คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชาญ กาญจนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3106/2564

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีค้ามนุษย์: จำเลยมีหน้าที่เพียงแนะนำลูกค้า ไม่ใช่ผู้ดูแลสถานการค้าประเวณี
จำเลยเป็นเพียงพนักงานคนหนึ่งในร้านที่เกิดเหตุที่ช่วยแนะนำลูกค้าเกี่ยวกับหญิงที่ค้าประเวณีเท่านั้น ไม่ได้ดูแลกิจการของร้านที่เกิดเหตุทั้งหมดและไม่มีอำนาจสั่งการหรือกำหนดกฎเกณฑ์ให้หญิงค้าประเวณีปฏิบัติเพื่อกิจการการค้าประเวณี จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดูแลสถานการค้าประเวณีและเป็นผู้ควบคุมผู้กระทำการค้าประเวณีในสถานการค้าประเวณีตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืน: โจทก์ต้องพิสูจน์เจตนาครอบครองของจำเลย นอกเหนือจากหลักฐานการพบเจอ
พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 4 (6) ให้ความหมายของคำว่า "มี" ไว้ว่า มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครอง เมื่อโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับพวกในการมีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางดังกล่าว ประกอบกับการพิจารณาคดีอาญา โจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้ชัดแจ้งโดยปราศจากข้อสงสัยเพื่อให้ศาลรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา ลำพังเพียงจำเลยซึ่งเป็นภริยา อ. ไปกับ อ. ในวันที่มีการซื้อขายอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลาง และจำเลยอาศัยอยู่ในบ้านที่เกิดเหตุซึ่งตรวจค้นพบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลาง โดยที่บ้านดังกล่าวเป็นบ้านที่ อ. พักอาศัยอยู่ด้วยนั้น พฤติการณ์แห่งคดียังไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ชี้ว่าจำเลยกระทำความผิดจริง ศาลฎีกายกฟ้องและยกคำขอชดใช้ค่าเสียหาย
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยในความผิดฐานนี้จึงเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์แล้วเห็นว่ายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 หรือไม่ และยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย ศาลฎีกาก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยในข้อหาความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจารด้วยเพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8901/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้เช่าช่วง – ผู้เช่าช่วงไม่มีอำนาจฟ้องผู้ให้เช่าโดยตรงเมื่อสัญญาเช่าเดิมไม่ระบุ
สัญญาเช่าพิพาท มีจำเลยผู้ให้เช่าทำสัญญากับโจทก์ที่ 1 ผู้เช่า โจทก์ที่ 3 เป็นเพียงผู้เช่าช่วงจากโจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 2 เช่าช่วงจากโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 จึงมิใช่ผู้เช่าโดยตรงกับจำเลย ซึ่งระหว่างโจทก์ที่ 3 ผู้เช่าช่วงกับจำเลยผู้ให้เช่าเดิมนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้เช่าช่วงถือเอาสิทธิใด ๆ กับจำเลยผู้ให้เช่าเดิมได้ กฎหมายคงบัญญัติเฉพาะให้ผู้เช่าช่วงต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าเดิมโดยตรงเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 545 บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทยกเว้นหลักทั่วไปที่ว่าสัญญามีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น ไม่อาจบังคับเอากับบุคคลภายนอกสัญญาได้ กรณีจึงไม่อาจตีความขยายความบทบัญญัติซึ่งเป็นข้อยกเว้นในทางกลับกันให้ผู้เช่าช่วงเรียกร้องสิทธิและหน้าที่เอาจากผู้ให้เช่าเดิมได้ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ใด ๆ ที่จะพึงมีต่อกันในอันที่จะให้อำนาจแก่ผู้เช่าช่วงฟ้องบังคับเอากับผู้ให้เช่าเดิมเพื่อรับผิดต่อผู้เช่าช่วงโดยตรงได้ แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ให้เช่าจะเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าพิพาท ทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าได้รับความเสียหาย และหากฟังข้อเท็จจริงดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การเช่าช่วงของโจทก์ที่ 3 เป็นไปโดยชอบ แต่เมื่อโจทก์ที่ 3 ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลย โจทก์ที่ 3 จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8429/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะสัญญา: สัญญาผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมขัดต่อกฎหมายค้ำประกันใหม่
