คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหมาะสม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4617/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักขังที่บ้านต้องเหมาะสมกับสภาพผู้ต้องกักขัง ศาลไม่เห็นด้วยกับการกักขังจำเลยที่บ้านเพราะเหตุผลด้านครอบครัว
เหตุที่จำเลยอ้างว่าการกักขังไม่เป็นผลดีต่อครอบครัวจำเลย จำเลยมีภริยาและบุตรที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู ต้องขับรถไปส่งภริยาเพื่อไปค้าขายที่ตลาดทุกวันเพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว จึงขอให้จำเลยถูกกักขังอยู่ที่บ้านของจำเลย โดยให้ภรรยาเป็นผู้ควบคุมความประพฤติของจำเลยนั้น ยังไม่พอฟังว่าการกักขังจำเลยไว้ที่บ้านของจำเลยจะมีความเหมาะสมกับประเภทหรือสภาพของจำเลยอย่างไร จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะสั่งให้กักขังจำเลยไว้ที่บ้านของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 24

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3505/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: ศาลฎีกาตัดสินให้ใช้ทางผ่านในที่ดินของผู้อื่นได้ หากเป็นทางสะดวกและเหมาะสมที่สุด
แม้ทางด้านทิศเหนือของที่ดินโจทก์จะเคยมีทางสาธารณะ อยู่แต่ได้ขุดเป็นลำเหมืองสำหรับปล่อยน้ำทิ้งมานาน ประมาณ 20 ปีแล้ว ปัจจุบันมีสภาพตื้นเขิน ไม่มีน้ำตลอดทั้งปี ไม่สามารถใช้เรือสัญจรไปมาได้ ทางดังกล่าวจึงไม่เป็น ทางสาธารณะตามของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ส่วนทางที่โจทก์จะสามารถใช้ออกสู่ทางสาธารณะใช้อีกทางหนึ่ง คือ คันคลองส่งน้ำด้านทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์แต่ทางดังกล่าวต้องผ่านที่ดินของผู้อื่นจำนวนหลายแปลงด้วยกันและมีระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ทั้งโจทก์ไม่เคยใช้เป็น เส้นทางเดินออกสู่ทางสาธารณะเป็นปกติมาก่อนเลยเมื่อเปรียบเทียบกับทางพิพาทซึ่งเป็นทางตรงมีระยะทางเพียง 18 เมตร ทางพิพาทย่อมสะดวกและมีความเหมาะสมมากกว่า ทั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุดเพราะทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยเพียงแปลงเดียว จำเลยจะเกี่ยงให้โจทก์ไปใช้เส้นทางอื่นในที่ดินคนอื่นที่โจทก์ไม่ได้ใช้เป็นปกติมาก่อนเป็นทางเข้าออกไม่ได้ และเมื่อคำนึงถึงอนาคต โจทก์อาจใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเข้าออกทางพิพาท เห็นสมควรกำหนดให้ทางพิพาทมีขนาดความกว้าง 2.50 เมตร ซึ่งไม่เกินคำขอของโจทก์ได้ โจทก์อ้างความจำเป็นที่จะต้องนำน้ำจากคลองชลประทาน เข้าไปใช้ในที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดต่อกับที่ดินของจำเลย โดยวางท่อระบายน้ำผ่านที่ดินของจำเลย พร้อมทั้งเสนอ ให้ค่าทดแทนเป็นรายปี แต่เมื่อปรากฏว่าทางด้านทิศตะวันตก ของที่ดินโจทก์มีคลองส่งน้ำ และทางด้านทิศเหนือก็มี ลำเหมืองสาธารณะอยู่และคลองส่งน้ำนั้นมีน้ำบริบูรณ์ ส่วนลำเหมืองสาธารณะนั้น แม้จะมีสภาพตื้นเขินอยู่บ้าง แต่ยังก็มีน้ำมากพอสมควร ประกอบกับจะมีน้ำที่ปล่อยจาก บ่อเลี้ยงกุ้งของผู้อื่นหลายรายลงมาในลำเหมืองอยู่เสมอ ๆ โจทก์จึงสามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำทั้งสองแห่งนี้ได้ อย่างเพียงพอแล้ว จึงไม่ควรที่จะให้จำเลยจำต้องยอมรับ ภารจำยอมในอันที่จะให้โจทก์วางท่อระบายน้ำและตั้ง เครื่องสูบน้ำบนที่ดินของจำเลยอีก โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น และให้จำเลยทั้งสอง ชดใช้ค่าเสียหายที่มาตักดินบริเวณที่ จอดรถยนต์ที่โจทก์ ทำไว้เป็นเงิน 15,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยเปิดทางจำเป็น ส่วนคำขอในเรื่องค่าเสียหายให้ยก ดังนี้ เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาในชั้นอุทธรณ์ เป็นค่าเสียหายในมูลละเมิด และมิใช่เป็นคำขอต่อเนื่อง ในเรื่องเดียวกันกับเรื่องทางจำเป็น จึงเป็นคนละมูลกรณีกัน สิทธิในการอุทธรณ์ของโจทก์ย่อมต้องแยกพิจารณา เมื่อคดี ในส่วนค่าเสียหายมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้าม มิให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5572-5573/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปลงศพและค่าขาดไร้อุปการะเหมาะสมแก่ฐานานุรูป แม้เป็นผู้ดำเนินคดีอนาถา
แม้โจทก์ทั้งสองได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิปลงศพบุตรให้สมแก่ฐานานุรูปโจทก์ทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6880/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมโนสาเร่: การยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลา ต้องพิจารณาความเหมาะสมกับลักษณะการพิจารณาคดี
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา195จะบัญญัติให้นำบททั่วไปแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วยก็ตามแต่การจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88เรื่องกำหนดเวลายื่นบัญชีระบุพยานมาใช้บังคับแก่คดีมโนสาเร่ก็ต้องนำมาใช้ให้เหมาะสมแก่สภาพของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีมโนสาเร่แต่ละคดีด้วย วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา193ที่ให้สิทธิจำเลยยื่นคำให้การในวันที่มาศาลตามหมายเรียกของศาลหรือในวันอื่นต่อมาตามแต่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้โดยต้องมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลยเมื่อคดีนี้ตามหมายเรียกของศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยมาศาลเพื่อให้การแก้ข้อหาในวันที่31พฤษภาคม2536และนัดสืบพยานในวันดังกล่าวด้วยจำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การและยื่นบัญชีระบุพยานในวันนัดสืบพยานได้แต่จำเลยยื่นคำให้การวันที่28พฤษภาคม2536แม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานมาในวันดังกล่าวด้วยก็มิอาจเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลาที่มาตรา88วรรคสองกำหนดไว้ได้เนื่องจากศาลชั้นต้นได้ทำการสืบพยานโจทก์ไปในวันที่31พฤษภาคม2536นั้นเองและเมื่อศาลชั้นต้นเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ต่อในวันที่2กรกฎาคม2536จำเลยก็ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยไว้แต่เมื่อศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่สั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับจำเลยก็ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลจึงเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ได้จงใจฝ่าฝืนไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลยและเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมศาลควรอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานและรับบัญชีระบุพยานของจำเลยไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกกรณีผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นปฏิปักษ์กัน ศาลเลือกผู้จัดการมรดกที่เหมาะสม
ในกรณีที่มีแต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านเพียงสองคนเท่านั้น ขอเป็นผู้จัดการมรดก และมีพฤติการณ์ว่าคนทั้งสองเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน การจัดการมรดกคงจะไม่อาจถือเอาเสียงข้างมากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ได้หากให้คนทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันย่อมจะไม่เป็นผลดีแก่กองมรดกและแก่ทายาทของผู้ตาย โดยเหตุนี้ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยพิจารณาตั้งผู้ที่มีความเหมาะสมมากกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกกรณีผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นปฏิปักษ์: เลือกผู้จัดการมรดกเหมาะสม
ในกรณีที่มีแต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านเพียงสองคนเท่านั้นขอเป็นผู้จัดการมรดก และมีพฤติการณ์ว่าคนทั้งสองเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน การจัดการมรดกคงจะไม่อาจถือเอาเสียงข้างมากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ได้หากให้คนทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันย่อมจะไม่เป็นผลดีแก่กองมรดกและแก่ทายาทของผู้ตาย โดยเหตุนี้ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยพิจารณาตั้งผู้ที่มีความเหมาะสมมากกว่า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3129/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายจ้างในการลงโทษทางวินัย: เลือกโทษเบากว่าที่ระบุในข้อบังคับได้ หากคำนึงถึงความยุติธรรมและเหมาะสม
ตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างข้อ 11 มีโทษถึงขั้นเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่ยังมีระเบียบข้อบังคับข้อ 10 ระบุความผิดประเภทอื่น ๆ และโทษขั้นพักงานไว้และข้อ 7 ระบุให้อำนาจนายจ้างที่จะใช้ดุลพินิจลงโทษลูกจ้างที่กระทำความผิดตามมาตรการการลงโทษมาตรการใดก็ได้ตั้งแต่ตักเตือนด้วยวาจา ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร การพักงานและให้ออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามความหนักเบาของความผิดและความเหมาะสมควร ดังนี้ เมื่อลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างขาดงานเป็นเวลา 3 วันทำงานโดยไม่มีเหตุสมควรมีโทษขั้นเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยซึ่งเป็นโทษขั้นสูงแต่นายจ้างไม่ประสงค์จะลงโทษดังกล่าวโดยขอลงโทษเพียงขั้นพักงานซึ่งเป็นคุณแก่ลูกจ้าง และเป็นการลงโทษที่ระบุไว้ในข้อบังคับนายจ้างย่อมขอให้ลงโทษดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนการสูญเสียอวัยวะ (ไต) ศาลเห็นว่า 100,000 บาท เหมาะสม
ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียไตข้างหนึ่ง ศาลกำหนดให้ 100,000 บาท นั้นเป็นจำนวนที่พอสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง: การพิจารณาจากเหตุผลและความเหมาะสม
โจทก์ถอนฟ้องเมื่อนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยคัดค้าน ศาลก็อนุญาตให้ถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2031/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการไม่ออกจากห้องเช่า: ศาลลดเบี้ยปรับให้เหมาะสม
ข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายเมื่อผู้เช่าไม่ออกจากห้องเช่าไว้ล่วงหน้าเดือนละ 20,000 บาท มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลลดลงเท่าที่ควรให้เช่าได้เดือนละ 3,000 บาทได้
of 3