พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ความผิดฐานกระทำชำเรา พาเด็กไปเพื่ออนาจาร และพรากเด็กจากผู้ปกครอง
จำเลยใช้วาจาล่อลวงชักชวนให้ผู้เสียหายที่ 1 ไปหาจำเลยยังที่เกิดเหตุและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพาเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่อการอนาจาร การกระทำชำเราต่อเนื่อง และการพิจารณาความผิดกรรมเดียว
การพรากผู้ร้องที่ 1 ไปจากผู้ร้องที่ 2 เริ่มขึ้นด้วยการกระทำของจำเลยที่ 1 ไปจนถึงบ้าน ห. แล้วจำเลยที่ 1 ยังพาผู้ร้องที่ 1 จากบ้าน ห. ต่อไปยังบ้านจำเลยที่ 2 อีก โดยในช่วงนี้จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมรู้เห็นยินยอมและเดินทางไปพร้อมกัน นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังได้กระทำชำเราผู้ร้องที่ 1 ต่อจากจำเลยที่ 1 ที่บ้านจำเลยที่ 2 ด้วย ทั้งที่จำเลยที่ 2 รู้ว่าผู้ร้องที่ 1 เป็นคนรักของจำเลยที่ 1 จึงบ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 รู้เห็นกันในการพาผู้ร้องที่ 1 จากบ้าน ห. ไปกระทำชำเราที่บ้านจำเลยที่ 2 โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เข้าร่วมกับจำเลยที่ 1 พรากผู้ร้องที่ 1 ไปพ้นจากอำนาจปกครองของผู้ร้องที่ 2 ตั้งแต่บ้าน ห. เป็นต้นไป การกระทำของจำเลยที่ 1 ก่อนนั้นจะเสร็จสิ้นขาดตอนลงหรือไม่หาเป็นสาระสำคัญไม่จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานโดยปราศจากเหตุอันสมควรร่วมกันพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร
การกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร และความผิดฐานร่วมกันกับจำเลยที่ 2 พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร เป็นการกระทำต่อเนื่องกันไปไม่ขาดตอน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
การกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร และความผิดฐานร่วมกันกับจำเลยที่ 2 พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร เป็นการกระทำต่อเนื่องกันไปไม่ขาดตอน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1474/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจค้นและยึดโดยไม่มีหมายค้นของเจ้าพนักงาน คดีอาวุธปืนภายใต้คำสั่ง คสช. ที่ 13/2559
ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/2559 ข้อ 1 เป็นคำสั่งที่มีสถานะเป็นกฎหมายพิเศษที่ออกใช้บังคับ เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดที่เป็นอันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และข้อ 2 (1) ระบุให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามดำเนินการแก่บุคคลผู้กระทำความผิดหลังมีเหตุอันควรสงสัยว่ากระทำความผิดโดยมีพฤติการณ์ข่มขืนใจให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด และให้มีอำนาจตามข้อ 3 (4) เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น รวมทั้งค้นบุคคลหรือยานพาหนะใด ๆ เมื่อมีเหตุสงสัยถือได้ว่าเป็นกฎหมายตราขึ้นยกเว้นบทบัญญัติเรื่องการค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต้องยื่นภายใน 90 วัน หากเกินกำหนด ศาลไม่รับพิจารณา
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ โดยอ้างว่าเป็นคำวินิจฉัยที่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการและขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน กรณีจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง
ผู้ร้องได้รับสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ระยะเวลาแห่งสิทธิของผู้ร้องในการยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดดังกล่าวเริ่มต้นนับวันที่ 13 มิถุนายน 2561 เป็นวันแรกและวันสุดท้ายคือวันที่ 10 กันยายน 2561 เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการขอให้คณะอนุญาโตตุลาการแก้ไขหรือตีความคำชี้ขาด หรือชี้ขาดเพิ่มเติม การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 จึงเกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับสำเนาคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ อันเป็นคำร้องมิชอบ ศาลไม่อาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้
ผู้ร้องได้รับสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ระยะเวลาแห่งสิทธิของผู้ร้องในการยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดดังกล่าวเริ่มต้นนับวันที่ 13 มิถุนายน 2561 เป็นวันแรกและวันสุดท้ายคือวันที่ 10 กันยายน 2561 เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการขอให้คณะอนุญาโตตุลาการแก้ไขหรือตีความคำชี้ขาด หรือชี้ขาดเพิ่มเติม การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 จึงเกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับสำเนาคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ อันเป็นคำร้องมิชอบ ศาลไม่อาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับบัญชีทรัพย์มรดกของคนต่างด้าว, อายุความมรดก, และอำนาจศาลในการบังคับจำหน่ายทรัพย์สินตามกฎหมาย
คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5172/2547 ของศาลแขวงสมุทรปราการซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวหาว่าการกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดกที่ดินพิพาท มีประเด็นเป็นเรื่องเดียวกัน คือ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือเป็นของจำเลย และคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ซึ่งข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่คดีแพ่งจะต้องถือตามนั้น ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยไว้ในคดีอาญาแล้ว คดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์รับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้เท่านั้น ยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแน่นอนว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือของจำเลย จึงรับฟังเป็นยุติในคดีนี้ไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่ผูกพันให้การพิพากษาคดีนี้ต้องถือข้อเท็จจริงดังที่ปรากฏในคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวเมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทส่วนที่ตนถือกรรมสิทธิ์แทนผู้ตายแก่กองมรดกได้ แต่เมื่อจำเลยเป็นทายาทของผู้ตายคนหนึ่งซึ่งยังมีสิทธิรับมรดกตามส่วนเช่นเดียวกับทายาทคนอื่น จำเลยย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกับทายาทอื่นและมีอำนาจใช้สอยที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 ประกอบมาตรา 1336 จนกว่าจะมีการแบ่งกันเสร็จสิ้น โจทก์จึงมีสิทธิเพียงบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้กลับคืนกองมรดกของผู้ตายเท่านั้น หาอาจให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเสียเลยไม่ กำหนดอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้น ใช้บังคับสำหรับกรณีที่ทายาทฟ้องเรียกร้องทรัพย์มรดกจากทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกัน แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเข้าสู่กองมรดกของผู้ตายเพื่อแบ่งให้แก่ผู้เป็นทายาททุกคนซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 กรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในการติดตามเอาทรัพย์สินคืน จะนำอายุความมรดก 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยฎีกาว่าโจทก์ต้องแบ่งที่ดินและอาคารตึกแถวพิพาทหรือไม่ แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเข้าสู่กองมรดก เพื่อจัดการแบ่งมรดกให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกต่อไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกและคดีขาดอายุความ ฎีกาของจำเลยข้อนี้เป็นข้ออ้างที่จำเลยไม่ได้ให้การไว้และไม่ได้ฟ้องแย้งทั้งเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เป็นการฎีกานอกฟ้องนอกประเด็นข้อพิพาท ทั้งมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 (เดิม)แม้ขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทผู้ตายเป็นคนต่างด้าว แล้วให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน ถือได้ว่าเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่การได้ที่ดินพิพาทมาก็หาใช่จะไม่มีผลใด ๆ เสียเลย เพราะผู้ตายยังมีสิทธิได้รับผลตามบทบัญญัติมาตรา 94 แห่ง ป.ที่ดิน ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทนั้นได้ภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด หรืออธิบดีกรมที่ดินอาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้ กรณีต้องถือว่าตราบใดที่ผู้ตายหรืออธิบดีกรมที่ดินยังไม่ได้จำหน่ายที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์หรือนำไปจำหน่ายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 แล้วนำเงินมาแบ่งแก่ทายาทได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นการบังคับโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกให้ขายที่ดินพิพาทของผู้ตายซึ่งเป็นคนต่างด้าวตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 และกรณีที่ดินพิพาทตกทอดแก่ทายาทโดยทางมรดกนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการจำหน่ายที่ดินตามเจตนารมณ์ ป.ที่ดิน มาตรา 94 เมื่อต้องจำหน่ายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่ผู้ตายมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของผู้ตายด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599, 1600 และเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของโจทก์ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกในอันต้องดำเนินการเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ประกอบกับบทบัญญัติตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 เป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของคนต่างด้าวและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายนี้ได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ส่วนนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสินค้า/บริการโดยใช้เทรดบาท ไม่ขัดต่อกฎหมาย และไม่เป็นโมฆะ
ธุรกิจตามสัญญาการเป็นสมาชิกระบบการค้าแลกเปลี่ยนที่กำหนดเทรดบาทเพื่อใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ เป็นการให้สินเชื่อแก่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์เพื่อซื้อสินค้าหรือบริการในระหว่างสมาชิกด้วยกัน โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารการซื้อขายสินค้าหรือบริการ กำหนดวงเงินการซื้อขายหรือให้บริการ ควบคุมและจัดทำบัญชีการซื้อขายและการบริการระหว่างจำเลยกับกลุ่มสมาชิกของโจทก์ โดยมีหน่วยที่ใช้วัดมูลค่าของสินค้าหรือการบริการที่โจทก์กำหนดขึ้นที่เรียกว่าเทรดบาทมาเป็นตัวกำหนดวงเงินที่จำเลยมีสิทธิซื้อขายสินค้าและการบริการได้ในระหว่างสมาชิก รวมถึงการกำหนดมูลค่าของสินค้าหรือการบริการที่มีการซื้อหรือการให้บริการกัน ตลอดจนค่าตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลย โดยใช้วิธีหักทอนบัญชีสินเชื่อที่กำหนดมูลค่าเป็นเทรดบาทระหว่างจำเลยกับคู่ค้าที่เป็นสมาชิกของโจทก์ โดยไม่มีการชำระด้วยเทรดบาทเป็นเงินสด แต่มีการใช้เงินสดเป็นเงินบาทในการชำระหนี้เมื่อสมาชิกอีกฝ่ายหนึ่งมียอดซื้อและยอดขายสินค้าหรือบริการที่ไม่สมดุลกันเกินระยะเวลาที่กำหนดทำให้มียอดค้างชำระค่าสินค้าหรือบริการแล้วมีการเลิกสัญญากัน