พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในการแบ่งทรัพย์มรดก เจ้าของรวมมีหน้าที่ส่งมอบโฉนด
ป.พ.พ. มาตรา 1719 บัญญัติว่า "ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก" ตามบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาท เมื่อ ส. เจ้ามรดกเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาทได้เพื่อนำที่ดินส่วนที่เป็นมรดกดังกล่าวมาแบ่งปันให้ทายาทต่อไป
โจทก์ทั้งสองขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ส. แต่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วยได้นำโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวไปจำนองไว้แก่จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 เป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินดังกล่าว ก่อนฟ้องโจทก์ทั้งสองได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 4 ส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อนำมาแบ่งแยก แต่จำเลยที่ 4 เพิกเฉยไม่ส่งมอบโฉนดที่ดินให้ ถือว่าจำเลยที่ 4 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งสองขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ส. แต่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วยได้นำโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวไปจำนองไว้แก่จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 เป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินดังกล่าว ก่อนฟ้องโจทก์ทั้งสองได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 4 ส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อนำมาแบ่งแยก แต่จำเลยที่ 4 เพิกเฉยไม่ส่งมอบโฉนดที่ดินให้ ถือว่าจำเลยที่ 4 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีมรดกเกินอายุความและการแบ่งทรัพย์มรดกเสร็จสิ้นแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของนาง ผ. เจ้ามรดก ภายหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเป็นเวลาถึง 37 ปีเศษ จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 แต่หากโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1748 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นโจทก์จึงต้องนำสืบให้ได้ความโดยแน่ชัดว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกันและทายาทอื่นได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์
ทรัพย์มรดกที่ดินของนาง ผ. เจ้ามรดกได้แบ่งปันให้แก่นาย ร. นาง บ. และนาย ส. ทายาทของนาง ผ. เจ้ามรดก และบุคคลทั้งสามดังกล่าวเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัด อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคแรก จึงถือว่าการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว และนับแต่นั้นมาย่อมถือว่านาย ร. นาย ส. และนาง บ. ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน มิใช่ครอบครองแทนโจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งมรดกอีก
ทรัพย์มรดกที่ดินของนาง ผ. เจ้ามรดกได้แบ่งปันให้แก่นาย ร. นาง บ. และนาย ส. ทายาทของนาง ผ. เจ้ามรดก และบุคคลทั้งสามดังกล่าวเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัด อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคแรก จึงถือว่าการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว และนับแต่นั้นมาย่อมถือว่านาย ร. นาย ส. และนาง บ. ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน มิใช่ครอบครองแทนโจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งมรดกอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7584/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดในคดีแบ่งทรัพย์มรดก: ศาลพิจารณาความยุ่งยากในการดำเนินคดีและสิทธิในการฟ้องคดีแยกต่างหาก
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามแบ่งทรัพย์ตามฟ้องซึ่งสามีโจทก์ร่วมถือกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของสามีตามส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า โจทก์เรียก ให้แบ่งไม่ได้เพราะมีนิติกรรมขัดอยู่อีกทั้งวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร และโจทก์ขอแบ่งในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร ส่วนจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ และขาดนัดพิจารณา ดังนี้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าทรัพย์สินต่าง ๆ ที่พิพาททั้งหมดเป็นของผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวให้จำเลยทั้งสามดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินทุกแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนกลับมาเป็นชื่อผู้ร้องต่อไป เป็นการยื่นคำร้องสอดเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)ถ้าศาลรับคำร้องอนุญาตให้ผู้ร้องร้องสอดได้ก็จะต้องให้โจทก์จำเลยทั้งสามยื่นคำให้การแก้ข้อกล่าวหาด้วย และคดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งเก้าสำนวนเข้าด้วยกันแล้ว และสั่งว่าข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2ที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวขอแบ่งแยกที่ดินและคดีโจทก์ขาดอายุความศาลสามารถวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานและให้สืบพยานจำเลยที่ 1 ฉะนั้นหากอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดโดยเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ตามมาตรา 57(1) ดังกล่าวก็อาจก่อให้เกิดความยุ่งยากสับสนในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ได้ อีกทั้งหากผู้ร้องมีสิทธิดังที่กล่าวอ้างในคำร้องสอดก็อาจยกสิทธินั้นยืนยันหรือดำเนินคดีกับโจทก์และจำเลยทั้งสามเป็นคดีต่างหากได้ จึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแบ่งทรัพย์มรดก: ศาลมีอำนาจสั่งประมูลหากตกลงแบ่งกันไม่ได้
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์สองในสี่ส่วนและที่ดินที่มีชื่ออ. เป็นเจ้าของให้โจทก์อีกหนึ่งในสามส่วนหากจำเลยทั้งสองไม่ปฎิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองนั้นกรณีที่ให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่พิพาทให้โจทก์เป็นการให้แบ่งตัวทรัพย์ส่วนที่ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยทั้งสองไม่ปฎิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองเป็นการให้ดำเนินการให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ตามส่วนในทางทะเบียนอันเป็นวิธีการบังคับตามคำพิพากษาโจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นตัวทรัพย์ได้แต่วิธีการแบ่งที่ดินพิพาทในชั้นบังคับคดีนั้นถ้าคู่ความไม่ตกลงกันก็ให้ประมูลราคากันเองระหว่างคู่ความก่อนถ้าไม่ตกลงก็ให้ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ฉะนั้นเมื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ติดต่อจำเลยทั้งสองให้แบ่งที่ดินพิพาทแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมแบ่งทั้งยังขัดขวางการแบ่งโจทก์จึงขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งปันกันตามส่วนศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนเพื่อฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งว่าในการแบ่งที่ดินพิพาทคู่ความตกลงหรือประมูลราคาระหว่างกันเองได้หรือไม่ก่อนที่จะออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินจากการตกทอดทางมรดกและการแบ่งทรัพย์มรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้มีข้อจำกัดตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
ที่พิพาทเป็นของสหกรณ์นิคมจัดสรรให้มารดาของโจทก์และจำเลยทำกินเนื่องจากมารดาของโจทก์และจำเลยชรามากและเจ็บป่วยไม่สะดวกที่จะเข้าประชุมได้ จึงให้จำเลยถือสิทธิแทน ดังนี้เมื่อมารดาตายสิทธิในที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกซึ่งจะต้องตกเป็นของทายาทตามกฎหมายจำเลยเป็นเพียงผู้ถือสิทธิแทนทายาท กรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับสิทธิในที่พิพาทได้มีการไกล่เกลี่ยและตกลงกันเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์และจำเลย ซึ่งการโอนด้วยการตกทอดโดยทางมรดกเป็นข้อยกเว้นตาม มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 อนุญาตให้ทำได้ สัญญาดังกล่าวหาได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายอันจะตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความเจตนาในการแบ่งทรัพย์มรดก การประมูลทรัพย์สินต้องทำก่อนการชำระเงินค่าหุ้น
คำขอท้ายฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ของหุ้นส่วนที่มีข้อความว่า 'ขอได้โปรดแบ่งที่ดินพร้อมด้วยโรงสีและห้องแถว.......... ให้เป็นของโจทก์ 1 ส่วนเป็นเงิน 40,000 บาทโดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาด'นั้นมิได้หมายความว่าโจทก์ต้องการเงินค่าทรัพย์สินเพียง 40,000 เท่านั้นการตั้งทุนทรัพย์มาเป็นแต่เพียงเพื่อเสียค่าขึ้นศาล ส่วนการแบ่งทรัพย์ถ้าไม่ตกลงกันต้องประมูลหรือขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม: สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์เมื่อผู้รับมรดกไม่ต้องการ
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินบ้านเรือนให้โจทก์จำเลยคนละเท่าๆกันโดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าต่อไปภายหน้าผู้ที่ได้รับที่ดินบ้านเรือนนี้คนใดไม่ต้องการที่ดินบ้านเรือนรายนี้ ต้องขายให้แก่บรรดาผู้ที่ยังคงต้องการ โดยกำหนดราคาไว้ ผู้ใดที่ไม่ต้องการ ก็ให้ได้รับเงินแทนค่าที่ดินบ้านเรือนไปตามส่วนที่ตีราคาไว้ในพินัยกรรมนี้ โดยให้ผู้ต้องการอยู่จ่ายเงินตามส่วนที่กำหนดไว้นี้ให้ไปผู้ใดไม่ต้องการ จะเรียกร้องเอาราคาที่เกินกว่าที่กำหนดไว้นี้ไม่ได้ ดังนี้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องร้องขอให้แบ่งทรัพย์รายนี้โดยวิธีประมูลราคาระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งถ้าไม่ตกลงกันก็ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งปันกันได้ เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ต้องการทรัพย์ที่ยกให้ตามพินัยกรรมอันจะต้องขายให้ผู้รับทรัพย์ร่วมกันตามข้อกำหนดในพินัยกรรมแต่เป็นเรื่องที่โจทก์เรียกร้องให้แบ่งทรัพย์ที่โจทก์ได้รับมาแล้วร่วมกับจำเลยตามพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6389/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก การแบ่งทรัพย์มรดกโดยมิชอบ และอายุความการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ถือว่าผู้จัดการมรดกเป็นผู้ถือครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททุกคน และมีหน้าที่จัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อการแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 หากผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยมิชอบขัดต่อกฎหมายและถึงแก่ความตายก่อนจัดการมรดกเสร็จสิ้น ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของทายาทย่อมฟ้องผู้จัดการมรดกที่ศาลแต่งตั้งขึ้นใหม่ให้จัดการแก้ไขแบ่งทรัพย์มรดกให้ถูกต้องได้ภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคท้าย
ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกแก่ทายาทหลังเจ้ามรดกตายเกินกว่า 1 ปี การฟ้องขอเพิกถอนการโอนทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง มาใช้ไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้าย
ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกแก่ทายาทหลังเจ้ามรดกตายเกินกว่า 1 ปี การฟ้องขอเพิกถอนการโอนทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง มาใช้ไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้าย