คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อายุความภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีเงินได้บริษัท, การประเมินภาษี, และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน พร้อมดอกเบี้ย
ภาษีเงินได้บริษัทจำกัดถึงกำหนดชำระ 150 วัน จากครบรอบระยะบัญชีแต่ละปี อายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 167 นับตั้งแต่วันนั้น ครบ 150 วัน จากรอบปีบัญชี 30 พ.ค.2496 กรมสรรพากรแจ้งการประเมินภาษีเพิ่ม 26 ธ.ค.2505 ไม่เกิน 10 ปี ถือเสมือนฟ้องคดีตาม มาตรา 173 แล้ว โดยเป็นการใช้สิทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 โดยไม่ต้องฟ้อง การแจ้งผลวินิจฉัยอุทธรณ์หลังจากนั้นไม่ขาดอายุความ
เงินเดือนพนักงานของโจทก์ที่สำนักงานภาคส่งเข้ามาสอนพนักงานสาขาในประเทศ เป็นรายจ่ายที่หักได้ จึงต้องคืนเงินนี้แก่บริษัทโจทก์รวมกับดอกเบี้ย ตาม มาตรา 224 ไม่มีกฎหมายให้กรมสรรพากรเอาเป็นเครดิตสำหรับภาษีปีต่อไปเหมือนชำระภาษีล่วงหน้าตาม มาตรา 18ทวิ 20ทวิ และหักกลบลบหนี้ไม่ได้เพราะยังมีข้อต่อสู้ อายุความเรียกเงินคืนมิใช่ลาภมิควรได้ จึงไม่ใช่ 1 ปี ตาม มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401-1402/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษี: เริ่มนับจากวันถึงกำหนดชำระภาษี ไม่ใช่เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งหนี้
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องยื่นรายการซึ่งจำต้องใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้ตามแบบต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับชำระภาษีภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ถ้าแบบที่ยื่นไว้แสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ทำให้จำนวนภาษีเงินได้ขาดไปก็ต้องถือว่าหนี้ค่าภาษีจำนวนที่ขาดไปนี้ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ผู้เสียภาษีเงินได้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มิใช่ถึงกำหนดชำระเมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้ผู้เสียภาษีเงินได้ชำระค่าภาษี
อายุความเรียกร้องให้ชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้เสียภาษียื่นรายการและชำระค่าภาษี ถ้ามิใช่สิทธิเรียกร้องให้ชำระภายใน 10 ปีขาดอายุความ(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 31/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นมีข้อผิดพลาด ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันสิทธิได้ และอายุความภาษีเริ่มนับจากวันอาจบังคับสิทธิ
แม้กฎหมายจะสันนิษฐานไว้ก่อนว่า สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง ก็เป็นข้อสันนิษฐานไม่เด็ดขาด ซึ่งอาจหักล้างโดยพยานหลักฐานอื่นได้ ฉะนั้น เมื่อหลักฐานเอกสารของบริษัทโจทก์ที่ทำขึ้นเองผิดพลาดก็ย่อมไม่เป็นหลักฐานที่จะรับฟังเป็นความจริงได้
ภาษีสำหรับปี พ.ศ.2494 ถึงกำหนดต้องชำระในปี พ.ศ.2495 ถัดไปนั้น โดยที่อายุความย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ฉะนั้น กรณีนี้อายุความจึงมิได้ตั้งต้นนับตั้งแต่ พ.ศ.2494

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีและการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย การยกปัญหาข้อเท็จจริงหลังพ้นกำหนดอุทธรณ์
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/21 (5) ประกอบมาตรา 88/5 และมาตรา 30 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ปัญหาข้อเท็จจริงใดที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิหยิบยกขึ้นอุทธรณ์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ทำการไต่สวนหาความจริงและพิจารณาวินิจฉัย ปัญหาข้อเท็จจริงนั้นย่อมเป็นอันยุติ โจทก์จะยกปัญหาข้อเท็จจริงนั้นขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลไม่ได้ เพราะล่วงเลยเวลาที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างของโจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลไม่ได้ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ
โจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2536 ในขณะที่ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ มีผลใช้บังคับ การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีนี้จึงต้องนำ พ.ร.ฎ. ฉบับนี้มาใช้บังคับ แม้ พ.ร.ฎ. ฉบับนี้จะถูกยกเลิกโดย พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342)ฯ แต่การยกเลิกนั้นก็ไม่มีผลทำให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ. ฉบับเดิมกลายเป็นไม่ต้องเสียภาษีไปได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ. ฉบับเดิมในขณะที่ พ.ร.ฎ. ฉบับเดิมมีผลใช้บังคับไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีกต่อไป การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากโจทก์โดยอาศัยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ. ฉบับเดิม จึงเป็นการประเมินโดยมีกฎหมายให้อำนาจและปรากฏตามบันทึกการปิดหนังสือแจ้งการประเมินว่า เจ้าหน้าที่ได้ปิดหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบโดยชอบตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2546 ซึ่งอยู่ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันครบกำหนดชำระภาษีคือวันที่ 15 มีนาคม 2536 จึงเป็นการประเมินภาษีภายในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31