พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมกระทำความผิด ต้องมีเจตนาและรู้เห็นการกระทำของผู้อื่น การยอมความในคดีอาญา
การร่วมกระทำความผิดในลักษณะตัวการตาม ป.อ. มาตรา 83 ต้องพิจารณาทั้งการกระทำและเจตนาของผู้ที่ร่วมกระทำ ซึ่งต้องร่วมกระทำผิดด้วยกันและกระทำโดยเจตนาร่วมกัน ทั้งทุกคนที่กระทำจะต้องรู้ถึงการกระทำของกันและกันและต่างประสงค์ถือเอาการกระทำของแต่ละคนเป็นการกระทำของตนด้วย
จำเลยที่ 2 ให้ผู้เสียหายที่ 1 ชวนจำเลยที่ 1 ไปเที่ยวตลาดคลองถมเชียงม่วน จำเลยทั้งสองและผู้เสียหายที่ 1 ร่วมเดินทางมาด้วยกันโดยตลอด ระหว่างทางจำเลยทั้งสองซื้อเบียร์มาดื่มด้วยกัน จำเลยที่ 2 เป็นผู้ให้ผู้เสียหายที่ 1 ดื่มเบียร์จนรู้สึกมึนเมา จำเลยที่ 2 ซื้อถุงยางอนามัยที่ร้านสะดวกซื้อและไม่ได้พาผู้เสียหายที่ 1 ไปตลาดคลองถมเชียงม่วนแต่กลับร่วมกันพาผู้เสียหายที่ 1 เข้าพักในโรงแรมที่เกิดเหตุโดยพักอยู่ห้องเดียวกันและนอนเตียงเดียวกัน ต่อมาขณะผู้เสียหายที่ 1 หลับแล้วตื่นขึ้นมา จำเลยที่ 2 ไม่อยู่ในห้องพัก จำเลยที่ 1 กระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 1 แต่ผู้เสียหายที่ 1 หลบหนีเข้าไปในห้องน้ำ จนกระทั่งจำเลยที่ 2 เรียก จึงยอมออกมา การกระทำของจำเลยที่ 2 บ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 คบคิดกับจำเลยที่ 1 มาก่อนโดยมีเจตนาร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 มาโดยตลอด แม้จำเลยที่ 2 จะไม่อยู่ในห้องพักในขณะเกิดเหตุก็ตาม แต่เป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 กระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 1 จึงเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำระหว่างจำเลยทั้งสอง การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานกระทำอนาจาร หาใช่เพียงผู้สนับสนุนไม่
จำเลยทั้งสองตกลงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 2 และปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว ถือเป็นกรณีที่ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาของผู้เสียหายที่ 1 ยอมความแทนผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (5) และมาตรา 5 (1) สิทธินำคดีมาฟ้องในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
จำเลยที่ 2 ให้ผู้เสียหายที่ 1 ชวนจำเลยที่ 1 ไปเที่ยวตลาดคลองถมเชียงม่วน จำเลยทั้งสองและผู้เสียหายที่ 1 ร่วมเดินทางมาด้วยกันโดยตลอด ระหว่างทางจำเลยทั้งสองซื้อเบียร์มาดื่มด้วยกัน จำเลยที่ 2 เป็นผู้ให้ผู้เสียหายที่ 1 ดื่มเบียร์จนรู้สึกมึนเมา จำเลยที่ 2 ซื้อถุงยางอนามัยที่ร้านสะดวกซื้อและไม่ได้พาผู้เสียหายที่ 1 ไปตลาดคลองถมเชียงม่วนแต่กลับร่วมกันพาผู้เสียหายที่ 1 เข้าพักในโรงแรมที่เกิดเหตุโดยพักอยู่ห้องเดียวกันและนอนเตียงเดียวกัน ต่อมาขณะผู้เสียหายที่ 1 หลับแล้วตื่นขึ้นมา จำเลยที่ 2 ไม่อยู่ในห้องพัก จำเลยที่ 1 กระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 1 แต่ผู้เสียหายที่ 1 หลบหนีเข้าไปในห้องน้ำ จนกระทั่งจำเลยที่ 2 เรียก จึงยอมออกมา การกระทำของจำเลยที่ 2 บ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 คบคิดกับจำเลยที่ 1 มาก่อนโดยมีเจตนาร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 มาโดยตลอด แม้จำเลยที่ 2 จะไม่อยู่ในห้องพักในขณะเกิดเหตุก็ตาม แต่เป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 กระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 1 จึงเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำระหว่างจำเลยทั้งสอง การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานกระทำอนาจาร หาใช่เพียงผู้สนับสนุนไม่
จำเลยทั้งสองตกลงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 2 และปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว ถือเป็นกรณีที่ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาของผู้เสียหายที่ 1 ยอมความแทนผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (5) และมาตรา 5 (1) สิทธินำคดีมาฟ้องในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานโทรมเด็กหญิง-พรากเด็ก ร่วมกระทำชำเรา-หน่วงเหนี่ยวกักขัง
