พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความเจตนาจริงจากคำขอท้ายฟ้องที่มีตัวเลขและตัวอักษรไม่ตรงกัน ศาลยึดเจตนาที่ชัดเจน ไม่ใช่ตัวอักษรตามกฎหมาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายไว้ว่า ในวันและเวลาเกิดเหตุล. ได้ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปตามถนนเมื่อถึงบริเวณที่เกิดเหตุมีจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 สวนทางมาด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเข้ามา ชนรถที่ ล. ขับทำให้รถของ ล. ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้จัดการซ่อมแซมรถยนต์ คันดังกล่าวไปเป็นจำนวนเงิน 101,492 บาท และค่ายกลากรถ 1,250 บาท รวมเป็นเงิน 102,742 บาท โจทก์จึง ได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง ดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,605 บาท จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันหรือแทนกันใช้เงิน 104,347 บาท ให้โจทก์ และในคำขอท้ายคำฟ้องระบุว่า ให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหาย แก่โจทก์จำนวน 104,347 บาท แล้วมีข้อความในวงเล็บว่า(หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) คำฟ้องของโจทก์ ดังกล่าวแสดงให้เห็นที่มาของตัวเลขค่าเสียหาย 104,347 บาท ว่าเป็นค่าอะไหล่และค่าซ่อมจำนวนหนึ่ง ค่ายกลากรถจำนวนหนึ่ง และค่าดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเงินสามจำนวนเมื่อรวมกัน แล้วจะเป็น 104,347 บาท ดังนี้ การที่มีข้อความในวงเล็บ ต่อท้าย 104,347 บาทว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน)นั้น จึงเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด กรณีเช่นนี้มิใช่กรณีจำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลขถ้าตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็น ตัวอักษรเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12 เพราะฟ้องโจทก์สามารถหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงโดยชัดเจนว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายจำนวน 104,347 บาท ไม่ใช่ "หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน" ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2ชำระเงินจำนวน 102,742 บาท พร้อมดอกเบี้ย จึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาแบ่งพินัยกรรมและแผนที่สังเขป ต้องพิจารณาเจตนาจริงของคู่สัญญาเหนือถ้อยคำตามตัวอักษร
ป.พ.พ. มาตรา 132 เดิม (มาตรา 171 ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติไว้ว่า "ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ท่านให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร" ดังนั้น ในการพิจารณาปัญหาว่าโจทก์จำเลยตกลงแบ่งที่ดินกันอย่างไรจึงต้องพิจารณาจากสัญญาแบ่งพินัยกรรม และแผนที่สังเขปแนบท้ายสัญญาที่คู่ความอ้างส่งเป็นพยานหลักฐานในคดีประกอบกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินโดยปราศจากเจตนาจริงและการครอบครองปรปักษ์ ผลกระทบต่อบุคคลภายนอกสุจริต
ผู้ร้องอ้างว่าได้ทำนิติกรรมยกทรัพย์พิพาทของตนให้จำเลยที่1โดยมิได้มีเจตนายกให้จริงๆแต่จำเลยที่1นำทรัพย์ดังกล่าวไปขายให้จำเลยที่3แล้วต่อมาโจทก์ได้รับจำนองทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยที่3ข้ออ้างของผู้ร้องที่ว่านี้จะยกขึ้นต่อสู้จำเลยที่3หรือโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นหาได้ไม่. แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าตนครอบครองที่ดินทรัพย์พิพาทตลอดมาเป็นเวลาเกือบ20ปีก็ตาม.แต่เมื่อทำหนังสือแบ่งให้ที่ดินแก่จำเลยที่1โดยมีการจดทะเบียนที่ดินกรณีต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373เมื่อนับตั้งแต่วันที่ผู้ร้องทำหนังสือแบ่งให้ที่ดินแก่จำเลยที่1ถึงวันที่ยื่นคำร้องยังไม่ถึง10ปีผู้ร้องจะอ้างว่าตนได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382หาไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และเจตนาจริงในการยกที่ดิน แม้เอกสารระบุผู้รับยกให้เพียงคนเดียว ศาลให้กันส่วนเงินจากการขายทอดตลาด
ที่ดินที่โจทก์นำยึดเป็นที่ดินมี น.ส.3 และมีชื่อจำเลยเป็นผู้รับยกให้จาก ว. การที่ผู้ร้องนำสืบว่า ว. ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยและผู้ร้องตามคำสั่งของบิดามารดาผู้วายชนม์ แต่ในวันจดทะเบียนโอนผู้ร้องป่วย ไปรับโอนไม่ได้ จึงลงชื่อจำเลยเป็นผู้รับการยกให้แต่ผู้เดียวและหลังจากได้รับที่ดินแล้ว ผู้ร้องกับจำเลยได้นำเงินที่ทำมาหาได้ร่วมกันปลูกเรือนลงในที่ดินนั้นและใช้อยู่อาศัยด้วยกันมา เป็นเวลากว่า10 ปีแล้ว นั้น เป็นการนำสืบถึงเหตุแห่งความจริงเจตนาและความสัมพันธ์ของผู้ให้กับผู้รับการยกให้ แม้ตามเอกสารจะมีชื่อจำเลยเป็นผู้รับการยกให้แต่เพียงคนเดียวก็ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจริงของสัญญา การนำสืบหักล้างหนี้ และการพิสูจน์จำนวนเงินที่รับจริง
จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์เพราะโจทก์ตกลงซื้อสวนมะพร้าวจำเลย จำเลยรับเงินไปจากโจทก์จำนวนหนึ่งซึ่งจะถือเป็นค่าสวนมะพร้าวต่อเมื่อจำเลยสามารถโอนสวนมะพร้าวให้โจทก์ได้ มิใช่โจทก์จำเลยเจตนากู้เงินกัน 60,000 บาทการทำสัญญากู้จึงเห็นการเอาหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวมาทำเป็นสัญญากู้เงินมิใช่รับเงินเนื่องจากการกู้เงินกันโดยแท้จริงในขณะทำสัญญากู้ยังไม่รู้ว่าจำเลยจะต้องคืนเงินหรือไม่แล้วแต่หนี้ที่จะเกิดจากสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวอีกส่วนหนึ่งเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีในการทำสัญญากู้ที่ให้บังคับกันได้ก็คือให้ใช้เงินคืนแก่กันในลักษณะกู้เงินตามจำนวนที่จะต้องคืนโดยอาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวซึ่งหากจะต้องมีการคืนหรือหักเงินกันต่อไปข้างหน้าจำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบว่าความจริงจำเลยรับเงินไปจากโจทก์เพียง 10,000 บาท มิใช่การนำสืบแปลหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร หากแต่เป็นการนำสืบหักล้างตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำนวนหนี้ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์เพราะไม่ใช่เจตนาที่แท้จริงจำเลยมีสิทธิจะนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขัดแย้งกัน ศาลต้องสืบพยานเพื่อหาเจตนาจริงของคู่สัญญา
เมื่อข้อความในสัญญาฉบับเดียวกันขัดแย้งกันเองและไม่ชัดเจนพอที่จะพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาได้ ศาลจะให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียโดยพิจารณาแต่เพียงตัวสัญญาเท่านั้นย่อมไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้ ศาลต้องสืบพยานต่อไปตามข้อต่อสู้ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: เจตนาจริงสำคัญกว่าเอกสาร
นิติกรรมอำพรางนั้น หมายถึงบุคคลสองฝ่ายตกลงทำนิติกรรมอันหนึ่ง แต่ไม่แสดงเจตนาออกมาเช่นนั้น แสร้งทำเป็นนิติกรรมอีกอันหนึ่งเพื่ออำพรางนิติกรรมที่เขาแสดงเจตนาอันแท้จริง ผูกนิติสัมพันธ์กันขึ้นนั้นกฎหมายจึงให้บังคับตามเจตนาอันแท้จริงนั้นได้
กรณีที่จำเลยได้แสดงเจตนาตกลงกับโจทก์ และจดทะเบียนแสดงเจตนานั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของจำเลยไปให้โจทก์เป็นการขายฝากแล้วนั้น จำเลยจะขอสืบพยานว่าพฤติการณ์เป็นจำนอง โดยไม่มีสัญญาจำนองอันแท้จริงอีกอันหนึ่ง หาได้ไม่ เพราะเป็นการขอสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
กรณีที่จำเลยได้แสดงเจตนาตกลงกับโจทก์ และจดทะเบียนแสดงเจตนานั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของจำเลยไปให้โจทก์เป็นการขายฝากแล้วนั้น จำเลยจะขอสืบพยานว่าพฤติการณ์เป็นจำนอง โดยไม่มีสัญญาจำนองอันแท้จริงอีกอันหนึ่ง หาได้ไม่ เพราะเป็นการขอสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เจตนาจริงของนิติกรรมและการสืบพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อความในเอกสารสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กู้เงิน ฮ..ฮ. ให้โจทก์ทำสัญญาเป็นขายที่ดินให้ ฮ. ตกลงกันว่าโจทก์ใช้เงินกู้คืนแล้วฮ. โอนที่ดินคืนให้ โจทก์ใช้เงินแล้ว ฮ.ตายเสียกอนโอน จำเลยกลับอ้างว่า เป็นหุ้นส่วนเจ้าของที่ดินร่วมกับ ฮ. โจทก์จึงขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ ดังนี้ โจทก์นำสืบพยานบุคคลได้ ไม่เป็นการสืบแก้ไขเอกสารสัญญาขายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: คู่ความนำสืบเจตนาจริงได้ แม้มีข้อความในเอกสารที่ขัดแย้ง แต่ต้องเป็นไปตามเจตนาเดิมที่ตกลงกัน
คู่ความย่อมนำสืบเจตนาอันแท้จริงเรื่องนิติกรรมอำพรางได้ ไม่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลแก้ไขข้อความในเอกสาร
โจทย์ฟ้องขอให้บังคับให้ขาย เมื่อทางพิจารณาปรากฎว่าเป็นเรื่องแลกเปลี่ยน โจทก์จะขอให้ศาลบังคับให้แลกเปลี่ยน โดยอ้าง ป.พ.พ.ม. 519 ไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับเช่นนั้น
โจทย์ฟ้องขอให้บังคับให้ขาย เมื่อทางพิจารณาปรากฎว่าเป็นเรื่องแลกเปลี่ยน โจทก์จะขอให้ศาลบังคับให้แลกเปลี่ยน โดยอ้าง ป.พ.พ.ม. 519 ไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: การนำสืบเจตนาจริงเพื่อบังคับตามสัญญาแลกเปลี่ยน แม้ฟ้องขอให้บังคับขาย
คู่ความย่อมนำสืบเจตนาอันแท้จริงเรื่องนิติกรรมอำพรางได้ไม่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้ขายเมื่อทางพิจารณาปรากฏว่าเป็นเรื่องแลกเปลี่ยน โจทก์จะขอให้ศาลบังคับให้แลกเปลี่ยนโดยอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519 ไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับเช่นนั้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้ขายเมื่อทางพิจารณาปรากฏว่าเป็นเรื่องแลกเปลี่ยน โจทก์จะขอให้ศาลบังคับให้แลกเปลี่ยนโดยอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519 ไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับเช่นนั้น