พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7720/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด ห้ามฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
คดีล้มละลายเรื่องก่อน ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาแล้วไม่มีการอุทธรณ์ต่อไป คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายคดีนี้ขณะคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด เพราะอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 ประกอบด้วยพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีแล้วโดยพิพากษายกฟ้องเพราะพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายโดยอาศัยข้อเท็จจริงในหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมรายเดียวกันและข้ออ้างอันเป็นเหตุว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดียวกันกับที่ได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 และ 247ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดคดีแล้วโดยพิพากษายกฟ้องเพราะพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายโดยอาศัยข้อเท็จจริงในหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมรายเดียวกันและข้ออ้างอันเป็นเหตุว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นเดียวกันกับที่ได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 และ 247ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนทางแพ่ง: คำขอส่วนแพ่งในคดีอาญาครอบคลุมดอกเบี้ย จึงห้ามฟ้องเรียกค่าเสียหายซ้ำ
คำขอของโจทก์ในคดีอาญาก่อนคือการคืนหรือให้ใช้ราคาทรัพย์ซึ่งเป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลในคดีอาญามีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาได้ และเมื่อศาลในคดีอาญาได้รับคำขอส่วนแพ่งของโจทก์ ดังกล่าวไว้พิจารณาโดยชอบแล้ว ย่อมมีผลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1)ที่ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่นอีก แม้ในส่วนดอกเบี้ยที่โจทก์มิได้มีคำขอในคดีอาญา ก็ตาม แต่ดอกเบี้ยนี้เป็นดอกผลที่เกิดตามเงินต้นตามกฎหมาย การฟ้องร้องขอบังคับในส่วนดอกเบี้ยจึงอาศัยและพึงต้อง ฟ้องมาในคราวเดียวกัน จึงต้องห้ามตามคำฟ้องในส่วน เงินต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5773/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมฟ้องแย้งอยู่ระหว่างพิจารณา ห้ามฟ้องคดีเดียวกันซ้ำ
จำเลยในคดีนี้เคยฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแพ่งธนบุรีซึ่งโจทก์ในคดีนี้ได้ให้การและฟ้องแย้งในคดีดังกล่าวแต่ศาลแพ่งธนบุรีเห็นว่าฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งโจทก์อุทธรณ์ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ได้มาฟ้องเป็นคดีนี้เมื่อคำฟ้องคดีนี้กับฟ้องแย้งในคดีก่อนเป็นเรื่องเดียวกันและฟ้องแย้งในคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์คำฟ้องในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสองแม้ว่าศาลในคดีก่อนจะยังไม่ได้มีคำสั่งรับฟ้องแย้งก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8450/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ห้ามฟ้องคดีซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยให้ชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและค่าทนายความเรื่องเดียวกันกับคดีนี้มาก่อน แต่โจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลดังกล่าว คู่ความยังอาจอุทธรณ์คำสั่งได้ และจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว จึงต้องถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 ประกอบด้วยมาตรา 147 วรรคสอง แม้โจทก์จะยื่นฟ้องคดีนี้ก่อนจำเลยยื่นอุทธรณ์ ก็ต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 (1) ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำ ห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 แม้ยังไม่ได้ไต่สวนมูลฟ้อง
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลในข้อหาเดียวกัน บทมาตราที่ขอให้ลงโทษก็เช่นเดียวกัน โดยอาศัยหนังสือของจำเลยฉบับเดียวกันเป็นมูลฟ้องร้อง และโจทก์ได้ถอนฟ้องคดีนั้นไปจากศาลแล้ว โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยอีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36
หนังสือที่จำเลยกล่าวหาโจทก์ฉบับเดียว แต่บรรยายการกระทำของโจทก์เป็น 3 ข้อ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพียงครั้งเดียวและกรรมเดียว มิใช่ต่างกรรมต่างวาระ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเพียงครั้งเดียว จะแบ่งฟ้องเป็นข้อเป็นตอนไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 908/2496)
แม้จะเป็นการถอนฟ้องที่ยังไม่ได้มีการไต่สวนมูลฟ้องก็ตาม ก็อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะนำมาฟ้องใหม่อีกไม่ได้ เพราะถือว่าได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลแล้ว
หนังสือที่จำเลยกล่าวหาโจทก์ฉบับเดียว แต่บรรยายการกระทำของโจทก์เป็น 3 ข้อ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพียงครั้งเดียวและกรรมเดียว มิใช่ต่างกรรมต่างวาระ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเพียงครั้งเดียว จะแบ่งฟ้องเป็นข้อเป็นตอนไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 908/2496)
แม้จะเป็นการถอนฟ้องที่ยังไม่ได้มีการไต่สวนมูลฟ้องก็ตาม ก็อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะนำมาฟ้องใหม่อีกไม่ได้ เพราะถือว่าได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแทนทายาทและการห้ามฟ้องซ้ำในคดีจัดการมรดก
การที่ทายาทคนหนึ่งฟ้องผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับการจัดการมรดก ถือว่าเป็นการฟ้องแทนทายาทคนอื่น ๆ ด้วย
ทายาทคนหนึ่งฟ้องผู้จัดการมรดกคนก่อนว่าจัดการมรดกไปด้วยความทุจริต ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้ทายาทกองมรดกนั้นเสียหาย ศาลวินิจฉัยว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าผู้จัดการมรดกคนเก่านั้นได้กระทำไปด้วยความไม่สุจริตและประมาทเลินเล่อ การที่ผู้จัดการมรดกได้กระทำไปจึงผูกพันกองมรดก คดีถึงที่สุด ต่อมาผู้จัดการมรดกคนใหม่ซึ่งเข้ามาจัดการมรดกแทนผู้จัดการมรดกคนเก่าที่ถูกศาลพิพากษาเพิกถอน ได้ฟ้องผู้จัดการมรดกคนเก่าในทำนองเดียวกันกับที่ทายาทได้ฟ้องในคดีก่อน และคดีถึงที่สุดแล้วนั้น ถือว่าเป็นการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาฟ้องแทนทายาทอีกเป็นการใช้สิทธิของทายาทซึ่งเป็นตัวการที่ได้ฟ้องไปแล้วนั่นเอง จึงเป็นการฟ้องซ้ำ.
ทายาทคนหนึ่งฟ้องผู้จัดการมรดกคนก่อนว่าจัดการมรดกไปด้วยความทุจริต ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้ทายาทกองมรดกนั้นเสียหาย ศาลวินิจฉัยว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าผู้จัดการมรดกคนเก่านั้นได้กระทำไปด้วยความไม่สุจริตและประมาทเลินเล่อ การที่ผู้จัดการมรดกได้กระทำไปจึงผูกพันกองมรดก คดีถึงที่สุด ต่อมาผู้จัดการมรดกคนใหม่ซึ่งเข้ามาจัดการมรดกแทนผู้จัดการมรดกคนเก่าที่ถูกศาลพิพากษาเพิกถอน ได้ฟ้องผู้จัดการมรดกคนเก่าในทำนองเดียวกันกับที่ทายาทได้ฟ้องในคดีก่อน และคดีถึงที่สุดแล้วนั้น ถือว่าเป็นการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาฟ้องแทนทายาทอีกเป็นการใช้สิทธิของทายาทซึ่งเป็นตัวการที่ได้ฟ้องไปแล้วนั่นเอง จึงเป็นการฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกระทงเดียว – ศาลทหาร/ศาลพลเรือน: ห้ามฟ้องซ้ำหากมีคำพิพากษาแล้ว แม้บทลงโทษหนักกว่า
กรณีที่เป็นความผิดกระทงเดียวละเมิดกฎหมายหลายบท และความผิดบางบทขึ้นศาลทหาร บางบทขึ้นศาลพลเรือนดังนี้ ถ้าได้ฟ้องจำเลยต่อศาลทหารและศาลทหารพิพากษาลงโทษจำเลยในบทความผิดที่ขึ้นศาลทหารแล้ว จะมาฟ้องจำเลยต่อศาลพลเรือนในความผิดบทที่ขึ้นศาลพลเรือนอีกไม่ได้แม้ความผิดที่ขึ้นศาลพลเรือนจะเป็นบทหนักกว่าก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ กรณีข้อพิพาทเรื่องชำระราคาสัญญาขายฝากที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ก่อนคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา มีคดีซึ่งจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นเป็นอีกคดีหนึ่งว่า จำเลย (โจทก์คดีนี้) ขายฝากที่ดินแปลงเดียวกับคดีนี้แก่โจทก์ (จำเลยคดีนี้) ในราคา 8,500,000 บาท กำหนดไถ่คืนภายใน 1 ปี ตามสัญญาขายฝากฉบับเดียวกับคดีนี้ จำเลย (โจทก์คดีนี้) ได้รับเงินค่าขายฝากครบถ้วน แล้วจำเลย (โจทก์คดีนี้) ไม่ไถ่คืนภายในกำหนด และไม่ออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายฝากดังกล่าว ขอให้ขับไล่และเรียกค่าขาดประโยชน์ โจทก์คดีนี้ให้การต่อสู้คดีดังกล่าวทำนองเดียวกับที่ฟ้องคดีนี้ว่า โจทก์ (จำเลยคดีนี้) ชำระเงินค่าขายฝากไม่ครบ ขาดอยู่ 1,500,000 บาท กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังโจทก์ ศาลชั้นต้นคดีดังกล่าววินิจฉัยว่า จำเลย (โจทก์คดีนี้) ได้รับเงินค่าขายฝากครบจำนวนตามข้อความที่ระบุในสัญญาขายฝาก และมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลย (โจทก์คดีนี้) พร้อมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ (จำเลยคดีนี้) จำเลย (โจทก์คดีนี้) อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน จำเลย (โจทก์คดีนี้) ฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งคดีดังกล่าวว่า ฎีกาของจำเลย (โจทก์คดีนี้) เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยไว้ถูกต้องแล้ว ศาลฎีกาไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยชี้ขาดคดีว่า จำเลยคดีนี้ชำระเงินค่าขายฝากให้แก่โจทก์คดีนี้ครบถ้วนแล้ว มิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ ฎีกาของโจทก์คดีนี้จึงตกอยู่ภายใต้บังคับเรื่องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 จึงไม่อาจวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยคดีนี้จะมิได้ยกเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีแพ่งที่ศาลเคยวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ห้ามฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คดีก่อนจำเลยที่ 2 คดีนี้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองในคดีนี้เป็นจำเลยว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะโจทก์คดีดังกล่าวจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมตาม พ.ร.บหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 โดยมีบริษัท ว. เป็นผู้จัดการ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2542 ระหว่างที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการจัดตั้งเป็นกองทุนรวม ได้มอบให้ อ. ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขาย ตาม พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ซึ่งสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ อ. ซื้อมารวมถึงมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญาค้ำประกัน สัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 2 นำมาฟ้องโจทก์ทั้งสองให้รับผิด และต่อมาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 จำเลยที่ 2 ได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมจึงได้ให้สัตยาบันการกระทำของ อ. จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งโจทก์ทั้งสองให้การต่อสู้ในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และไม่อยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเพราะมิได้มอบให้ อ. ทำการซื้อขายแทน ต่อมาโจทก์ทั้งสองได้แถลงขอสละข้อต่อสู้ตามคำให้การทั้งหมดและยอมรับว่าเป็นหนี้จำลยที่ 2 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวจริง ดังนี้ ข้อต่อสู้ดังกล่าวรวมถึงข้ออ้างของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ที่ว่าการซื้อขายทรัพย์สินด้อยคุณภาพระหว่างจำเลยทั้งสองขัดต่อกฎหมาย และ ม. ไม่มีอำนาจลงนามในสัญญาซื้อขายแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วในคดีก่อนที่จะนำมาอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีนี้ ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ที่โจทก์ทั้งสองมาฟ้องจำเลยที่ 2 คดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
เมื่อโจทก์ทั้งสองต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ในประเด็นที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำกับจำเลยที่ 1 ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย
เมื่อโจทก์ทั้งสองต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ในประเด็นที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำกับจำเลยที่ 1 ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7112/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมที่ดินที่ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาแล้ว การฟ้องร้องซ้ำจึงเป็นกระบวนการซ้ำที่กฎหมายห้าม
คดีก่อนโจทก์ทั้งสี่แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) ออกเป็น 2 แปลง คือแปลงเดิมเลขที่ 4044 และแปลงใหม่เลขที่ 4045 ตามคำพิพากษาของศาล จำเลยทั้งสามจึงฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกดังกล่าว เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นคู่ความในคดีว่าการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4045 เป็นไปโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 จำเลยทั้งสามจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นในคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้ยินยอมให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวม การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมออกเป็นที่ดิน 2 แปลง คือ ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 และเลขที่ 4045 เป็นไปโดยไม่ชอบอีกหาได้ไม่
การที่จำเลยทั้งสามมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง ให้เหลือเฉพาะที่ดินแปลงเดิมตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 แล้วให้นำที่ดินออกขายทอดตลาด อีกเช่นนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
การที่จำเลยทั้งสามมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง ให้เหลือเฉพาะที่ดินแปลงเดิมตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 แล้วให้นำที่ดินออกขายทอดตลาด อีกเช่นนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144