ก่อนเกิดเหตุจำเลยกับพวกอยู่กับผู้เสียหายที่ 1 ในลักษณะนั่งล้อมเป็นวงกลมและร่วมดื่มเบียร์อยู่ท้ายรถกระบะด้วยกัน เวลาประมาณ 4 นาฬิกา ผู้เสียหายที่ 1 ถูกพวกจำเลย 2 คน กระทำชำเราจนสำเร็จความใคร่คนละ 1 ครั้ง แล้วถูกขังไว้ในห้องที่เกิดเหตุ ต่อมาเวลาประมาณ 10 นาฬิกา จำเลยไขกุญแจห้องแล้วมากระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 จนสำเร็จความใคร่ การที่ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งยังเป็นเด็กถูกพรากจากบิดามารดาแล้วถูกกระทำชำเราในลักษณะโทรมเด็กหญิงและถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ในห้องที่เกิดเหตุ จำเลยซึ่งอยู่ด้วยกันก่อนเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุโทรมหญิง โดยจำเลยมีกุญแจไขประตูห้องเข้ามากระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ได้ แสดงว่าจำเลยร่วมรู้เห็นเป็นใจและเป็นตัวการร่วมกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงกับพวกมาตั้งแต่ต้น และขณะจำเลยเข้ามาในห้องที่เกิดเหตุแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 นั้น ผู้เสียหายที่ 1 ยังไม่พ้นภยันตรายจากการถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังของจำเลยกับพวก การกระทำของจำเลยกับพวกยังไม่ขาดตอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8192/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา, คำรับสารภาพ, พยานบอกเล่า, พยานประกอบ, และการใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่
แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กับพวกวางแผนที่จะเข้าไปลักทรัพย์ภายในโรงงานของผู้เสียหายที่ 1 แต่ไม่ปรากฏว่ามีการวางแผนแบ่งหน้าที่รับมากระทำเป็นส่วน ๆ ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์ พาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์ ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือให้พ้นจากการจับกุมอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์ รวมไปถึงการทำร้ายร่างกายและปล้นเงินของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยในโรงงานของผู้เสียหายที่ 1 ข้อเท็จจริงจึงฟังได้เพียงว่า พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เพียงขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกที่โรงงานของผู้เสียหายที่ 1 แล้วขับรถไปรอที่ปั๊มน้ำมัน เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกลักทรัพย์ได้แล้ว พวกของจำเลยที่ 1 และที่ 3 โทรศัพท์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ไปรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกพร้อมทรัพย์ที่ลักมา ซึ่งเป็นการเข้ามาร่วมกระทำผิดด้วยเมื่อมีการตัดสายไฟแล้วขนย้ายเคลื่อนที่อันเป็นการลักทรัพย์สำเร็จเท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ที่อื่นห่างไกลจากสถานที่เกิดเหตุจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 โดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นตามฟ้อง แต่มีความผิดเพียงฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ผู้เสียหายที่ 1 ในเวลากลางคืนโดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ และมาตรา 86 อันเป็นการกระทำซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองและรวมอยู่ในความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 คืนเงิน 3,900 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 2 แต่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 คืนเงิน 280,000 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7346/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราโดยสมคบกันและมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ผู้เสียหายให้การสอดคล้องกับพฤติการณ์
การที่ ต. กระชากมือดึงผู้เสียหายเข้าไปในห้องทำการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย เมื่อ ต. ออกจากห้อง จำเลยก็เข้าไปในห้องทำการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายต่อ และเมื่อจำเลยออกจากห้อง ต. กับ ป. พวกของจำเลยก็พากันเข้าไปในห้องร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอีก พฤติการณ์การข่มขืนกระทำชำเราเช่นนี้ แม้ว่าผู้กระทำมิได้อยู่ในห้องในขณะที่คนหนึ่งข่มขืนกระทำชำเราอยู่ แต่จำเลยกับพวกได้กระทำในลักษณะติดต่อกัน จึงเป็นการสมคบกันกระทำความผิด อันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14552/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กหญิงโดยใช้อาวุธปืน และประเด็นการลงโทษกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี โดยมีและใช้อาวุธปืน มีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์คงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำให้การรับสารภาพเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่ฟ้อง และศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ แต่ในกรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องนำสืบให้ได้ความชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัยดังเช่นคดีที่จำเลยให้การปฏิเสธ เพียงมีพยานมาสืบให้เป็นที่พอใจศาลว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามคำรับ ก็เป็นการเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยโดยอาศัยพยานหลักฐานนั้นได้
