พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7972/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ใบจองมิใช่กรรมสิทธิ์ ผู้ยึดถือครอบครองมีสิทธิ
ข้อความในใบจองที่ดินระบุไว้ว่า ใบจองฉบับนี้ให้ไว้เพื่อแสดงว่ารัฐได้ยอมให้ น. (โจทก์) เข้าครอบครองที่ดินพิพาทชั่วคราว และตามมาตรา 1 แห่ง ป. ที่ดิน ใบจอง หมายความว่า หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว ใบจองจึงมิใช่เอกสารสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์เกี่ยวกับที่ดิน เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า แม้ใบจองจะมีชื่อโจทก์ แต่หากโจทก์มิได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ก็ไม่ได้สิทธิครองครอง ปัญหาว่าระหว่างโจทก์กับจำเลยฝ่ายใดมีสิทธิครอบครองต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7216/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินมีใบจองก่อนมี น.ส.2 มิใช่การต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ที่ดิน และการสละการครอบครองไม่ขัดกฎหมาย
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่โดยจำเลยฎีกาว่าการที่ น โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีใบจอง (น.ส.2) ตีใช้หนี้ให้แก่โจทก์เป็นการต้องห้ามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา8จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้นจำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง น. ได้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีใบจอง (น.ส.2) โดยส่งมอบการครอบครองให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ก่อนที่ทางราชการจะออกใบจอง (น.ส.2) ที่ดินพิพาทให้แก่ น. การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น. กับโจทก์จึงไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 วรรคสอง ไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (พ.ศ. 2530) ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว การที่ น. โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อตีใช้หนี้ จะขัดต่อพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9หรือไม่นั้นแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 น. โอนที่ดินพิพาทขณะเป็นที่ดินที่ยังไม่มีใบจอง (น.ส.2) ให้แก่โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา กรณีเป็นเรื่องที่ น. แสดงเจตนาสละการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การครอบครองของ น. ย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377วรรคแรก โจทก์จึงได้สิทธิครอบครอง กรณีมิใช่เป็นการโอนสิทธิครอบครองตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 และการสละการยึดถือครอบครองในลักษณะดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย การโอนที่ดินพิพาทจึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 แม้ที่ดินพิพาทมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 31แห่งประมวลกฎหมายที่ดินก็ตาม แต่ทางราชการเพิ่งออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) สำหรับที่ดินพิพาทให้แก่ น.ภายหลังจากที่ น. ได้สละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไปแล้ว การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น. กับโจทก์จึงมิได้กระทำภายในระยะเวลาห้ามโอน ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุมจากเนื้อที่ดินไม่สอดคล้องกันในสัญญาซื้อขาย, ใบจอง, และโฉนดที่ดิน ทำให้ขาดความชัดเจนในการระบุขอบเขตการรุกล้ำ
เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง คำฟ้องจะชัดแจ้ง หรือไม่จึงต้องพิจารณาคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบกัน โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามใบจอง น.ส.3 และโฉนดที่ดินพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยเมื่อปรากฏตามสำเนาสัญญาซื้อขายที่ดินเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ว่า ที่ดินที่โจทก์อ้างว่าซื้อมาเจ้าของเดิมนั้น มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น 64 ไร่ แต่กลับปรากฏตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 และ 7 ซึ่งเป็นใบจองและน.ส.3 ของที่ดินที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้ออกหลักฐานรุกล้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ และปรากฏตามสำเนา เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 16 ซึ่งเป็นโฉนดที่ดินที่จะออกให้แก่จำเลย มีเนื้อที่ 47 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา ดังนี้การที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากเจ้าของเดิมมีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น 64 ไร่ แต่ที่ดินตามใบจองและ น.ส.3 ของจำเลยตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6และ 7 กลับมีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ ทั้งที่ดินตามโฉนดที่ดินที่จะออกให้แก่จำเลยมีเนื้อที่ประมาณ 47 ไร่เศษ เท่านั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จำเลยจะขอออกใบจอง น.