พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการขอเฉลี่ยทรัพย์
ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ. 2539 หมวด 3 ส่วนที่ 2 ข้อ 15.1 และ 15.3 เป็นระเบียบที่ว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การนำเครดิตภาษีที่เหลือยกไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนพ.ร.ฎ.ออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการนำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 242) พ.ศ. 2534 ก็เป็นเรื่องการนำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของ ป. รัษฎากร มาตรา 82/3 กล่าวคือ ต้องคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี หากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อให้ผู้ประกอบการชำระภาษีเท่ากับส่วนต่างนั้น หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายให้เป็นเครดิตภาษีและให้ผู้ประกอบการนั้นมีสิทธิได้รับคืนภาษีหรือนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามส่วน แต่ปรากฏว่าในการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนภาษีมูลค่าเพิ่มพฤศจิกายน 2540 เจ้าพนักงานของผู้ร้องนำยอดเครดิตภาษีที่จำเลยแสดงในแบบแสดงรายการภาษีมูลประจำเดือนภาษีพฤศจิกายน 2540 จำนวน 152,578.72 บาท มาเป็นฐานในการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ การที่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพียงมีผลทำให้จำเลยไม่มีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลและถือว่าหนี้ตามจำนวนที่ประเมินนั้นเป็นอันยุติ แต่จะนำมาใช้ยันแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหาได้ไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5246/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ใบกำกับภาษีปลอมเพื่อเครดิตภาษี ไม่เข้าความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268
การกระทำอันเป็นความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก นั้น ต้องเป็นการใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264, 265, 266 หรือ 267 โจทก์บรรยายฟ้องความว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีซื้ออันเป็นเอกสารปลอมไปใช้ในการเครดิตภาษีซึ่งหมายความว่าใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์อ้างว่าเป็นเอกสารปลอมนั้นเป็นใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออก อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/4 (7) เท่านั้น คำฟ้องโจทก์ไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด หรือมีการกระทำอื่นใดต่อเอกสารให้ผิดไปจากเดิมอันเป็นองค์ประกอบของความผิดเกี่ยวกับเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264, 265, 266 หรือ 267 แต่อย่างใด คำฟ้องโจทก์จึงไม่สมบูรณ์เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก แม้โจทก์จะมีคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก, 83 และจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอมตามบทบัญญัติดังกล่าว กรณีเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดเบี้ยปรับกรณีความเข้าใจผิดในการใช้เครดิตภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ในเดือนภาษีมีนาคม 2542 โจทก์มียอดภาษีมูลค่าเพิ่มชำระไว้เกินเป็นเครดิตภาษีจำนวน 536,712.40 บาท แต่โจทก์มิได้ไปขอคืนเป็นเงินสดหรือนำไปเป็นเครดิตภาษีหักกับภาษีที่ต้องชำระในเดือนถัดไปคือเดือนภาษีเมษายน 2542 ทั้ง ๆ ที่โจทก์ใช้สิทธิเช่นนั้นได้ ทำให้โจทก์ไม่สามารถนำมาเครดิตภาษีหักกับภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปได้ แต่โจทก์ได้นำมาเป็นเครดิตภาษีหักในเดือนภาษีพฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์อย่างแท้จริง ทั้งจำเลยก็อุทธรณ์รับว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วยดี กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะงดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2796-2801/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินที่ได้รับหลังเลิกบริษัท ไม่ใช่เงินปันผล แต่เป็นผลประโยชน์จากการเลิกบริษัท ไม่อาจขอเครดิตภาษีได้
ประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติถึงความหมายของคำว่า "เงินปันผล" ไว้โดยเฉพาะการพิจารณาว่าเงินได้พึงประเมินที่โจทก์ได้รับจากผู้ชำระบัญชีของบริษัท ข. เป็นเงินปันผลหรือไม่จึงต้องพิเคราะห์จากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งได้บัญญัติเกี่ยวกับเงินปันผลและเงินสำรองของบริษัทจำกัดไว้ในบรรพ 3 ลักษณะ22 หมวด ส่วนที่ 3 ข้อ 5 ตั้งแต่มาตรา 1200 ถึงมาตรา 1205
