พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็นในที่ดินร่วม: สิทธิผ่านทาง, ขนาดทาง, อำนาจฟ้องเจ้าของรวม
ทางซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดที่ไปออกสู่ถนน เป็นทางที่โจทก์และประชาชนไม่สามารถใช้สัญจรไปมาได้ ทั้งไม่ใช่ทางสาธารณะ เพราะเป็นทางที่ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่น เมื่อที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดมีที่ดินของบุคคลอื่นรวมทั้งที่ดินของจำเลยล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกถึงถนนสาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีสิทธิผ่านทางพิพาทซึ่งอยู่ภายในเขตที่ดินของจำเลยไปออกสู่ทางสาธารณะดังกล่าวได้ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349วรรคแรก
รถยนต์เป็นพาหนะจำเป็นที่ประชาชนใช้ในการเดินทาง การที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทให้เหลือขนาดความกว้างประมาณ 1 เมตร ย่อมทำให้รถยนต์ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ เป็นการไม่เหมาะสมแก่สภาพการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันและในอนาคต การกำหนดให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นมีขนาดกว้าง 2.30เมตร เพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้จึงเหมาะสมแล้ว
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินให้การต่อสู้คดีว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ทั้งเจ็ด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นการยกข้อต่อสู้แทน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินอีกคนหนึ่ง ผลแห่งคดีที่จำเลยเจ้าของรวมคนเดียวถูกฟ้อง ย่อมต้องผูกพัน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดไม่จำต้องฟ้อง จ. ด้วย แต่สามารถฟ้องจำเลยแต่ผู้เดียวได้
รถยนต์เป็นพาหนะจำเป็นที่ประชาชนใช้ในการเดินทาง การที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทให้เหลือขนาดความกว้างประมาณ 1 เมตร ย่อมทำให้รถยนต์ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ เป็นการไม่เหมาะสมแก่สภาพการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันและในอนาคต การกำหนดให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นมีขนาดกว้าง 2.30เมตร เพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้จึงเหมาะสมแล้ว
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินให้การต่อสู้คดีว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ทั้งเจ็ด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นการยกข้อต่อสู้แทน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินอีกคนหนึ่ง ผลแห่งคดีที่จำเลยเจ้าของรวมคนเดียวถูกฟ้อง ย่อมต้องผูกพัน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดไม่จำต้องฟ้อง จ. ด้วย แต่สามารถฟ้องจำเลยแต่ผู้เดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7349/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น-สิทธิผ่านทาง-ค่าทดแทน-ขอบเขตการใช้ทาง-ประโยชน์ที่ได้รับ
เดิมโจทก์เคยใช้ทางเดินตามแนวริมคลองขวางออกไปสู่ถนนสาธารณะ แต่เมื่อทางดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นทางแล้วโจทก์จึงเปลี่ยนมาใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นทางในโครงการของจำเลย จำเลยก็กลับก่อกำแพงปิดกั้นเสียอีกจึงต้องถือว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ซึ่งโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมมีสิทธิผ่านทางพิพาทไปสู่ทางสาธารณะได้ ถึงแม้ทางออกซึ่งเป็นทางเดิมนั้นจะไม่มีลักษณะดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสองกล่าวคือ ต้องข้ามสระ บึง หรือทะเล หรือมีที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากก็ตาม ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและโจทก์มีสิทธิใช้ได้โดยชอบโจทก์จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อจำเลย จำเลยไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ แต่โจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยเป็นเงินรายปี ทางจำเป็นเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นจึงต้องใช้โดยมีขอบเขตด้วยความระมัดระวังโดยคำนึงถึงผลเสียหายอันจะเกิดขึ้นแก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกบังคับใช้ทางจำเป็นด้วย ปรากฏว่าเดิมโจทก์เคยใช้ทางเลียบริมคลองขวางมีความกว้างเพียง 1.50 เมตรการที่โจทก์มาขอใช้ทางจำเป็นมีความกว้างถึง 2.50 เมตรจึงเกินความจำเป็นไป สมควรกำหนดให้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นมีความกว้าง 