ส.3 และโฉนดที่ดิน ดังกล่าวรุกล้ำที่ดินเจ้าของเดิมที่โจทก์ซื้อมาทั้งแปลงดัง คำฟ้องโจทก์ เพราะที่ดินตามใบจอง น.ส.3 และโฉนดที่ดิน ดังกล่าวมีเนื้อที่น้อยกว่าที่ดินที่โจทก์อ้างว่าซื้อมาจาก เจ้าของเดิมถึง 10 ไร่เศษ นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาสำเนาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 18 ซึ่งเป็นแผนที่ที่ดินพิพาท ก็ไม่สามารถทราบได้ว่าที่ดินที่โจทก์อ้างว่าจำเลยขอออกใบจอง น.ส.3 และโฉนดที่ดินนั้นเป็นที่ดินตรงบริเวณไหนของแผนที่ดังกล่าวหรือรุกล้ำที่ดินที่โจทก์อ้างว่าซื้อมาจากเจ้าของเดิมตรงส่วนไหนบ้างคำฟ้องโจทก์ดังกล่าวเป็นการแสดงสภาพแห่งข้อหาขัดแย้งกันในตัวจึงเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดาต่อบุคคลภายนอกจากการจัดสรรที่ดินของบุตร และผลผูกพันของใบจองซื้อ
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการค้าของบริษัทจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 เป็นบิดา ร.ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 2และขณะที่จำเลยที่ 2 ดำเนินโครงการการจัดสรรที่ดินขายเป็นแปลงย่อยพร้อมบ้านจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าว ประกอบกับจำเลยที่ 2ได้ปักป้ายโฆษณาไว้ปากทางเข้าหมู่บ้านโครงการ มีสำนักงานตั้งอยู่บริเวณหน้าหมู่บ้านโครงการ ดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่า จำเลยที่ 1 รู้เห็นในการจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้เพียงผู้เดียว
โจทก์จองซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 พร้อมให้จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างบ้านในที่ดินตามใบจอง ซึ่งกำหนดให้โจทก์มาทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อจำเลยที่ 2 ได้วางผังแล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้วางผังที่ดินแปลงที่โจทก์จองซื้อตามใบจอง การที่โจทก์ยังไม่ได้ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 2 จึงหาได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและสละสิทธิในใบจองตามข้ออ้างของจำเลยทั้งสองไม่
การที่โจทก์ได้วางเงินจองไว้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้มัดจำและเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันขึ้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 377อีกทั้งตามใบจองได้ระบุ จำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จองซื้อ ราคาที่ดิน แบบบ้านที่จะปลูกสร้างและราคาค่าก่อสร้าง ตลอดจนบริเวณของที่ดินที่จองซื้อกับระบุว่าดังเอกสารแนบท้าย ซึ่งตามแผนผังที่ดินก็ระบุที่ดินที่โจทก์จองซื้อคือที่ดินในส่วนสีส้ม กรณีจึงมีสาระสำคัญครบถ้วน เป็นสัญญาจะซื้อจะขายอันบังคับจำเลยที่ 2 ตามใบจองได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 629 และมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 821 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ปลูกสร้างบ้านและโอนที่ดินให้แก่โจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันเสียภาษีในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกับโจทก์ออกค่าธรรมเนียมการซื้อขายและค่าธรรมเนียมในการรังวัดแบ่งแยกที่ดินคนละครึ่ง กับให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดต่อศาลตามคำขอของโจทก์ จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งในส่วนนี้แต่อย่างใดทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247 การที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นจากที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์จองซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 พร้อมให้จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างบ้านในที่ดินตามใบจอง ซึ่งกำหนดให้โจทก์มาทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อจำเลยที่ 2 ได้วางผังแล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้วางผังที่ดินแปลงที่โจทก์จองซื้อตามใบจอง การที่โจทก์ยังไม่ได้ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 2 จึงหาได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและสละสิทธิในใบจองตามข้ออ้างของจำเลยทั้งสองไม่
การที่โจทก์ได้วางเงินจองไว้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้มัดจำและเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันขึ้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 377อีกทั้งตามใบจองได้ระบุ จำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จองซื้อ ราคาที่ดิน แบบบ้านที่จะปลูกสร้างและราคาค่าก่อสร้าง ตลอดจนบริเวณของที่ดินที่จองซื้อกับระบุว่าดังเอกสารแนบท้าย ซึ่งตามแผนผังที่ดินก็ระบุที่ดินที่โจทก์จองซื้อคือที่ดินในส่วนสีส้ม กรณีจึงมีสาระสำคัญครบถ้วน เป็นสัญญาจะซื้อจะขายอันบังคับจำเลยที่ 2 ตามใบจองได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 629 และมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 821 