พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,539 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8104/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการคัดค้านการบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเป็นเจ้าหนี้/ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือมีสิทธิที่จดทะเบียน/ยื่นคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยพร้อมบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเลขที่ 32 และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี และนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปปิดประกาศให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของจำเลยยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาล ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนหมายบังคับคดีและประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดี อ้างว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 67987 ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และบ้านเลขที่ 32 และผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นฟ้องโจทก์กับพวกต่อศาลชั้นต้นเป็นอีกคดีหนึ่งเพื่อขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าว เมื่อผู้ร้องทั้งสองเป็นเพียงผู้ที่ได้ยื่นฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยต่อศาล และแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าผู้ร้องทั้งสองมีสิทธิครอบครองในบ้านเลขที่ 32 และให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 67987 ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่เมื่อคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 280 ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายบังคับคดีและประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7972/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ชั่วคราวกับการบังคับคดี: เจ้าหนี้อื่นต้องดำเนินการยึดทรัพย์จากศาลที่ออกหมายยึดชั่วคราว
การยึดทรัพย์สินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) ซึ่งเป็นวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องห้ามที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะยึดทรัพย์สินนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจึงต้องไปดำเนินการยึดทรัพย์ที่ถูกยึดไว้ชั่วคราวนั้นจะมายื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายยึดทรัพย์นั้นชั่วคราวเพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่ได้ คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยได้ก่อนศาลมีคำพิพากษาคดีนี้ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7924/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีเช่าซื้อ โดยแยกหนี้ค่าเช่าซื้อออกจากหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม
หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นหนี้ที่เกิดจากจำเลยค้างชำระหนี้ค่าเช่าซื้อต่อผู้ร้อง ส่วนการที่ผู้ร้องยึดรถบรรทุกจากจำเลยเป็นการที่ผู้ร้องใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของผู้ใช้เช่าซื้อยึดทรัพย์สินจากจำเลยในกรณีจำเลยผิดสัญญา ซึ่งถือว่าเป็นการเลิกสัญญาโดยปริยาย หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมจึงเป็นหนี้ที่ผู้ร้องฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่จำเลยค้างชำระก่อนเลิกสัญญา ส่วนการที่ผู้ร้องยึดรถบรรทุกกลับคืนมาแล้วนำออกจำหน่ายหากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวต่อไปในระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเลิกสัญญา หนี้ทั้งสองกรณีดังกล่าวจึงเป็นหนี้คนละส่วนกัน ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กันได้ เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่นๆ ของจำเลย ผู้ร้องจึงมีสิทธิเข้าเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สินที่โอนให้บุตรเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิขอให้ศาลสั่งยึดได้โดยไม่ต้องเพิกถอนนิติกรรมก่อน
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า กรณีของผู้คัดค้านเป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านได้รับโอนทรัพย์สินมาจากนิติกรรมที่ทำขึ้นภายหลังเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเสียเปรียบ นิติกรรมการยกให้ระหว่าง ธ. กับผู้คัดค้านมีผลสมบูรณ์แล้ว โจทก์จึงต้องใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสียก่อนจึงจะยึดทรัพย์บังคับคดีต่อไปได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์สินของผู้คัดค้านในชั้นนี้ไปทีเดียว จึงเป็นการใช้สิทธิที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ปัญหาดังกล่าวจะมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่ปัญหาในเรื่องอำนาจยื่นคำร้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อเท็จจริงที่นำมาสู่ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวก็เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์มิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอนำยึดเป็นของจำเลยโดยเป็นสินสมรสของจำเลยกับสามีแต่ได้โอนให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยสมยอมเพื่อยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้พ้นจากการบังคับคดีและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าว เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการยึด โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. 283 วรรคสอง โจทก์ไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เสียก่อน ทั้งการที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของโจทก์ ถือว่าผู้คัดค้านได้เข้ามาในคดีแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยข้ออ้างของโจทก์และข้อเถียงของผู้คัดค้านที่โต้แย้งกันนั้นได้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอนำยึดเป็นของจำเลยโดยเป็นสินสมรสของจำเลยกับสามีแต่ได้โอนให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยสมยอมเพื่อยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้พ้นจากการบังคับคดีและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าว เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการยึด โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. 283 วรรคสอง โจทก์ไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เสียก่อน ทั้งการที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของโจทก์ ถือว่าผู้คัดค้านได้เข้ามาในคดีแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยข้ออ้างของโจทก์และข้อเถียงของผู้คัดค้านที่โต้แย้งกันนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6346/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ต้องทำเป็นหนังสือ การฟ้องสัญญากู้เงินที่ไม่สมบูรณ์
อ. บิดาโจทก์มอบหมายให้จำเลยเป็นตัวแทนไปติดต่อขอเช่าที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์และมอบเงินจำนวน 4,000,000 บาท ให้แก่จำเลยไปใช้เป็นค่าดำเนินการและค่าเช่าพื้นที่ จำเลยจึงเป็นตัวแทนของ อ. เงินที่จำเลยรับมาจาก อ. จึงเป็นเงินที่จำเลยรับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนซึ่งจำเลยสัญญาว่าจะส่งคืนให้เนื่องจากกิจการที่ทำการแทนไม่สำเร็จลุล่วง จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ อ. ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์กับจำเลยเจรจาตกลงทำสัญญากู้เงินกัน โดยระบุว่าโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนให้แก่ อ. จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จาก อ. มาเป็นโจทก์และเปลี่ยนมูลหนี้ตามสัญญาตัวแทนมาเป็นมูลหนี้ตามสัญญากู้เงิน ซึ่งการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคสาม นั้น ต้องบังคับด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ว่าด้วยโอนสิทธิเรียกร้องโดยต้องทำเป็นหนังสือ แต่ไม่ปรากฏว่า อ. ได้โอนหนี้ที่จำเลยมีอยู่แก่ตนให้แก่โจทก์โดยทำเป็นหนังสือ จึงไม่เป็นการโอนหนี้ที่สมบูรณ์ แม้จะได้ความว่า อ. มอบหมายให้โจทก์ดำเนินการเรื่องนี้ทั้งหมด โจทก์ก็มีฐานะเป็นเพียงตัวแทน อ. ทั้งไม่ปรากฏว่า อ. ดำเนินกิจการโรงเรียนร่วมกับโจทก์อันจะถือว่าจำเลยเป็นตัวแทนโจทก์ด้วย และการทำสัญญากู้เงินก็ไม่ปรากฏว่า อ. มีส่วนเกี่ยวข้องหรือร่วมรู้เห็นด้วยแต่ประการใด ดังนี้เมื่อจำเลยไม่มีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ย่อมไม่มีหนี้เดิมที่จะแปลงเป็นมูลหนี้ตามสัญญากู้เงินได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 604/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นเจ้าหนี้แทนผู้ตายหลังมีคำพิพากษา: สิทธิการรับมรดกและการบังคับคดี
คำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ น. เพื่อให้แบ่งทรัพย์มรดกและขอให้ถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. อันเป็นการพิพาทในฐานะจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ซึ่งต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกของ น. ให้แก่โจทก์ หาได้พิพาทกันในฐานะส่วนตัวไม่ ดังนั้นการที่ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิของโจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ฟ้องมารดาซึ่งเป็นบุพการีของตน กรณีจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
แม้ผู้ร้องจะไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้เพราะคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้นก่อนแล้วก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ก็เพื่อมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยในฐานะจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ น. และโจทก์มีสิทธิดังกล่าวก่อนที่จะถึงแก่กรรม เมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมจึงตกทอดแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นผู้รับมรดกของโจทก์และเป็นผู้รับพินัยกรรมย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 จึงมีสิทธิที่จะเข้าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์และดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้
แม้ผู้ร้องจะไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้เพราะคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้นก่อนแล้วก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ก็เพื่อมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยในฐานะจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ น. และโจทก์มีสิทธิดังกล่าวก่อนที่จะถึงแก่กรรม เมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมจึงตกทอดแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นผู้รับมรดกของโจทก์และเป็นผู้รับพินัยกรรมย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 จึงมีสิทธิที่จะเข้าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์และดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6036/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำในชั้นบังคับคดี: การขอสวมสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 25 สิงหาคม 2548 เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่ เมื่อพิจารณาเนื้อหาของคำร้องทั้งสองฉบับประกอบกันแล้ว เห็นว่า เป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอสวมสิทธิโจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้รายเดียวกันเพื่อผู้ร้องจะได้บังคับคดีต่อ จึงมีประเด็นที่ศาลต้องพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีแทนโจทก์หรือไม่เช่นเดียวกันทั้งสองฉบับ หาใช่ประเด็นแห่งคดีของคำร้องทั้งสองฉบับแตกต่างกันดังที่ผู้ร้องอุทธรณ์ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องฉบับลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2548 อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเรื่องการขอเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์ในการขอบังคับคดีต่อผู้ร้องแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 25 สิงหาคม 2548 ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในเรื่องเดียวกันอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5371/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดจ่ายเงินวางศาลกรณีลูกหนี้มีหนี้อื่นตามคำพิพากษา เพื่อบังคับคดีตามสิทธิเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างจำนวน 8,000 บาท และคืนเงินประกันการทำงานจำนวน 3,000 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 11,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ยักยอกเงินโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยที่ 2 คืนเงินที่ยักยอก ศาลแรงงานกลางพิพากษายกคำขอของโจทก์ที่ให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินที่ยักยอกไปจำนวน 77,281.25 บาท โจทก์ยื่นคำร้องขอให้งดการจ่ายเงินที่โจทก์นำมาวางศาลก่อนฟ้องคดีให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนี้เห็นว่า วัตถุประสงค์ของการวางเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสาม ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่าเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงิน ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างที่ถึงแก่ความตายจะได้รับเงินตามจำนวนที่มีสิทธินั้น เงินที่นายจ้างนำไปวางจึงยังไม่ตกเป็นของลูกจ้าง สำหรับกรณีนี้แม้จะยุติว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเนื่องจากศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 แต่ศาลแรงงานกลางก็พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินที่จำเลยที่ 2 ยักยอกไป จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ในหนี้เงินที่จำเลยที่ 2 ยักยอกไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางงดการจ่ายเงินที่โจทก์ได้วางศาลไว้ก่อนฟ้องคดีนั้นเป็นกรณีที่โจทก์ร้องขอก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำสั่งให้จ่ายเงินที่โจทก์วางไว้ต่อศาลดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสี่ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์และเพื่อบังคับตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ดังกล่าว เป็นการร้องขอตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 58 ซึ่งโจทก์สามารถกระทำได้และกรณีสมควรมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์เพื่อบังคับตามคำพิพากษาต่อไป โดยให้งดการจ่ายเงินส่วนที่โจทก์วางต่อศาลแรงงานกลางก่อนฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายซ้ำหลังเจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิเจ้าหนี้เดิมไม่ได้
จำเลยที่ 1 ขอสินเชื่อจาก บ. โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญาไว้แก่โจทก์อีกว่า หากโจทก์ต้องชำระหนี้แก่ บ. แทนจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้แก่โจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวันที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาไว้แก่โจทก์นั้นมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์อาจถูก บ. เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญารับจะชำระหนี้ในเวลาภายหน้าได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดโจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่โจทก์อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91, 94 และ 101 ปรากฏว่า บ. ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดแล้ว โจทก์จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้าย แต่การที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ บ. ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดและปลดจากล้มละลายแล้วมีผลให้โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของ บ. ไปใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตามป.พ.พ. มาตรา 229 โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ล้มละลายซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องหลังล้มละลาย: การรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้เดิม และข้อจำกัดในการยื่นคำขอรับชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ขอสินเชื่อจาก บ. โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญาไว้แก่โจทก์อีกว่า หากโจทก์ต้องชำระหนี้แก่ บ. แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้แก่โจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ปรากฏว่าในวันที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาไว้แก่โจทก์นั้น มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์อาจถูก บ. เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว เพียงแต่ บ. ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงเป็นผู้ที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญารับจะชำระหนี้ในเวลาภายหน้าได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาด โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่โจทก์อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91, 94 และ 101 แต่ บ. ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดแล้ว โจทก์จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้าย แต่การที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ บ. ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมีผลให้โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของ บ. ไปใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 โจทก์จะนำหนี้ที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เด็ดขาดมาฟ้องให้จำเลยดังกล่าวล้มละลายซ้ำอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่