย
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 นั้นจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุอันเป็นมูลเลิกจ้างว่าเป็นสาเหตุที่สมควรหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ เพราะการจ่ายค่าชดเชยเป็นผลตามมาภายหลังการเลิกจ้าง
อ.แอบกระโดดขึ้นรถโดยสารที่โจทก์ขับและมีเงินค่าโดยสารไม่พอโจทก์จึงเรียกเก็บเพียงครึ่งราคาโดยไม่ได้มีเจตนาทุจริตหรือเจตนาทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
อ.แอบกระโดดขึ้นรถโดยสารที่โจทก์ขับและมีเงินค่าโดยสารไม่พอโจทก์จึงเรียกเก็บเพียงครึ่งราคาโดยไม่ได้มีเจตนาทุจริตหรือเจตนาทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จิตบกพร่องกับการลดโทษอาญา: กรณีฆ่าและวางเพลิงโดยไม่มีสาเหตุ
การที่จำเลยฆ่าพี่ชายและหลานสาวของจำเลย กับทุบตู้กระจกแล้วจุดไฟเผาเสื้อผ้าและเผาบ้านของผู้เสียหายหลายราย โดยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนนั้น เป็นการกระทำโดยจำเลยมีจิตบกพร่องหรือฟั่นเฟือน แต่การที่จำเลยไม่ทำร้ายบิดาทั้งๆ ที่บิดาเข้ากอดปล้ำจำเลยและใช้พลั่วกันจำเลยไม่ให้ทำร้ายพี่ชายก็ดี การที่จำเลยโบกมือไล่ ไม่ให้เข้าไปช่วยดับไฟที่บ้านผู้เสียหายก็ดีหรือการที่จำเลยจุดไฟเผาบ้านผู้เสียหายคนหนึ่งแล้วเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในไร่อ้อย และยอมออกมามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งยอมรับสารภาพการกระทำของตนก็ดีพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยแสดงว่าจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือยังบังคับตัวเองได้บ้างกรณีต้องตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา65 วรรคสอง ศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: จำเป็นต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์สาเหตุเลิกจ้างที่แท้จริง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ให้ออกจากงานอย่างไม่เป็นธรรม ก่อนออกจากงานมีสาเหตุโต้เถียงกับจำเลยและโจทก์แถลงว่า ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุและไม่ได้รับการบอกล่วงหน้า เป็นค่าเสียหายฐานถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยแถลงต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีสาเหตุว่าโจทก์สมควบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อ ดังนี้ ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่โจทก์ฟ้องและแถลงว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีสาเหตุ มิใช่เพราะโจทก์สมคบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อพังจำเลยต่อสู้ การกระทำของจำเลยก็เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ เพราะการเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุย่อมไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างอยู่ในตัวอย่างไม่ชอบที่จะงดสืบพยาน ต้องฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ต้องมีแผนการเตรียมการ ไม่ใช่แค่มีสาเหตุโกรธแค้น
เพียงแต่จำเลยมีสาเหตุโกรธผู้ตาย ถือไม่ได้ว่าฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเมื่อไม่ได้ความว่าวางแผนเตรียมการฆ่ามาก่อน
จำเลยถูกจับ ปฏิเสธต่อตำรวจว่าไม่ใช่ชื่อที่จำเลยใช้ ตำรวจค้นได้บัตรประจำตัว จำเลยจึงรับว่าชื่อดังในบัตร ศาลรับฟังส่อพิรุธของจำเลย
จำเลยถูกจับ ปฏิเสธต่อตำรวจว่าไม่ใช่ชื่อที่จำเลยใช้ ตำรวจค้นได้บัตรประจำตัว จำเลยจึงรับว่าชื่อดังในบัตร ศาลรับฟังส่อพิรุธของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งพัสดุระเบิดถึงแก่ความตาย ความผิดตามมาตรา 288 หรือ 289
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย โดยใช้วัตถุระเบิดเป็นกับระเบิดส่งทางพัสดุไปรษณีย์ ผู้ตายได้รับพัสดุไปรษณีย์ที่จำเลยส่งไป ได้ร่วมกับพวกเปิดห่อพัสดุไปรษณีย์ เป็นเหตุให้กับระเบิดนั้นระเบิดขึ้นทำให้ผู้ตายกับพวกตายสมดังเจตนาของจำเลยทั้งนี้โดยจำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองผู้ตายมาก่อน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288,289 ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจึงลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) ไม่ได้คงมีความผิดตามมาตรา 288 เท่านั้น