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ปลูกสร้างบ้านและโอนที่ดินให้แก่โจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันเสียภาษีในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกับโจทก์ออกค่าธรรมเนียมการซื้อขายและค่าธรรมเนียมในการรังวัดแบ่งแยกที่ดินคนละครึ่ง กับให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดต่อศาลตามคำขอของโจทก์ จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งในส่วนนี้แต่อย่างใดทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247 การที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นจากที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9326/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินที่ได้รับใบจองก่อนบังคับใช้ประมวลกฎหมายที่ดินเป็นโมฆะ และการครอบครองภายหลังจึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิ
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1 ให้คำนิยามคำว่า "ใบจอง"ว่าหมายถึง หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว จากคำนิยามดังกล่าวถือได้ว่าทางราชการยังไม่ได้ให้สิทธิครอบครองอย่างเด็ดขาดแก่จำเลย จำเลยมีเพียงแต่สิทธิเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับข้อกำหนด รวมทั้งเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนด แต่ในระหว่างที่จำเลยได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดินพิพาท จำเลยจะต้องอยู่ภายในบังคับของพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ที่ดินที่ได้รับใบอนุญาตให้จับจอง...ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดโดยมรดก เมื่อการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างนาย ค. กับจำเลยยังอยู่ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าวนิติกรรมการซื้อขายและส่งมอบที่ดินพิพาทเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายจึงเป็นโมฆะกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแม้โจทก์ทั้งสองผู้เป็นทายาทจะครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อจากนาย ค. มานานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ที่ดินพิพาทยังเป็นของรัฐอันบุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่โจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองภายหลังจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับในปี 2497 แล้ว จึงมิใช่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ทั้งการยึดถือครอบครองของโจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการต้องห้ามตามประมวล-กฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่าที่มีใบจอง (น.ส.2) และข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดิน จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทมีใบจอง (น.ส.2) เป็นชื่อของ ล. จำเลยครอบครองมา ถือว่าจำเลยไม่ได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เพียง 3 งาน หากให้เช่าน่าจะได้ค่าเช่าไม่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้ที่ดินพิพาทมีหลักฐานใบจองจึงโอนกันไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 10 แต่ที่ดิน-พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าจึงโอนสิทธิครอบครองแก่กันได้โดยการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ และถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาอีก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินมีใบจอง(น.ส.2) ห้ามโอนเว้นแต่ทางมรดก การครอบครองต่อมาไม่ทำให้เกิดกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทมีใบจอง(น.ส.2)เป็นเชื่อของล. จำเลยครอบครองมาถือว่าจำเลยไม่ได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เพียง3งานหากให้เช่าน่าจะได้ค่าเช่าไม่เกินเดือนละสี่พันบาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าแม้ที่ดินพิพาทมีหลักฐานใบจองจึงโอนกันไม่ได้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา10แต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าจึงโอนสิทธิครอบครองแก่กันได้โดยการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองนั้นเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบและถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาอีกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐ: ใบจอง (น.ส.2) และการครอบครองปรปักษ์
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐซึ่งโจทก์ได้ขออนุญาตจับจองตามที่กฎหมายกำหนดจนทางราชการอนุญาตให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้เป็นการชั่วคราวโดยออกใบจอง (น.