1.50 เมตร เท่าทางเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสี่ที่ระบุว่า ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหายเพราะสร้างถนนจะกำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้นั้น หมายความว่าผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นอาจชำระค่าทดแทนเป็นค่าเสียหายเพราะสร้างถนนครั้งเดียวหรืออาจชำระค่าทดแทนเป็นรายปีก็ได้ หาใช่ว่าเมื่อจำเลยได้รับประโยชน์อย่างอื่นแล้วโจทก์ผู้ใช้ทางจำเป็นก็ไม่ต้องชำระค่าทดแทนให้แก่จำเลยอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6971/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผ่านทางจำเป็น: คลองสาธารณะทำให้ที่ดินไม่ถูกล้อม, ประเด็นภาระจำยอมต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
เมื่อยังมีการใช้เรือสัญจรไปมาในคลองบางกอกน้อยซึ่งเป็นคลองสาธารณะอยู่ คลองบางกอกน้อยจึงเป็นทางสาธารณะตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 1349 ดังนั้นการที่ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองบางกอกน้อยซึ่งเป็นทางสาธารณะเช่นนี้ จึงไม่เป็นที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินของจำเลยไม่เป็นทางจำเป็นของที่ดินของโจทก์
ที่โจทก์ฎีกาในทำนองว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม โจทก์ได้สิทธิในทางภาระจำยอมโดยอายุความแล้วนั้น ปรากฏว่าในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินของจำเลยเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งศาลในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงไม่มีประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์ฎีกาในทำนองว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม โจทก์ได้สิทธิในทางภาระจำยอมโดยอายุความแล้วนั้น ปรากฏว่าในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินของจำเลยเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งศาลในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงไม่มีประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 837/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผ่านทางจำเป็นและค่าทดแทน: เงื่อนไขการใช้สิทธิและการกำหนดค่าเสียหาย
ที่ดินของโจทก์ติดกับลำรางสาธารณะ แต่ลำรางไม่มีน้ำที่จะใช้เป็นทางสัญจรทางเรือตลอดเวลา เพราะบางฤดูน้ำแห้งและเป็นโคลน มีสภาพตื้นเขินประชาชนที่อาศัยอยู่ตามริมลำรางไม่ได้ใช้เป็นทางสัญจรมาประมาณ 10 ปีแล้ว จึงไม่เป็นทางสาธารณะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีสิทธิผ่านที่ดินของจำเลยในฐานะเป็นทางจำเป็นเพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะที่ใกล้ที่สุดได้ โดยให้โจทก์มีสิทธิในทางเพียงเพื่อความจำเป็นในการเข้าออกที่ดินตามปกติที่มิใช่การค้า
จำเลยฎีกาว่าทางในที่ดินของจำเลยเป็นถนนส่วนบุคคลไม่ใช่ที่ดินว่างเปล่า จึงไม่มีกฎหมายในเรื่องทางจำเป็นที่จะบังคับให้จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ถนนของจำเลยได้ โดยจำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเปิดทางจำเป็น และได้เสนอค่าทดแทนความเสียหายให้แก่จำเลยและจำเลยให้การต่อสู้ในข้อนี้ แต่คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยรับเงินค่าทดแทนความเสียหายที่โจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยและจำเลยก็มิได้ฟ้องแย้งเรียกร้องค่าทดแทนดังกล่าวว่าควรจะเป็นจำนวนเท่าใดที่โจทก์ฎีกาว่า ค่าทดแทนความเสียหายที่โจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยตามที่โจทก์เสนอมาพอสมควรหรือไม่ ซึ่งศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าค่าทดแทนที่โจทก์เสนอมาเป็นจำนวนน้อยไม่คุ้มกับความเสียหายที่จำเลยจะได้รับและข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะกำหนดค่าทดแทนนั้น ศาลฎีกาจึงยังไม่วินิจฉัยให้ ชอบที่จำเลยจะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ในเรื่องค่าทดแทนความเสียหายเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1352 จะบัญญัติว่าเจ้าของที่ดินต้องยอมให้ผู้อื่นวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของตนเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินติดต่อก็ตาม แต่ความในมาตรานี้ก็บัญญัติไว้ด้วยว่าเจ้าของที่ดินจะต้องยอมก็ต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ที่จะวางต้องบอกกล่าวเสนอจำนวนค่าทดแทนให้เจ้าของที่ดินทราบก่อน ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีโจทก์เคยบอกกล่าวเสนอค่าทดแทนแก่จำเลย ทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้จำเลยรับเงินค่าทดแทนจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1352 ได้หรือไม่