ในระหว่างการชำระบัญชีของบริษัท ข. แม้จะถือว่าบริษัทยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี แต่การที่ผู้ชำระบัญชีขายทรัพย์สินและดำเนินการต่าง ๆหลังจากจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว เป็นเหตุให้บริษัทมีรายได้ในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุญาตให้ขยายออกไป ก็เป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ในระหว่างที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้นเพื่อชำระสะสางการงานของบริษัทให้สิ้นไป และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทเท่านั้นรายได้ของบริษัทที่เกิดขึ้นในระหว่างการชำระบัญชีที่มีเหลืออยู่หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วจึงมิใช่ผลกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการของบริษัท แต่เป็นผลกำไรจากการขายสินทรัพย์ของบริษัทและเป็นทรัพย์สินของบริษัทที่จะต้องแบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนเมื่อได้กันส่วนที่จะต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของบริษัทแล้วหรือเมื่อชำระบัญชีเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269 เงินที่โจทก์ได้รับจากบริษัท ข. เมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว จึงมิใช่เงินปันผลที่ได้จากบริษัทซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการที่บริษัทเลิกกัน ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ฉ) เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนที่โจทก์แต่ละคนลงทุนในบริษัท โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ
ในระหว่างการชำระบัญชีของบริษัท ข. แม้จะถือว่าบริษัทยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี แต่การที่ผู้ชำระบัญชีขายทรัพย์สินและดำเนินการต่าง ๆหลังจากจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว เป็นเหตุให้บริษัทมีรายได้ในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุญาตให้ขยายออกไป ก็เป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ในระหว่างที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้นเพื่อชำระสะสางการงานของบริษัทให้สิ้นไป และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทเท่านั้นรายได้ของบริษัทที่เกิดขึ้นในระหว่างการชำระบัญชีที่มีเหลืออยู่หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วจึงมิใช่ผลกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการของบริษัท แต่เป็นผลกำไรจากการขายสินทรัพย์ของบริษัทและเป็นทรัพย์สินของบริษัทที่จะต้องแบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนเมื่อได้กันส่วนที่จะต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของบริษัทแล้วหรือเมื่อชำระบัญชีเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269 เงินที่โจทก์ได้รับจากบริษัท ข. เมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว จึงมิใช่เงินปันผลที่ได้จากบริษัทซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการที่บริษัทเลิกกัน ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ฉ) เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนที่โจทก์แต่ละคนลงทุนในบริษัท โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ใบกำกับภาษีปลอมเพื่อเครดิตภาษี: กรรมการมีส่วนร่วมความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้เป็นหลักฐานในการเครดิตภาษีจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดตามฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและเป็นผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอมในนามของจำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำผิดอันจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 อยู่แล้ว กรณีไม่จำต้องอาศัยความในมาตรา 90/5 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานให้กรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคลต้องรับโทษฐานนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเครดิตภาษีซื้อเกิน และการเรียกเงินเพิ่ม กรณีใช้ใบกำกับภาษีปลอม
ในเดือนภาษีกรกฎาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย จำเลยที่ 1 จึงยังมีภาษีที่จะชำระเกินอยู่ จำเลยที่ 1 สามารถนำภาษีที่ชำระเกินไปเครดิตภาษีในเดือนต่อไปได้ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคสาม และเดือนต่อ ๆ ไปหากจำเลยมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายอีก ก็สามารถนำภาษีที่ชำระเกินไปเครดิตภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปอีกได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์เรียกเก็บภาษีในเดือนที่ตรวจพบความผิดเท่านั้น ไม่นำเอาภาษีที่จำเลยที่ 1 ชำระเกินมาคิดคำนวณด้วยในเดือนที่ตรวจพบความผิดต่อเนื่องไปถึงเดือนถัด ๆ ไป ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป. รัษฎากร มาตรา 83/2 และไม่มีบทกฎหมายรองรับสนับสนุน อีกทั้งยังไม่เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี เพราะเดือนใดหากผู้ชำระภาษียังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ก็ย่อมมีสิทธินำไปเครดิตภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปได้ตลอด
