คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้ค่าจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 836/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: แม้ฟ้องละเมิดทางจ้าง แต่ประเด็นยังคงเป็นข้อพิพาทเดิมเรื่องหนี้ค่าจ้างจากสัญญาว่าจ้างเดิม
คดีก่อนห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. และโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้ในเรื่องจ้างทำของและตัวแทนโดยอ้างว่า จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 ว่าจ้างโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าจ้าง เมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในการว่าจ้างพิมพ์งานกับโจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างให้บริษัท ด. จัดทำ ส่วนบริษัท ด. จะนำงานไปให้โจทก์ทั้งสองจัดทำหรือไม่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับรู้ด้วย จำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์หรือมีหนี้ที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินค่าว่าจ้างให้แก่บริษัท ด. ไปแล้ว พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้เป็นผู้ทำบันทึกว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อว่าจ้างโจทก์ทำสิ่งพิมพ์ให้แก่จำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินค่าจ้างให้แก่บริษัท ด. ซึ่งเป็นบริษัทของจำเลยที่ 2 และเหตุที่โจทก์ไม่ได้รับเงินค่าจ้าง เพราะจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดโจทก์โดยการนำสิ่งพิมพ์ที่โจทก์เป็นผู้ทำไปทำหลักฐานใบเสร็จรับเงินในนามบริษัท ด. แล้วไปรับเงินจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นละเมิดในทางการที่จ้าง แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองเรื่องละเมิดในทางการที่จ้าง แต่ตามเนื้อหาที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์โต้เถียงถึงเหตุที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าจ้างจากจำเลยที่ 1 ในมูลหนี้การว่าจ้างพิมพ์งานในจำนวนเดียวกันซึ่งเป็นการโต้เถียงประเด็นเดียวกันกับประเด็นในคดีก่อนและคดีถึงที่สุด ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้จากความเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดของพนักงาน การยินยอมรับผิดชอบมีผลผูกพัน
จำเลยว่าจ้างโจทก์รักษาความปลอดภัยภายในบริษัทจำเลยต่อมาจำเลยค้างชำระค่าจ้างโจทก์ 165,850 บาท ในช่วงดังกล่าวพนักงานของโจทก์กระทำละเมิดโดยขับรถยนต์โตโยต้าของจำเลยชนรถยนต์เบนซ์ภายในบริษัทจำเลย หลังจากเกิดอุบัติเหตุ พนักงานของโจทก์ได้แจ้งเรื่องให้โจทก์จำเลยทราบ ผู้แทนโจทก์ตกลงยินยอมรับผิดชอบในค่าเสียหายของรถยนต์ที่ถูกชน สำหรับรถยนต์โตโยต้าผู้แทนโจทก์ตกลงกับจำเลยว่าจะยินยอมรับเป็นกรรมสิทธิ์ในราคา470,000 บาท ดังนั้น เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นเพราะการทำละเมิดของพนักงานของโจทก์ ซึ่งผู้แทนโจทก์ยอมรับผิดชอบโจทก์จะว่าไม่มีผลผูกพันโจทก์หาได้ไม่ กรณีมิใช่เป็นเรื่องจำเลยแจ้งความประสงค์แห่งข้อเสนอเพียงฝ่ายเดียวให้โจทก์ชดใช้จำเลยจึงนำค่าเสียหายเกี่ยวกับรถยนต์โตโยต้ามาหักกลบลบหนี้ค่าจ้างที่จำเลยค้างชำระได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าจ้างหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ไม่เข้าข่ายหนี้ที่ขอรับชำระได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เงินค่าจ้างประจำเดือนค้างจ่ายเป็นหนี้ประเภทหนึ่งที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องจ่ายให้ผู้ร้องซึ่งเป็นลูกจ้าง แต่เมื่อจำเลยนายจ้างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว แล้วไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโดย จ.พ.ท. ต่อไป และหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว จึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าจ้างหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ไม่อาจบังคับชำระได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
