พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนทะเบียนเนื่องจากไม่ต่ออายุ และสิทธิที่ดีกว่าของผู้ฟ้อง
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ที่ใช้กับสินค้าเสื้อผ้าและใช้เป็นชื่อบริษัทอยู่ก่อน จำเลยนำคำว่า "HACKETT" มายื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าใช้กับสินค้าเสื้อผ้าเช่นเดียวกันโดยไม่สุจริต แม้โจทก์จะยังไม่ได้ส่งสินค้าเสื้อผ้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์ก็มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นดีกว่าจำเลย
กำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 เป็นระยะเวลาการฟ้องร้องคดีอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง มิใช่อายุความฟ้องคดี การที่จำเลยให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ถือได้เท่ากับว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 38 เดิม เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 เป็นการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มิใช่การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 67 มาใช้บังคับแก่การฟ้องคดีนี้ของโจทก์ได้ การฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคดีนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของจำเลยได้รับการจดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม
จำเลยลืมต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ต่อนายทะเบียนภายใน 90 วัน ก่อนวันที่ 16 กันยายน 2544 อันเป็นวันสิ้นอายุ 10 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง และ 54 วรรคหนึ่ง จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแล้วโดยผลของกฎหมายตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 56 ศาลจึงไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ตามคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์อีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าจำเลยมิได้ยื่นคำขอต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแล้วตามมาตรา 56 ไม่มีเหตุที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนอีก จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า ต้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์หรือไม่ มิใช่การวินิจฉัยเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
กำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 เป็นระยะเวลาการฟ้องร้องคดีอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง มิใช่อายุความฟ้องคดี การที่จำเลยให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ถือได้เท่ากับว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 38 เดิม เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 เป็นการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มิใช่การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 67 มาใช้บังคับแก่การฟ้องคดีนี้ของโจทก์ได้ การฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคดีนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของจำเลยได้รับการจดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม
จำเลยลืมต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ต่อนายทะเบียนภายใน 90 วัน ก่อนวันที่ 16 กันยายน 2544 อันเป็นวันสิ้นอายุ 10 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง และ 54 วรรคหนึ่ง จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแล้วโดยผลของกฎหมายตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 56 ศาลจึงไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ตามคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์อีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าจำเลยมิได้ยื่นคำขอต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแล้วตามมาตรา 56 ไม่มีเหตุที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนอีก จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า ต้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์หรือไม่ มิใช่การวินิจฉัยเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากผู้ฟ้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่า และการขาดอายุความฟ้อง
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ในประเทศอังกฤษ โดยใช้กับเสื้อผ้ามาตั้งแต่ปี 2526 และโฆษณาอย่างต่อเนื่องแพร่หลายไปทั่วโลก จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าใช้คำว่า "HACKETT" เป็นเครื่องหมายการค้า ไม่ปรากฏว่าจำเลยคิดคำว่า "HACKETT" ขึ้นมาเองหรือทีมงานออกแบบสินค้าเสื้อผ้าจำเลยได้คำนี้มาอย่างไร จึงไม่มีเหตุผลและน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยได้นำคำว่า "HACKETT" มายื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าโดยสุจริตและโดยบังเอิญไปเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบกับจำเลยได้มีโอกาสได้สำรวจตลาดค้าขายเสื้อผ้าในต่างประเทศและได้พบเห็นสินค้าเสื้อผ้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของโจทก์ในประเทศอังกฤษและได้ใช้คำว่า "HACKETT" กับธงชาติอังกฤษมาติดกับสินค้าเสื้อยืดที่จำเลยผลิตออกจำหน่าย ดังนี้ การยื่นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต แม้โจทก์จะยังไม่ได้ส่งสินค้าเสื้อผ้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของโจทก์มาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์ก็มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้กับสินค้าจำพวกที่ 38 เดิม ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ได้แก่ เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต เสื้อกีฬา กางเกงขาสั้น และกางเกงกีฬา ดีกว่าจำเลยผู้ซึ่งได้รับการจดทะเบียน
การฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของจำเลยได้รับการจดทะเบียน เมื่อเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของจำเลยได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์จึงต้องฟ้องคดีนี้ภายในวันที่ 16 กันยายน 2544 ปรากฏว่าวันที่ 16 กันยายน 2544 เป็นวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการ ดังนี้ ที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการจึงเป็นการฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ แต่เมื่อจำเลยลืมต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ต่อนายทะเบียนภายใน 90 วันก่อนวันที่ 16 กันยายน 2544 อันเป็นวันสิ้นอายุ 10 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง และ 54 วรรคหนึ่ง จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแล้วโดยผลของกฎหมาย ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 56
การฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของจำเลยได้รับการจดทะเบียน เมื่อเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของจำเลยได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์จึงต้องฟ้องคดีนี้ภายในวันที่ 16 กันยายน 2544 ปรากฏว่าวันที่ 16 กันยายน 2544 เป็นวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการ ดังนี้ ที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการจึงเป็นการฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ แต่เมื่อจำเลยลืมต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ต่อนายทะเบียนภายใน 90 วันก่อนวันที่ 16 กันยายน 2544 อันเป็นวันสิ้นอายุ 10 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง และ 54 วรรคหนึ่ง จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแล้วโดยผลของกฎหมาย ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: แม้จดทะเบียนแล้ว ผู้มีสิทธิเดิมฟ้องเพิกถอนได้หากพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิที่ดีกว่า
ในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ การพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ข้อ 6 วรรคหนึ่ง ที่แสดงให้พอเข้าใจถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับมิใช่ต้องแสดงโดยแจ้งชัดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายตราเป็ดว่ายน้ำและได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้มาตั้งแต่ปี 2521 จนถึงปัจจุบัน ส่วนเครื่องหมายตราเป็ดยืนโจทก์จดทะเบียนรับโอนมาจากผู้ที่จดทะเบียนไว้ก่อน แต่ต่อมาโจทก์ไม่ได้ขอต่ออายุการจดทะเบียนจึงถูกเพิกถอนเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าว จากนั้นจำเลยซึ่งเคยเป็นผู้จัดการของโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าทั้งสองของโจทก์ไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและนายทะเบียนก็รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่จำเลย อันเป็นการขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต ซึ่งตามคำฟ้องย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงเพื่อแสดงว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย อันเป็นเหตุที่จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองหากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยก็ตามแต่ก็เข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้มีการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั่นเอง ทั้งการที่โจทก์อ้างว่าตนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งมีสิทธิดีกว่าจำเลย แต่จำเลยนำไปจดทะเบียนการค้าโดยไม่สุจริตก็เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว และกรณีผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าผู้ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าฟ้องผู้ที่ได้จดทะเบียนการค้าไว้แล้วนั้นพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 ก็ให้อำนาจศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหากโจทก์แสดงได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลย จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยจะต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อแสดงว่าใครเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่ากัน ซึ่งไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนที่จะสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ เพราะเมื่อมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ก็มีผลบังคับเป็นการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยคำพิพากษาของศาลนั้นเอง โจทก์เพียงแต่นำคำพิพากษาไปแสดงแก่นายทะเบียนเพื่อจดแจ้งทางทะเบียนให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้น ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ต้องฟ้องเพื่อให้ศาลบังคับนายทะเบียนแต่อย่างใด
