พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินยักยอกที่วางศาลเกิน 5 ปี ผู้เสียหายไม่รับสิทธิขาดตกเป็นของแผ่นดิน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งนำมาใช้ในคดีอาญาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อจำเลยได้นำเงิน20,885 บาท ที่ยักยอกไปมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้แก่ผู้เสียหายเมื่อวันที่ 6มิถุนายน 2539 ผู้เสียหายต้องมารับไปภายในห้าปีนับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวาง มิใช่นับจากวันที่ผู้เสียหายทราบถึงการวางเงิน การที่ผู้เสียหายมาขอรับเงินเมื่อวันที่ 21มิถุนายน 2545 ซึ่งเกิน 5 ปี เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินบังคับคดีที่เหลือให้ลูกหนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการจ่ายเมื่อทวงถาม มิเช่นนั้นยังไม่ถือเป็นเงินค้างจ่าย
เมื่อมีการจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว มีขั้นตอนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติสองขั้นตอน คือ การจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ขั้นตอนหนึ่ง และการจ่ายเงินตามบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายอีกขั้นตอนหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย เสร็จแล้ว ก็ต้องดำเนินการให้มีการจ่ายเงินตามบัญชีนั้นต่อไป ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316, 318 และ มาตรา 322 วรรคสอง
หลังจากเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายแล้ว ปรากฏว่ายังมิได้มีคำสั่งหรือการ ดำเนินการใดเพื่อให้มีการจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย เมื่อยังมีขั้นตอนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติอีก เงินส่วนที่เหลือนี้จึงยังไม่เป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เงินดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เรียกเอาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหน้าที่จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็น สมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
หลังจากเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายแล้ว ปรากฏว่ายังมิได้มีคำสั่งหรือการ ดำเนินการใดเพื่อให้มีการจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย เมื่อยังมีขั้นตอนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติอีก เงินส่วนที่เหลือนี้จึงยังไม่เป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เงินดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เรียกเอาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหน้าที่จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็น สมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินจากการขายทอดตลาดหลังครบกำหนด 5 ปี: เงินไม่ตกเป็นของแผ่นดินหากเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องก่อนครบกำหนด
เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลชั้นต้นได้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2532 เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายการขายทอดตลาดให้เสร็จสิ้นเสียก่อนจึงจะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 316 ต่อมาวันที่ 7 ธันวาคม2532 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นขอรับเงินดังกล่าว และขอให้สั่งทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำบัญชีเพื่อตรวจจ่ายให้ต่อไปนั้น เท่ากับมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเพื่อตรวจสอบและมีคำสั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการจ่ายเงินให้โจทก์ จนเมื่อมีการตั้งสำนักงานบังคับคดีจังหวัดมหาสารคามขึ้นแยกจากงานบังคับคดีของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีอีกและเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือขอให้ศาลชั้นต้นส่งเงินจำนวนดังกล่าวเพื่อจ่ายให้แก่โจทก์ ซึ่งเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รายงานให้ศาลชั้นต้นทราบการปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องการทำบัญชีและขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวตามบัญชีนั้นให้แก่โจทก์นั่นเอง อันเป็นขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น ศาลชั้นต้นต้องส่งเงินแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อจ่ายให้แก่โจทก์ เพราะถือว่าโจทก์ยื่นคำแถลงขอรับหรือเรียกเอาแล้วตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2532 ในเวลาที่ยังไม่พ้นระยะ 5 ปี นับแต่วันที่ถือได้ว่าเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีและโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาได้ เงินดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 323
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค้างจ่ายในศาลตกเป็นของแผ่นดิน หากผู้มีสิทธิไม่เรียกรับภายใน 5 ปี แม้เป็นเงินชำระหนี้ตามคำบังคับ
เงินค้างจ่ายในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 323 หมายถึงเงินทั้งหมดที่มีผู้นำมาวางไว้ในคดีและค้างจ่ายอยู่ในศาล มิได้จำกัดเฉพาะแต่เงินที่จำเลยนำมาวางศาลก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 135 เท่านั้น การที่จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำบังคับศาลชั้นต้นที่ออกคำบังคับนั้นมีอำนาจที่จะรับเงินไว้ได้เพราะเป็นศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปีนับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวางต่อศาล เงินดังกล่าวย่อมตกเป็นของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค้างจ่ายในศาล: สิทธิเรียกรับเงินภายใน 5 ปี หากเลยกำหนดตกเป็นของแผ่นดิน
จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์เป็นงวด ๆ ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์มีสิทธิมารับเงินแต่ละงวดได้ทันทีหลังจากจำเลยนำเงินมาวาง เมื่อโจทก์ไม่มารับเงินงวดใดเงินงวดนั้น ๆ ก็เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาล การที่โจทก์เพิกเฉยไม่เรียกเอาเสียภายในห้าปีนับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวางศาล เงินงวดนั้น ๆ จึงตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค้างจ่ายในศาล ผู้รับต้องเรียกรับภายใน 5 ปี มิฉะนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
เงินค้างจ่ายที่อยู่ในศาล ผู้มีสิทธิรับเงินต้องเรียกเอาเงินหรือขอรับเงินที่ตนมีสิทธิจะได้รับจากศาลและต้องมารับเงินตามที่เรียกหรือขอด้วย หรือในกรณีที่ศาลออกเช็คให้ผู้มีสิทธิรับเงินแทนการจ่ายเป็นเงินสด ผู้มีสิทธิรับเงินก็ต้องนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร หากผู้มีสิทธิรับเงินเพียงแต่แถลงขอรับเงินจากศาล แต่ไม่มารับเงินตามที่ขอหรือมิได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ศาลอนุญาต เงินค้างจ่ายดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 (เดิม) จำเลยจะขอให้ศาลออกเช็คฉบับใหม่แทนเช็คฉบับเดิมเพื่อสั่งจ่ายเงินที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337-338/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337-338/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินวางศาลที่เหลือหลังชำระหนี้ ศาลต้องแจ้งให้ผู้มีสิทธิรับทราบก่อนถือเป็นเงินค้างจ่าย
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องและได้นำเงินจำนวน 529,846.58 บาท มาวางที่ศาลชั้นต้นเพื่อเป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษา แต่ขอให้ศาลระงับการจ่ายเงินให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับเพื่อการชำระหนี้หากคดีถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 4 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ต่อมาเมื่อคดีถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 4 ต้องรับผิด โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้ขอรับเงินที่จำเลยที่ 4 นำมาวางศาลดังกล่าวไปในวันที่ 22 เมษายน 2553 จำนวน 201,390.48 บาท และ 234,723.06 บาท ตามลำดับ คงเหลือเงินในวันดังกล่าว 105,843.04 บาท ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้จำเลยที่ 4 ผู้มีสิทธิได้รับเงินที่เหลือทราบ หากจำเลยที่ 4 ทราบแล้วไม่มารับเงินภายในห้าปี เงินดังกล่าวจึงจะถือว่าเป็นเงินค้างจ่ายและทำให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่คดีนี้หลังจากโจทก์ที่ 1 และที่ 2 รับเงินแล้วปรากฏว่ามีเงินคงเหลือ ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้จำเลยที่ 4 ผู้มีสิทธิรับเงินทราบ เงินดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่ศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 (เดิม) และยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินชำระหนี้เช็ค - สิทธิการรับเงินค้างจ่าย - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 345
จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เพื่อชำระหนี้ตามเช็คพิพาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบล ห. ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และจำเลยวางเงินรวม 73,060 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 73,060 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 93,060 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 73,060 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 93,060 บาท และต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่า เงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหาย และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่ง เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้น ก็ไม่ถูกต้อง ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย