คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1755.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนที่ดินมรดก: คดีไม่ใช่การแบ่งมรดก, น้องไม่สิทธิรับมรดก, อายุความไม่ตัดฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินของบิดา(ซึ่งตกเป็นมรดกได้แก่ตน) จากอาว์ผู้ยึดถือที่ดินนั้นไว้ นั้นไม่ใช่เป็นคดีฟ้องขอแบ่ง
มรดกจำเลยผู้เป็นอาว์โจทก์และเป็นน้องผู้ตายยอมไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย จำเลยจึงจะยกอายุความมรดกขึ้นต่อ
สู้โจทก์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การรับมรดกความดำเนินคดีและการครอบครองทรัพย์สินหลังมีคำพิพากษา
บิดาเป็นความพิพาทเรื่องกรรมสิทธิที่ดินอยู่กับผู้อื่น แล้วบิดาตายในระหว่างคดี บุตรคนหนึ่งเข้ารับมรดกความดำเนินคดีต่อมาอีกราว 2 ปี คดีถึงที่สุดบิดาชนะคดี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท และปรากฎด้วยว่าทายาทของบิดาต่างก็มิได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทนี้ ดังนี้ ทายาทอื่นฟ้องทายาทผู้รับมรดกความ ขอแบงมรดกที่ดินแปลงนี้ เมื่อภายหลังที่ศาลชี้ขาดกรรมสิทธิในที่ดินพิพาทราว 1 เดือนได้ แม้จะเป็นเวลาที่เจ้ามรดกตายแล้วเกิน 1 ปีก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มรดกของพระภิกษุตกเป็นของวัด แม้ทายาทครอบครองเกิน 10 ปี ก็อ้างไม่ได้
พระภิกษุถึงมรณะภาพในขณะที่เป็นพระภิกษุอยู่ โดยมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ใคร มรดกของพระภิกษุนั้นย่อมตกได้แก่วัดที่พระภิกษุนั้นอยู่ แม้ทายาทจะครอบครองที่ดินมรดกของพระภิกษุนั้นเกิน 10 ปี นับแต่วันมรณภาพทายาทนั้นก็จะเอาที่ดินมรดกนั้นไม่ได้ เพราะที่ดินมรดกนั้นเป็นของวัด จะใช้อายุความ 10 ปียันวัดให้เสียสิทธิหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกเมื่อไม่มีผู้ครอบครอง และอายุความไม่ขาด
เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมายมรดก และเมื่อไม่มีทายาทคนใดได้ครอบครองมรดก ก็ต้องถือว่าทายาททุกคนมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1745 และมีสิทธิฟ้องขอแบ่งมรดกจากัน แม้จะเป็นเวลาภายหลัง เจ้ามรดกตายเกิน 1 ปี ก็ได้ คดีไม่ขาดอายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ชัดเจน ทำให้ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับจากเจ้ามรดกเสียชีวิต
เจ้ามรดกตายลง ทายาท 2 คน เป็นความกัน ในที่สุดทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ทายาทผู้ครอบครองที่ดินแปลงหนึ่ง จะจัดการแบ่งที่ดินแปลงนั้นให้แก่ทายาทคนอื่น ดังนี้ เมื่อไม่ได้ระบุตัวบุคคลว่า เป็นใครที่จะแบ่งมรดกให้ไว้ชัดแจ้ง แล้วก็ไม่ทำให้อายุความฟ้องร้องภายใน 1 ปี สดุดหยุดลง ฉะนั้นผู้ที่เป็นทายาทอื่นจะฟ้องทายาทผู้ครอบครองที่ดิน ให้แบ่งที่ดินให้แก่ตนจะต้องฟ้องภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันเจ้ามรดกถึงแก่กรรม มิฉะนั้นคดีย่อมขาอดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกและการยกอายุความ: ทายาทลำดับหลังไม่มีสิทธิยกอายุความต่อสู้ทายาทลำดับต้น
อายุความ 1 ปีตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1755 นั้น ผู้ที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกด้วยเท่านั้น ทายาทลำดับหลังไม่มีสิทธิได้รับมรดกเพราะยังมีตัวทายาทลำดับเหนือกว่าอยู่ จะยกอายุความมรดกมาต่อสู้ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทปิดบังมรดกมิอาจยกอายุความ 1 ปี มาตัดสิทธิทายาทอื่นได้
ทายาทที่ปิดบังมฤดก จะยกอายุความมฤดก 1 ปีมาตัดสิทธิ์ทายาทอื่นมิได้ เพราะถือว่าเป็นฝ่ายผิดและถูกตัดมิให้รับมฤดก แม้ทายาทอื่นจะฟ้องทายาทที่ปิดบังมฤดกเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามฤดกตาย ก็ยังมีสิทธิในทรัพย์มฤดก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตัดสิทธิทายาทโดยธรรมตามพินัยกรรม และอายุความในการเรียกร้องมรดกของผู้รับพินัยกรรม
ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้ตายได้แก่บุคคลอื่น แต่ผู้เดียวทายาทโดยธรรมของเจ้ามฤดกจึงถูกตัดมิให้รับมฤดก ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1608 วรรคท้าย ฉะนั้นทายาทโดยธรรมของเจ้ามฤดกจึงไม่อยู่ในฐานะที่เป็นทายาทของผู้ตายตาม ม. 1755 จะอ้างอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 มายันกับผู้รับพินัยกรรม์ในทรัพย์สินนั้นไม่ได้
เคยพิพาทกันถึงเรื่องพินัยกรรม์ ศาลได้พิพากษาว่าพินัยกรรม์นั้นสมบูรณ์ และคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมามีข้อพิพาทเกี่ยวกับพินัยกรรม์ฉะบับเดียวกันนั้น ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลได้ชี้ขาดมาแล้วในคดีก่อน./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองมรดกและการหมดสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่คัดค้านการรับมรดกและการออกใบแทนโฉนด
ฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกต้องฟ้องภายใน 1 ปี. จำเลยประกาศรับมรดกและได้รับใบแทนโฉนดแล้ว ครอบครองที่รายพิพาทนั้นต่อมา โจทก์มิได้คัดค้านจนพ้นอายุความมรดก แม้โจทก์จะเป็นผู้ยึดถือโฉนดเดิมไว้ก็ตาม ก็หมดสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากกองมฤดก: ฟ้องจากผู้รับมรดกรายหลัง ไม่ขาดอายุความ
ลูกหนี้ตาย ภริยาทำหนังสือรับรองหนี้ ภายหลังภริยาตายเจ้าหนี้ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้ภายใน 1 ปี ไม่ขาดอายุความเพราะมิใช่ฟ้องเรียกจากกองมฤดกของลูกหนี้เดิม. พฤติการณืที่ถือว่าฟ้องให้รับผิดในฐานเป็นผู้รับมฤดกของผู้ตายคนหลัง.