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ด้วยเหตุที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6(3) นั้น เป็นกรณีที่นายทะเบียนพิจารณาสั่งตามมาตรา 16 โดยพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่เท่านั้นซึ่งเป็นคนละปัญหากับการที่ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามฟ้องดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ ฉะนั้น แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ หรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะวินิจฉัยเรื่องความเหมือนคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยอย่างไร ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์เสียสิทธิฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 แต่ประการใด
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ด้วยเหตุที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6(3) นั้น เป็นกรณีที่นายทะเบียนพิจารณาสั่งตามมาตรา 16 โดยพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่เท่านั้นซึ่งเป็นคนละปัญหากับการที่ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามฟ้องดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ ฉะนั้น แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ หรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะวินิจฉัยเรื่องความเหมือนคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยอย่างไร ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์เสียสิทธิฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 แต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อเครื่องหมายบริการ 'MANDARIN' ที่คล้ายคลึงกันของโรงแรม การพิจารณาความสุจริตในการใช้ชื่อและการมีสิทธิที่ดีกว่า
โรงแรมแมนดารินที่เมืองฮ่องกงของจำเลยเป็นโรงแรมใหญ่ เริ่มเปิดดำเนินกิจการตั้งแต่ปี 2506 ได้รับความนิยม และมีชื่อเสียง ปี 2510 ได้รับการยกย่องว่าเป็นโรงแรมที่ดีที่สุดอันดับหนึ่งของโลก ส่วนโจทก์นั้นเดิมชื่อ บริษัทควีนส์โฮเต็ล จำกัด ประกอบกิจการโรงแรมใช้ชื่อว่า ควีนส์โฮเต็ล ในกรุงเทพมหานคร ในปี 2508 พ. กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์เคยเดินทางไปเมืองฮ่องกงทุกปี ปีละหลายครั้ง ย่อมต้องรู้จักโรงแรมแมนดารินของเมืองฮ่องกง พ. ประกอบกิจการโรงแรม ย่อมต้องศึกษาและมีความสนใจในกิจการของโรงแรมต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปเพื่อนำมาใช้กับโรงแรมของตน โรงแรมควีนส์โฮเต็ล ของโจทก์เปิดดำเนินงานได้เพียง 2 ปี ก็เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นแมนดาริน โฮเต็ล จำกัด และเปลี่ยนชื่อโรงแรมเป็นแมนดารินกรุงเทพ ในปี 2510 ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่โรงแรมแมนดารินที่เมืองฮ่องกงของจำเลยกำลังมีชื่อเสียงและได้รับยกย่องว่าเป็นโรงแรมที่ดีที่สุด ไม่ปรากฏว่าเหตุใดโจทก์จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า บริษัทแมนดารินโฮเต็ล จำกัด การตั้งชื่อสถานประกอบการเป็นเรื่องสำคัญมีผลต่อการประกอบกิจการเป็นอย่างมาก ที่โจทก์อ้างว่าเหตุที่โจทก์เปลี่ยนชื่อจาก ควีนส์โฮเต็ล มาเป็นโรงแรมแมนดาริน เพราะผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นคนมีเชื้อสายจีนและเพื่อให้รู้สึกว่าเป็นการบริการของจีนนั้น ไม่น่าเชื่อถือ เพราะผู้ถือหุ้นของโจทก์ในตอนเริ่มก่อตั้งบริษัทและโรงแรม กับตอนเปลี่ยนชื่อส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ถือหุ้นชุดเดียวกัน น่าเชื่อว่าการเปลี่ยนชื่อบริษัทและโรงแรมของโจทก์ให้เหมือนกับชื่อโรงแรมแมนดารินที่เมืองฮ่องกงของจำเลย ก็เพื่อต้องการให้กิจการโรงแรมของโจทก์มีผู้ใช้บริการมากขึ้น กิจการเจริญขึ้น จึงรับฟังไม่ได้ว่า โจทก์ใช้ชื่อและเครื่องหมายบริการคำว่า MANDARIN โดยสุจริต จำเลยจึงมีสิทธิในชื่อและเครื่องหมายบริการคำว่า MANDARIN ดีกว่าโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: ผลผูกพันคำสั่งศาลต่อบุคคลภายนอกและการพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่า
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (2) บัญญัติข้อยกเว้นไว้ว่า คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า คดีนี้โจทก์นำพยานมาสืบได้ว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทยังไม่ครบ 10 ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินของโจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1308 โจทก์พิสูจน์ได้ว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาที่ระบุไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (2) นั้นมิได้หมายถึงเฉพาะกรณีคำพิพากษาในคดีที่มีคู่ความตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปเท่านั้นดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีไม่มีข้อพิพาทที่สั่งว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องขอในคดีดังกล่าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจึงอยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 145 (2) ด้วย
โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีที่จำเลยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินกับจำเลย จึงถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา142 (5) และการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว
คำพิพากษาที่ระบุไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (2) นั้นมิได้หมายถึงเฉพาะกรณีคำพิพากษาในคดีที่มีคู่ความตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปเท่านั้นดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีไม่มีข้อพิพาทที่สั่งว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องขอในคดีดังกล่าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจึงอยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 145 (2) ด้วย
โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีที่จำเลยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินกับจำเลย จึงถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา142 (5) และการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของทายาทผู้จัดการมรดกในการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่ตนมีสิทธิดีกว่าจำเลย แม้คำสั่งศาลก่อนหน้าจะแสดงกรรมสิทธิ์ให้จำเลยไปแล้ว
เดิมที่ดินโฉนดพิพาทมีชื่อ พ.เป็นเจ้าของร่วมกับ ฟ.มารดาจำเลยพ.เป็นมารดาของ ท.บิดาโจทก์ พ.และ ท.ถึงแก่ความตายแต่โฉนดพิพาทยังมีชื่อ พ.ถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกของ พ.และ ท. เมื่อ ฟ.ถึงแก่ความตาย ป.บิดาจำเลยรับโอนมรดกที่ดินส่วนของนาง ฟ.แล้วป.ขายฝากที่ดินเฉพาะส่วนของตนจนหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. ต่อมาจำเลยซื้อที่ดินเฉพาะส่วนดังกล่าวคืนจาก ส.แล้วโอนขายให้แก่ ศ. หลังจากนั้นจำเลยได้ยื่นคำร้องขออ้างว่า พ.ยกที่ดินส่วนของ พ.ให้จำเลยและจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยที่ พ.ไม่ได้ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่จำเลยดังนี้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทคนหนึ่งของ พ.ซึ่งมิใช่คู่ความในกระบวน-พิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลยในที่ดินพิพาทส่วนของ พ.โจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอกซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยตามป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง (2) เมื่อ พ.ไม่ได้ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่จำเลย ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า พ.เจ้ามรดกไม่ได้ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยพร้อมกับมีคำขอท้ายคำฟ้องขอให้พิพากษาว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลยในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ พ.ไม่ผูกพันโจทก์จึงเท่ากับขอให้จำเลยคืนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ พ.ให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนคำขอท้ายฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารพร้อมกับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดิน ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวโดยจำเลยไม่ได้คัดค้านเมื่อคำฟ้องเดิมและคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องภายหลังนั้นเกี่ยวข้องกัน ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษาให้ขับไล่จำเลยได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 142 (1)
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า พ.เจ้ามรดกไม่ได้ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยพร้อมกับมีคำขอท้ายคำฟ้องขอให้พิพากษาว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลยในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ พ.ไม่ผูกพันโจทก์จึงเท่ากับขอให้จำเลยคืนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ พ.ให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนคำขอท้ายฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารพร้อมกับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดิน ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวโดยจำเลยไม่ได้คัดค้านเมื่อคำฟ้องเดิมและคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องภายหลังนั้นเกี่ยวข้องกัน ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษาให้ขับไล่จำเลยได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 142 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้จัดการมรดกในการพิสูจน์สิทธิในที่ดินที่ถูกอ้างโดยการครอบครองปรปักษ์และการบังคับคดีขับไล่