จำเลยฎีกาว่าทางในที่ดินของจำเลยเป็นถนนส่วนบุคคลไม่ใช่ที่ดินว่างเปล่า จึงไม่มีกฎหมายในเรื่องทางจำเป็นที่จะบังคับให้จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ถนนของจำเลยได้ โดยจำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเปิดทางจำเป็น และได้เสนอค่าทดแทนความเสียหายให้แก่จำเลยและจำเลยให้การต่อสู้ในข้อนี้ แต่คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยรับเงินค่าทดแทนความเสียหายที่โจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยและจำเลยก็มิได้ฟ้องแย้งเรียกร้องค่าทดแทนดังกล่าวว่าควรจะเป็นจำนวนเท่าใดที่โจทก์ฎีกาว่า ค่าทดแทนความเสียหายที่โจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยตามที่โจทก์เสนอมาพอสมควรหรือไม่ ซึ่งศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าค่าทดแทนที่โจทก์เสนอมาเป็นจำนวนน้อยไม่คุ้มกับความเสียหายที่จำเลยจะได้รับและข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะกำหนดค่าทดแทนนั้น ศาลฎีกาจึงยังไม่วินิจฉัยให้ ชอบที่จำเลยจะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ในเรื่องค่าทดแทนความเสียหายเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1352 จะบัญญัติว่าเจ้าของที่ดินต้องยอมให้ผู้อื่นวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของตนเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินติดต่อก็ตาม แต่ความในมาตรานี้ก็บัญญัติไว้ด้วยว่าเจ้าของที่ดินจะต้องยอมก็ต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ที่จะวางต้องบอกกล่าวเสนอจำนวนค่าทดแทนให้เจ้าของที่ดินทราบก่อน ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีโจทก์เคยบอกกล่าวเสนอค่าทดแทนแก่จำเลย ทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้จำเลยรับเงินค่าทดแทนจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1352 ได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดิน การรื้อถอนกำแพง และสิทธิในการผ่านทางตามประมวลกฎหมายแพ่ง
การที่จำเลยและจำเลยร่วมสร้างกำแพงคอนกรีตตลอดแนวในที่ดินของจำเลยเอง มิได้ปิดบังหน้าที่ดินของโจทก์หรือเป็นเหตุให้บังแสงสว่างและทางลมหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินกว่าที่ควรคาดคิด หรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 มิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้รื้อถอนกำแพงดังกล่าว จำเลยเป็นผู้จัดสรรที่ดินได้กำหนดแผนผังแบ่งแยกที่ดินแต่ละแปลงให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ แม้ว่าโจทก์จะซื้อที่ดินต่อจากผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง โจทก์ก็สามารถใช้ที่ดินทางทิศใต้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349อันโจทก์จะต้องใช้ค่าทดแทนเพื่อผ่านทาง ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากโจทก์หรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าถ้าโจทก์ต้องผ่านที่ดินจำเลยไปสู่ทางสาธารณะในทางจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิจะได้รับค่าทดแทนจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสี่จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดนอกประเด็นและเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการผ่านทางจำเป็นและค่าทดแทนความเสียหาย การฟ้องร้องเรียกค่าทดแทนไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำหากประเด็นต่างกัน
คดีก่อนซึ่งจำเลยฟ้องโจทก์นั้นศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่ในที่ล้อม จำเลยมีสิทธิผ่านที่ดินของโจทก์ซึ่งล้อมอยู่ไปสู่คลองและทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฟ้องแย้งในคดีนั้นเรียกค่าทดแทนความเสียหายจากการที่จำเลยจะใช้ที่ดินของโจทก์ ศาลจึงไม่พิพากษา ให้จำเลยใช้ค่าทดแทนความเสียหายให้แก่โจทก์และว่าหากโจทก์ประสงค์จะได้ค่าทดแทนความเสียหายก็ชอบที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ ขอให้จำเลยใช้ค่าทดแทนที่โจทก์เปิดทางเดินให้ดังนี้ ในคดีก่อนมีประเด็นเพียงว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ส่วนคดีหลังมีประเด็นว่าจำเลยจะต้องให้ค่าทดแทนเพื่อการใช้ ทางผ่านนั้นแก่โจทก์หรือไม่ ประเด็นคนละอย่างกัน ฟ้องของโจทก์จึงไม่ เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผ่านทางจำเป็น: ผู้รับโอนที่ดินไม่มีทางออก ย่อมมีสิทธิขอผ่านทางที่ดินแปลงอื่นได้ แม้ไม่ได้เสนอค่าทดแทน
