คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6935/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ขัดต่อกฎหมาย: สิทธิของผู้ร้องในการฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ แม้คู่สมรสฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตแล้ว
ในขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับ ฉ. นั้น ฉ.ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องอยู่ก่อนแล้ว และยังคงเป็นคู่สมรสกับผู้ร้องตลอดมา จนกระทั่ง ฉ. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1496 (เดิม) ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น แม้ ฉ. ได้ถึงแก่ความตายก่อนผู้ร้องนำคดีมาร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ อันเป็นเหตุให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ฉ. และระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. สิ้นสุดลงตามมาตรา 1501 ก็ตาม ก็ไม่ตัดอำนาจผู้ร้องในอันที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1495 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การตกเป็นโมฆะย่อมมีผลเท่ากับว่าผู้คัดค้านและ ฉ. ไม่ได้สมรสกัน ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 133 (เดิม) และมาตรา 1497 (เดิม) มีสิทธิร้องขอให้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. เป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7440/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังล้มละลาย: สิทธิของผู้ร้องและข้อยกเว้นสำหรับบุคคลภายนอก
ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 และระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 และให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 ตามมาตรา 116 สำหรับการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ดังนี้ ผู้คัดค้านที่ 1มีภาระการพิสูจน์ว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินจากลูกหนี้โดยรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงรับโอนโดยไม่สุจริต เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 2 โดยมิได้รับโอนหรือกระทำการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้กับลูกหนี้แต่อย่างใด ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริตแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยชอบ จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 ดังกล่าวจะต้องได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย
คดีนี้แม้ข้อเท็จจริง จะได้ความว่าก่อนที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากลูกหนี้ แต่ก่อนที่ผู้คัดค้านที่ 3 จะรับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ได้มีการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วทุกครั้ง การรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 3 กับระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 3และระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 จึงหาใช่เป็นกรณีสืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมเพียงแต่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญาจำนองเดิมที่ลูกหนี้ทำกับผู้คัดค้านที่ 3ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 2 หลังจากมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 สุจริต และเสียค่าตอบแทนหรือไม่
การฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น มิใช่เป็นการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5452/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องเพิกถอนอายัดเงิน: ผู้ฟ้องคดีขณะคดีความยังไม่ถึงที่สุด ไม่ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดี
ผู้ร้องซึ่งได้ฟ้องจำเลยต่อศาล และคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณา ไม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดเงินของจำเลยที่โจทก์ขออายัดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างเอกสารเพิ่มเติมหลังยื่นบัญชีพยาน: สิทธิผู้ร้อง & ผลของการไม่คัดค้านคำสั่ง