ส.2) ให้เป็นหลักฐาน โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ แม้จำเลยจะได้เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์เกินกว่า 1 ปีก็ตาม ก็เป็นการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตจำเลยจึงอ้างเอาระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้ โจทก์บรรยายฟ้องถึงที่ตั้งของที่ดินพิพาทและเวลาที่เข้าครอบครองที่ดินพิพาท ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน แม้ไม่ได้ระบุอาณาเขตกว้างยาวไว้ แต่มีแผนที่สังเขปท้ายฟ้องระบุอาณาเขตกว้างยาวไว้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายส่วนรายละเอียดนอกจากนี้โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายและการแย่งการครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องโดยสรุปว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน 1 แปลง เนื้อที่ 44 ไร่ 1 งาน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3ตำบลบางนอน อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้อง โดยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ตลอดมา เมื่อประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2530 จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกต้นไม้ในที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ 50 ตารางวา โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ปรากฏตามแผนที่สังเขปแสดงตำแหน่งที่ดินพิพาทในบริเวณระบายสีแดง การละเมิดของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายเดือนละ 12,100 บาท ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และให้บังคับจำเลยดังนี้คำฟ้องได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่ดินที่ทางราชการออกประทานบัตรทำเหมืองแร่ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. แล้วห้างฯ ดังกล่าวเลิกดำเนินการไป ทางราชการจึงให้ราษฎรเข้าจับจองโดยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขตามบทกฎหมายข้างต้นที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นที่ดินของรัฐ โจทก์ได้ดำเนินการขออนุญาตจับจองตามที่กฎหมายกำหนด จนทางราชการอนุญาตให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้เป็นการชั่วคราวโดยออกใบจอง (น.ส.2) ให้เป็นหลักฐานโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน แม้ทางนำสืบของจำเลยจะได้ความว่าจำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2528 อันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีก็ตาม ก็เป็นการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาต ดังนั้นจำเลยจะอ้างเอาระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8752/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดถือใบจอง (น.ส.2) เพื่อประกันหนี้กู้เงิน แม้ไม่เกิดสิทธิยึดหน่วง แต่จำเลยมีสิทธิยึดถือได้จนกว่าจะชำระหนี้ครบ
การที่ผู้ตายมอบใบจอง (น.ส.2) ให้จำเลยยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน แม้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิยึดหน่วงแก่จำเลยเพราะหนี้ที่จำเลยมีเป็นเพียงหนี้เงินกู้ที่จำเลยจะได้รับชำระหนี้คืนจากผู้ตายเท่านั้น หาได้มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยที่ดินใบจอง (น.ส.2) ซึ่งครอบครองไว้นั้นจึงไม่เป็นสิทธิยึดหน่วงดังที่โจทก์ฎีกากล่าวอ้างก็ตาม แต่อย่างไรก็ดีเมื่อผู้ตายมอบใบจอง (น.ส.2) ให้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงิน ซึ่งจำเลยมีสิทธิฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ดังนั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้รับชำระหนี้คืนจนเสร็จสิ้นเชิง จำเลยย่อมมีสิทธิยึดถือใบจอง (น.ส.2) ดังกล่าวไว้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทซึ่งมีชื่อผู้ตายเป็นผู้ขอเข้าครอบครองที่ดินคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือ หาใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลย แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทเนื่องจากผู้ตายขายที่พิพาทให้จำเลยแล้ว ก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับใบจอง (น.ส.2) เท่านั้น ทั้งผลของคดีไม่ทำให้สิทธิครอบครองในที่ดินเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ศาลชั้นต้นให้คู่ความตีราคาที่ดินตามใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทไว้ด้วย ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเพียง 200 บาท ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นต้นเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 8,600 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมา 8,600 บาทให้แก่โจทก์
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทซึ่งมีชื่อผู้ตายเป็นผู้ขอเข้าครอบครองที่ดินคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือ หาใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลย แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทเนื่องจากผู้ตายขายที่พิพาทให้จำเลยแล้ว ก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับใบจอง (น.ส.2) เท่านั้น ทั้งผลของคดีไม่ทำให้สิทธิครอบครองในที่ดินเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ศาลชั้นต้นให้คู่ความตีราคาที่ดินตามใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทไว้ด้วย ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเพียง 200 บาท ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นต้นเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 8,600 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมา 8,600 บาทให้แก่โจทก์