คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1299.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิ ผู้ครอบครองปรปักษ์ไม่อาจต่อสู้ได้
ผู้ครอบครองที่ดินโดยปรปักษ์ จะยกข้อครอบครองโดยปรปักษ์ขึ้นต่อสู่ผู้รับซื้อที่ดินนั้น อันเป็นบุคคลภายนอกผู้รับ
โอนโฉนดรายนั้นมาโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริต และจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วตามความใน ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1299 หาได้ไม่./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินของคนไทย: พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจขัดขวางการจดทะเบียนโดยไม่ชอบ
ไม่มีบทกฎหมายในที่ใดว่า คนไทยจะถือกรรมสิทธิที่ดินจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนก่อน หรือว่าจะมีกฎหมายให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนให้หน่วงเหนียวขัดขวางการรับจดทะเบียนไว้ตามอำเภอใจ พ.ร.บ.ว่าด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2486 ซึ่งแก้ไข พ.ศ.2492 ก็ได้แต่เพียงบัญญัติให้บุคคลตามตำแหน่งหน้าที่ระบุไว้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ขึ้นตามประมวลกฎหมายเท่านั้น หาได้ม่ข้อควาามใดที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอนุญาตการซื้อขาย หรือหน่วงเหนียวขัดขวางหารขอจดทะเบียนนิติกรรมของราษฎรไว้ได้ไม่ ตรงกันข้ามกลับมีบายัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 26 ระบุไว้อีกว่า "บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สิน ฯลฯ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย" ฉะนั้นการที่ราษฎรคนไทยขอให้นายอำเภอในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ดำเนินการเพื่อทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินให้ตน แต่นายอำเภออ้างว่าผู้ร้องมีบิดาเป็นคนต่างด้าว จึงต้องทำการสอบสวน และส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินก่อนตามที่กระทรวงมหาดไทย วางระเบียบไว้ โดยที่ปรากฎอยู่ตามคำพิพากษาของศาลแล้วว่า ผู้นั้นเป็นคนสัญชาติไทย นั้น ย่อมเป็นข้ออ้างที่ปราศจากมูลที่จะหน่วงเหนียวขัดขวางการรับจดทะเบียนนิติกรรมเสียเลย การกระทำนายอำเภอจึงเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายย่อมเป็นการกระทำละเมิดและจะอ้างว่า มีบุคคลอื่นใช้ให้ทำก็หาให้พ้นจากความรับผิดไม่ และระเบียบของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวหากจะมีจริงก็มิใช่กฎหมาย และไม่มีกฎหมายอันใด ให้อำนาจให้ออกระเบียบเช่นนั้นได้ ฉะนั้นจะใช้บังคับแก่ประชาชน จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่เขานั้น ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์จากสัญญาขายฝากไม่สมบูรณ์ ศาลพิจารณาเจตนาคู่กรณีและพฤติการณ์เจ้าของเดิม
ที่พิพาทเดิมเป็นของบิดามารดาโจทก์ ได้เอามาขายฝากโดยทำสัญญากันเองไว้แก่บิดามารดาจำเลย บิดามารดาจำเลยตายแล้วจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทเกิน 10 ปีแล้ว และเมื่อบิดามารดาโจทก์ตาย โจทก์ก็มิได้จัดการจดทะเบียนรับมฤดก ปล่อยให้ฝ่ายจำเลยครอบครองมาเกิน 10 ปี จนจำเลยได้มาร้องต่อศาลให้แสดงกรรมสิทธิว่าเป็นของจำเลย ศาลก็ได้สั่งแสดงกรรมสิทธิไปแล้ว ดังนี้ ศาลฎีกาเห็นว่าแม้นิติกรรมการขายฝากไม่สมบูรณ์ก็พึงเห็นเจตนาของคู่กรณีได้ว่า บิดามารดาโจทก์มอบที่ดินให้บิดามารดาจำเลยดังเช่นขาย แต่สงวนไว้เพียงสิทธิไถ่ถอน ฉะนั้นจะเรียกว่าบิดามารดาจำเลยยึดถือที่ดินไว้ในฐานผู้แทนผู้ครอบครองตามมาตรา 1381 ป.ม.แพ่งยังไม่ได้ กรณีเช่นนี้เรียกได้ว่า บิดามารดาจำเลยเข้าครอบครองเพื่อตนโดยอาศัยการอนุญาตของเจ้าของ จึงมีปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องพิจารณาว่าฝ่ายจำเลยได้ครอบครองมาโดยสงบเปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาจนเกิน 10 ปีหรือไม่ การที่จะแสวงหาความจริงข้อนี้ ต้องพิเคราะห์กิริยาอาการของฝ่ายโจทก์ผู้มอบที่ดินให้นั้นด้วย เพราะถ้าเจ้าของเดิมไม่แสดงอาการเป็นเจ้าของเกี่ยวข้องกับที่นั้นเลย สละละทิ้งไปจนเกินเวลาอันสมควรแล้ว ก็พึงเห็นเจตนาของคู่กรณีได้ว่าทั้งสองฝ่ายยินยอมให้ฝ่ายครอบครอบทำการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเพื่อผู้ครอบครองนั้นเองตั้งแต่ต้นมาทั้งนี้ได้เคยมีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้แล้วว่าทำสัญญากันเองเป็นทำนองขายฝากนั้นเจ้าของเดิมจะมาฟ้องเอาที่คืนโดยอ้างข้อสัญญาที่ให้ไถ่นั้นหาได้ไม่ (ฎีกาที่ 5/2465, 352/2492) สำหรับคดีนี้โจทก์จะชนะคดีได้ก็ด้วยการแสดงว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าตามข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แต่คดีนี้โจทก์อ้างว่าโจทก์ยังคงแสดงสิทธิเป็เจ้าของอยู่ ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพะยานเสียนั้นยังไม่สมควร จึงต้องพิพากษายก ให้ศาลชั้นต้นดำเนินพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองที่ดินหลังใช้ ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 3: นิติกรรมตามทะเบียนเป็นสำคัญ แม้มีทำต่างดอกเบี้ยก็ไม่เป็นขายฝาก
นิติกรรมจำนองที่ดินทำขึ้นภายหลังใช้ป.ม.แพ่ง ฯ บรรพ 3 ถือเอานิติกรรมที่ปรากฎตามทะเบียนเป็นสำคัญ หากจะมีการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องเปลี่ยนทางทะเบียน พฤตติการณ์ที่ผู้จำนองให้ผู้รับจำนองทำต่างดอกเบี้ย จึงหาทำให้นิติกรรมกลายเป็นขายฝากไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 973/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องเกี่ยวกับที่ดินที่ตกเป็นของทายาท โดยอ้างสัญญาต่างตอบแทน มิใช่การบังคับตามสัญญาหลังมรณะ
โจทก์ฟ้องว่า ช.บิดาโจทก์จำเลยได้เอาที่ดินเนื้อที่ 19 ไร่เศษมาตีเป็นทองคำหมั้นให้แก่ ข. 6 ไร่ในเวลาที่โจทก์กับ ข.สมรสกัน และกองทุนให้โจทก์กับ ข. อีก 4 ไร่ รวมเป็น 10 ไร่ โจทก์กับ ข.มีบุตรคนหนึ่ง ข.ตาย ที่ 10 ไร่จึงตกได้แก่โจทก์และบุตร จึงขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์มีกรรมสิทธิในที่นา 10 ไร่ ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้อง ดังนี้ ต้องแปลฟ้องโจทก์ว่า โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้รับมฤดก ช. ให้โอนที่ให้แก่โจทก์ตามสัญญาที่ ช.ทำไว้กับโจทก์และ ข. แต่ฟ้องโดยถือว่าที่ตกเป็นของ ข. และโจทก์แล้ว 10 ไร่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเอาทรัพย์สินชำระหนี้โมฆะเมื่อไม่มีทางจดทะเบียนได้ ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิในที่ดิน