แม้ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยไว้ในคดีแรงงานว่า ผู้ร้องมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาค่าจ้างค้างจ่ายจากจำเลยได้ทันที ก็เป็นการวินิจฉัยถึงสิทธิของลูกจ้างที่มีต่อนายจ้าง แต่การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างนั้นจะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวแล้ว ทางราชการได้อนุญาตให้จำเลยประกอบธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ต่อไปได้ จำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจดำเนินการประกอบธุรกิจดังกล่าวต่อไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงมีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สินต่าง ๆ ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483เท่านั้น และเมื่อค่าจ้างค้างจ่ายเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวจึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าจ้างหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เงินค่าจ้างประจำเดือนค้างจ่ายเป็นหนี้ประเภทหนึ่งที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องจ่ายให้ผู้ร้องซึ่งเป็นลูกจ้าง แต่เมื่อจำเลยนายจ้างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว แล้วไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโดย จ.พ.ท. ต่อไป และหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว จึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าจ้างว่าความแบ่งชำระ: การคำนวณหนี้ตามสัดส่วนทุนทรัพย์ และการชำระหนี้เกินส่วน
ส. ในนามของบริษัทลูกหนี้ กับในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. และในฐานะส่วนตัวได้ทำสัญญาจ้างผู้ขอรับชำระหนี้เป็นทนายแก้ต่างในคดีแพ่ง 2 คดี เป็นเงินค่าจ้างจำนวนหนึ่งคดีแรกเป็นคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และส. ถูกฟ้องเป็นจำเลย คดีหลังเป็นคดีที่บริษัทลูกหนี้และ ส. ถูกฟ้องเป็นจำเลย ผู้ขอรับชำระหนี้ได้เข้าเป็นทนายความให้บริษัทลูกหนี้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และส. ทั้ง 2 คดีจนเสร็จสิ้นแล้ว หนี้ค่าจ้างว่าความจำนวนตามสัญญาดังกล่าวเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระได้ และมีบุคคลหลายคนเป็นลูกหนี้ คือบริษัทลูกหนี้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และส.เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการกำหนดไว้ว่าลูกหนี้ทั้งสามจะต้องรับผิดร่วมกันในจำนวนหนี้ทั้งหมด แต่ได้มีการระบุในสัญญาว่าค่าจ้างว่าความนั้นคิดห้าเปอร์เซ็นต์จากจำนวนทุนทรัพย์ของทั้ง 2 คดี เจตนาของคู่กรณีจึงอาจต้องการคิดค่าจ้างว่าความโดยคำนวณจากทุนทรัพย์ของแต่ละคดีแยกจากกันก็ได้ ถึงแม้จะทำสัญญาจ้างว่าความเป็นฉบับเดียวกันก็ตาม กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา290 คือลูกหนี้แต่ละคนต้องรับผิดเพียงเป็นส่วนละเท่าๆ กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าจ้างและหนังสือรับสภาพหนี้: สิทธิเรียกร้องไม่ขาดอายุความเมื่ออยู่ใน 10 ปี และการดำเนินการทางกฎหมายของนิติบุคคล
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ซึ่งเป็นนิติบุคคล ทำสัญญาจ้างจำเลยตัดฟันชักลากไม้และจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้จำเลยไป.จำเลยผิดสัญญา องค์การเรียกให้จำเลยใช้เงินคืน. จำเลยไม่ใช้. องค์การจึงฟ้อง สิทธิเรียกร้องในกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องนายจ้างเรียกเอาเงินค่าจ้างอันตนได้จ่ายล่วงหน้าให้ไปจากบุคคลผู้รับจ้างใช้การงานส่วนบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) ซึ่งมีอายุความ2 ปี. แต่อยู่ในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2511).
ผู้แทนนิติบุคคลซึ่งแสดงเจตนาฟ้องคดีและแต่งตั้งทนายแทนนิติบุคคลในนามนิติบุคคลเป็นโจทก์นั้น. เมื่อได้ลงชื่อแต่งทนายให้ดำเนินคดีโดยชอบแล้ว. ทนายก็มีอำนาจดำเนินคดีไปตลอดจนมีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาดังที่ปรากฏในใบแต่งทนาย. แม้ผู้แทนนิติบุคคลนั้นจะถึงแก่ความตายไปแล้วก็ดี. หรือฟ้องฎีกาของโจทก์ยังคงใช้ชื่อผู้แทนนิติบุคคลซึ่งถึงแก่ความตายในหน้าฟ้องก็ดี. ไม่.ทำให้ฎีกาของโจทก์.ไม่.ชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ค่าจ้างเป็นหนี้เงินกู้ และข้อจำกัดการนำสืบการชำระหนี้
เมื่อมีหนี้ต่อกันแล้วคู่กรณีก็อาจแปลงหนี้อย่างหนึ่งเป็นหนี้อีกอย่างหนึ่งได้ในภายหลัง โจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้หนี้เงินค่าจ้างระหว่างโจทก์จำเลยผูกพันกันในรูปเป็นหนี้เงินกู้ โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในหนี้เงินกู้ ในการกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือเมื่อจะนำสืบการใช้เงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วจะนำพยานบุคคลมาสืบถึงการใช้เงินนั้นไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสอง