พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5667/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในคดีฟื้นฟูกิจการ: หลักเกณฑ์และฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 และ 90/60 ประสงค์ให้หนี้ที่อาจขอรับชำระได้ทุกประเภทซึ่งเกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในระบบการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด แม้ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้ภาษีอากรก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้หนี้สินของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วได้รับการชำระสะสางภายใต้กรอบของแผนฟื้นฟูกิจการให้เสร็จไป นอกจากนี้กรณีใดที่ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องการให้มูลหนี้ภาษีอากรมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้ธรรมดาหรือคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษ กฎหมายก็จะบัญญัติไว้ชัดแจ้ง เมื่อกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิหรือคุ้มครองแก่เจ้าหนี้ภาษีอากรในมูลหนี้ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเป็นพิเศษ ภายใต้บังคับของมาตรา 90/58 (2) ประกอบด้วยมาตรา 130 (6) สิทธิของเจ้าหนี้จึงมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น แผนฟื้นฟูกิจการจึงกำหนดให้ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม หรือลดหนี้ภาษีอากรซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการรวมทั้งกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามแผนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรยึดทรัพย์ – ไม่ขาดอายุความ แม้ไม่ได้ฟ้องคดี – อายุความ 10 ปี ตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง
สิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็น เจ้าหนี้ภาษีอากรที่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่1เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ภาษีอากรค้างโดยไม่จำต้องฟ้องคดีต่อศาลก่อนตามประมวลรัษฎากรมาตรา12วรรคสองถือว่าเป็นสิทธิอื่นๆซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ตามกฎหมายซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงผู้ร้องมีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290วรรคสามได้ภายในสิบปีนับแต่วันที่จะใช้อำนาจนั้นและมิใช่การ ใช้สิทธิเรียกร้องโดยการฟ้องคดีซึ่งต้องฟ้องภายในอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างก่อสร้างและการอายัดเงินของเจ้าหนี้ภาษีอากร
โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างจากบริษัทอ.ที่บริษัทอ.มีต่อกรมชลประทานโดยความยินยอมของกรมชลประทานโดยชอบแล้ว บริษัทอ. จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องต่อกรมชลประทานอีกต่อไป กรมสรรพากร จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรของบริษัทอ.ย่อมจะขออายัดเงินที่กรมชลประทานจะต้องชำระให้แก่โจทก์ไม่ได้ แม้อายัดไปคำสั่งอายัดก็ย่อมไม่มีผลบังคับต่อกรมชลประทาน การที่คลังจังหวัดพะเยาโดยความยินยอมของกรมชลประทานได้ส่งเงินค่าจ้างซึ่งกรมชลประทานจะต้องชำระแก่โจทก์ไปให้จำเลยที่ 1ตามที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งอายัดไว้ ก็เป็นกรณีที่กรมชลประทานจะต้องรับผิดต่อการกระทำของตนเองกรณีดังกล่าวมิได้ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากกรมชลประทานตามที่โจทก์ได้รับโอนมาจากบริษัทอ.เสื่อมเสียไปไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเฉลี่ยทรัพย์ของเจ้าหนี้ภาษีอากร และอำนาจศาลในการวินิจฉัยความชอบของหนี้
ป.รัษฎากรมาตรา12ให้อำนาจกรมสรรพากรผู้ร้องเพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้างให้มีสิทธิที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลสิทธิดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องขอเฉลี่ยได้ตามป.วิ.พ.มาตรา287,290 ในกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม ป.รัษฎากรยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดจากจำเลยนั้นโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยนั้นไม่ชอบผู้ร้องไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยและศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องโดยชอบหรือไม่เพื่อวินิจฉัยให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยได้หรือไม่ข้อวินิจฉัยศาลดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งยังคงผูกพันจำเลยอยู่และเมื่อศาลวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้อันเกิดจากการหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามคำร้องก็ชอบที่ศาลจะยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ของเจ้าหนี้ภาษีอากร และการโต้แย้งหนี้โดยบุคคลภายนอก
ประมวลรัษฎากรมาตรา12ให้อำนาจกรมสรรพากรผู้ร้องเพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้างให้มีสิทธิที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลสิทธิดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินได้ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องขอเฉลี่ยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287,290 ในกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลรัษฎากรยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดจากจำเลยนั้นโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องขอเฉลี่ยนั้นไม่ชอบผู้ร้องไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยและศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยตามประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องโดยชอบหรือไม่เพื่อวินิจฉัยให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยได้หรือไม่ข้อวินิจฉัยศาลดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งยังคงผูกพันจำเลยอยู่และเมื่อศาลวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าหนี้อันเกิดจากการหลอกลวงของจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามคำร้องก็ชอบที่ศาลจะยกคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในการเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดี แม้หนี้จากการชำระค่าทดแทน
แม้หนี้ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ค่าทดแทนซึ่งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 62 จะกำหนดว่าเงินทดแทนไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีก็ตาม ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมมีสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดี: เจ้าหนี้ภาษีอากรมีสิทธิแม้หนี้เป็นค่าทดแทน
