คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเรียกร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,733 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลายโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการเข้าเป็นคู่ความของผู้ซื้อ
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ส่วนที่ 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินที่ได้มาจากการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตาม กรณีหาใช่เป็นเรื่องซื้อขายความหรือแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันโดยมิชอบอันจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ ดังนั้น หากผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8240/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขนส่งยังไม่เป็นรายได้ของรัฐ จึงอายัดได้
ตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 มาตรา 11 และมาตรา 12 กำหนดให้รายได้ที่จำเลยต้องนำส่งเป็นรายได้ของรัฐ คือ รายได้จากการดำเนินกิจการที่จำเลยได้รับมาแล้ว และเหลือจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 12 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ไม่รวมถึงรายได้ที่จำเลยยังไม่ได้รับชำระและยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย สิทธิเรียกร้องเงินค่าขนส่งตามสัญญาจ้างที่จำเลยทำไว้กับโรงงานยาสูบซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งอายัดเป็นเพียงสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่จำเลยยังไม่ได้รับเข้ามาเป็นรายได้ของจำเลยและยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย ยังไม่เป็นรายได้ที่จำเลยต้องนำส่งเป็นรายได้ของรัฐ จึงไม่ใช่ทรัพย์สินของแผ่นดินไม่ต้องห้ามมิให้อายัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดสิทธิเรียกร้องค่าหุ้นค้างชำระ: เจ้าหนี้ใช้สิทธิบังคับคดีต่อบุคคลภายนอกได้
สิทธิเรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระ เป็นสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ เมื่อบริษัทจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้ ว. ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7660/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อสิทธิเรียกร้องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย และสิทธิในการบังคับคดี
แม้ผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกามาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ แต่ผู้ร้องก็ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นก่อนออกหมายนัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองแก้ พออนุโลมได้ว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว และแม้ศาลชั้นต้นจะยังมิได้สั่งอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยทั้งสองได้รับสำเนาคำร้องแล้วมิได้คัดค้านภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา ถือได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้วเช่นกัน
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 123 ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7660/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย: สิทธิของผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องในการเข้าเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้อง ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้คำร้องดังกล่าวมิได้ยื่นมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ แต่ผู้ร้องยื่นต่อศาลชั้นต้นก่อนออกหมายนัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองแก้ พออนุโลมได้ว่าผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว และแม้ว่าศาลชั้นต้นจะยังมิได้สั่งอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยทั้งสองได้รับสำเนาคำร้องแล้วมิได้คัดค้านภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้วเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6784/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับโอนบัตรภาษีจากทุจริตในการขอรับเงินชดเชยฯ และอายุความของสิทธิเรียกร้อง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 ความตกลงทำใว้ล่วงหน้าที่จะตกเป็นโมฆะจะต้องมีข้อความยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นสัญญาที่จำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์กรณีเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดๆ จึงมิใช่สัญญาที่ยกเว้นให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นโมฆะ และเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี เนื่องจากกระทำการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนบัตรภาษีจึงต้องรับผิดตามที่ให้สัญญาแก่โจทก์ไม่จำต้องนำบทบัญญัติ มาตรา 412 ถึง 418 แห่ง ป.พ.พ.ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม เพราะกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดตามสัญญาที่ให้ไว้แก่โจทก์โดยเฉพาะอันเป็นนิติกรรมแล้ว
ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาในคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีนั้นไม่ปรากฏว่า ป.พ.พ. กับ พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรฯ ได้มีบัญญัติอายุความกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่นนี้ไว้โดยเฉพาะ กรณีจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5842/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลายและการบังคับคดีตามกำหนดเวลา แม้ซื้อสิทธิ แต่ต้องอยู่ในกรอบเวลาเดิม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์ต้องดำเนินการบังคับคดีเอาแก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา แม้ผู้ร้องจะได้รับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยการประมูลซื้อสิทธิเรียกร้องรายนี้มาจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องก็ได้สิทธิมาเท่าที่โจทก์มีอยู่ ผู้ร้องจึงตกอยู่ในบังคับที่จะต้องบังคับคดีภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม
การอนุญาตให้บุคคลใดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาตามความจำเป็นและความสะดวกในการพิจารณาคดี เมื่อผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีเอาแก่จำเลยทั้งสองเพราะเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5370/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการค้ำประกัน และสิทธิในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้นั้นเนื่องมาจากลูกหนี้ที่ 1 ขอให้เจ้าหนี้ออกหนังสือค้ำประกันผลงานและหนังสือค้ำประกันเงินเบิกล่วงหน้าของบริษัท ฮ. ต่อบริษัท ก. ต่อมาเจ้าหนี้ถูกบริษัท ก. ฟ้องเป็นคดีแพ่งและศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีแพ่งดังกล่าวรับผิดต่อบริษัท ก. ภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาเจ้าหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่บริษัท ก. แล้วจึงมายื่นขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ ดังนั้นการที่ลูกหนี้ที่ 1 ขอให้เจ้าหนี้ค้ำประกันผลงานและค้ำประกันเงินเบิกล่วงหน้าของบริษัท ฮ. ต่อบริษัท ก. โดยลูกหนี้ที่ 1 รับรองกับเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันว่าถ้าเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างใด ๆ ในการค้ำประกันนั้น ลูกหนี้ที่ 1 จะใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันทั้งสิ้น การรับรองเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาค้ำประกันแต่ถือได้ว่าเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่มีผลบังคับได้ในระหว่างเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันกับลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขอให้เจ้าหนี้ออกหนังสือค้ำประกัน เมื่อเจ้าหนี้ต้องเสียหายโดยชำระหนี้แทนบุคคลที่ตนค้ำประกันไปตามคำพิพากษาของศาล เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ที่ 1 ใช้เงินนั้นได้ตามสัญญา เมื่อต่อมาปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและไม่ต้องห้ามที่จะขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องในสินสมรส
การที่โจทก์และ ก. หย่ากันโดยทำข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินตามใบยอมความและได้กระทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าทั้งสองฝ่ายยินยอมที่จะขอจดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยความสมัครใจและตกลงแบ่งทรัพย์สินกัน รวมทั้งสวนยางพาราที่ดิน ส.ค.1 ตามฟ้อง เห็นได้ว่าโจทก์และ ก. ประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นต่อไปภายหน้าให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อใบยอมความเป็นข้อตกลงกันในเรื่องเกี่ยวกับสินสมรส จึงเป็นผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับสินสมรสระงับไป โจทก์คงได้สิทธิใหม่ตามที่แสดงไว้ในใบยอมความดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินตามฟ้องอีก
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป มิได้ขอให้ชนะคดีตามคำฟ้อง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้คือชั้นละ 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินสะสมจากสัญญาจ้างแรงงานหลังนายจ้างเสียชีวิต สิทธิเกิดขึ้นเมื่อยุบหน่วยงาน
ว. จ้างโจทก์ให้ทำงานในหน่วยวิคตอรี่ของบริษัท อ. โดยโจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท ตามสัญญาจ้างงานมีข้อความว่า เมื่อ ว. ถึงแก่ความตายขอมอบให้โจทก์มีสิทธิยุบหน่วยวิคตอรี่ตามที่เห็นสมควร ทั้งบริษัท อ. ยังคงให้สิทธิแก่ทายาทโดยธรรมของ ว. ที่จะเข้ารับช่วงบริหารงานในหน่วยวิคตอรี่ต่อไปในกรณีที่ ว. ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยวิคตอรี่ถึงแก่ความตาย ภายหลังจาก ว. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2543 จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. ได้มีหนังสือขอให้ทางบริษัท อ. จัดสรรเงินเดือนของโจทก์ตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 ถึงเดือนมกราคม 2545 รวม 25 เดือน เป็นเงิน 250,000 บาท และเงินเดือนประจำทุกวันสิ้นเดือน 10,000 บาท ให้แก่โจทก์ แม้ ว. จะถึงแก่ความตาย หน่วยวิคตอรี่ก็ยังคงสามารถดำรงอยู่และบริการลูกค้าของบริษัท อ. ต่อไปได้ มิใช่ว่าต้องยุบไปในทันทีที่ ว. ถึงแก่ความตาย สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับ ว. จึงหามีสาระสำคัญอยู่ที่ตัว ว. ผู้เป็นนายจ้างไม่ แม้ ว. จะถึงแก่ความตายก็ไม่ระงับสิ้นไป
ตามสัญญาจ้างงานระบุว่า "ข้าพเจ้า ว. ในฐานะนายจ้างยินดีจ่ายเงินสะสมในบัญชีของข้าพเจ้า ให้แก่ พ. (โจทก์) ในฐานะลูกจ้างครึ่งหนึ่ง เมื่อข้าพเจ้ามีความประสงค์ยุบหน่วยวิคตอรี่และหรือเมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมขอมอบให้ พ. มีสิทธิยุบหน่วยวิคตอรี่ตามที่เห็นสมควร" ตามข้อสัญญาดังกล่าว สิทธิของโจทก์ที่จะพึงได้รับเงินสะสมจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวครึ่งหนึ่งก็ต่อเมื่อมีการยุบหน่วยวิคตอรี่แล้วนั่นเอง เมื่อบริษัท อ. สั่งให้ยุบหน่วยวิคตอรี่ลงตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป แต่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. แบ่งเงินฝากของ ว. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2545 ก่อนที่จะมีการยุบหน่วยวิคตอรี่ขณะที่โจทก์ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยมอบผลประโยชน์เงินสะสมตามสัญญาจ้างงาน
of 174