อันเป็นรูปแบบการให้สินเชื่อทางการค้าอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถทำได้ทำนองเดียวกับการให้สินเชื่อของผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆ สัญญาดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และเทรดบาทดังกล่าวไม่ใช่เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในประเทศไทย หรือเงินตราต่างประเทศที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในประเทศอื่นใดนอกจากประเทศไทย หรือค่าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามความหมายตามนัยมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากการนำสืบของจำเลยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงควบคุม กำกัด หรือห้ามการปฏิบัติกิจการเกี่ยวกับกรณีตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย จึงไม่ถือว่า สัญญาดังกล่าวขัดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 อันจะทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337-338/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินวางศาลที่เหลือหลังชำระหนี้ ศาลต้องแจ้งให้ผู้มีสิทธิรับทราบก่อนถือเป็นเงินค้างจ่าย
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องและได้นำเงินจำนวน 529,846.58 บาท มาวางที่ศาลชั้นต้นเพื่อเป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษา แต่ขอให้ศาลระงับการจ่ายเงินให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับเพื่อการชำระหนี้หากคดีถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 4 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ต่อมาเมื่อคดีถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 4 ต้องรับผิด โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้ขอรับเงินที่จำเลยที่ 4 นำมาวางศาลดังกล่าวไปในวันที่ 22 เมษายน 2553 จำนวน 201,390.48 บาท และ 234,723.06 บาท ตามลำดับ คงเหลือเงินในวันดังกล่าว 105,843.04 บาท ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้จำเลยที่ 4 ผู้มีสิทธิได้รับเงินที่เหลือทราบ หากจำเลยที่ 4 ทราบแล้วไม่มารับเงินภายในห้าปี เงินดังกล่าวจึงจะถือว่าเป็นเงินค้างจ่ายและทำให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่คดีนี้หลังจากโจทก์ที่ 1 และที่ 2 รับเงินแล้วปรากฏว่ามีเงินคงเหลือ ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้จำเลยที่ 4 ผู้มีสิทธิรับเงินทราบ เงินดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่ศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 (เดิม) และยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337-338/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่สวมสิทธิ โดยการคืนเงินที่ได้รับเกินจากผลคำพิพากษา
การบังคับคดียึดที่ดินจำนองของโจทก์ออกขายทอดตลาดเป็นการบังคับคดีของจำเลยที่ 1 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้น การที่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้เกินไปกว่าหนี้ที่โจทก์ต้องรับผิดตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดของศาลฎีกา จึงเป็นเรื่องที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องคืนเงินที่ได้รับเกินไปแก่โจทก์ แม้ว่าจำเลยที่ 3 เพิ่งเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา แต่กรณีของจำเลยที่ 3 เป็นการสวมสิทธิโดยอาศัย พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติให้จำเลยที่ 3 มีฐานะเป็นโจทก์ถ้ามีการฟ้องคดีอยู่ในศาล และเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาถ้าได้มีคำพิพากษาบังคับแล้ว ผลแห่งการเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์เดิมดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 3 ได้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย้อนหลังไปถึงวันที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำฟ้องและเข้าถือเอากระบวนพิจารณาของจำเลยที่ 1 ที่ได้ดำเนินไปก่อนแล้วทั้งหมดเป็นการกระทำของตน โดยเฉพาะเมื่อขณะจำเลยที่ 3 เข้าสวมสิทธิ คดียังไม่ถึงที่สุด แต่ก็มีการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของโจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 จึงเข้ามาทั้งในฐานะเป็นโจทก์และในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วย ย่อมรับผลทั้งหลายที่เกิดจากคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งในฐานะโจทก์และในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ได้มีการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว จำเลยที่ 3 จึงต้องรับทั้งสิทธิและหน้าที่ที่เกิดจากผลคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลล่างนั้น และย่อมมีหน้าที่คืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนที่ได้รับเกินไปกว่าหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งมรดก: ทุนทรัพย์รายบุคคลสำคัญกว่ารวมทั้งหมด ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งหกในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งหก จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งหกฟ้องให้ได้กลับคืนมาซึ่งทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งหก เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาท ซึ่งแม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องรวมกันมา แต่การอุทธรณ์ฎีกาต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งเป็นราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะโจทก์ยื่นฟ้อง