คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องไม่เกินขอบเขตและพิจารณาวัตถุประสงค์ของกฎหมายควบคุมอาคาร
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11 ทวิ ซึ่งได้แก้ไขโดยพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 และ มาตรา 12 ทวิ มิได้บัญญัติโดยเด็ดขาดว่าคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นหรือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวแก่การก่อสร้างอาคาร ให้เป็นที่สุด และเห็นได้ว่าได้ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งการอย่างอื่นได้ด้วย เช่น จะสั่งแต่เพียงให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยไม่ต้องรื้อแทนก็ได้ (อ้างฎีกาที่ 1219/2504) วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารซึ่งปรากฏในคำปรารภมีว่า เพื่อต้องการควบคุมเพื่อประโยชน์ในความมั่นคงแข็งแรงการอนามัย การสุขาภิบาล การป้องกันอัคคีภัย และการผังเมือง ส่วนการให้ขออนุญาตก่อสร้างนั้นเป็นแต่เพียงวิธีดำเนินการ มิใช่วัตถุประสงค์โดยตรง จึงไม่ใช่นโยบายของกฎหมายว่าเพียงแต่ไม่ขออนุญาตก็ต้องสั่งให้รื้อ โดยไม่คำนึงว่าอาคารนั้นผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารของโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าได้ก่อสร้างผิดวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ก็อาจเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนคำสั่งนั้นเสียได้ และเมื่อโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะสั่งให้รื้อถอนอาคารของโจทก์โดยไม่พิจารณาตรวจคำขออนุญาตปลูกอาคารของโจทก์ หรือให้เหตุผลว่าอาคารของโจทก์ปลูกสร้างขึ้นไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างใด จึงเป็นฟ้องที่ต้องรับไว้พิจารณา
คำสั่งจะรื้อถอนอาคารของจำเลยมีถึงภริยาโจทก์ แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ให้ภริยาโจทก์ยื่นขออนุญาตปลูกอาคารรายนี้ จึงแสดงว่าโจทก์ได้ให้ภริยาเป็นผู้ยื่นคำขออนุญาตแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 และ 1469 โจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินบริคณห์และมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ คำสั่งของจำเลยจึงกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นสามี การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85-88/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับรื้อถอนอาคารกับความผูกพันต่อบุคคลภายนอก และอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้จำเลยสั่งรื้ออาคารซึ่งเป็นภยันตรายต่อสาธารณชนและโจทก์เมื่อปรากฏต่อศาลว่าจำเลยมิใช่เป็นเจ้าของอาคารพิพาท หากศาลมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ ผลของการบังคับคดีย่อมไปผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย ให้จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้
อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารที่สร้างขึ้นภายในเขตเทศบาล เป็นอำนาจหน้าที่โดยอิสระของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11, 12 และ พระราชบัญญัติควบคุมก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มาตรา 3, 4, 5 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติมาตราใดที่บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องรับผิดในเมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นงดเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85-88/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับรื้ออาคารกับบุคคลภายนอกและอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้จำเลยสั่งรื้ออาคารซึ่งเป็นภยันตรายต่อสาธารณชนและโจทก์ เมื่อปรากฏต่อศาลว่าจำเลยมิใช่เป็นเจ้าของอาคารพิพาทหากศาลมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ ผลของการบังคับคดีย่อมไปผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยให้จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้
อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารที่สร้างขึ้นภายในเขตเทศบาลเป็นอำนาจหน้าที่โดยอิสระของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11,12, และพระราชบัญญัติควบคุมก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มาตรา 3,4,5 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติมาตราใดที่บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องรับผิดในเมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นงดเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารไม่มั่นคงแข็งแรง และความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารที่นายช่างตรวจพบว่าไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่ปลอดภัยได้ หากเจ้าของอาคารไม่ปฏิบัติตามหรือไม่อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวแก่การก่อสร้างอาคารภายใน 15 วัน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็มีอำนาจรื้อถอนอาคารนั้นได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2478 มาตรา 11 ทวิ วรรค 3 การที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นรื้อถอนอาคาร จึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ ไม่มีมูลเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 นั้น หมายถึงการกระทำแก่ตัวทรัพย์ให้เสียหายฯ เช่น รื้อถอนตึกแถวลง ย่อมเป็นการการกระทำแก่ตัวทรัพย์ ทำให้ตึกแถวถูกทำลายเสียหาย แต่เมื่อรื้อแล้ว ไม่นำวัตถุก่อสร้างไปมอบเจ้าของจนวัตก่อสร้างสูญหายไปนั้น หาใช่เป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326-330/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรื้อถอนอาคารของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร แม้ผู้เช่าจะได้รับผลกระทบ
