พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดจำนองติดไป ผู้รับโอนทรัพย์สินมีหน้าที่ไถ่ถอนจำนอง ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองมีทั้งการขายโดยปลอดจำนอง และการขายโดยจำนองติดไป หากเป็นการขายทอดตลาดโดยปลอดจำนอง เจ้าหนี้จำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ส่วนการขายทอดตลาดโดยจำนองติดไป ผู้รับจำนองยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง โดยบังคับจำนองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองตามมาตรา 735 เมื่อจำเลยเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองโดยการซื้อทรัพย์สินที่จำนองจากการขายทอดตลาด มิใช่คู่สัญญาตามสัญญาจำนอง จำเลยจึงเป็นบุคคลภายนอก ย่อมไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ยอมให้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ทรัพย์สินที่จำนอง แม้โจทก์ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองโดยมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 702 วรรคสอง แต่จำเลยผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองก็มีหน้าที่เพียงปลดเปลื้องภาระจำนองด้วยการไถ่ถอนจำนอง ตามบทบัญญัติในบรรพ 3 ลักษณะ 12 หมวด 5 แห่ง ป.พ.พ. เท่านั้น ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องชำระหนี้ตามสัญญาจำนองแก่โจทก์ และหากการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองได้เงินสุทธิไม่พอ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดแก่โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินและทาวน์เฮาส์หลังการไถ่ถอนจำนอง: เจ้าของเดิมโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่ระบุข้อยกเว้น ทำให้ทาวน์เฮาส์เป็นส่วนควบของที่ดิน
คำขอท้ายฟ้องและคำขอท้ายอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากทาวน์เฮาส์ที่พิพาท เมื่อทาวน์เฮาส์ปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ทั้งสิบเอ็ดย่อมไม่ประสงค์ให้จำเลยและบริวารอยู่ในที่ดินและทาวน์เฮาส์ต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินด้วย จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ว. ซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อ บ. เป็นเจ้าของ และได้จำนองที่ดินดังกล่าวเป็นประกันหนี้ไว้แก่ธนาคาร ว. นำที่ดินมาทำการจัดสรรและปลูกสร้างทาวน์เฮาส์จำหน่ายแก่โจทก์ทั้งสิบเอ็ด ย. และจำเลย โดยจำเลยได้ชำระเงินบางส่วนแล้ว ต่อมา ว. ขาดสภาพคล่องทางการเงินไม่สามารถไถ่ถอนจำนองและโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ให้แก่ผู้ซื้อได้ จึงตกลงให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. เป็นผู้ไถ่ถอน แต่จำเลยปฏิเสธไม่ร่วมซื้อด้วย เมื่อไถ่ถอนจำนองแล้ว ว. จึงดำเนินการให้ บ. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. เป็นเจ้าของโดยไม่ได้ระบุว่าไม่รวมทาวน์เฮาส์ ทาวน์เฮาส์ททั้งหมดจึงเป็นส่วนควบของที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. แม้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จะไม่มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดที่ดิน แต่เมื่อโจทก์ที่ 3 เป็นสามีโจทก์ที่ 11 และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ช่วยออกเงินในการไถ่ถอนจำนอง โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินและทาวน์เฮาส์
จำเลยมิได้มีนิติสัมพัมธ์กับโจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. แต่มีนิติสัมพันธ์กับ ว. จึงเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกับ ว. ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ทั้งสิบเอ็ดได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว การที่จำเลยไม่ออกไปจึงเป็นละเมิด โจทก์ทั้งสิบเอ็ดจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่
ว. ซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อ บ. เป็นเจ้าของ และได้จำนองที่ดินดังกล่าวเป็นประกันหนี้ไว้แก่ธนาคาร ว. นำที่ดินมาทำการจัดสรรและปลูกสร้างทาวน์เฮาส์จำหน่ายแก่โจทก์ทั้งสิบเอ็ด ย. และจำเลย โดยจำเลยได้ชำระเงินบางส่วนแล้ว ต่อมา ว. ขาดสภาพคล่องทางการเงินไม่สามารถไถ่ถอนจำนองและโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ให้แก่ผู้ซื้อได้ จึงตกลงให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. เป็นผู้ไถ่ถอน แต่จำเลยปฏิเสธไม่ร่วมซื้อด้วย เมื่อไถ่ถอนจำนองแล้ว ว. จึงดำเนินการให้ บ. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. เป็นเจ้าของโดยไม่ได้ระบุว่าไม่รวมทาวน์เฮาส์ ทาวน์เฮาส์ททั้งหมดจึงเป็นส่วนควบของที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. แม้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จะไม่มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดที่ดิน แต่เมื่อโจทก์ที่ 3 เป็นสามีโจทก์ที่ 11 และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ช่วยออกเงินในการไถ่ถอนจำนอง โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินและทาวน์เฮาส์
