คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลือกปฏิบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากข้อบังคับการทำงานที่เลือกปฏิบัติทางเพศ ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ที่หากจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม จะต้องรับผิดชอบทางอาญาตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม.131 ต้องเป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายและใช้บังคับได้ด้วย เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดเรื่องการออกจากงานกรณีเกษียณอายุไว้ให้ลูกจ้างชายเกษียณอายุเมื่อครบอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์ และลูกจ้างหญิงเกษียณอายุเมื่อครบ 50 ปีบริบูรณ์ ซึ่งแตกต่างกันโดยพิจารณาจากเพศของลูกจ้างแต่เพียงอย่างเดียว และต่อมามี พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาบังคับใช้ โดยมาตรา 15 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงโดยเท่าเทียมกันข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเฉพาะส่วนที่ให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 50 ปีบริบูรณ์ จึงขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 15 อันเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่มีผลบังคับใช้ต่อไป จำเลยจะอ้างว่าจำเลยจำต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอันถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ได้ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุผลสมควร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า การที่โจทก์ออกจากงานเป็นผลเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์เกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย มิใช่เป็นผลเนื่องจากโจทก์ยื่นใบลาออก อุทธรณ์ของจำเลยแม้เป็นการยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างแต่ก็เพื่อจะให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นเพราะโจทก์ยื่นใบลาออก มิใช่เลิกจ้างเพราะโจทก์เกษียณอายุตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย อันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกปฏิบัติทางแรงงาน: นายจ้างสั่งงานล่วงเวลาเพื่อบีบคั้นลูกจ้างที่ยื่นข้อเรียกร้อง
แม้โจทก์มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้ลูกจ้างทำงานวันละ 3 กะก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติโจทก์ให้ลูกจ้างทำงานวันละ 2 กะเป็นส่วนใหญ่ โดยให้ทำกะละ 12 ชั่วโมง จำนวน 8 ชั่วโมงแรกเป็นการทำงานปกติ พัก 1 ชั่วโมง อีก 3 ชั่วโมง เป็นการทำงานล่วงเวลา ดังนั้น การที่โจทก์มีคำสั่งให้ จำเลยร่วมกับพวก ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทำงานวันละ 3 กะ ซึ่งโจทก์สั่งในวันรุ่งขึ้นหลังจากโจทก์และจำเลยร่วมกับพวกทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น แม้จะเป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจะสั่งได้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แต่ก็เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการเลือกปฏิบัติเพื่อบีบคั้นจำเลยร่วมกับพวกให้ไม่สามารถทนทำงานอยู่ ต่อไปได้ เพราะเหตุที่จำเลยร่วมกับพวกยื่นข้อเรียกร้องหรือเป็นตัวแทนเจรจา อันถือว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 (1)
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ได้วินิจฉัยในคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่า การสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลานั้นเป็นสิทธิของนายจ้างที่จะพิจารณาสั่งให้ทำหรือไม่ก็ได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และไม่มีกฎหมายรองรับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ออกคำสั่งบังคับให้โจทก์สั่งให้จำเลยร่วมกับพวกทำงานล่วงเวลาได้ คำสั่งดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 จึงชอบแล้ว ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีเลือกปฏิบัติการทำงานหลังยื่นข้อเรียกร้อง
