พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเงินฝากประจำโดยการทำหนังสือและบอกกล่าวเจตนา ถือเป็นการโอนสมบูรณ์
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำทั้งสามรายการเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินจำนวนดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่จำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนพร้อมดอกเบี้ยเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
การที่ ฉ. มีเจตนายกเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และได้ทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้โดยปริยายว่ามีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของ ฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ฉ. ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง การโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมสมบูรณ์ สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น เมื่อ ฉ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ฉ. โดยคำสั่งของศาลชั้นต้น ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินฝากประจำดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 1
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่จำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนพร้อมดอกเบี้ยเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
การที่ ฉ. มีเจตนายกเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และได้ทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้โดยปริยายว่ามีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของ ฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ฉ. ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง การโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมสมบูรณ์ สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น เมื่อ ฉ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ฉ. โดยคำสั่งของศาลชั้นต้น ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินฝากประจำดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเงินฝากประจำ: การแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจและเจตนาโอนสิทธิ
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่ง
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจากเงินฝากประจำไม่ใช่การชำระหนี้โดยตรง ต้องใช้หมายบังคับคดี
สมุดเงินฝากของธนาคารซึ่งจำเลยนำมาวางต่อศาลชั้นต้นเป็นประกันในการขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างฎีกามิใช่เป็นตัวเงินที่นำมาวางเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา แม้จำเลยแถลงต่อศาลขอชำระหนี้โดยยอมให้โจทก์รับเงินจากสมุดเงินฝากดังกล่าวไปได้ โจทก์ก็ไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากนั้นให้โจทก์ได้ วิธีการที่ศาลจะให้ธนาคารส่งเงินตามสมุดเงินฝากมาเพื่อจ่ายให้โจทก์จำต้องดำเนินการตามหมายบังคับคดีกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3476/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการหักกลบลบหนี้จากเงินฝากประจำหลังสัญญาสิ้นสุด ต้องกระทำภายในสัญญากำลังมีผลบังคับใช้
แม้ตามข้อตกลงจะแสดงว่าธนาคารโจทก์มีสิทธิและอำนาจหักทอนบัญชีนำเงินฝากประจำตามสมุดคู่ฝากเงินที่จำเลยจำนำไว้แก่โจทก์มาหักกลบลบหนี้กับยอดเงินเบิกเกินบัญชีได้เมื่อใดก็ตามแต่สิทธิและอำนาจนี้โจทก์ต้องดำเนินการในระหว่างสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลใช้บังคับเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันว่าไม่มีรายการเดินสะพัดทางบัญชีอันจะเป็นหลักฐานว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อปีอีกนับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันที่5พฤศจิกายน2534ทั้งสมุดเงินฝากประจำก็ปิดบัญชีแล้วในวันที่11กันยายน2534คงมีแต่จำเลยได้นำเงินบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตามยอดเงินที่ค้างชำระในวันที่8พฤษภาคม2535จำนวน353,997.70บาทเท่านั้นหาเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีแต่อย่างใดไม่แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะเดินสะพัดทางบัญชีกับจำเลยอีกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่5พฤศจิกายน2534เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธินำเงินฝากประจำตามสมุดคู่ฝากเงินที่จำเลยจำนำไว้แก่โจทก์มาหักโอนชำระหนี้แก่โจทก์ทันทีหลังจากนั้นหากจำเลยยังค้างชำระหนี้อยู่จำนวนเท่าใดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินดังกล่าวแบบไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ19ต่อปีจนกว่าจะชำระเสร็จเท่านั้นหาใช่โจทก์จะใช้สิทธิและอำนาจคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตามอำเภอใจเมื่อใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิธนาคารในการเบิกเงินเกินบัญชี ดอกเบี้ย การนำเงินฝากประจำมาชำระหนี้ และการฟ้องร้องบังคับคดี
จำเลยรับว่าจำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันตามหนังสือขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งระบุว่าจำเลยทราบประเพณีการค้าของธนาคารและระเบียบการบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของธนาคารตามที่ได้รับไปแล้ว และจำเลยยินยอมผูกพันตามประเพณีและระเบียบการที่ได้กำหนดไว้ เช่นนี้ การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้รับระเบียบการบัญชีเงินฝากกระแสรายวันจึงรับฟังไม่ได้ ข้อตกลงที่จำเลยยอมให้โจทก์นำเงินฝากประจำของจำเลยไปชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีได้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ หนังสือขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเป็นเพียงคำเสนอฝ่ายเดียวของจำเลยในการขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ไม่ใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ดังนั้นเอกสารดังกล่าวจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีคือสัญญาบัญชีเดินสะพัดซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือดังนั้น แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากเงินฝากประจำก่อนล้มละลาย: การยินยอมของลูกหนี้และการกระทำที่ไม่เข้าข่ายการเพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ธนาคารผู้คัดค้านโอนเงินฝากประจำของลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดลูกหนี้ที่ 1 ไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของลูกหนี้ที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2522 เป็นการชำระหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารเพื่อหักหนี้ เกิดจากหนังสือค้ำประกันยินยอมการหักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างลูกหนี้ที่ 2 กับธนาคารผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2520 ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2522 ธนาคารผู้คัดค้านในฐานเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้ค้ำประกัน และเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้เงินฝากประจำที่ธนาคารรับฝากไว้ แม้ว่าจะไม่มีข้อตกลงดังกล่าว ธนาคารผู้คัดค้านก็มีสิทธิที่จะหักลบกลบหนี้ระหว่างหนี้ตามสัญญาค้ำประกันกับมูลหนี้เงินฝากประจำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 ทั้งตามมาตรา 115 ใช้คำว่าลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ มุ่งถึงกิริยาที่ยินยอม มิได้ใช้คำว่าผู้อื่นทำด้วยความยินยอมของลูกหนี้ ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2522 ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมยให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามมาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวไม่ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2527)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2527)