โจทก์ทำสัญญากู้ยืมเงินและที่ดินให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยและตอนท้ายแห่งสัญญามีข้อความว่า ถ้าพ้น 2 เดือนไม่นำเงินมาชำระ ยอมให้ที่เป็นสิทธินั้น เป็นลักษณะแห่งการให้เอาทรัพย์สินชำระหนี้เงินกู้ ตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 656 ข้อสัญญานี้ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรค 3 เมื่อปรากฎว่า ที่พิพาทไม่มีโฉนดก็ไม่มีทางจะไปจดทะเบียน จำเลยไม่มีสิทธิจะยึดที่ดินของโจทก์ไว้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเอาทรัพย์สินชำระหนี้: เงื่อนไขการขาดกันในสัญญากู้เงินเป็นโมฆะ หากมิได้ตกลงให้โอนกรรมสิทธิ์
ทำสัญญากู้เงินแล้วมอบที่ดินให้ยึดถือไว้เป็นประกันในสัญญามีข้อความว่า ถ้า 2 เดือนไม่นำเงินมาให้เป็นอันว่า ที่ดินที่กล่าวข้างบนนี้ขาดกัน เงื่อนไขตอนหลังนี้เป็นลักษณะแห่งการเอาทรัพย์สินเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืม ตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 656 ข้อสัญญาย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรค 3 ส่วนที่จะให้แปลสัญญาว่า เมื่อไม่ชำระหนี้ผู้กู้จะโอนที่ดินให้เป็นการชำระหนี้แทนตัวเงินกู้นั้น โจทก์ต้องนำสืบให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่ามีดังนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินกับชาวต่างชาติที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ดิน สัญญาเป็นโมฆะ และไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ผู้รับโอนที่ดินเป็นชาวจีน แต่มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ที่ดินในส่วนที่เกี่ยวแก่คนต่างด้าว พ.ศ. 2485 มาตรา 5, 6 จึงไม่มีสิทธิจะรับโอนที่ดิน สัญญาจะซื้อขายที่ทำขึ้นไว้ ก็ใช้บังคับไม่ได้
โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่จำเลย และได้รับเงินค่าที่ดินไว้จากจำเลยเต็มจำนวนราคาขายแล้ว เมื่อศาลพิพากษาให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายเสีย ตามพฤตติการณ์ดังนี้ โจทก์ไม่ควรได้ค่าเสียหายอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้รับมรดก - เพิกถอนนิติกรรม - การครอบครองปรปักษ์
ภรรยาได้ประกาศรับมฤดกที่ดินของสามีแล้วโอนขายให้บุคคลอื่น แม้จะปรากฎว่าภรรยามิได้จดทะเบียนสมรสก็ดี แต่ได้มีการไหว้ผีตามประเพณี และอยู่ร่วมกันโดยเปิดเผยจนมีบุตรด้วยกัน 3 คน การที่โอนขายให้แก่บุคคลผู้นั้น ก็เนื่องจากสัญญาเดิมที่สามีได้ทำไว้ ซึ่งเป็นการชอบด้วยศีลธรรม เมื่อภรรยามาประกาศรับมฤดก โจทก์ก็ไม่มาคัดค้าน ปล่อยให้ภรรยารับมฤดกมาโอนขายแก่บุคคลผู้นั้น ๆ รับซื้อไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรม ดังนี้ ย่อมได้ชื่อว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 5 จะมาขอให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการยึดถือต่างดอกเบี้ยและการเปลี่ยนแปลงฐานะทางกฎหมาย จำเป็นต้องมีการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ
ข้อเท็จจริงได้ความว่า บิดาโจทก์ได้มอบที่พิพาท ซึ่งเป็นที่มือเปล่าให้จำเลยทำต่างดอกเบี้ย บิดาโจทก์ตายแล้วนางแย้มขายที่พิพาทให้จำเลย จำเลยครอบครองอย่างเป็นเจ้าของมา 4 ปี โจทก์ยังเถียงอยู่ว่า นางแย้มไม่ใช่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาโจทก์ และยังเถียงอยู่ว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์มาแต่เดิม ได้ความเพียงนี้ยังไม่เพียงพอที่จะชี้ว่าจำเลยได้สิทธิครอบครอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืน
บิดาโจทก์มอบให้จำเลยยึดถือที่นาทำต่างดอกเบี้ย จำเลยจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ก็แต่โดยมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 1381 ป.ม.แพ่ง ฯ.
of 2