ก่อนที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามจะทำสัญญากัน ได้มีการตรา พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 ขึ้นโดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติใน ป.พ.พ.ว่าด้วยค้ำประกันหลายมาตรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ยกเลิกมาตรา 691 (เดิม) และเพิ่มเติม มาตรา 681/1 ซึ่งบัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งว่า ข้อตกลงใดที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ค้ำประกันมีสถานะเป็นลูกหนี้ชั้นที่สองอย่างแท้จริง จึงห้ามเจ้าหนี้ทำสัญญาให้ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะลูกหนี้ร่วมในหนี้ที่ตนเป็นผู้ค้ำประกัน แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการทำสัญญาอื่นที่ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน ในการตีความนอกจากตีความจากข้อความที่เขียนไว้ในสัญญาแล้วยังต้องตีความตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรและต้องเป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปรกติประเพณีด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 และมาตรา 368 จำเลยที่ 1 ทำคำเสนอขอเช่าซื้อรถโดยระบุว่า จำเลยที่ 1 ตกลงซื้อรถยนต์จากเจ้าของหรือผู้จำหน่าย จึงประสงค์ขออนุมัติสินเชื่อจากโจทก์เพื่อนำไปชำระราคาแก่เจ้าของหรือผู้จำหน่ายโดยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในรถให้แก่โจทก์ เพื่อให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อจากโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำคำเสนอขอทำหนังสือยอมร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม โดยระบุในคำเสนอว่าเพื่อให้โจทก์พิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าตามคำขอเพื่อให้ผู้เช่าได้รับรถคันที่ขอเช่าซื้อไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการเช่าซื้อ แสดงให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของการทำสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสามว่า จำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวประสงค์จะซื้อรถโดยขอสินเชื่อจากโจทก์ แต่เพื่อให้แน่ใจว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน จึงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญายินยอมผูกพันร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย อันเป็นประโยชน์แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้รับผลประโยชน์หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับรถคันที่เช่าซื้อแต่อย่างใดไม่ การเข้าทำสัญญาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีลักษณะเข้าผูกพันรับผิดเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 แต่เนื่องจากกฎหมายค้ำประกันใหม่ห้ามมิให้มีข้อตกลงให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม โจทก์จึงอาศัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมมาบังคับใช้กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 แทนโดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงชื่อในแบบสัญญาที่โจทก์พิมพ์ข้อความไว้ล่วงหน้ามีสาระสำคัญว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม นอกจากนี้ยังมีข้อความที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตกลงล่วงหน้ายอมให้มีการผ่อนชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ตกลงยอมรับผิดเต็มจำนวนแม้โจทก์ปลดหนี้หรือลดหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 และยอมรับผิดแม้จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเข้าทำสัญญาเช่าซื้อด้วยความสำคัญผิดอย่างใด ๆ ไม่ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้รู้ถึงเหตุไร้ความสามารถหรือสำคัญผิดในขณะทำสัญญาหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ล้วนแต่บัญญัติไว้เฉพาะใน ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะค้ำประกัน แต่โจทก์จัดทำสัญญาโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายดังกล่าวบัญญัติ หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ใช่ผู้ค้ำประกันก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกระทำเช่นนั้น ประกอบกับตามประเพณีทางการค้าของธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ที่ผ่านมาผู้ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อจัดให้ผู้เช่าซื้อโดยให้มีบุคคลต้องร่วมรับผิดในหนี้ของผู้เช่าซื้อจะจัดให้ทำสัญญาค้ำประกัน สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำขึ้นนั้น คู่สัญญามีเจตนาผูกพันกันอย่างสัญญาค้ำประกัน ข้อตกลงที่กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 681/1 การที่โจทก์หลีกเลี่ยงกฎหมายโดยอาศัยอำนาจต่อรองที่เหนือกว่าและมีความสันทัดในข้อกฎหมายมากกว่าจัดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญายอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมแทนการทำสัญญาค้ำประกันอย่างตรงไปตรงมา ถือว่าโจทก์ผู้ประกอบธุรกิจไม่ใช้สิทธิแห่งตนด้วยความสุจริตโดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12 จึงไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ จากสัญญาดังกล่าวได้ พฤติการณ์ของโจทก์ไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีมีเจตนาจะให้สัญญาส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะเพราะไม่มีส่วนใดที่สมบูรณ์แยกส่วนออกมาได้ สัญญายินยอมร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3คดีนี้จำเลยทั้งสามขาดนัดยื่นคำให้การ และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลจะพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์จัดพิมพ์สัญญายินยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับใช้สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 681/1 ตกเป็นโมฆะ เป็นการวินิจฉัยในประเด็นว่าคำฟ้องของโจทก์ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ ถือเป็นประเด็นการวินิจฉัยที่อยู่ในประเด็นตามคำฟ้อง ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาว่าสัญญายินยอมร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเป็นโมฆะมาวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของอัยการสูงสุด, การแก้ไขคำฟ้อง, และการริบทรัพย์สินในคดีทุจริต - หลักเกณฑ์และขอบเขต