แม้หนี้ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ค่าทดแทนซึ่งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 62 จะกำหนดว่าเงินทดแทนไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีก็ตาม ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมมีสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในการเฉลี่ยหนี้จากเงินค่าจ้างรายพิพาท ต้องเป็นสิทธิอื่นที่เทียบเคียงบุริมสิทธิ
สิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามกฎหมายในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น จะต้องเป็นสิทธิที่บุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นเอง และจะต้องเป็นสิทธิเทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอันเป็นสิทธิประเภทแรกด้วย
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างชำระของจำเลยผู้ร้องไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และผู้ร้องไม่เคยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 สั่งอายัดหรือยึดเงินค่าจ้างรายพิพาทมาก่อน ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินค่าจ้างรายพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 โดยอ้างแต่เพียงว่าในฐานะที่ตนเป็นเจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะบังคับเหนือเงินรายนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 12 ประมวลรัษฎากรนั้น เห็นได้ว่าอำนาจของผู้ร้องหากจะมีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องก็ยังหาได้ใช้อำนาจบังคับเอาแก่เงินจำนวนนี้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวไม่ผู้ร้องจึงมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็น"สิทธิอื่น" ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่งบทบัญญัติมาตรา 287ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างชำระของจำเลยผู้ร้องไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และผู้ร้องไม่เคยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 สั่งอายัดหรือยึดเงินค่าจ้างรายพิพาทมาก่อน ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินค่าจ้างรายพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 โดยอ้างแต่เพียงว่าในฐานะที่ตนเป็นเจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะบังคับเหนือเงินรายนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 12 ประมวลรัษฎากรนั้น เห็นได้ว่าอำนาจของผู้ร้องหากจะมีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องก็ยังหาได้ใช้อำนาจบังคับเอาแก่เงินจำนวนนี้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวไม่ผู้ร้องจึงมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็น"สิทธิอื่น" ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่งบทบัญญัติมาตรา 287ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในการเฉลี่ยหนี้จากเงินที่ถูกอายัด ต้องมีสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้นโดยตรง ไม่เทียบเคียงบุริมสิทธิ
สิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามกฎหมายในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น จะต้องเป็นสิทธิที่บุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นเอง และจะต้องเป็นสิทธิเทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอันเป็นสิทธิประเภทแรกด้วย
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างชำระของจำเลย ผู้ร้องไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และผู้ร้องไม่เคยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 สั่งอายัดหรือยึดเงินค่าจ้างรายพิพาทมาก่อน ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินค่าจ้างรายพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา287 โดยอ้างแต่เพียงว่า ในฐานะที่ตนเป็นเจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะบังคับเหนือเงินรายนี้ได้ ตามนัยแห่งมาตรา 12 ประมวลรัษฎากรนั้น เห็นได้ว่าอำนาจของผู้ร้องหากจะมีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องก็ยังหาได้ใช้อำนาจบังคับเอาแก่เงินจำนวนนี้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวไม่ ผู้ร้องจึงมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็น"สิทธิอื่น" ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่งบทบัญญัติมาตรา 287 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างชำระของจำเลย ผู้ร้องไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และผู้ร้องไม่เคยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 สั่งอายัดหรือยึดเงินค่าจ้างรายพิพาทมาก่อน ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินค่าจ้างรายพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา287 โดยอ้างแต่เพียงว่า ในฐานะที่ตนเป็นเจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะบังคับเหนือเงินรายนี้ได้ ตามนัยแห่งมาตรา 12 ประมวลรัษฎากรนั้น เห็นได้ว่าอำนาจของผู้ร้องหากจะมีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องก็ยังหาได้ใช้อำนาจบังคับเอาแก่เงินจำนวนนี้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวไม่ ผู้ร้องจึงมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็น"สิทธิอื่น" ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่งบทบัญญัติมาตรา 287 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรกลางในการพิจารณาหนี้ค่าหุ้นของผู้ถือหุ้น จำเลยที่ 2-8 และสิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรในการเรียกร้องหนี้แทนลูกหนี้
การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า คดีในส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (2) เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในปัญหาว่า คดีในส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 อยู่ในอำนาจศาลภาษีอาการกลางหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตามมาตรา 10 วรรคสอง (เดิม) กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่ผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัย ศาลภาษีอากรกลางหามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไม่ ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 และพิพากษายกฟ้องมานั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบกับคู่ความไม่ได้โต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลไว้ จึงไม่มีปัญหาต้องวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจศาล