พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาจ้างแรงงาน กรณีเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่
จำเลยค้ำประกัน ช. ในขณะที่ ช. มีตำแหน่งผู้ช่วยจัดโชว์สินค้าตามห้างซึ่งไม่เกี่ยวกับการขายสินค้าของโจทก์ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเงินอันเนื่องมาจากการขายสินค้าซึ่งตามสภาพงานจะต้องมีทั้งสินค้าใหม่ๆ เงินที่ขายสินค้าหมุนเวียนผ่านมือไป อันมีลักษณะการทำงานแตกต่างไปจากการช่วยจัดโชว์สินค้าอย่างสิ้นเชิง งานตำแหน่งพนักงานขายสินค้าจึงถือได้ว่าอยู่นอกเหนือเจตนาและความมุ่งหมายจะผูกพันตนของจำเลยตามสัญญาค้ำประกันในขณะเข้าทำสัญญาค้ำประกัน การที่ ช. ได้กระทำความเสียหายแก่โจทก์ขณะอยู่ในตำแหน่งพนักงานขายสินค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6369/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันการทำงานจำกัดเฉพาะตำแหน่งเดิม หากมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งโดยมิได้รับความยินยอม จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ อ. ตามสัญญาข้อ 1 ระบุว่า ตามที่โจทก์ตกลงรับ อ. เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานขาย หาก อ. ได้ก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นแก่โจทก์หรือกระทำการใด ๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยยินยอมรับผิดชอบชดใช้หนี้สินและค่าเสียหายทั้งหมดที่ อ. ได้ก่อขึ้นโดยจะไม่อ้างเหตุผลใด ๆ มาปัดความรับผิดชอบเป็นอันขาด ข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีข้อความจำกัดว่าเป็นการค้ำประกันเฉพาะในตำแหน่งพนักงานขายและไม่มีกำหนดเวลาก็ตาม แต่ข้อความดังกล่าวแสดงว่าจำเลยค้ำประกันการทำงานของ อ. ในตำแหน่งพนักงานขายเท่านั้น เมื่อโจทก์เลื่อนตำแหน่งให้ อ. เป็นผู้จัดการสาขาอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยมากขึ้นโดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบและจำเลยไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันในความเสียหายที่ อ. ได้กระทำขึ้นในขณะดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและสิทธิประโยชน์
การคำนวณค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ให้ถือเอาอัตราค่าจ้างสุดท้ายเป็นฐานในการคำนวณ ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ต้องถือเอาตามจำนวนสินจ้างที่ลูกจ้างควรได้รับการเลิกจ้าง เมื่อโจทก์มิได้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายตั้งแต่วันที่23 กันยายน 2533 ต่อมาวันที่ 9 เมษายน 2534 จึงถูกเลิกจ้างโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเงินส่วนแบ่งการขายจำนวนเดือนละ 300,000 บาท มาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ค้างชำระค่าส่วนแบ่งการขายเพราะโจทก์ไปดำรงตำแหน่งอื่น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ยังมีสิทธิได้เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 จำเลยไม่เคยยกเหตุที่โจทก์ยักยอกเงิน 40,000 บาท ของจำเลยในคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ จึงไม่มีเหตุดังกล่าวที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีของโจทก์ว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโยกย้ายลูกจ้าง: นายจ้างมีอำนาจบริหารงานและเปลี่ยนแปลงตำแหน่งได้ หากไม่มีข้อตกลงห้าม
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างห้ามเปลี่ยนแปลตำแหน่งหรือหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้างย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ อันเป็นอำนาจของนายจ้างโดยเฉพาะได้ และไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงานไม่ทำให้สัญญาสิ้นสุด และลูกจ้างต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของนายจ้าง
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ จำเลยกับโจทก์ต้องผูกพันกันตามสัญญาจ้างแรงงาน และการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยดำรงตำแหน่งใหม่ก็ไม่ทำให้ความเป็นลูกจ้างนายจ้างสิ้นสุดลง คงเป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจะได้กำหนดขึ้น เมื่อโจทก์ได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตาม ดังนี้ จำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์บรรยายฟ้องว่ากระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้วยังเป็นการผิดสัญญาจ้างตามข้อผูกพันเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนี้ โจทก์ต้องการให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานด้วยอายุความในการฟ้องร้องจึงต้องถืออายุความทั่วไป มีกำหนด 10 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เมื่อจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ตกเป็นผู้ผิดนัดเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง หากการทำงานต่อเนื่องและได้รับค่าจ้างเดิม
เมื่อคณะรัฐมนตรีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยก็ได้แต่งตั้งให้โจทก์ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยได้รับเงินเดือนเท่าเดิม มิได้ ปลดโจทก์ออกจากงาน แต่เป็นการสั่งให้โจทก์พ้นตำแหน่งเดิมแล้วให้ไปทำงานตำแหน่งหน้าที่ใหม่ในฐานะเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย การทำงานของโจทก์ต่อเนื่องกัน ไม่มีระยะเวลาอันเป็นช่องว่างที่แสดงว่าโจทก์ต้องออกจากงานไปชั่วคราวแล้วกลับแต่งตั้งเข้ามาใหม่จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการรับเงินอากรแล้วยักยอก – อำนาจสั่งการของผู้ว่าราชการ – การปฏิบัติหน้าที่แม้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง
จำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมมหาดไทยผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งย้ายจำเลยไปดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอตรีประจำอำเภอเมือง พร้อมกันนั้นก็ได้สั่งให้จำเลยคงทำงานเป็นผู้ช่วยเสมียนตราจังหวัดอยู่ ณ ที่เก่า มีหน้าที่รับเงินอากรการฆ่าสัตว์ที่อำเภอต่างๆ ในจังหวัดนั้น นำส่งแผนกมหาดไทยเพื่อนำฝากคลังตามระเบียบผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจสั่งดังกล่าวได้ และเมื่อจำเลยรับเงินประเภทดังกล่าวนั้นแล้ว นำไปหาผลประโยชน์ส่วนตัวไม่นำฝากคลัง ก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ตามที่แก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17604-17605/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเบิกค่าล่วงเวลาของพนักงานรัฐวิสาหกิจ แม้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งย้อนหลัง นายจ้างไม่มีสิทธิหักเงิน
ขณะที่จำเลยยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นนักบริหาร 8 หัวหน้าแผนก โจทก์ทั้งสองยังคงเป็นนักบริหาร 7 รองหัวหน้าแผนก ซึ่งมีสิทธิเบิกค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดได้โดยชอบตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แม้ต่อมาวันที่ 26 มกราคม 2554 จำเลยจะมีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นนักบริหาร 8 หัวหน้าแผนก โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ซึ่งตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีสิทธิเบิกเฉพาะเบี้ยเลี้ยงตามอัตราที่ผู้ว่าการของจำเลยกำหนดเท่านั้น โดยไม่มีสิทธิเบิกค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดก็ตาม ก็ย่อมไม่กระทบสิทธิในการเบิกค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งโจทก์ทั้งสองมีอยู่ก่อนแล้วและไม่อาจมีผลในทางที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ทั้งสองได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิหักเงินที่โจทก์ทั้งสองเบิกไปเกินกว่าเบี้ยเลี้ยงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึงวันที่ 25 มกราคม 2554 ออกจากค่าจ้างของโจทก์ทั้งสองในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม 2554 ได้