คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิ้นสุดสภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพเทศบาลและการสมัครรับเลือกตั้งที่ไร้ผล
เมื่อได้มี พ.ร.ฎ จัดตั้งเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2538 เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลวารินชำราบเป็นเทศบาลเมืองวารินชำราบประกาศใช้ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน2538 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2538 เป็นต้นไป เทศบาลตำบลวารินชำราบจึงเป็นอันพ้นจากสภาพแห่งเทศบาลเดิม ตาม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 13 วรรคสอง การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ กำหนดวันรับสมัครตั้งแต่วันที่ 25กันยายน 2538 จึงเป็นอันสิ้นผลไปในตัว เมื่อโจทก์ทั้งสองสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ ในวันที่ 25 กันยายน 2538 ตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี แต่สภาเทศบาลตำบลวารินชำราบพ้นสภาพไปในวันนั้นแล้ว การสมัครของโจทก์ทั้งสองเป็นอันสิ้นผลไปด้วย ไม่มีทางที่จะทำให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบไปได้ ไม่ว่าจะมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจจำเลยทั้งสามที่จะวินิจฉัยสั่งการยกเลิกหรือถอนการสมัครรับเลือกตั้งของโจทก์ทั้งสองไว้โดยตรงหรือไม่ก็ตาม ความเสียหายของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องก็หาเป็นผลมาจากการวินิจฉัยสั่งการของจำเลยทั้งสามเช่นนั้นไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อผู้จัดการมรดกถึงแก่กรรม และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
ผู้ร้องได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย หลังจากนั้นผู้ร้องกับผู้คัดค้านมีข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินหลายประการ จนเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถจัดการแบ่งปันมรดกได้ตามคำแถลงของผู้ร้องและผู้คัดค้านนั้น เมื่อผู้ร้องถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คำสั่งของศาลที่แต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีผลต่อไปและการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นการเฉพาะตัวของผู้ร้อง จะรับมรดกความกันไม่ได้จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของผู้คัดค้านที่ขอให้บังคับผู้ร้องให้จัดการแบ่งมรดกตาม คำสั่งของศาลชั้นต้นอีก ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพสามีภรรยาตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย และผลกระทบต่อสิทธิในสินสมรสและมรดก
ในปี 2474 หรือ 2475 โจทก์ได้หนีตามชายชู้ไป และได้ชายอื่นเป็นสามีอีกหลายคน ส่วนสามีก็ได้ภรรยาใหม่หลายคน โจทก์กับสามีไม่ได้เกี่ยวข้องกันฉันสามีภรรยานับแต่นั้นเป็นต้นมา จนสามีถึงแก่กรรมและมูลกรณีดังว่านี้เกิดก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 จึงต้องปรับบทตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น พฤติการณ์ของโจทก์กับสามีจึงถือได้ว่าได้สละละทิ้งหย่าขาดกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียไปก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 แล้ว โจทก์จึงไม่ได้เป็นทายาทของสามีและไม่มีสิทธิรับมรดก
บิดาของสามียกที่ดินให้สามีโดยไม่ได้โอนกันทางทะเบียน เป็นการยกให้ที่ยังไม่สมบูรณ์ ตามกฎหมายสามีจะได้กรรมสิทธิ์ก็ต่อเมื่อได้ครอบครองมาเป็นเวลา 10 ปี ในระหว่างที่สามีครอบครองที่ดินนั้นมายังไม่ครบ 10 ปี โจทก์กับสามีได้หย่าขาดกันเสียก่อนหลายปีแล้ว ที่ดินนั้นจึงไม่เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพสามีภรรยาตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย และผลกระทบต่อสิทธิในสินสมรสและมรดก
ในปี 2474 หรือ 2475 โจทก์ได้หนีตามชายชู้ไป และได้ชายอื่นเป็นสามีอีกหลายคน ส่วนสามีก็ได้ภรรยาใหม่หลายคน โจทก์กับสามีไม่ได้เกี่ยวข้องกันฉันสามีภรรยานับแต่นั้นเป็นต้นมา จนสามีถึงแก่กรรมและมูลกรณีดังว่านี้เกิดก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 จึงต้องปรับบทตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น พฤติการณ์ของโจทก์กับสามีจึงถือได้ว่าได้สละละทิ้งหย่าขาดกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียไปก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 แล้ว โจทก์จึงไม่ได้เป็นทายาทของสามีและไม่มีสิทธิรับมรดก
บิดาของสามียกที่ดินให้สามีโดยไม่ได้โอนกันทางทะเบียนเป็นการยกให้ที่ยังไม่สมบูรณ์ ตามกฎหมายสามีจะได้กรรมสิทธิก็ต่อเมื่อได้ครอบครองมาเป็นเวลา 10 ปี ในระหว่างที่สามีครอบครองที่ดินนั้นมายังไม่ครบ 10 ปี โจทก์กับสามีได้หย่าขาดกันเสียก่อนหลายปีแล้ว ที่ดินนั้นจึงไม่เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพการเป็นสามีภรรยาจากเจตนาสมัครใจแยกกันอยู่ และสิทธิในการรับมรดก
คดีมรดก จำเลยซึ่งเป็นภริยาเจ้ามรดกให้การว่าผู้ร้องสอดไม่ใช่ภริยาเจ้ามรดกผู้ตาย หากจะเป็นภริยาผู้ตายก็ได้ร้างหรือหย่าขาดจากกันก่อนแล้วดังนี้เป็นการปฏิเสธว่าผู้ร้องสอดไม่ใช่ภริยาอันควรได้รับมรดกของผู้ตาย
ไม่เคลือบคลุม
ภริยาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 จากสามีไปสามีได้ภริยาใหม่ภริยาก็ได้สามีใหม่ เป็นการสมัครใจหย่าขาดจากสามีภริยากันตั้งแต่วันที่จากกันไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าโดยความยินยอมและการสิ้นสุดสภาพสมรสที่จดทะเบียนต่างประเทศ
สามีภริยายื่นคำร้องต่อกรมการอำเภอ มีข้อความกล่าวไว้ชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายตกลงหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายมีพยานลงลายมือชื่อสองคนดังนี้ก็ถือได้ว่า หนังสือคำร้องนั้นเป็นหนังสือหย่าอย่างบริบูรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1498
ชายไทยทำการสมรสกับหญิงต่างด้าว ณ ต่างประเทศได้จดทะเบียนณ ต่างประเทศ โดยมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานทูตหรือกงศุลไทยตามมาตรา 1450 วรรคท้าย นั้นการสมรสดังว่านี้ เป็นการสมรสที่มิได้ทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉะนั้นการหย่าจึงไม่ต้องจดทะเบียนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็ใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพสามีภรรยาตามพฤติการณ์และการฟ้องแบ่งสินสมรสเกินอายุความ
ผัวเมียต่างคนต่างอยู่คนละแห่งถึงแม้จะนานเท่าใดก็ไม่ขาดจากผัวเมียกัน ปัญหากฎหมาย สินสมรสไม่ใช่มฤดกฟ้องเกิน 1 ปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อผู้ร้องเสียชีวิต และผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้ร้องถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 คำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีผลต่อไป การเป็นผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ร้องไม่อาจรับมรดกความกันได้ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องอีก ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142