พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญต่ออัตราดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้ และการหักล้างหนี้จากเงินชำระ
แม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจและมีผลใช้บังคับได้เท่าที่อยู่ในขอบเขตอำนาจที่ พระราชบัญญัติให้อำนาจไว้ก็ตามแต่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวไม่ได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติจึงไม่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 การที่ผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ซึ่งศาลยุติธรรมจะนำมาใช้บังคับแก่คดีเป็นประกาศที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6หรือไม่ จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาซื้อขายและเปลี่ยนแปลงเป็นสัญญาเช่าซื้อ: การพิจารณาเรื่องเงินชำระค่าซื้อและการฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ที่จำเลยทั้งสามขายให้โจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีสภาพบกพร่อง เป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ ดังนี้ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสามส่งมอบรถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาซื้อขายที่มีสภาพบกพร่องให้แก่โจทก์เป็นการประพฤติผิดสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และมีคำขอบังคับให้จำเลยคืนเงิน 70,000บาท ที่รับไปจากโจทก์และชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย จำเลยให้การรับว่า ได้ขายรถยนต์ให้แก่โจทก์และรับเงินจากโจทก์จริง แต่ต่อสู้ว่าจำเลยไม่จำต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ เพราะโจทก์กับจำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายนั้นแล้ว โดยโจทก์เปลี่ยนใจเช่าซื้อรถยนต์คันใหม่จากจำเลยและยอมให้ถือเอาเงิน 70,000 บาทนั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าซื้อ และโจทก์ยังเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ เป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าเสียหายแก่จำเลย ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์กับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยจึงฟังเป็นยุติว่า โจทก์ซื้อรถยนต์จากจำเลยแล้วชำระราคาบางส่วนเป็นเงิน 70,000 บาท คงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายต้องรับผิดคืนเงินจำนวน 70,000 บาท และชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ หรือโจทก์กับจำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายแล้วเปลี่ยนมาผูกพันกันตามสัญญาเช่าซื้อ โดยโจทก์เช่าซื้อรถยนต์คันใหม่จากจำเลยและถือเอาเงิน 70,000 บาทนั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าซื้อ แล้วโจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสามมีสิทธิริบเงิน 70,000 บาท และเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์กับจำเลยมีข้อพิพาทโดยตรงว่า โจทก์มีสิทธิเรียกเงิน 70,000 บาท คืนจากจำเลยหรือไม่ แม้จะมีข้อเรียกร้องอื่นเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ต่างฝ่ายยกขึ้นเป็นข้ออ้างข้อเถียงก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับเงินจำนวน 70,000 บาทนั้นเอง ฉะนั้น คำฟ้องแย้งของจำเลยที่อ้างว่ามีสิทธิริบเงิน 70,000 บาท จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม จึงชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3633/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน, การหักเงินชำระแล้ว, และประเด็นความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดที่ดินที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามร่วมกันซื้อมา หากไม่อาจปฏิบัติได้ให้ร่วมกันใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลยทั้งสาม แต่จำเลยที่ 1 ได้มอบเงิน 1,000,000บาท เป็นส่วนหนึ่งของค่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามฟ้อง หากไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก การที่โจทก์แก้ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์นำเงิน 1,000,000บาท ที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ไปหักออกจากค่าที่ดินดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่เงินที่จ่ายเป็นค่าที่ดิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ราคาที่ดินพิพาทให้ด้วยนั้นโจทก์จะต้องยื่นฎีกาโดยทำเป็นคำฟ้องขึ้นมา จะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ แต่เป็นความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสามระบุชื่อในที่ดินพิพาทแต่โดยลำพังเอง จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 240 มาบังคับไม่ได้ และการกระทำของจำเลยทั้งสามมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จะนำอายุความละเมิดมาบังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความจำเลยทั้งสามฎีกาเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องเกินกำหนด 1 ปีแล้วเท่านั้น มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าในกรณีที่โอนที่ดินไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1ชำระให้โจทก์ออก แต่ในกรณีที่สามารถโอนที่ดินให้โจทก์ได้ ศาลอุทธรณ์มิได้นำยอดเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์แล้วจำนวน 1,000,000 บาท มาหักทอนด้วย กรณีอาจมีผลทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์เกินกว่าสิทธิที่ตนควรได้รับ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สมควรให้โจทก์คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ แต่เป็นความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสามระบุชื่อในที่ดินพิพาทแต่โดยลำพังเอง จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 240 มาบังคับไม่ได้ และการกระทำของจำเลยทั้งสามมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จะนำอายุความละเมิดมาบังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความจำเลยทั้งสามฎีกาเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องเกินกำหนด 1 ปีแล้วเท่านั้น มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าในกรณีที่โอนที่ดินไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1ชำระให้โจทก์ออก แต่ในกรณีที่สามารถโอนที่ดินให้โจทก์ได้ ศาลอุทธรณ์มิได้นำยอดเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์แล้วจำนวน 1,000,000 บาท มาหักทอนด้วย กรณีอาจมีผลทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์เกินกว่าสิทธิที่ตนควรได้รับ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สมควรให้โจทก์คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3633/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน, การหักเงินชำระ, อายุความฟ้อง, และการแก้ไขคำพิพากษาเพื่อความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดที่ดินที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามร่วมกันซื้อมา หากไม่อาจปฏิบัติได้ให้ร่วมกัน ใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลยทั้งสาม แต่จำเลยที่ 1ได้มอบเงิน 1,000,000 บาท เป็นส่วนหนึ่งของค่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามฟ้องหากไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก การที่โจทก์แก้ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์นำเงิน1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ไปหักออกจากค่าที่ดินดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่เงินที่จ่ายเป็นค่าที่ดิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ราคาที่ดินพิพาทให้ด้วยนั้น โจทก์จะต้องยื่นฎีกาโดยทำเป็นคำฟ้องขึ้นมาจะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบแต่เป็นความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสามระบุชื่อในที่ดินพิพาทแต่โดยลำพังเอง จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 มาบังคับไม่ได้และการกระทำของจำเลยทั้งสามมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จะนำอายุความละเมิดมาบังคับไม่ได้ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความจำเลยทั้งสามฎีกาเพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องเกินกำหนด 1 ปีแล้วเท่านั้น มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าในกรณีที่โอนที่ดินไม่ได้ให้จำเลย ทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก แต่ในกรณีที่สามารถโอนที่ดิน ให้โจทก์ได้ ศาลอุทธรณ์มิได้นำยอดเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์แล้ว จำนวน 1,000,000 บาท มาหักทอนด้วย กรณีอาจมีผลทำให้โจทก์ ได้รับประโยชน์เกินกว่าสิทธิที่ตนควรได้รับ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สมควรให้โจทก์คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ในกรณี ที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ถือเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด จึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษี
โจทก์จำเลยต่างฟ้องคดีซึ่งกันและกันทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยคืนค่าหุ้นและแบ่งผลกำไร โดยจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์ 250,000 บาท และโจทก์จำเลยยอมเลิกคดีที่พิพาทกันทุกคดีเงินจำนวน 250,000 บาทที่โจทก์ได้รับเพื่อเป็นการระงับข้อพิพาทในคดีที่โจทก์ฟ้องขอคืนค่าหุ้นและแบ่งผลกำไร อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญา จึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด แม้จะมีคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยหาว่าปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม เป็นส่วนช่วยให้การประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวเป็นผลสำเร็จลงได้ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกเอาค่าเสียหายอะไรในคดีอาญานั้นด้วย จะถือว่าเงินนั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดยังไม่ได้ เงินจำนวน 250,000 บาทนี้จึงไม่เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดอันจะได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินมือเปล่าต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงเรื่องการประกาศขายก่อนจดทะเบียน การอ้างเหตุผลเรื่องเงินชำระไม่ชอบ
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เจ้าพนักงานจะรับจดทะเบียนโอนให้แก่คู่กรณีได้ต่อเมื่อได้มีการประกาศขายมีกำหนด 30 วันตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 5 เสียก่อน ฉะนั้น การที่โจทก์จำเลยได้ไปอำเภอในวันที่ 1 สิงหาคม 2510 ตามสัญญา ก็เพื่อจะดำเนินการประกาศขายดังกล่าวข้างต้น แต่จำเลยกลับไม่ยอมประกาศขายโดยอ้างเหตุว่าโจทก์มีเงินสดชำระเพียง 20,000 บาท ส่วนอีก 37,500 บาทโจทก์จะขอจ่ายเป็นเช็คลงวันล่วงหน้า ในเมื่อครบประกาศแล้วหนึ่งเดือนข้ออ้างดังกล่าวของจำเลยฟังไม่ขึ้น เพราะเหตุว่าในวันนั้นโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผู้ซื้อยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าที่ดินให้กับจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายผู้ขายแต่อย่างใดเลย