ผู้รับโอนที่ดินซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ที่จะขอผ่านทางที่สะดวกและใกล้ทางสาธารณะเหมาะสมกับความจำเป็นกว่าทางอื่น ซึ่งเจ้าของที่ดินผู้โอนเคยใช้มาก่อน
กฎหมายมิได้บังคับว่าผู้ร้องขอใช้ทางจำเป็นต้องเสนอขอจ่ายค่าทดแทนความเสียหายให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มาด้วย แม้โจทก์จะขอใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโดยไม่ได้ขอจ่ายค่าทดแทนแต่โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธจะไม่จ่าย และจำเลยก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาได้จึงไม่เป็นเหตุที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
กฎหมายมิได้บังคับว่าผู้ร้องขอใช้ทางจำเป็นต้องเสนอขอจ่ายค่าทดแทนความเสียหายให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มาด้วย แม้โจทก์จะขอใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโดยไม่ได้ขอจ่ายค่าทดแทนแต่โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธจะไม่จ่าย และจำเลยก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาได้จึงไม่เป็นเหตุที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผ่านทางในที่ดินแบ่งแยก: กรณีที่ดินเดิมผืนเดียวกันและภารจำยอมตามกฎหมาย
เดิมที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินแปลงเดียวกับของ ก. และ ว. และเป็นของบิดาโจทก์ ต่อมาบิดาโจทก์ตาย ที่ดินแปลงนั้นได้แบ่งแยกตกได้แก่โจทก์ ก. และ ว. ที่ดินของโจทก์อยู่ด้านในโจทก์จึงมีสิทธิผ่านที่ดินของ ก. และ ว. ออกสู่ทางสาธารณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 โจทก์หามีสิทธิผ่านออกในที่ดินแปลงอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11428-11429/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผ่านทางจำเป็นในที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ และค่าทดแทนความเสียหาย
ที่ดินเลขที่ดิน 106 และ 107 มีสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารบนที่ดินจนเต็มพื้นที่ โจทก์ทั้งสองไม่สามารถใช้เป็นทางเข้าออกได้ หากจะใช้ทางดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ขณะที่ใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 กลับเป็นการสะดวกมากกว่า เพราะที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นที่ดินว่างเปล่า และมีระยะทางออกสู่ทางสาธารณะใกล้ที่สุด ทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เสียหายน้อยที่สุด โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องขอผ่านที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ และเนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคท้าย บัญญัติให้ผู้มีสิทธิจะผ่านทางจำเป็นต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรกำหนดให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าทดแทนแก่จำเลยที่ 3 ในคราวเดียวกันกับจำเลยที่ 2 ด้วย แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้ให้การและฟ้องแย้งในเรื่องค่าทดแทนไว้ก็ตาม มิฉะนั้นจำเลยที่ 3 ก็คงต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ และโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 3 ก็จะต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงซ้ำในเรื่องที่เคยนำสืบมาแล้ว ซึ่งหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2900/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผ่านทางจำเป็น: ที่ดินแบ่งแยกจากแปลงเดียวกันมีสิทธิใช้ทางจำเป็นร่วมกัน แม้มีการฟ้องร้องเรียกทางเพิ่มเติม
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 319 เป็นที่ดินแปลงใหญ่ ต่อมามีการแบ่งแยกออกไปรวม 8 แปลง โดยที่ดินของโจทก์ทั้งสามแปลงต่างแบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 319 ด้วย ส่วนที่เหลือจากการแบ่งแยกมีโจทก์ที่ 2 และนาย ล. กับพวกอีก 6 คน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และโฉนดที่ดินของนาย ล. ที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 319 แปลงใหญ่ เป็นที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้เช่นเดียวกับที่ดินโจทก์ทั้งสาม เมื่อนาย ล. ผ่านที่ดินจำเลยซึ่งล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะคลองคอกกระบือและถนนเอกชัยได้ โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 319 ย่อมมีสิทธิผ่านที่ดินจำเลยซึ่งเป็นทางจำเป็นได้เช่นเดียวกับนาย ล. จำเลยไม่มีสิทธิปิดกั้นทางจำเป็นได้อีกต่อไป และถือว่าโจทก์ทั้งสามมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีสิทธิให้จำเลยเปิดทางจำเป็นในที่ดินแปลงอื่นได้อีก