โจทก์มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้ลูกจ้างทำงานวันละ 3 กะ แต่ในทางปฏิบัติให้ทำงานวันละ 2 กะเป็นส่วนใหญ่โดยให้ทำกะละ 12 ชั่วโมง จำนวน 8 ชั่วโมงแรกเป็นการทำงานปกติ พัก 1 ชั่วโมง อีก 3 ชั่วโมงเป็นการทำงานล่วงเวลา การที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยร่วมกับพวกซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทำงานวันละ 3 กะ แม้จะเป็นสิทธิของโจทก์จะสั่งได้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแต่ก็เป็นการเลือกปฏิบัติเพื่อบีบคั้นไม่ให้ทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เพราะเหตุที่ยื่นข้อเรียกร้องหรือเป็นตัวแทนเจรจาอันถือว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121(1) การที่จำเลยได้มีคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ให้โจทก์เปลี่ยนแปลงเวลาทำงานสำหรับจำเลยร่วมกับพวกเป็นเวลาการทำงานตามเดิมและวินิจฉัยว่าการสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาเป็นสิทธิของนายจ้างที่จะพิจารณาสั่งให้ทำหรือไม่ก็ได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 และไม่มีกฎหมายรองรับให้จำเลยออกคำสั่งบังคับให้โจทก์สั่งให้จำเลยร่วมกับพวกทำงานล่วงเวลาได้จึงเป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587-5599/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหลังนัดหยุดงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีเหตุผลอันสมควร และไม่ใช่การเลือกปฏิบัติ
คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมที่สั่งตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ให้ลูกจ้างของบริษัทผู้ร้องที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงานให้ผู้ร้องซึ่งสั่งปิดงานให้เปิดงานและรับลูกจ้างทั้งหมดกลับเข้าทำงานและมอบให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างผู้ร้องกับลูกจ้างของผู้ร้องที่ยื่นข้อเรียกร้อง เป็นคำสั่งที่แก้ไขข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ซึ่งมีการนัดหยุดงานหรือมีการปิดงาน แล้วมอบข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นผู้ชี้ขาด คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการกระทำใดในระหว่างการนัดหยุดงานหรือการปิดงานของนายจ้างหรือลูกจ้างที่กระทำผิดต่อกฎหมายหรือละเมิดสิทธิของอีกฝ่ายหรือต่อบุคคลภายนอก จึงไม่มีผลทำให้อำนาจในการดำเนินคดีของผู้ร้องที่ร้องขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสิบสามตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 สิ้นสุดลง ผู้ร้องจึงมีอำนาจดำเนินคดีนี้ต่อไปได้
สหภาพแรงงาน ส. ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนสภาพการจ้างต่อบริษัทผู้ร้องมีการเจรจาต่อรองแต่ไม่สามารถตกลงกันได้เกิดเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้วมีสมาชิกสหภาพแรงงาน ส. จำนวน 1,500 คน ร่วมนัดหยุดงาน อันเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ร้องที่จะเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงาน ส. ที่ร่วมนัดหยุดงานโดยชอบได้ แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้เพื่อขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสิบสาม เนื่องจากผู้คัดค้านทั้งสิบสามเป็นกรรมการลูกจ้าง ตามมาตรา 52 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างเฉพาะผู้คัดค้านทั้งสิบสามซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง โดยอ้างว่ามีการกระทำผิดกฎหมายและละเมิดสิทธิต่อผู้ร้องในระหว่างการนัดหยุดงานโดยชอบ มิใช่ขอเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสิบสามเนื่องจากผู้คัดค้านทั้งสิบสามนัดหยุดงานจึงมิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ไม่เป็นธรรม เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจเลือกปฏิบัติระหว่างผู้เสียภาษี
แม้การใช้อำนาจประเมินภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 71 (1)เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติในมาตรา 71 วรรคสองว่า ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) แต่เจ้าพนักงานประเมินจะใช้ดุลพินิจประเมินให้เสียภาษีตามบทบัญญัติในมาตราอื่นก็ได้หากเจ้าพนักงานประเมินใช้ดุลพินิจประเมินให้โจทก์เสียภาษีตามมาตรา 71 (1)ผู้เสียภาษีก็มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินดังกล่าวได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 วรรคสามดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยดังกล่าวและใช้สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลตามมาตรา 30 (2) ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ดุลพินิจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ตามมาตรา 71 (1) เป็นการถูกต้องและชอบหรือไม่ด้วย
เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจำเลยได้มีหมายเรียกตามป.รัษฎากรแจ้งไปยังโจทก์ให้นำบัญชี เอกสาร และหลักฐานการลงบัญชีไปส่งมอบโจทก์ได้ไปให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานประเมินและได้ส่งมอบบัญชีและเอกสารต่าง ๆเอกสารที่โจทก์นำส่งทำให้เจ้าพนักงานประเมินสามารถคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิของโจทก์ได้ ซึ่งปรากฏว่าโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ แต่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีโจทก์ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับ ตามมาตรา 71 (1)โดยอ้างว่า เนื่องจากโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล(แบบ ภ.ง.ด.50) ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้ต่อมาโจทก์จะได้ยื่นแบบแสดงรายการหลังจากที่ได้รับหมายเรียกแล้วก็ตาม ซึ่งหากประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลโจทก์ตามมาตรา 24 แห่ง ป.รัษฎากรแล้ว โจทก์ไม่มีภาษีที่จะต้องชำระเพราะจากการตรวจสอบในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ แต่หากประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) โจทก์จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับ คิดเป็นภาษี 2,865,243.67 บาท แต่การตรวจสอบภาษีรายของบริษัท ดี. ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในเขตเดียวกัน ปรากฏว่าบริษัทดังกล่าวมิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และต่อมาได้ยื่นแบบแสดงรายการภายหลังจากที่ได้รับหมายเรียกตรวจสอบแล้วเช่นเดียวกับโจทก์ จากการตรวจสอบพบว่าบริษัท ดี.มีผลประกอบการกำไรสุทธิ ซึ่งหากเจ้าพนักงานประเมิน ประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1)จะได้ภาษีจำนวนมากกว่าการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 24 แต่เจ้าพนักงานประเมินก็มิได้ทำการประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) เมื่อโจทก์ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีด้วยดี และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร ทั้งผลการตรวจสอบภาษีก็ปรากฏว่าโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ เจ้าพนักงานประเมินไม่ควรประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา 71 (1)ซึ่งในคดีภาษีอากรการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานต้องกระทำด้วยความสุจริตและเป็นธรรม และต้องปฏิบัติต่อผู้เสียภาษีทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อการตรวจสอบภาษีรายของโจทก์และรายของบริษัท ดี.มีข้อเท็จจริงเหมือนกัน พ.เจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสอบภาษีรายของโจทก์และกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รายโจทก์ก็ชอบที่จะใช้ดุลพินิจในการประเมินภาษีโดยใช้หลักเกณฑ์และมาตรฐานเดียวกันด้วยการที่ พ.ใช้ดุลพินิจไม่ประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) สำหรับรายบริษัท ดี.ทั้งที่จากการตรวจสอบปรากฏว่าบริษัทดังกล่าวมีผลประกอบการกำไรสุทธิ แต่ใช้ดุลพินิจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา 71 (1) ทั้งที่จากการตรวจสอบปรากฏว่าโจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ จึงเป็นการเลือกปฏิบัติและไม่เป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี การประเมินของเจ้าพนักงานจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ และเมื่อการประเมินไม่ชอบจึงทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานเข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติและละเมิดสิทธิแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
การที่บริษัทนายจ้างปลดลูกจ้างทั้งสองออกจากงานโดยข้อเท็จจริง ฟังไม่ได้ว่าลูกจ้างทั้งสองทุจริตต่อหน้าที่และมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทนายจ้างดังที่บริษัทนายจ้างอ้าง และลูกจ้างทั้งสอง เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานมีตำแหน่งประธานและเลขาธิการซึ่งกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ของบริษัทนายจ้างต้องการให้ยุบสหภาพนั้น แต่ลูกจ้างทั้งสองไม่ยินยอมนอกจากนี้ลูกจ้างทั้งสองยังได้ทำหนังสือร้องเรียนหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินให้ปรับปรุงบริษัทนายจ้างโดย อ้างว่ามีการทุจริต ทั้งยังได้นำพนักงานของบริษัทนายจ้างเรียกร้องผลประโยชน์อีกหลายเรื่องพฤติการณ์ดังนี้น่าเชื่อว่าลูกจ้างทั้งสอง ถูกปลดออกจากงาน เพราะเหตุเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานอันเป็น การฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยเลือกปฏิบัติตามคำพิพากษาลำดับหลังไม่ได้ หากยังสามารถปฏิบัติตามลำดับแรกได้โดยโจทก์ไม่ยินยอม
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยโอนทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ หรือมิฉะนั้นให้จำเลยใช้เงินพร้อมด้วยดอกเบี้ย (คือราคาทรัพย์พิพาท) แก่โจทก์ เช่นนี้ จำเลยจะเลือกปฏิบัติตามคำพิพากษาลำดับหลังในเมื่อจำเลยยังสามารถปฏิบัติตามลำดับแรก โดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วยนั้น ไม่ได้