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/6 ถึงมาตรา 123/8 ไม่ได้บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะริบทรัพย์สินได้โดยโจทก์ไม่ต้องมีคำขอเช่นเดียวกับที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 บัญญัติเป็นมาตรการไว้ในมาตรา 31 และ 32 เมื่อการริบทรัพย์สินเป็นโทษตาม ป.อ. ซึ่งใช้บังคับในขณะที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิด หากโจทก์ประสงค์จะให้ศาลริบทรัพย์สินใดของจำเลยทั้งสองก็ต้องบรรยายไว้ในคำฟ้อง และมีคำขอท้ายฟ้องให้ริบด้วย ถึงแม้โจทก์จะนำพยานหลักฐานเข้าไต่สวนโดยชอบด้วยกฎหมาย และศาลรับฟังได้ว่าเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 เป็นทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองได้มาโดยได้กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 33 (2) ก็ตาม แต่การนำพยานหลักฐานเข้าไต่สวนดังกล่าวไม่ได้เป็นข้อยกเว้นให้โจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องเกี่ยวกับเงินของจำเลยทั้งสองว่ายึดหรืออายัดไว้เป็นของกลางหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด และไม่ต้องมีคำขอท้ายฟ้องให้ริบเงินใด ๆ ดังนั้นเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีการยึดหรืออายัดเงินใด ๆ ที่จำเลยทั้งสองได้มาโดยได้กระทำความผิด และคำขอท้ายฟ้องก็ไม่ได้มีคำขอให้ศาลสั่งริบเงินของจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจริบเงินของจำเลยทั้งสองในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ได้ อีกทั้งไม่อาจนำมาตรการริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาปรับใช้แก่คดีนี้ได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบเงิน 1,822,494 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมทั้งกำหนดมูลค่าของสิ่งที่ริบเป็นเงิน 62,724,776 บาท จึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฟอกเงินไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ความผิดมูลฐานก่อน หากมีหลักฐานการกระทำความผิดฐานฟอกเงินก็สามารถดำเนินคดีได้
ความผิดฐานฟอกเงิน โดยรับโอนเงินเพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริง และจำหน่ายจ่ายโอน ซึ่งเงินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระอันเป็นความผิดมูลฐานด้วย และฐานสมคบเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงินและได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน ผู้กระทำความผิดหาจำต้องเป็นผู้ส่งข้อมูลอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่ามัลแวร์เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายจนทำให้มีการโอนเงินโดยอัตโนมัติ หรือหาจำต้องเป็นผู้หลอกหลวงให้ผู้เสียหายโอนเงินไม่ ทั้งกรณีไม่จำต้องอาศัยความผิดมูลฐานเป็นเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินคดีอาญาในความผิดมูลฐานหรือมีคำพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดมูลฐานเสียก่อน จึงจะดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการ: การจำหน่ายคดีให้ไปดำเนินการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีให้คู่ความไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ โจทก์ขอให้เลขาธิการไอเอทีเอตั้งอนุญาโตตุลาการตามคำสั่งของศาลชั้นต้น แม้จำเลยมีหนังสือถึงไอเอทีเอคัดค้านไม่ให้ตั้งอนุญาโตตุลาการ แต่จำเลยแก้ฎีกาว่า การปฏิเสธการอนุญาโตตุลาการเป็นการต่อสู้คดี จำเลยไม่มีเจตนาสละข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ การพิจารณาตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นอำนาจของเลขาธิการไอเอทีเอ ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาแต่งตั้งตัวแทนซึ่งมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ เมื่อจำเลยยื่นคำให้การและยื่นคำร้องขอให้ศาลจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการโดยให้ศาลชั้นต้นงดการไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดตามคำร้องและคำคัดค้าน เท่ากับจำเลยรับว่าข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ ศาลจึงต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง และหากเลขาธิการไอเอทีเอไม่ตั้งอนุญาโตตุลาการตามที่กำหนดไว้ โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจให้ดำเนินการตั้งอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 18 วรรคท้าย (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

of 2