คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินมัดจำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7122/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 377: การชำระราคาที่ดินเป็นงวดไม่ใช่เงินมัดจำ สิทธิริบเบี้ยปรับ
คำว่า "มัดจำ" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 คือทรัพย์สินซึ่งได้ให้ไว้ในวันทำสัญญา ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ไว้ในวันอื่น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญาโจทก์ผู้จะซื้อได้วางเงินมัดจำไว้ส่วนหนึ่งเป็นเงิน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือจำนวน 914,000 บาท จะชำระเป็นงวดรายเดือน จำนวน 10 เดือน ดังนั้น เงินที่วางมัดจำไว้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจึงมีเพียง 10,000 บาท เท่านั้น ส่วนเงินค่างวดที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยทั้งสามอีก 10 งวด เป็นเงิน 170,000 บาท นั้น แม้ตามสัญญาจะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำ ก็ไม่ใช่เงินมัดจำตามความหมายดังกล่าว แต่เป็นเพียงการชำระราคาที่ดินบางส่วน เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยทั้งสามบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 10,000 บาท ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) ส่วนเงินที่โจทก์ชำระค่าที่ดินบางส่วนดังกล่าว จำเลยทั้งสามต้องให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 แต่การที่โจทก์และจำเลยทั้งสามตกลงกันให้ริบเงินดังกล่าวได้ตามสัญญาข้อ 13 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ถ้าสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินไม่สมบูรณ์จากเหตุพ้นวิสัย ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำคืน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพราะไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้แก่โจทก์ได้ และโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ดังนี้ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินมัดจำที่ให้ไว้คืนและหากโจทก์ได้รับความเสียหายก็มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 หลังโจทก์และจำเลยทั้งหกทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันแล้ว กรุงเทพมหานครได้เข้าทำถนนในที่ดินดังกล่าวก่อนวันนัดโอนกรรมสิทธิ์โดยอ้างว่าเจ้าของที่ดินเดิมยกที่ดินบางส่วนให้เป็นที่สาธารณะ แต่ในสารบัญจดทะเบียนที่ดินไม่ปรากฏว่าเจ้าของเดิมได้จดแจ้งลงในสารบัญจดทะเบียนแต่อย่างใด จำเลยทั้งหกจึงน่าจะไม่ทราบเรื่องที่เจ้าของเดิมยกที่ดินบางส่วนให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การที่จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินให้โจทก์ได้ครบถ้วนตามสัญญาจึงเป็นเรื่องพ้นวิสัยเนื่องจากเหตุซึ่งจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าปรับหรือค่าเสียหายจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำที่ดินแปลงเป็นเงินกู้ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39
เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระบุไว้ชัดเจนว่าผู้โอนได้รับเงินมัดจำจากผู้รับโอนไปถูกต้องแล้ว แม้ผู้รับโอนจะทำสัญญากู้เงินจากผู้โอนไว้ เป็นจำนวนเงินเท่ากับจำนวนเงินมัดจำ ก็เท่ากับผู้โอนมอบเงินมัดจำนั้นให้เป็นเงินกู้แก่ผู้รับโอน เงินมัดจำดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ สิทธิเรียกร้องจากค้ำประกันขึ้นอยู่กับความรับผิดของลูกหนี้
จำนวนเงินตามหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ บริษัท ล. ผู้รับจ้างนำไปมอบให้โจทก์ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา มิใช่เงินที่บริษัท ล. มอบให้โจทก์ทันทีขณะทำสัญญา แต่เป็นเพียงหลักประกันเบื้องต้นเพื่อที่จะให้โจทก์เชื่อได้ว่า บริษัท ล. จะปฏิบัติตามสัญญา และหากบริษัท ล. ผิดสัญญาโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ผู้ออกหนังสือค้ำประกันนั้นแทน จำนวนเงินตามสัญญาไม่ใช่เงินมัดจำที่บริษัท ล. ให้ไว้แก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 377 และ 378 จึงมิใช่หลักประกันที่โจทก์จะริบได้ทันทีเมื่อบริษัท ล. ผิดสัญญา แต่จะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา และเป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ความสะดวกในวิธีการบังคับชำระหนี้หากมี และจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ล. ต้องรับผิดชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่ากับความรับผิดที่บริษัท ล. ต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายบังคับคดี: สิทธิในการบอกเลิกสัญญาและการคืนเงินมัดจำเมื่อจำเลยคัดค้านการขาย