เมื่อคณะเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพ ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ฟ้องเจ้าของอาคารให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 12 ประกอบกับมาตรา 11 และศาลพิพากษาให้เจ้าของรื้อ ถ้าไม่รื้อก็ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจรื้อแล้ว เจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจรื้อได้ทีเดียวตามคำพิพากษานั้น โดยไม่ต้องฟ้องบุคคลซึ่งอยู่ในอาคารนั้นอีก เพราะกฎหมายให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดำเนินการต่อเจ้าของอาคารและฟ้องเจ้าของอาคาร มิได้บัญญัติให้ดำเนินการหรือฟ้องผู้เช่า หรือบุคคลอื่นซิ่งมิได้อยู่ในฐานะเจ้าของอาคารให้รื้อถอน การกระทำของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจึงไม่เป็นการละเมิดต่อผู้เช่าหรือบุคคลอื่นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326-330/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของอาคารกับการรื้อถอนโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ผู้เช่าไม่มีสิทธิฟ้อง
เมื่อคณะเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ฟ้องเจ้าของอาคารให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 12 ประกอบกับมาตรา11และศาลพิพากษาให้เจ้าของรื้อ ถ้าไม่รื้อก็ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจรื้อแล้วเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจรื้อได้ทีเดียวตามคำพิพากษานั้นโดยไม่ต้องฟ้องบุคคลซึ่งอยู่ในอาคารนั้นอีกเพราะกฎหมายให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดำเนินการต่อเจ้าของอาคารและฟ้องเจ้าของอาคาร มิได้บัญญัติให้ดำเนินการหรือฟ้องผู้เช่าหรือบุคคลอื่นซึ่งมิได้อยู่ในฐานะเจ้าของอาคารให้รื้อถอนการกระทำของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น จึงไม่เป็นการละเมิดต่อผู้เช่าหรือบุคคลอื่นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร แม้มิใช่ผู้เสียหายทางอาญา
ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญา ม.2 (4) หมายถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ถูกประทุษร้ายได้รับความเสียหายอันเป็นที่เห็นประจักษ์โดยตรงแต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารและจำเลยก็มิได้กระทำผิดทางอาญา ต่อโจทก์แต่อย่างใด ดังนี้โจทก์จึงหาใช่ผู้เสียหายไม่
เมื่อโจทก์มิใช่ผู้เสียหายแล้วก็ย่อมนำม.51 มาปรับแก่คดีไม่ได้
เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร ม.11 วรรค 2 ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นร้องขอต่อศาลให้ผู้กระทำผิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือรื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแผกไปจากแผนผังก่อสร้างได้ทั้งโจทก์ก็ได้โต้แย้งให้แก้ไขแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับได้
ตามที่ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารมิได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้ ก็ต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปแห่ง ป.พ.พ.ม.169

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกรณีการก่อสร้างผิดกฎหมาย และอายุความตามหลักทั่วไป
ผู้เสียหายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) หมายถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ถูกประทุษร้ายได้รับความเสียหายอันเป็นที่เห็นประจักษ์โดยตรง แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร และจำเลยก็มิได้กระทำผิดทางอาญาต่อโจทก์แต่อย่างใด ดังนี้โจทก์จึงหาใช่ผู้เสียหายไม่
เมื่อโจทก์มิใช่ผู้เสียหายแล้วก็ย่อมนำมาตรา 51 มาปรับแก่คดีไม่ได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร มาตรา 11 วรรคสอง ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นร้องขอต่อศาลให้ผู้กระทำผิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือรื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแผกไปจากแผนผังแบบก่อสร้างได้ ทั้งโจทก์ก็ได้โต้แย้งให้แก้ไขแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับได้
ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารมิได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้ ก็ต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164