เดิมที่ดินโฉนดพิพาทมีชื่อพ. เป็นเจ้าของร่วมกับฟ.มารดาจำเลยพ. เป็นมารดาของท. บิดาโจทก์พ. และท.ถึงแก่ความตายแต่โฉนดพิพาทยังมีชื่อพ. ถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกของพ.และท. เมื่อพ. ถึงแก่ความตายป. บิดาจำเลยรับโอนมรดกที่ดินส่วนของนางฟ. แล้วป. ขายฝากที่ดินเฉพาะส่วนของตนจนหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของส. ต่อมาจำเลยซื้อที่ดินเฉพาะส่วนดังกล่าวคืนจากส.แล้วโอนขายให้แก่ศ. หลังจากนั้นจำเลยได้ยื่นคำร้องขออ้างว่าพ. ยกที่ดินส่วนของพ. ให้จำเลยและจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยที่พ. ไม่ได้ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่จำเลยดังนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทคนหนึ่งของพ. ซึ่งมิใช่คู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลยในที่ดินพิพาทส่วนของพ.โจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอกซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสอง(2)เมื่อพ. ไม่ได้ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่จำเลยดังนั้นที่ดินพิพาทจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่าพ. เจ้ามรดกไม่ได้ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยพร้อมกับมีคำขอท้ายคำฟ้องขอให้พิพากษาว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลยในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของพ. ไม่ผูกพันโจทก์จึงเท่ากับขอให้จำเลยคืนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของพ. ให้แก่โจทก์และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนคำขอท้ายฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารพร้อมกับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวโดยจำเลยไม่ได้คัดค้านเมื่อคำฟ้องเดิมและคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องภายหลังนั้นเกี่ยวข้องกันศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้ขับไล่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้มีสิทธิก่อนมีสิทธิที่ดีกว่า แม้จะจดทะเบียนภายหลัง
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1)บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่า ผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเท่านั้น หาได้บัญญัติว่าหากผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยโดยสุจริตแล้วจะมีสิทธิดีกว่าไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทและมีสิทธิจดทะเบียนในประเทศไทยก่อนโจทก์แล้ว จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ แม้โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยก่อนจำเลยก็ตาม ทั้งสิทธิของจำเลยจะดีกว่าโจทก์หรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะเป็นที่นิยมแพร่หลายของสาธารณชนทั่วโลกหรือไม่
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาว่า เครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์จำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าถือได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับการลวงขาย
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาว่า เครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์จำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าถือได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับการลวงขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้มีสิทธิก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า แม้จดทะเบียนในไทยทีหลัง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)บัญญัติไว้แต่เพียงว่าทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเท่านั้นหาได้บัญญัติว่าหากผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยโดยสุจริตแล้วจะมีสิทธิดีกว่าไม่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทและมีสิทธิจดทะเบียนในประเทศไทยก่อนโจทก์แล้วจำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์แม้โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยก่อนจำเลยก็ตามทั้งสิทธิของจำเลยจะดีกว่าโจทก์หรือไม่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะเป็นที่นิยมแพร่หลายของสาธารณชนทั่วโลกหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์จำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าถือได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับการลวงขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเรื่องกรรมสิทธิ์จากการครอบครองเป็นเด็ดขาด เว้นแต่มีสิทธิอื่นที่ดีกว่า โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าตนมีสิทธิในที่ดินดีกว่าจำเลยได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีซึ่งตามกฎหมายจะเพิกถอนไม่ได้เว้นแต่จะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดสืบโดยคำพิพากษาของศาลในลำดับที่สูงกว่าทั้งเป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินและอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้เว้นแต่บุคคลภายนอกจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดนอกจากอ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีก่อนอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทและขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วยังขอให้พิพากษาว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดอยู่และขอให้ขับไล่จำเลยด้วยพอแปลความหมายแห่งคำฟ้องได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป็นบุคคลภายนอกมีความประสงค์ให้ศาลมีคำสั่งพิพากษาว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยและคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสิบเอ็ดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา145วรรคสอง(2)ศาลอุทธรณ์ภาค2จึงมีอำนาจพิพากษาให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าวได้กรณีไม่ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้อง