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารถือได้ว่าความผิดสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เยาว์ไปโดยมีเจตนา จึงไม่ใช่เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง แต่ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก และฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยใช้อาวุธปืนตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) นั้น จำเลยกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันโดยมุ่งหมายจะหน่วงเหนี่ยวเอาตัวผู้เสียหายที่ 1 ไว้กระทำชำเรา การกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม (เดิม)
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารถือได้ว่าความผิดสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เยาว์ไปโดยมีเจตนา จึงไม่ใช่เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง แต่ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก และฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยใช้อาวุธปืนตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) นั้น จำเลยกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันโดยมุ่งหมายจะหน่วงเหนี่ยวเอาตัวผู้เสียหายที่ 1 ไว้กระทำชำเรา การกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9046/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเรียกค่าไถ่ต้องชัดเจน การเรียกร้องเงินและทองคำเพื่อชำระหนี้ ไม่ถือเป็นความผิดฐานเรียกค่าไถ่
การที่จำเลยพาเด็กหญิง ฟ. ไปจากผู้เสียหาย จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะเรียกร้องเอาทรัพย์สินจากผู้เสียหายและ อ. เพื่อเป็นค่าไถ่มาตั้งแต่แรก จำเลยเรียกร้องเอาทองคำเท่ากับที่มอบให้ผู้เสียหายไปจำนำ ส่วนเงินที่เรียกร้องเอาจาก อ. ได้ความว่าเป็นค่าที่ดินที่ อ. จะต้องคืนให้จำเลย ทั้งไม่ได้ความว่า อ. เป็นญาติหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้เสียหายหรือเด็กหญิง ฟ. ที่จำเลยจะใช้เป็นเงื่อนไขในการเรียกร้องเงินจาก อ. จำเลยมีเจตนาที่จะเรียกร้องเอาทองคำและเงินที่จำเลยเชื่อว่าจำเลยควรจะได้ ดังนั้น ทองคำและเงินที่จำเลยเรียกร้องจากผู้เสียหายและ อ. จึงมิใช่ค่าไถ่ตาม ป.อ. มาตรา 1 (13) การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 313 (1) (3) วรรคแรก
การที่จำเลยพาเด็กหญิง ฟ. ไป และไม่ยอมคืนให้แก่ผู้เสียหาย เป็นการหน่วงเหนี่ยวเด็กหญิง ฟ. เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานเรียกค่าไถ่ตาม ป.อ. มาตรา 313 (3) วรรคแรก ที่โจทก์ฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
การที่จำเลยพาเด็กหญิง ฟ. ไป และไม่ยอมคืนให้แก่ผู้เสียหาย เป็นการหน่วงเหนี่ยวเด็กหญิง ฟ. เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานเรียกค่าไถ่ตาม ป.อ. มาตรา 313 (3) วรรคแรก ที่โจทก์ฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายกระทง เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ-ข่มขืนใจ-ทำร้ายร่างกาย-แจ้งความเท็จ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายข้อหาในคดีที่มีข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำหรือกรอกข้อความในบันทึกการจับกุม รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงซึ่งมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จโดยบรรยายฟ้องรวมกันมาเป็นข้อเดียว มิได้แยกกระทงแต่อย่างใด อีกทั้งการกระทำตามฟ้อง แม้จำเลยทั้งสองจะกระทำการหลายอย่าง แต่ด้วยเจตนาเดียวกัน คือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงเป็นกรรมเดียวกัน เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 162 มีอัตราโทษจำคุกเกินสามปีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 และมาตรา 310 วรรคแรก เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 162 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไปด้วย
1/1
1/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีอนาจาร, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, และข่มขืนกระทำชำเรา
การกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกันแม้จะมีเจตนาอย่างเดียวกันแต่หากประสงค์ให้เกิดผลเป็นความผิดหลายฐานย่อมเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ก่อนข่มขืนกระทำชำเรา เป็นการแสดงเจตนาส่วนหนึ่งของจำเลยโดยมีเหตุจูงใจที่จะนำตัวผู้เสียหายไปกักขังไว้เพื่อข่มขืนกระทำชำเรา เป็นการกระทำส่วนหนึ่งที่สำเร็จไปแล้วต่างหากจากการที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเรา จึงเป็นการกระทำความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและหน่วงเหนี่ยวกักขังตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก และมาตรา 310 วรรคแรก กระทงหนึ่ง เมื่อจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเรา, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท, การแก้ไขโทษ, การบรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดดังกล่าว แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 371 ก็ไม่อาจลงโทษในความผิดฐานนี้ได้
สำหรับความผิดในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังแม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษายืนกันมาให้จำคุก 1 ปี แต่ความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราซึ่งศาลล่างทั้งสองจำคุก 16 ปี อันไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงทำให้ข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไปด้วย
จำเลยกับพวกพาผู้เสียหายที่ 2 ไปบังคับข่มขืนกระทำชำเราคนละหลายครั้งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง และ 310 วรรคแรก เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดดังกล่าว แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 371 ก็ไม่อาจลงโทษในความผิดฐานนี้ได้
สำหรับความผิดในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังแม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษายืนกันมาให้จำคุก 1 ปี แต่ความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราซึ่งศาลล่างทั้งสองจำคุก 16 ปี อันไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงทำให้ข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไปด้วย
จำเลยกับพวกพาผู้เสียหายที่ 2 ไปบังคับข่มขืนกระทำชำเราคนละหลายครั้งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง และ 310 วรรคแรก เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8917/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืนฯ และหน่วงเหนี่ยวกักขังเป็นกรรมต่างกัน แม้เกี่ยวเนื่องกัน
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันฉุดผู้เสียหายพาขึ้นรถยนต์ตู้ไปยังต่างจังหวัดในที่ต่าง ๆ หลายแห่งและหลายวัน โดยวันแรกระหว่างเดินทางจำเลยกับพวกได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงในรถยนต์ตู้คนละ 1 ครั้ง และระหว่างผู้เสียหายอยู่กับจำเลยที่ต่างจังหวัดตามลำพัง จำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอีกหลายครั้ง โดยระหว่างนั้นผู้เสียหายพยายามหลบหนี 2 ครั้ง ก็ถูกจำเลยทำร้ายและข่มขู่ไม่ให้หลบหนี แม้การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปยังต่างจังหวัดในที่ต่าง ๆ หลายแห่ง และหลายวัน จะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องมาจากความประสงค์เดียวกับการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปยังที่ต่าง ๆ หลายวัน โดยได้ทำร้ายและข่มขู่บังคับไม่ให้ผู้เสียหายหลบหนีนั้น ถือได้ว่าเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา อันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ซึ่งเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว หาใช่เป็นกรรมเดียวไม่
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกัน เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงกรรมหนึ่ง และฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังอีกกรรมหนึ่ง แต่โจทก์ก็มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจกำหนดโทษในความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังอีก เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
(ประชุมใหญ่)
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกัน เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงกรรมหนึ่ง และฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังอีกกรรมหนึ่ง แต่โจทก์ก็มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจกำหนดโทษในความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังอีก เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
(ประชุมใหญ่)