ผู้ร้องเป็นฝ่ายนำสืบก่อนและได้ยื่นบัญชีพยานไว้แล้วแต่ในวันสืบพยานผู้ร้อง ผู้ร้องส่งเอกสารหนังสือมอบอำนาจต่อศาลโดยมิได้ระบุในบัญชีพยาน แม้จะเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาแต่ต่อมาผู้ร้องได้ยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานก่อนเสร็จการสืบพยานผู้ร้องซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนซึ่งผู้ร้องมีสิทธิที่จะอ้างได้การที่ทนายผู้ร้องมิได้คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับเอกสารเพราะเหตุที่ผู้ร้องมิได้ระบุอ้างเป็นพยานในการยื่นบัญชีพยานครั้งแรกมิได้หมายความว่า ผู้ร้องจะยื่นบัญชีเพิ่มเติมให้ถูกต้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: เหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์สิน และสิทธิของผู้ร้องในการขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมตั้งผู้ร้องกับ น. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่ผู้ตายมีหรือเคยมีบัญชีเงินฝากในธนาคารต่างๆ การที่จะสอบสวนบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ตายเพื่อจัดการมรดก จะต้องมีคำสั่งของศาลก่อน ดังนี้ถือได้ว่า มีเหตุขัดข้องในการจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(2) แล้ว นอกจากนี้ การที่ผู้ร้องกล่าวในคำร้องอีกว่า หากผลการไต่สวนของศาลปรากฏว่าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์หรืออาจจะด้วยประการใดก็ตาม ไม่สามารถจะใช้ประโยชน์แห่งพินัยกรรมได้ ก็ขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกโดยไม่มีพินัยกรรม ซึ่งผู้คัดค้านไว้ด้วยว่า พินัยกรรมของผู้ตายเป็นพินัยกรรมปลอมกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(3) ดังนี้ ผู้ร้องชอบที่จะใช้สิทธิทางศาล ขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องต่อศาลในคดีล้มละลายสงวนไว้สำหรับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น แม้เจ้าหนี้จะได้รับความเสียหาย
ก่อนจำเลยถูกฟ้องล้มละลาย จำเลยได้ตกลงกับบรรดาผู้ซื้อที่ดินจากจำเลยซึ่งชำระเงินให้แก่จำเลยไว้แล้ว และจัดการรังวัดแบ่งแยกที่ดินลงชื่อผู้ซื้อในโฉนดเสร็จแล้ว ยังคงแต่ผู้ซื้อที่มีชื่อนั้นจะไปรับโฉนดเท่านั้นจำเลยก็ถูกฟ้องล้มละลายและมีการอายัดโฉนดเหล่านี้ไว้มติของที่ประชุมเจ้าหนี้ข้างมากให้ถอนการอายัด ไม่ขัดต่อกฎหมายและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้ดำเนินการตามมตินั้นเป็นการถูกต้อง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 36 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาล เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่พนักงานสอบสวน: กรมตำรวจไม่มีสิทธิร้องแทนพนักงานสอบสวนในคดีอาญา
บรรดาอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ของพนักงานสอบสวนที่บัญญัติไว้ใน ป.ม.วิ.อาญานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะ และไม่มีบทกฎหมายแห่งใดให้บุคคลอื่นใช้อำนาจและหน้าที่นี้แทน ฉะนั้นกรมตำรวจซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวน จึงหามีสิทธิที่มีร้องต่อศาลแทนพนักงานสอบสวน ขอให้ปล่อยทรัพย์ของกลางซึ่งพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางได้ไม่
(ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิร้องขอให้ยกเลิกคดีล้มละลาย ต้องเป็นเจ้าหนี้หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเท่านั้น
ผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ถูกสั่งให้ล้มละลาย ไม่มีสิทธิ์มาร้องขอให้ยกเลิกคดีล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์ซ้ำและการขอพิจารณาใหม่: สิทธิของผู้ร้องและข้อจำกัดตามกฎหมาย
สาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องลักทรัพย์ของผู้ร้องเดิมโดยผู้ร้องขาดนัดชั้นพิจารนาแล้ว ผู้ร้องไหม่ซึ่งเข้าสวมสิทธิแทนผู้ร้อง เดิมจะร้องขัดทรัพย์ไหม่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคสอง (2) เป็นที่สุด ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้งดการขาย
ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคสอง (2) บัญญัติว่า "...ถ้าปรากฏว่าทรัพย์สินที่ยึดนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เก็บไว้นานไม่ได้ ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินเช่าว่านี้โดยไม่ชักช้า" คดีนี้โจทก์นำยึดข้าวเปลือกโดยอ้างว่าเป็นของจำเลย และยื่นคำร้องขอให้นำออกขายทอดตลาดเนื่องจากว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นข้าวเปลือกที่เก็บไว้นานอาจเกิดความเสียหายได้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายทรัพย์ที่ยึดและนำเงินจำนวนดังกล่าวเก็บรักษาไว้ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งตามมาตรา 288 วรรคสอง (2) ซึ่งมาตรา 288 วรรคสาม บัญญัติให้คำสั่งศาลเป็นที่สุด การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดข้าวเปลือก เท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตตามมาตรา 288 วรรคสอง (2) ซึ่งเป็นที่สุดแล้ว คำร้องดังกล่าวมิใช่คำร้องขอให้งดการบังคับคดีหรือคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณา ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องได้ แม้ศาลชั้นต้นรับคำร้องไว้และศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่เป็นเหตุให้ผู้ร้องฎีกาต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ร้องมาเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 2