(อ้างฎีกาที่ 1486/2493 และ 1346/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยเลือกปฏิบัติตามคำพิพากษาลำดับหลังไม่ได้ หากยังสามารถปฏิบัติตามลำดับแรกได้โดยโจทก์ไม่ยินยอม
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยโอนทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์หรือมิฉะนั้นให้จำเลยใช้เงินพร้อมด้วยดอกเบี้ย(คือราคาทรัพย์พิพาท)แก่โจทก์ เช่นนี้ จำเลยจะเลือกปฏิบัติตามคำพิพากษาลำดับหลังในเมื่อจำเลยยังสามารถปฏิบัติตามลำดับแรก โดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วยนั้น ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่1486/2493 และ 1346/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 978/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ก่อนล้มละลายที่เป็นการเลือกปฏิบัติและมีเจตนาให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ
การที่เจ้าหนี้ของผู้ล้มละลายได้รับผ่อนชำระหนี้จากผู้ล้มละลายมากกว่าส่วนเฉลี่ยที่เจ้าหนี้อื่นได้รับจากกองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายมากนั้น ถือว่าเป็นการได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น, ผู้ล้มละลายชำระหนี้เปนการกะทำเพื่อไห้เจ้าหนี้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นและผู้ล้มละลายถูกห้องคดีล้มละลายพายไนสามเดื่อนนับแต่วันชำระหนี้ ทั้งต้องคำพิพากสาไห้ล้มละลายการชำระหนี้นี้ก็ไช้ยันเจ้าพนักงานรักสาทรัพย์ของผู้ล้มละลายไม่ได้, ปัญหาว่ากรนีที่ฟู้ล้มละลายได้ชำระหนี้ไห้แก่เจ้าหนี้เปนการกะทำไห้เจ้าหนี้ผู้นั้นได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ๆ หรือไม่นั้น เปนปัญหาข้อเท็จจิง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดงานโดยจงใจเลือกปฏิบัติขัดขวางสหภาพแรงงาน มิใช่การปิดงานตามกฎหมาย
แม้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 และมาตรา 22 วรรคสาม ไม่มีข้อความตอนใดอันมีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิของนายจ้างว่า เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว นายจ้างจะต้องใช้สิทธิปิดงานทั้งหมด นายจ้างย่อมมีสิทธิปิดงานบางส่วนเฉพาะลูกจ้างที่มีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่สำหรับคดีนี้การที่โจทก์ปิดงานเฉพาะลูกจ้าง 5 คน ซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน บ. และผู้แทนการเจรจาฝ่ายลูกจ้าง โดยอ้างว่าโจทก์ไม่สามารถทราบได้ว่าลูกจ้างโจทก์คนใดบ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน บ. หรือเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องหรือข้อพิพาทแรงงานนั้น เมื่อข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน บ. ซึ่งแจ้งข้อเรียกร้อง โดยสหภาพแรงงาน บ. มีสมาชิกประมาณ 125 คน จากลูกจ้างของจำเลยทั้งหมดประมาณ 200 คน ซึ่งเกินกว่าหนึ่งในห้าของลูกจ้างทั้งหมด การที่จะตรวจสอบเพื่อให้ทราบว่าลูกจ้างของจำเลยคนใดเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน บ. ที่ถือว่าเป็นผู้ร่วมแจ้งข้อเรียกร้องด้วยนั้น โจทก์สามารถกระทำได้โดยยื่นคำร้องเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานตรวจรับรองลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน บ. ได้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 15 วรรคสาม โจทก์จึงมีหนทางที่จะทราบว่าลูกจ้างคนใดที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน บ. ได้ แต่โจทก์ก็หาได้ขวนขวายที่จะตรวจสอบไม่ และการที่โจทก์อ้างว่าเหตุที่โจทก์ปิดงานเฉพาะผู้แทนการเจรจาของสหภาพแรงงาน บ. เนื่องจากไม่ทราบว่าลูกจ้างคนใดเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานดังกล่าวนั้น ก็ปรากฏข้อเท็จจริงว่าในการเจรจาสหภาพแรงงาน บ. ส่งผู้แทนการเจรจาฝ่ายลูกจ้างรวม 7 คน แต่โจทก์กลับเลือกปิดงานเฉพาะกับลูกจ้าง 5 คน ซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน บ. แสดงว่าโจทก์มิได้มีเจตนาปิดงาน เนื่องจากข้อพิพาทแรงงานอันถือเป็นการปิดงานตามนิยามคำว่า "การปิดงาน" ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 แต่เป็นการจงใจเลือกปฏิบัติใช้การปิดงานโดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้ลูกจ้างทั้ง 5 คน ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้เพราะเหตุที่สหภาพแรงงาน บ. ได้ยื่นข้อเรียกร้องและเป็นการขัดขวางการดำเนินการของสหภาพแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 (1) และ (4) การกระทำของโจทก์จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
of 2