จำเลยมิได้มีนิติสัมพัมธ์กับโจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. แต่มีนิติสัมพันธ์กับ ว. จึงเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกับ ว. ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ทั้งสิบเอ็ดได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว การที่จำเลยไม่ออกไปจึงเป็นละเมิด โจทก์ทั้งสิบเอ็ดจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาค้ำประกัน - สัญญาไม่เป็นลายลักษณ์อักษร - ไถ่ถอนจำนอง - ข้อตกลงไม่มีผลผูกพัน
สัญญากู้ที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ เป็นสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ทั้งสี่ เนื่องจากการที่โจทก์ทั้งสี่ได้ทำสัญญาค้ำประกันและจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ที่ ม. กับ บ. ร่วมกันกู้ยืมเงินจากธนาคาร หากโจทก์ทั้งสี่ต้องชำระหนี้แก่ธนาคารแล้วจำเลยจะต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามสัญญา โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้โดยที่ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามภาระการค้ำประกันแก่ธนาคารอันเนื่องจากมูลหนี้ของ ม. กับ บ. จำเลยยังไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าว โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่โจทก์ทั้งสี่ฎีกาว่า จำเลยตกลงจะไถ่ถอนจำนองที่ดินแล้วคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ทั้งสี่ภายใน 6 เดือน ไม่เช่นนั้นจะต้องนำเงินจำนวน 500,000 บาท มอบแก่โจทก์ทั้งสี่เพื่อนำไปไถ่ถอนจำนองนั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นว่าจะให้ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 526 โจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบเงินจำนวนดังกล่าว
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
ที่โจทก์ทั้งสี่ฎีกาว่า จำเลยตกลงจะไถ่ถอนจำนองที่ดินแล้วคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ทั้งสี่ภายใน 6 เดือน ไม่เช่นนั้นจะต้องนำเงินจำนวน 500,000 บาท มอบแก่โจทก์ทั้งสี่เพื่อนำไปไถ่ถอนจำนองนั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นว่าจะให้ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 526 โจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบเงินจำนวนดังกล่าว
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และการบังคับจำเลยให้ไถ่ถอนจำนองที่ดิน
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท แต่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1301 อีกทั้งธนาคารผู้รับจำนองเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเป็นจำเลยด้วย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงธนาคารให้ยินยอมให้จดทะเบียนไถ่จำนองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสัญญาจำนอง: การคุ้มครองหนี้ทุกประเภท และผลกระทบต่อการไถ่ถอนจำนอง
สัญญาจำนองที่ดินระหว่างโจทก์กับธนาคารจำเลยนอกจากจะเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์กู้จากจำเลยแล้ว ยังเป็นประกันหนี้ทุกประเภทที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยอีกด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ยังค้างชำระหนี้ตามสัญญาขายตั๋วสัญญาใช้เงินแก่จำเลย จึงถือได้ว่าโจทก์ยังมีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาจำนองรายนี้อยู่ แม้โจทก์จะชำระหนี้ที่โจทก์กู้จากจำเลยครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองก็ยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ถอนจำนองและการส่งมอบที่ดิน: ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง หรือให้โจทก์ไถ่ถอนแทนโดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายได้
จำเลยเป็นตัวแทนมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง แต่การไถ่ถอนจำนอง จำเลยผู้จำนองจะต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน ที่ดินพิพาทจึงจะปลอดจำนอง หากจำเลยไม่ปฏิบัติดังกล่าวก็ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นตามลำดับต่อไปได้ จึงเป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง หากจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นนั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ตัวแทนส่งมอบทรัพย์สิน & การไถ่ถอนจำนอง: ศาลพิพากษาให้ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ไม่เกินคำฟ้อง
ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลล่างได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238ประกอบมาตรา 247 โดยศาลล่างฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพขณะที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 วรรคหนึ่งแต่หลังจากจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ดังกล่าวแล้ว จำเลยได้ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคาร พ. โดยโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์ก็ได้บรรยายมาด้วย ดังนี้ จำเลยจึงต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์โดยปลอดจำนองเช่นเดิม แต่การไถ่ถอนจำนองจำเลยผู้จำนองจะต้องไปชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองครบถ้วน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นตามลำดับต่อไปได้จึงเป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ที่ศาลล่างพิพากษาให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น หาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ถอนจำนองโดยบุคคลที่สามเพื่อรักษาทรัพย์สิน ไม่ถือเป็นการโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้
จำเลยและสามีถูกธนาคารผู้รับจำนองฟ้องให้ร่วมรับผิดชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยและธนาคารได้ขอบังคับจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยนำไปจำนองไว้เป็นประกันการกู้ยืม แม้ธนาคารผู้รับจำนองจะฟ้องคดีหลังจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่หนี้ที่จำเลยมีอยู่ต่อธนาคารเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนและเป็นหนี้ที่มิได้เกิดจากการสมยอมระหว่างจำเลยกับธนาคาร การที่จำเลยตกลงยินยอมให้ พ.เป็นผู้ชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนองที่ดินต่อธนาคารแทนจำเลยและรับโอนที่ดินไป โดยมีข้อตกลงให้จำเลยซื้อที่ดินจาก พ.คืนกลับไปได้ โดย พ.ต้องชำระเงินต้นกับดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมภาษีและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แก่ธนาคารผู้รับจำนอง จึงเป็นกรณีที่จำเลยต้องกระทำเพื่อมิให้ธนาคารเจ้าหนี้ผู้รับจำนองบังคับจำนองแก่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยถือไม่ได้ว่าจำเลยโอนขายทรัพย์สินของตนไปโดยเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8477/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายและการไถ่ถอนจำนองโดยปริยาย การคืนเงินและดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทในเครือของธนาคาร ศ. และจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดตั้งจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นหนี้เงินกู้จำเลยที่ 1 โดยจำนองที่ดินพิพาท 8 แปลงไว้แก่จำเลยที่ 1 เป็นประกันด้วย ในการจัดการหนี้สินของจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 1 และธนาคาร ศ. ร่วมรู้เห็นและจัดการด้วย จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท 8 แปลงนี้ไว้แก่โจทก์ โดยความรู้เห็นของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้ชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายบางส่วนให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 5,000,000 บาท เป็นแคชเชียร์เช็คซึ่งเรียกเก็บเงินได้แล้ว และให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 1,000,000 บาท โดยส่วนที่เหลือสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 จะโอนที่ดิน 8 แปลงให้แก่โจทก์ กรณีนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกันสัญญากับจำเลยที่ 2 ด้วย ต่อมาจำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ดำเนินการไถ่ถอนจำนองและโอนที่ดินพิพาท 8 แปลงให้แก่โจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีล้มละลาย หลังจากนั้นโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน 8 แปลงฉบับใหม่กับจำเลยที่ 2 โดยไม่มีการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจะซื้อจะขายครั้งแรก ถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะบังคับชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายและไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท 8 แปลงครั้งแรก และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายครั้งแล้วครบกำหนดต่างฝ่ายต่างเพิกเฉย กรณีถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้ง 2 ต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ต่างฝ่ายต่างจะเรียกค่าเสียหายใด ๆ แก่กันไม่ได้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องคืนเงิน 5,000,000 บาท และ 1,000,000 บาท ตามลำดับพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5791/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้เพื่อบำเหน็จสินจ้าง: ถอนคืนการให้ไม่ได้เมื่อเป็นการชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง
การที่โจทก์ยกที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ให้จำเลยเพราะจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากธนาคารซึ่งเป็นหนี้ที่โจทก์ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ของโจทก์ฝ่ายเดียวนั้น ถือเป็นการให้เพื่อบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ โจทก์จึงถอนคืนการให้ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(1)