ตามสัญญาซื้อขายทรัพย์พิพาทจากการขายทอดตลาดระหว่างผู้ร้องกับเจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้ร้องจะต้องนำเงินที่ค้างชำระไปชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันซื้อ ถ้าไม่นำเงินที่เหลือมาชำระให้เสร็จภายในกำหนดดังกล่าว ผู้ร้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีริบเงินมัดจำที่ได้วางไว้ ฯลฯ เช่นนี้ เป็นสัญญาซื้อขายที่บริบูรณ์และเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่ผู้ร้องขอรับเงินมัดจำคืนและเจ้าพนักงานบังคับคดียอมคืนเงินมัดจำให้แก่ผู้ร้องบางส่วนแต่ยังคงเหลือไว้ร้อยละ 5 ของราคาทรัพย์พิพาทนั้น เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการบรรเทาความเดือนร้อนให้แก่ผู้ร้องเพราะผู้ร้องยังไม่อาจจดทะเบียนรับโอนทรัพย์พิพาทพร้อมทั้งวางเงินค่าทรัพย์พิพาทที่เหลือทั้งหมดเนื่องจากจำเลยคัดค้านการขายทอดตลาดส่วนการที่จำเลยคัดค้านการขายทอดตลาดเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถใช้สอยประโยชน์ในทรัพย์พิพาทได้ตามความประสงค์นั้นเป็นเรื่องความคาดหวังในการประกอบธุรกิจของผู้ร้องเอง แต่ทรัพย์พิพาทมิได้เสียหายแต่ประการใด ในทางตรงกันข้ามผู้ร้องยังกลับจะได้ประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิมเพราะระยะเวลาที่ผ่านไปหลายปีราคาทรัพย์พิพาทอาจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ร้องยังสามารถซื้อทรัพย์พิพาทได้ในราคาเท่ากับเมื่อหลายปีที่ผ่านมาโดยวางเงินมัดจำเพียงร้อยละ 5 ของราคาทรัพย์พิพาทเท่านั้น กรณีมิใช่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 อันว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงมิอาจขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดและขอคืนเงินมัดจำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6375/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขายท่อเพื่อหักเงินมัดจำ: จำเลยไม่ยินยอม โจทก์ไม่มีสิทธิขาย
การที่โจทก์ตกลงซื้อลมและแก๊สจากจำเลยโดยโจทก์วางเงินมัดจำ(ประกัน)ค่ายืมท่อบรรจุลมและแก๊สไว้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยมารับท่อและคืนเงินมัดจำ มิฉะนั้นจะนำท่อออกขายทอดตลาด อันเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์แม้จำเลยได้ทราบแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้ตกลงด้วย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำท่อออกขายตามที่ได้แจ้ง ทั้งนี้เพราะสัญญาซื้อขายและสัญญายืมท่อระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิที่จะขายท่อของจำเลยเพื่อนำเงินมาหักออกจากเงินมัดจำค่ายืมท่อ แม้จำเลยจะมีหน้าที่ต้องคืนเงินมัดจำค่ายืมท่อให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องคืนท่อให้แก่จำเลยเช่นกัน เมื่อโจทก์นำท่อของจำเลยไปขายโดยไม่มีสิทธิที่จะทำได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำท่อแก่โจทก์ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาสั่งจองรถ: การคืนรถยนต์และเงินมัดจำเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมตามกฎหมาย
โจทก์สั่งจองรถยนต์จากจำเลยโดยได้วางเงินมัดจำเป็นเช็คจำนวน 300,000 บาท กับได้มอบรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับบลิวของโจทก์ซึ่งได้ตีราคาไว้ 400,000 บาท ให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ยกเลิกการสั่งจองและจำเลยได้คืนเงินมัดจำที่ได้รับไว้ตามเช็คให้แก่โจทก์แล้ว แสดงว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมเลิกสัญญาการจองรถที่มีอยู่ต่อกันนั้นโดยปริยาย กรณีเช่นนี้ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์สั่งจองรถยนต์จากจำเลยโดยวางเงินมัดจำเป็นจำนวน 300,000 บาท กับได้มอบรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับบลิวของโจทก์ซึ่งตีราคาไว้ 400,000 บาท ให้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ยกเลิกการสั่งจอง จำเลยคืนเงินให้ 300,000 บาท ส่วนเงินอีก 400,000 บาท จำเลยไม่คืนให้ ขอให้บังคับจำเลยคืนเงิน 400,000 บาทแก่โจทก์ ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายมาโดยชัดแจ้งว่าโจทก์นำรถไปแลกเปลี่ยนเพื่อให้จำเลยตีราคามูลค่าเป็นเงิน และในใบสั่งจองรถก็ระบุให้รถยนต์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่โจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยครั้งแรกเมื่อออกรถ แสดงให้เห็นว่าการที่โจทก์จำเลยตีราคารถยนต์บีเอ็มดับบลิวก็โดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของราคารถที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลย การที่จำเลยรับรถยนต์ของโจทก์ไว้จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์สละการครอบครองให้รถตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยเด็ดขาดในทันทีไม่ เมื่อผลของการเลิกสัญญาทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม และรถยนต์ที่โจทก์มอบให้แก่จำเลยอันเป็นส่วนหนึ่งของราคารถที่โจทก์ต้องชำระให้แก่จำเลยยังอยู่ที่จำเลยและอยู่ในวิสัยที่จะส่งมอบคืนแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องรับรถยนต์ดังกล่าวคืน แม้โจทก์มิได้ฟ้องบังคับให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ ศาลก็ชอบพิพากษาให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ได้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 391 ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ, สัญญาโมฆะ, และการเรียกคืนเงินมัดจำตามหลักลาภมิควรได้
วันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้ววินิจฉัยว่าคดีนี้มูลคดีเดียวกันกับคดีก่อน จึงเป็น การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 มีคำสั่งให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ให้รับฟ้องประเด็นเรื่องค่าเสียหาย การที่จำเลยฎีกาว่าไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยประเด็นเรื่องค่าเสียหาย ขอให้บังคับคดีตามศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ขอให้จำเลยชนะคดีในปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามคำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ข) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพิ่มเติมอย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงเป็น คำสั่งที่ไม่ชอบ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตาม จึงไม่เป็นการทิ้งฎีกา
ประเด็นเรื่องค่าเสียหายเพิ่มเป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณาสืบต่อเนื่องจากประเด็นเรื่องผิดสัญญาหรือไม่ เมื่อคดีก่อนฟังได้ว่าสัญญาเป็นโมฆะ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยในประเด็นเรื่องค่าเสียหายต่อไป และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นที่เกี่ยวกับคดีนี้แล้ว จึงต้องห้ามดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
โจทก์ชำระมัดจำหรือเงินราคาค่าซื้อขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายที่ดินที่ห้ามโอนซึ่งเป็นโมฆะ จึงเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย โจทก์จึงไม่อาจเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8751/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำสัญญาซื้อขายที่ดิน, การบอกเลิกสัญญา, เบี้ยปรับ, การคืนเงิน
มัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 จะต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้ให้ในวันทำสัญญา ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างข้อ 1.2 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินจองไว้แล้วและข้อ 2 ระบุว่าผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อ 1 โดยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ดังนี้ เงินค่าจองและเงินที่ชำระงวดที่ 1 ซึ่งชำระในวันทำสัญญาจึงเป็นเงินมัดจำตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าวมาข้างต้น จำเลยมีสิทธิรับได้ทั้งสองจำนวน ส่วนเงินที่ชำระภายหลังจากนั้นไม่ใช่เงินมัดจำแต่เป็นเงินที่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบางส่วนล่วงหน้าเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา หนี้ตามสัญญาย่อมระงับลง เงินที่ส่งมอบแก่กันเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 391 เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนข้อตกลงที่ให้ริบเงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามนัยมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8751/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ ต้องชำระในวันทำสัญญา ส่วนเงินผ่อนชำระหลังวันทำสัญญาเป็นเพียงการชำระราคาส่วนหนึ่ง
มัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377จะต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้ให้ในวันทำสัญญา ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างข้อ 1.2 ระบุว่าในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินจองไว้แล้ว และข้อ 2 ระบุว่าผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อ 1 โดยแบ่งชำระเป็นงวด ๆดังนี้ เงินค่าจองและเงินที่ชำระงวดที่ 1 ซึ่งชำระในวันทำสัญญาจึงเป็นเงินมัดจำส่วนเงินที่ชำระภายหลังจากนั้นไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นเงินที่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบางส่วนล่วงหน้า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาหนี้ตามสัญญาย่อมระงับลง เงินที่ส่งมอบแก่กันเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืน ข้อตกลงที่ให้ริบเงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามนัยมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
of 17