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคแรก กำหนดให้บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวดนี้ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ จำเลยที่ 1 เสียภาษีมาโดยตลอดและจำเลยที่ 1 ยังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งสามารถนำไปเครดิตในเดือนภาษีต่อ ๆ ไปได้ทุกเดือน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีภาษีที่ค้างชำระในเดือนที่แล้วมา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้คำนวณภาษีจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตาม ป. รัษฎากร มาตรา 89 (7) อยู่แล้ว และการใช้ใบกำกับภาษีปลอมดังกล่าวก็เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องอยู่ในตัว เมื่อตามมาตรา 89 (7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับสองเท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะให้เบี้ยปรับสูงขึ้น โดยให้รับผิดตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกันไม่ จึงไม่จำต้องปรับอีกหนึ่งเท่าตามมาตรา 89 (4) เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคแรก กำหนดให้บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวดนี้ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ จำเลยที่ 1 เสียภาษีมาโดยตลอดและจำเลยที่ 1 ยังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งสามารถนำไปเครดิตในเดือนภาษีต่อ ๆ ไปได้ทุกเดือน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีภาษีที่ค้างชำระในเดือนที่แล้วมา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้คำนวณภาษีจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตาม ป. รัษฎากร มาตรา 89 (7) อยู่แล้ว และการใช้ใบกำกับภาษีปลอมดังกล่าวก็เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องอยู่ในตัว เมื่อตามมาตรา 89 (7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับสองเท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะให้เบี้ยปรับสูงขึ้น โดยให้รับผิดตามมาตรา 89 (7) เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกันไม่ จึงไม่จำต้องปรับอีกหนึ่งเท่าตามมาตรา 89 (4) เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและเงินเพิ่ม กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ผู้เสียภาษีมีสิทธิเครดิตภาษี
ในเดือนภาษีกรกฎาคม 2536 จำเลยที่ 1 มีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจำเลยที่ 1 จึงยังมีภาษีที่จะชำระเกินอยู่ จำเลยที่ 1 สามารถนำภาษีที่ชำระเกินไปเครดิตภาษีในเดือนต่อไปได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคสามและเดือนต่อ ๆ ไปหากจำเลยมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายอีกก็สามารถนำภาษีที่ชำระเกินไปเครดิตภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปอีกได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์เรียกเก็บภาษีในเดือนที่ตรวจพบความผิดเท่านั้นไม่นำเอาภาษีที่จำเลยที่ 1ชำระเกินมาคิดคำนวณด้วยในเดือนที่ตรวจพบความผิดต่อเนื่องไปถึงเดือนถัด ๆ ไป ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรมาตรา 83/2และไม่มีบทกฎหมายรองรับสนับสนุนอีกทั้งยังไม่เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี เพราะเดือนใดหากผู้ชำระภาษียังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ก็ย่อมมีสิทธินำไปเครดิตภาษีในเดือนต่อ ๆ ไปได้ตลอด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคแรก กำหนดให้บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ แต่จำเลยที่ 1เสียภาษีมาโดยตลอดและจำเลยยังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2536จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งสามารถนำไปเครดิตในเดือนภาษีต่อ ๆ ไปได้ทุกเดือน จำเลยจึงไม่มีภาษีที่ค้างชำระ ในเดือนที่แล้วมา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากจำเลย
จำเลยนำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้คำนวณภาษีจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) อยู่แล้ว และการใช้ใบกำกับภาษีปลอมดังกล่าวก็เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องอยู่ในตัว เมื่อตามมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับ สองเท่าย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะให้เบี้ยปรับสูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียวหาได้มุ่งหมายให้ปรับ ทุกอนุมาตรารวมกันไม่ จึงไม่จำต้องปรับอีกหนึ่งเท่าตาม มาตรา 89(4) เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคแรก กำหนดให้บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ แต่จำเลยที่ 1เสียภาษีมาโดยตลอดและจำเลยยังมีภาษีที่ชำระเกินอยู่ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2536จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งสามารถนำไปเครดิตในเดือนภาษีต่อ ๆ ไปได้ทุกเดือน จำเลยจึงไม่มีภาษีที่ค้างชำระ ในเดือนที่แล้วมา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากจำเลย
จำเลยนำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้คำนวณภาษีจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) อยู่แล้ว และการใช้ใบกำกับภาษีปลอมดังกล่าวก็เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องอยู่ในตัว เมื่อตามมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับ สองเท่าย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายจะให้เบี้ยปรับสูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7) เพียงอนุมาตราเดียวหาได้มุ่งหมายให้ปรับ ทุกอนุมาตรารวมกันไม่ จึงไม่จำต้องปรับอีกหนึ่งเท่าตาม มาตรา 89(4) เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ของโจทก์ในคดีภาษี: การใช้เครดิตภาษีจากใบกำกับภาษีที่ถูกโต้แย้ง
คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า บริษัท บ. เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีรายพิพาททั้งสามฉบับหรือไม่ และออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ประเด็นดังกล่าว โจทก์กล่าวอ้างโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ แต่โจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนจึงฟังไม่ได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 84
ข้อเท็จจริงที่คู่ความทั้งสองฝ่ายรับกันในวันชี้สองสถานฟังได้แต่เพียงว่าบริษัท บ. ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนธันวาคม 2539 เท่านั้นแต่จำเลยปฏิเสธว่าใบกำกับภาษีรายพิพาททั้งสามฉบับซึ่งออกโดยบริษัทดังกล่าวนั้นบริษัทดังกล่าวไม่มีตัวตน ไม่มีสถานประกอบการและไม่มีการให้บริการกันจริง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุน โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
ข้อเท็จจริงที่คู่ความทั้งสองฝ่ายรับกันในวันชี้สองสถานฟังได้แต่เพียงว่าบริษัท บ. ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนธันวาคม 2539 เท่านั้นแต่จำเลยปฏิเสธว่าใบกำกับภาษีรายพิพาททั้งสามฉบับซึ่งออกโดยบริษัทดังกล่าวนั้นบริษัทดังกล่าวไม่มีตัวตน ไม่มีสถานประกอบการและไม่มีการให้บริการกันจริง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุน โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมและการหักเครดิตภาษีที่เหลือ การงดเบี้ยปรับกรณีแก้ไขแบบแสดงรายการด้วยความเข้าใจผิด
แม้แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30 จะไม่ได้แจ้งไว้ในแบบแสดงรายการที่ยื่นว่าเป็นการยื่นเพิ่มเติมก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าเป็นการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 ฉบับที่สอง จึงถือว่าการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการยื่นแบบแสดงรายการเพิ่มเติมตามมาตรา 83/4 แห่ง ป. รัษฎากร ซึ่งการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมนี้ มาตรา 84 มิให้นำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีมาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เพียงแต่ให้สิทธิในการขอคืนภาษีได้เท่านั้น โจทก์จะต้องนำภาษีมาชำระพร้อมยื่นแบบแสดงรายการเพิ่มเติมตามมาตรา 83/4 แม้โจทก์มีภาษีที่ชำระเกินยกมาจากเดือนมิถุนายน 2540 จำนวน 50,561.91 บาท แต่โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนพิพาทจำนวน 5,050.72 บาท โจทก์จะนำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีที่มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติม เพราะยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องตามมาตรา 83/4 ไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประเมินภาษีเพิ่มเติมพร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) แห่ง ป. รัษฎากร จำนวน 17,434.58 บาท โดยมิชอบ ขอให้เพิกถอนการประเมินดังกล่าวของจำเลย จำเลยให้การว่าการประเมินชอบแล้ว กรณีจึงไม่มีประเด็นพิจารณาว่าโจทก์จะต้องเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (3) จำนวน 505.07 บาท หรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม 5,050.72 บาท พร้อมเบี้ยปรับจำนวน 505.07 บาท จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30 มียอดภาษีซื้อผิดพลาดโดยนำยอดซื้อที่ไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นภาษีซื้อได้ โดยโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการขอแก้ไขเองก่อนกำหนดชำระภาษีในงวดถัดไป แสดงว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงผิดพลาดโดยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีแต่อย่างใด จึงสมควรให้อภัยโดยงดเบี้ยปรับให้
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงรายการยอดซื้อที่มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักไว้จำนวน 2,687,902.44 บาท ซึ่งคลาดเคลื่อนไป เพราะนำเอายอดที่ไม่มีสิทธิหักภาษีซื้อมารวมไว้ด้วย จำนวน 2,490,654.21 บาท เมื่อโจทก์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติม โจทก์จึงควรนำยอดขายลบด้วยยอดซื้อที่แท้จริงเพื่อหาจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะชำระเพิ่มเติม การที่โจทก์คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมด้วยการนำเอายอดซื้อซึ่งไม่มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีจำนวน 2,490,654.21 บาท ไประบุว่าเป็นยอดขายและยอดขายที่ต้องเสียภาษี จึงเป็นการลงรายการที่คลาดเคลื่อน ดังนั้นการที่ศาลภาษีอากรกลางปรับปรุงรายการแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเสียใหม่ด้วยการนำภาษีซื้อจากยอดซื้อ ที่ถูกต้องนำไปหักจากภาษีขายเพื่อหาจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะชำระเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประเมินภาษีเพิ่มเติมพร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) แห่ง ป. รัษฎากร จำนวน 17,434.58 บาท โดยมิชอบ ขอให้เพิกถอนการประเมินดังกล่าวของจำเลย จำเลยให้การว่าการประเมินชอบแล้ว กรณีจึงไม่มีประเด็นพิจารณาว่าโจทก์จะต้องเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (3) จำนวน 505.07 บาท หรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม 5,050.72 บาท พร้อมเบี้ยปรับจำนวน 505.07 บาท จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30 มียอดภาษีซื้อผิดพลาดโดยนำยอดซื้อที่ไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นภาษีซื้อได้ โดยโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการขอแก้ไขเองก่อนกำหนดชำระภาษีในงวดถัดไป แสดงว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงผิดพลาดโดยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีแต่อย่างใด จึงสมควรให้อภัยโดยงดเบี้ยปรับให้
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงรายการยอดซื้อที่มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักไว้จำนวน 2,687,902.44 บาท ซึ่งคลาดเคลื่อนไป เพราะนำเอายอดที่ไม่มีสิทธิหักภาษีซื้อมารวมไว้ด้วย จำนวน 2,490,654.21 บาท เมื่อโจทก์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติม โจทก์จึงควรนำยอดขายลบด้วยยอดซื้อที่แท้จริงเพื่อหาจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะชำระเพิ่มเติม การที่โจทก์คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมด้วยการนำเอายอดซื้อซึ่งไม่มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีจำนวน 2,490,654.21 บาท ไประบุว่าเป็นยอดขายและยอดขายที่ต้องเสียภาษี จึงเป็นการลงรายการที่คลาดเคลื่อน ดังนั้นการที่ศาลภาษีอากรกลางปรับปรุงรายการแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเสียใหม่ด้วยการนำภาษีซื้อจากยอดซื้อ ที่ถูกต้องนำไปหักจากภาษีขายเพื่อหาจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะชำระเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกต้อง แม้รายละเอียดไม่ชัดเจน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
แม้โจทก์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องโดยโจทก์ใช้สิทธิเครดิตภาษีสำหรับสินค้าคงเหลือในเดือนภาษีมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 เกินไปเดือนละ20,305.11 บาท แต่โจทก์ไม่มีจำนวนภาษีที่ต้องชำระอีกทั้งผลต่างจำนวนเงิน 20,305.11 บาท ของภาษีการค้าของสินค้าคงเหลือที่โจทก์นำมาเครดิต นั้น นอกจากโจทก์ไม่ได้รับเงินภาษีจำนวนดังกล่าวคืนไปจากจำเลยแล้วโจทก์ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรืออ้างว่ามีสิทธิได้รับประโยชน์จากเครดิตภาษีจำนวนดังกล่าวด้วย และภายหลังโจทก์ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจำเลยว่า มีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการขอเครดิตภาษีสำหรับสินค้าคงเหลือของโจทก์ โจทก์ก็ได้ยื่นแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้องสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ของจำเลย จึงถือได้ว่าแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับเดิมได้ถูกยกเลิกไปโดยให้ใช้แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีการแก้ไขจำนวนดังกล่าวที่ถูกต้องแล้ว ตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ยื่นแก้ไขเพิ่มเติมเมื่ออ่านรวมกันแล้วก็พอเข้าใจได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการยื่นแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ให้ถูกต้องแล้วโจทก์จึงหาจำต้องระบุให้ชัดเจนว่าผิดพลาดอย่างไรและต้องแก้ไขเพิ่มเติมตรงไหน